คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พินิจ บุญชัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดหน่วงราคาสินค้าชำรุด การผิดนัดชำระหนี้ และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
การที่โจทก์ส่งมอบสินค้าและการที่ทำชำรุดบกพร่อง จำเลยชอบที่จะยึดหน่วงราคาสินค้าและค่าสินจ้างไว้ได้ ดังนี้ การชำระหนี้จึงยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ จะถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ย แต่เมื่อศาลกำหนดให้จำเลยใช้เงินจำนวนนี้ จึงเป็นหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระตามคำพิพากษาและต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับ คือ นับจากวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8003/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนลิขสิทธิ์เพลงคาราโอเกะโดยเด็ดขาดและการละเมิดลิขสิทธิ์จากการผลิตซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยโอนลิขสิทธิ์ดนตรีกรรมเพลงพิพาท ทั้งคำร้องทำนองซึ่งขับร้องโดยนักร้องชื่อ ก. ในส่วนของคาราโอเกะทุกรูปแบบให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อตามข้อสัญญาลิขสิทธิ์เพลงข้อ 1 ระบุข้อห้ามไว้ด้วยว่า "การโอนลิขสิทธิ์นี้เป็นการโอนตลอดอายุสัญญาแห่งลิขสิทธิ์ซึ่งผู้โอนลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธิที่จะนำไปขายหรือจัดทำเอง รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นไปจัดทำ" ฉะนั้น การที่จำเลยร่วมกับพวกอนุญาตให้นาย ช. ใช้มาสเตอร์เทปเพลงพิพาทพร้อมลิขสิทธิ์ คือ ทั้งตามคำร้อง ทำนองเพลงพิพาทที่ขับร้องโดยนักร้องชื่อ ก. ไปทำการบันทึกเสียงและภาพทำเป็นคาราโอเกะได้ด้วยดังกล่าว จึงเป็นการกระทำผิดสัญญาลิขสิทธิ์ต่อโจทก์ที่ 2
การกระทำของจำเลยที่จงใจมอบหมายภริยาจำเลยให้นำมาสเตอร์เทปเพลง 2 เพลง เช่นเดียวกับที่ได้โอนลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาดให้โจทก์ที่ 2 ไปแล้ว คือ เพลง น. และเพลง ส. ซึ่งขับร้องโดยนักร้องชื่อ ก. ไปให้บุคคลภายนอก ซึ่งจำเลยสามารถคาดหมายได้ว่าบุคคลภายนอกต้องนำมาสเตอร์เทปดังกล่าวไปผลิตเป็นวิดีโอซีดีคาราโอเกะออกจำหน่ายในท้องตลาดแข่งขันกับโจทก์ที่ 2 เพราะกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชน จากนั้นบุคคลภายนอกก็ผลิตวิดีโอซีดีคาราโอเกะออกจำหน่ายแข่งขันกับโจทก์ที่ 2 ดังที่จำเลยคาดหมาย ถือว่าจำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์คาราโอเกะของโจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7655/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพัน แม้ไม่มีข้อกำหนดต้องเสนอข้อพิพาทก่อนบอกเลิกสัญญา
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ระบุว่าในกรณีมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับข้อกำหนดแห่งสัญญานี้หรือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญานี้และคู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ ให้เสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาชี้ขาด มิได้มีข้อความใดๆ กำหนดว่าก่อนจะมีการบอกเลิกสัญญาต้องนำข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการก่อน และกรณีนี้ก็ได้มีการนำข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อนฟ้องคดีแล้ว ตามสัญญาข้อ 21.4 ระบุว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือของอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดแล้วแต่กรณี ให้ถือเป็นเด็ดขาดและถึงที่สุดผูกพันคู่สัญญา เมื่อได้พิจารณาประกอบกับ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 20 แล้ว เห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเกินขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำขอของคู่กรณี คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงชอบด้วยกฎหมาย เป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตามมาตรา 22 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: การเรียกจำเลยร่วมและการสะดุดหยุดของอายุความ
ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการเสียหายแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเล ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่รับขนตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2543 แต่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเรียกจำเลยร่วม (ผู้ขนส่งอื่น) เข้ามาในคดีนี้เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 โจทก์จึงขอเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 (ผู้ขนส่ง) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2544 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าภายในกำหนดอายุความดังกล่าวก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องคดีเพื่อให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ก็หาทำให้อายุความสำหรับจำเลยร่วมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ไม่ เพราะกำหนดอายุความย่อมเป็นไปเพื่อเป็นคุณและโทษแก่ลูกหนี้แต่ละคนโดยเฉพาะ และกำหนดอายุความสำหรับจำเลยร่วมต้องถือตามวันที่โจทก์ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีซึ่งเป็นวันเริ่มต้นคดีเพื่อให้จำเลยร่วมชำระหนี้ ดังนั้น เมื่อโจทก์มีคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่ง คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความตามมาตรา 46 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6540/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์จากการเช่าซื้อ: การไม่ยอมให้ตรวจสอบและนำไปขายต่างประเทศถือเป็นความผิด
จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไป แม้จำเลยจะมีสิทธิใช้สอยและครอบครองรถจักรยานยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อ แต่รถจักรยานยนต์ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมประสงค์จะตรวจดู จำเลยจำต้องยอมให้ผู้เช่าซื้อตรวจดูทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้เป็นครั้งคราวในเวลาและระยะอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 555 การที่จำเลยไม่สามารถนำรถจักรยานยนต์มาให้โจทก์ร่วมตรวจดูได้ แม้จำเลยได้แสดงเจตนาที่จะชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ร่วม แต่จำเลยกับพวกนำรถไปขายที่ต่างประเทศแล้ว ถือได้ว่าจำเลยเบียดบังเอารถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยสุจริต เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6198/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ทางการค้า: การซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการค้า และค่าขนส่งที่ทดรองจ่าย
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบจากจำเลย ทั้งจำเลยก็ประกอบการค้าโดยซื้อสินค้าจากโจทก์มาแล้วนำไปจำหน่ายให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้ เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม มาตรา 193/33 (5) ส่วนเงินค่าขนส่งสินค้าดังกล่าวที่โจทก์ออกทดรองแทนจำเลยไปก็เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องจากที่โจทก์ขายสินค้าให้แก่จำเลยดังกล่าว จึงเป็นเงินที่โจทก์ผู้ประกอบการค้าได้ออกทดรองไปเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย มิใช่เป็นเงินที่ผู้ขนส่งสิ่งของได้ออกทดรองไปตาม มาตรา 193/34 (3) หนี้เกี่ยวกับค่าขนส่งที่โจทก์ออกทดรองไปดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม มาตรา 193/33 (5) เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผิดฐานนำเข้ายาเสพติดเกินกว่าที่บรรยายฟ้อง และการใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ให้ลงโทษประหารชีวิต ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 แล้วจำคุกตลอดชีวิต โจทก์และจำเลยต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เพียงการปรับบทลงโทษตามกฎหมายให้ถูกต้อง และตามกฎหมายที่ได้มีการแก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยเกี่ยวกับบทกำหนดโทษเท่านั้น แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังคงวินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดและลงโทษตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนในส่วนเนื้อหาของความผิดฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นอันถึงที่สุดตามมาตรา 245 วรรคสอง จำเลยย่อมฎีกาไม่ได้
คำฟ้องในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาในข้อ 2 ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนจำนวน 367 เม็ด ที่จำเลยนำเข้าเพื่อจำหน่ายเป็นของกลาง ก็เป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเท่านั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีน เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย และแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งฟ้องของอัยการสูงสุดในคดีอาญาที่อัยการจังหวัดเคยมีคำสั่งไม่ฟ้อง
พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองภูเก็ตได้ทำสำนวนพร้อมความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ. กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ และฐานร่วมกันยักยอกให้อัยการจังหวัดภูเก็ตพิจารณา อัยการจังหวัดภูเก็ตมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยตามความเห็นของพนักงานสอบสวนและสั่งฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 267, 268 ด้วย โดยให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาดังกล่าวเพิ่มเติมให้จำเลยทราบก่อนฟ้อง แต่อัยการพิเศษประจำเขต 8 มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องจำเลยทุกข้อหา ส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 267, 268 ผู้เสียหายมิได้แจ้งความให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยจึงไม่ต้องดำเนินการในข้อหานี้แก่จำเลย ซึ่งอัยการจังหวัดภูเก็ตได้ดำเนินการตามความเห็นของอัยการพิเศษประจำเขต 8 โดยมีคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยทุกข้อหา และยุติการดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และใช้เอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 267, 268 เมื่ออัยการจังหวัดภูเก็ตทำสำนวนพร้อมความเห็นเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตพิจารณา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตมีความเห็นแย้งให้ฟ้องจำเลยเฉพาะในความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและความผิดฐานยักยอก ดังนี้ เห็นได้ว่า ในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการนั้น ในชั้นต้นพนักงานสอบสวนยังไม่ได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ และมิได้ดำเนินคดีในข้อหานี้มาแต่แรก เมื่ออัยการจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งให้ยุติการดำเนินการแก่จำเลยในข้อหานี้ ย่อมถือได้ว่าอัยการจังหวัดภูเก็ตยังไม่มีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าว การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตไม่มีความเห็นเกี่ยวกับข้อหานี้ จึงไม่ถือว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นชอบกับคำสั่งไม่ฟ้องจำเลย อันจะทำให้คำสั่งไม่ฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวเป็นที่สุด เมื่อสำนวนการสอบสวนเสนอไปยังอัยการสูงสุดพิจารณาเนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นแย้งให้ฟ้องจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 วรรคสอง การที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารราชการและใช้เอกสารดังกล่าวด้วยนั้น เป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 12 ที่ให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีได้ทุกศาล ไม่ใช่เป็นการสั่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 วรรคสอง คำสั่งให้ฟ้องจำเลยของอัยการสูงสุดย่อมชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแจ้งความเท็จและใช้เอกสารเท็จ: อัยการสูงสุดมีอำนาจฟ้องได้แม้เดิมอัยการจังหวัดไม่ฟ้อง
การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าวเป็นความผิดหลายกรรม ซึ่งกระทำลงในท้องที่ต่างๆ กัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองภูเก็ต ซึ่งเป็นท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 (4) มิใช่ปัญหาที่ต้องพิจารณาในเรื่องเป็นความผิดต่อเนื่องหรือความผิดที่กระทำลงในหลายท้องที่ตามมาตรา 19 (2) (3)
ความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าว ในชั้นต้นพนักงานสอบสวนยังมิได้แจ้งข้อหาให้แก่จำเลยที่ 2 ทราบ และมิได้ดำเนินคดีในข้อหานี้ เมื่ออัยการจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งให้ยุติการดำเนินการแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหานี้ ย่อมถือได้ว่าอัยการจังหวัดภูเก็ตยังไม่มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตไม่ได้มีความเห็นเกี่ยวกับข้อหานี้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นชอบกับคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 อันจะทำให้คำสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานดังกล่าวเป็นที่สุด เมื่อสำนวนการสอบสวนเสนอไปยังอัยการสูงสุดพิจารณาเนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นแย้งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานยักยอกและความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 วรรคสอง การที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในแอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267, 268 ด้วย จึงเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 12 ที่ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจดำเนินคดีได้ทุกศาล หาได้สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 วรรคสอง ไม่ คำสั่งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ของอัยการสูงสุดย่อมชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าผู้อื่นโดยไม่ใช่บันดาลโทสะ แม้ถูกยั่วยุ แต่การกระทำเกิดจากความเจ็บแค้นใจเดิม
วันเกิดเหตุตอนเช้า จำเลยไปขอคืนดีกับ ภ. ภรรยา แต่ ภ. ไม่ยอม ต่อมาเวลาประมาณ 12 นาฬิกา จำเลยไปหาผู้ตายที่บริษัทที่เกิดเหตุโดยพกพามีดปลายแหลมติดตัวไปด้วย จำเลยถามผู้ตายว่า "มึงเล่นชู้กับเมียกูทำไม" ผู้ตายตอบว่า "มึงไม่มีน้ำยา กูเลยเล่น" ทำให้จำเลยโมโหจึงชักมีดออกมาเกิดต่อสู้กันและจำเลยใช้มีดแทงผู้ตาย แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ตายได้พูดถ้อยคำดังกล่าวจริง แต่จำเลยเป็นฝ่ายไปหาผู้ตายที่ทำงานของผู้ตาย และจำเลยเป็นฝ่ายถามผู้ตายถึงเรื่องชู้สาวขึ้นก่อน มิใช่ว่าผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุ ที่ผู้ตายพูดว่ามึงไม่มีน้ำยากูเลยเล่น นั้น ก็เป็นการที่ผู้ตายพูดตอบจำเลย แม้จะพูดในทำนองยั่วยุ แต่ไม่ถึงขนาดว่าจะเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างรุนแรง ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้พูดต่อหน้าผู้อื่นที่จะทำให้จำเลยได้รับความอับอายขายหน้าผู้อื่น จึงไม่น่าทำให้จำเลยเกิดโทสะถึงกับต้องฆ่าผู้ตาย ตามรูปการณ์มูลเหตุที่จูงใจให้จำเลยกระทำความผิดน่าจะเกิดจากความเจ็บแค้นใจที่มีอยู่เดิม เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยบันดาลโทสะ
of 20