คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พินิจ บุญชัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยบันดาลโทสะ: การยั่วยุต้องร้ายแรงถึงข่มเหงอย่างร้ายแรง
จำเลยไปหาผู้ตายที่ที่ทำงานของผู้ตายและถามผู้ตายว่า มึงเล่นชู้กับเมียกูทำไม การที่ผู้ตายพูดว่ามึงไม่มีน้ำยากูเลยเล่นนั้นเป็นการพูดตอบจำเลยแม้จะพูดในทำนองยั่วยุ แต่ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างรุนแรง ทั้งผู้ตายไม่ได้พูดต่อหน้าผู้อื่นที่จะทำให้จำเลยได้รับความอับอายขายหน้าผู้อื่น ยังไม่ได้ถือว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69 นั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย และมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ทั้งศาลอุทธรณ์มิได้แก้โทษจำเลยโดยกำหนดโทษใหม่ตามความผิดที่ถูกต้องหรือลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นที่มิได้ขึ้นสู่ศาลชั้นต้น หากเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายพอสมควรแก่เหตุ เช่นนี้ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69 นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ทั้งศาลอุทธรณ์มิได้แก้โทษจำเลยโดยกำหนดโทษใหม่ตามความผิดที่ถูกต้องหรือลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษาหรือประกันที่ต้องวางต่อศาล
เมื่อศาลอนุญาตให้บุคคลใดฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถา บุคคลนั้นไม่ต้องเสียเฉพาะค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณารวมถึงเงินวางศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้น เงินวางศาลในการยื่นอุทธรณ์คือเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งจะต้องนำมาวางพร้อมอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ส่วนเงินที่จำเลยต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือประกันที่ต้องให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 มิใช่ค่าธรรมเนียมศาลที่จะขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการของศาลเมื่อจำเลยขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ต้องแยกค่าธรรมเนียมศาลออกจากเงินตามคำพิพากษา
การที่ศาลอนุญาตให้บุคคลใดฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถา บุคคลนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณารวมถึงเงินวางศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 157 สำหรับเงินวางศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์ คือ เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งจะต้องนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามในมาตรา 229 ส่วนเงินที่จำเลยต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือประกันที่ต้องให้ไว้ต่อศาลตามมาตรา 234 มิใช่ค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าว จำเลยจะขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาให้ศาลยกเว้นไม่ต้องชำระหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามกฎหมาย เนื่องจากมิได้โต้แย้งเหตุผลที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องในความผิดฐานยักยอก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพฤติการณ์ของจำเลยตามที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอรับฟังว่า จำเลยในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทที่โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นได้เบียดบังยักยอกเช็คพิพาท โจทก์ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านในความผิดฐานยักยอก และอ้างว่าพยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมาขัดแย้งกันไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยนำเงินของบริษัทไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายและได้นำเงินส่วนที่เหลือมาคืน กรณีจึงเป็นยักยอกทำให้บริษัทและผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายโดยเจตนาทุจริต ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 188 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรให้ชัดเจน แม้โจทก์จะมีคำขอในท้ายอุทธรณ์ว่า ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องก็ตาม อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อหานี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและการเพิกถอนคำขอจดทะเบียน
แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้จดทะเบียนการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า DAI แต่โจทก์ก็ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย จำเลยเคยติดต่อค้าขายกับโจทก์จึงทราบดีว่า คำว่า DAI เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยกลับลอกเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนำไปขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยเอง การที่จำเลยมายื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DAi ของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า DAi ดีกว่าจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนดังกล่าวไม่ได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 46 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ห้ามจำเลยใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า DAi กับห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการให้และซื้อขายที่ดินเนื่องจากเนรคุณและฉ้อฉล
โจทก์เป็นบิดาจำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โดยตนเองยังปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนบ้านออกจากที่ดินพิพาท โดยพูดด่าว่าโจทก์ว่า "ไอ้เหี้ย ให้รื้อบ้านออกไปจากที่ดินของกู ไปให้พ้นไม่ต้องมาใช้น้ำบ้านกู ให้มึงรื้อบ้านออกไปเป็นขอทานที่วัดเสียเลย" ทั้งยังด่าว่าโจทก์อีกว่า "พ่ออย่างมึงกูไม่นับถือเป็นพ่อต่อไป" นอกจากนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาข้อหายักยอกเงินค่าขายที่ดินที่โจทก์ฝากไว้ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ได้พาพวกไปที่บ้านโจทก์โดยจำเลยที่ 1 พูดจาข่มขู่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาเสีย มิฉะนั้นจำเลยทั้งสองกับพวกจะฆ่าโจทก์ ทั้งจำเลยที่ 1 ได้ด่าว่าโจทก์อีกว่า "ไอ้เหี้ยให้รื้อบ้านออกไปจากที่กู" และบอกเรื่องที่ดินว่า "ได้ขายให้คนอื่นแล้ว มึงอย่าหวังว่าจะได้คืนจากกูได้" การที่จำเลยที่ 1 ด่าว่าโจทก์ด้วยถ้อยคำและพฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าจำเลยที่ 1 สิ้นความเคารพยำเกรงโจทก์ซึ่งเป็นบิดา เป็นการลบหลู่และอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) แม้คำเบิกความของพยานโจทก์จะมิได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 ด่าโจทก์เมื่อใด ก็มิใช่สาระสำคัญถึงขนาดทำให้พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้
การที่จำเลยที่ 2 ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 แต่กลับปล่อยให้จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยอ้างเหตุว่าตนเห็นว่ายังมีการฟ้องร้องกันอยู่ย่อมเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้อยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีปัญหาเรื่องที่ดินพิพาทกันแล้วยังซื้อไว้ เช่นนี้น่าจะเป็นการซื้อไว้โดยไม่สุจริต ทั้งปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ยังอาศัยอยู่กับบิดามารดา และไม่มีเหตุผลใด ๆ ในการซื้อที่ดินพิพาทมาทิ้งไว้โดยไม่เข้าทำประโยชน์ พฤติการณ์ในการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำไปโดยรู้ว่าโจทก์ผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ จึงเป็นการสมคบกันฉ้อฉลโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเด็ดขาดผู้พิพากษาอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: คำสั่งไม่อนุญาตไม่อุทธรณ์ต่อได้
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงฯ เมื่อผู้พิพากษาผู้ซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้อุทธรณ์แล้ว โจทก์ร่วมจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์อีกไม่ได้ เพราะการที่ผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นอำนาจเฉพาะตัวอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: ยื่นเอกสารปลอมประกันตัว ย่อมเป็นความผิด
ผู้ถูกกล่าวหายื่นคำร้องขอปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นโดยนำหนังสือมอบอำนาจและหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินซึ่งเป็นเอกสารปลอมมายื่นต่อศาลชั้นต้นประกอบคำร้องขอปล่อยชั่วคราว เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาล เจ้าของหลักทรัพย์ ตลอดจนจำเลย ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 180
of 20