พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีซ้ำเรื่องเดียวกัน แม้มีการแก้ไขคำฟ้องคดีก่อน ก็ยังถือเป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยพนักงานอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ในกรณีที่โจทก์คดีนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจากจำเลย โดยชำระเงินจองและผ่อนชำระราคาไปแล้ว ขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์ได้ชำระไปตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารรายเดียวกันอีก จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาโจทก์ในคดีก่อนจะขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอตัดรายชื่อโจทก์คดีนี้จากคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเรื่องเดียวกันซ้ำในศาลต่างกัน เป็นการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการแก้ไขคำฟ้อง
คดีก่อนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยพนักงานอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ในกรณีที่โจทก์คดีนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจากจำเลย โดยชำระเงินจองและผ่อนชำระราคาไปแล้ว ขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์คดีนี้ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์ได้ชำระไปตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารรายเดียวกันอีก จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นเพียงซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาโจทก์ในคดีก่อนจะขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอตัดรายชื่อโจทก์คดีนี้จากคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแต่งตั้งผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน: ความรับผิดทางสัญญาและค่าปรับจากการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาแต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง โดยตกลงว่าจำเลยทั้งสองต้องผูกพันการขายน้ำมันเชื้อเพลิงต่อโจทก์ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 70,000 ลิตร ถ้าขายต่ำกว่านั้นต้องเสียค่าปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 25 สตางค์ต่อลิตร หลังทำสัญญาจำเลยทั้งสองประพฤติผิดสัญญาคือสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึงยอดรับรองที่ตกลงกันไว้ และปลายปี 2541 จำเลยทั้งสองไม่ได้สั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่ยังเปิดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เรื่อยมาโดยสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากผู้ค้ารายอื่นมาจำหน่ายแทน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดว่าจำเลยทั้งสองยังประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็มี ธ. ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดมาเบิกความยืนยันว่า การสำรองน้ำมันของโจทก์จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละราย โดยโจทก์ต้องสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งจากในและต่างประเทศมาสำรองไว้ ดังนั้น หากจำเลยทั้งสองสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถึงยอดที่ตกลงไว้โจทก์จะได้รับความเสียหาย ฝ่ายจำเลยทั้งสองไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 1 ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์ต่ำกว่าที่ตกลงกันไว้ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นอกจากนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมทำสัญญาว่าถ้าสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์ต่ำกว่า 70,000 ลิตรต่อเดือน ยอมเสียค่าปรับ 25 สตางค์ต่อลิตร แสดงว่าจำเลยที่ 1 รู้อยู่ว่าถ้าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำกว่าที่ตกลงกันไว้จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าฐานผิดสัญญาส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนเพื่อทำความสะอาด ไม่ถือเป็นเจตนายึดถือเพื่อตน ไม่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน
จำเลยได้รับฝากอาวุธปืน เหล็กพานท้ายปืน และด้ามปืนของกลางไว้จาก ภ. เพื่อทำความสะอาด การที่จำเลยครอบครองอาวุธปืนของกลางในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยยึดถืออาวุธปืนไว้แทน ภ. เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนายึดถือ เพื่อตน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครอง ตามความหมายแห่ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 4 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนเพื่อทำความสะอาดแทนผู้อื่น ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ หากไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตนเอง
การที่จำเลยรับฝากอาวุธปืน เหล็กพานท้ายปืน และด้ามปืนของกลางไว้จาก ภ. เพื่อทำความสะอาด ถือได้ว่าจำเลยยึดถืออาวุธปืนไว้แทน ภ. เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนายึดถือเพื่อตนอันจะฟังว่าจำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองตามความหมายแห่ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 4 (6) จำเลยจึงไม่มีความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้กับการระงับคดีอาญา: การผ่อนชำระหนี้ต้องครบถ้วนจึงจะระงับคดีได้
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ระหว่างพิจารณาโจทก์และจำเลยที่ 2 แถลงรับกันว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมผ่อนชำระหนี้จนกว่าจะครบ แต่ประสบปัญหาการเงิน จึงผ่อนชำระหนี้เพียงบางส่วน ข้อตกลงตามฎีกามิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแต่เป็นกรณีต้องผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงจนครบถ้วนจึงจะถือว่าคดีอาญาระงับจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การผลิตและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเพื่อจำหน่ายกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกัน จึงถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่หากข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าเป็นการกระทำเพียงกรรมเดียว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษตามบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ และแม้กระบวนการผลิตกับการมีไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นคนละขั้นตอนกัน แต่เจตนาของจำเลยทั้งสองมีเพียงเจตนาอันเดียวคือมีเจตนาผลิตเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อจำหน่ายเท่านั้น เมื่อมีเจตนามีเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันกับที่ผลิตไว้เพื่อจำหน่าย จึงถือเป็นการกระทำกรรมเดียวที่ผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเกินอัตราที่ประกาศ หนี้เดิมยังต้องเสียดอกเบี้ยตามกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เพราะเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ แต่กลับพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงิน 1,300,031.26 บาท ซึ่งมีดอกเบี้ยจำนวน 300,394.17 บาท ที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าตกเป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องเพราะทำให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่ต้องรับผิดตามกฎหมายและเกินคำขอ ดังที่โจทก์ฎีกา ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 243 (1) และมาตรา 246 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ไปเสียทั้งหมดจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ส่วนดอกเบี้ยแม้โจทก์จะไม่มีสิทธิบังคับตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราที่ตกลงกัน ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เพราะเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ กลับพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงิน 1,300,031.26 บาท ซึ่งมีดอกเบี้ยจำนวน 300,394.17 บาท ที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าตกลงเป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องเพราะทำให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่ต้องรับผิดตามกฎหมายและเกินคำขอ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 243 (1) และมาตรา 246
ขณะทำสัญญากู้เงิน ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเงินกู้รายย่อยระยะยาวในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงร้อยละ 12.25 ต่อปี ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาจากจำเลย ดังนั้น ที่ศาลชั้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 1,300,031.26 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 999,178.09 บาท นับถัดจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น จึงไม่ถูกต้องเพราะเงินจำนวน 1,300,031.26 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ดังกล่าวมีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2541 ถึงวันฟ้องจำนวน 300,399.17 บาท รวมอยู่ด้วย
โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับดอกเบี้ยตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะแต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อตามสัญญากู้เงินตกลงให้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในทุกวันที่ 16 ของเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2541 จำเลยชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 17 มกราคม 2542 มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2541
ขณะทำสัญญากู้เงิน ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเงินกู้รายย่อยระยะยาวในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงร้อยละ 12.25 ต่อปี ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาจากจำเลย ดังนั้น ที่ศาลชั้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 1,300,031.26 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 999,178.09 บาท นับถัดจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น จึงไม่ถูกต้องเพราะเงินจำนวน 1,300,031.26 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ดังกล่าวมีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2541 ถึงวันฟ้องจำนวน 300,399.17 บาท รวมอยู่ด้วย
โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับดอกเบี้ยตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะแต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อตามสัญญากู้เงินตกลงให้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในทุกวันที่ 16 ของเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2541 จำเลยชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 17 มกราคม 2542 มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่: สิทธิการเช่า, การครอบครอง, และการฟ้องซ้ำ - สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวและผลของการไม่โต้แย้งสัญญาเช่า
แม้คดีนี้และคดีก่อนมีโจทก์จำเลยเป็นคู่ความรายเดียวกันและคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว แต่คดีก่อนศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินคนใหม่ซึ่งที่ดินที่เช่านั้นมีจำเลยเข้าอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงมีเพียงสิทธิการเช่าเท่านั้นโดยยังมิได้ครอบครองใช้ประโยชน์ที่เช่า เมื่อโจทก์มิใช่เจ้าของที่ดิน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ก่อนได้โดยลำพังโดยไม่เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ทั้งห้องแถวพิพาทมิได้เป็นของโจทก์อีกด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โดยศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดีว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทในคดีนี้จึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ