พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขนส่งทางทะเล และข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามกฎหมาย
พายุไห่เยี่ยนเป็นพายุที่เกิดขึ้นเป็นประจำในทะเลจีนใต้และมิใช่พายุที่มีความรุนแรงมิอาจคาดหมาย ทั้งก่อนออกเรือนายเรือก็ทราบข่าวพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรง นายเรือยังอาจหลีกเลี่ยงไม่ไปเผชิญกับพายุโดยหยุดเรือรอจนกว่าคลื่นลมสงบก่อนก็ได้ กรณีจึงไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลหรือน่านน้ำที่ใช้เดินเรือ
โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิตามสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งโจทก์รับช่วงสิทธิมาโดยแนบใบตราส่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องซึ่งไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันให้ใช้ HAGUE RULES ในใบตราส่งที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องด้วย จึงเท่ากับว่าโจทก์ไม่เคยกล่าวอ้างว่า ในสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างผู้ส่งกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งมีข้อตกลงกันให้ใช้ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม HAGUE RULES ซึ่งกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้าเกินกว่า 10,000 บาท ต่อ 1 หน่วยการขนส่ง หรือเกินกว่า 30 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม อันเป็นข้อจำกัดความรับผิดโดยผลของมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้กับการขนส่งครั้งพิพาทด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิตามสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งโจทก์รับช่วงสิทธิมาโดยแนบใบตราส่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องซึ่งไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันให้ใช้ HAGUE RULES ในใบตราส่งที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องด้วย จึงเท่ากับว่าโจทก์ไม่เคยกล่าวอ้างว่า ในสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างผู้ส่งกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งมีข้อตกลงกันให้ใช้ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม HAGUE RULES ซึ่งกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้าเกินกว่า 10,000 บาท ต่อ 1 หน่วยการขนส่ง หรือเกินกว่า 30 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม อันเป็นข้อจำกัดความรับผิดโดยผลของมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้กับการขนส่งครั้งพิพาทด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3353/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชั่งน้ำหนักพยานในคดีแพ่ง และประเด็นการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์/ฎีกา
คดีแพ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายจะต้องนำพยานมาสืบต่อศาลเพื่อให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานว่าพยานฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่ากัน หากพยานฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่าศาลก็จะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี แตกต่างกับคดีอาญาที่โจทก์จะต้องนำพยานเข้าสืบแสดงต่อศาลจนปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาชั่งน้ำหนักพยานแล้วเห็นว่าพยานโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่าพยานจำเลยจึงพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี คำพิพากษาดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในคดีแพ่งจำเลยจะต้องยื่นคำให้การว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง เมื่อคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าการประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจหลักทรัพย์ของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีประเด็นพิพาทในศาลชั้นต้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรก และมาตรา 249 วรรคแรก
สัญญากู้ยืมเงินกำหนดเวลาชำระคืนเงินกู้ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงเป็นการกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอน ส่วนทางปฏิบัติแม้จะมีการขยายเวลาให้ชำระกันบ้างก็ไม่มีผลทำให้สัญญาดังกล่าวกลายเป็นสัญญาที่ไม่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้
ในคดีแพ่งจำเลยจะต้องยื่นคำให้การว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง เมื่อคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าการประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจหลักทรัพย์ของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีประเด็นพิพาทในศาลชั้นต้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรก และมาตรา 249 วรรคแรก
สัญญากู้ยืมเงินกำหนดเวลาชำระคืนเงินกู้ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงเป็นการกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอน ส่วนทางปฏิบัติแม้จะมีการขยายเวลาให้ชำระกันบ้างก็ไม่มีผลทำให้สัญญาดังกล่าวกลายเป็นสัญญาที่ไม่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศ: การแสดงความตกลงชัดแจ้งของผู้ส่ง
บริษัท ว. ใช้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศกับจำเลยทั้งสองมานาน มีการว่าจ้างขนส่งสินค้าสม่ำเสมอเป็นประจำทุกเดือน เดือนละหลายครั้ง จนกระทั่งมีบัญชีประจำกับจำเลยที่ 1 และนอกจากจำเลยทั้งสองแล้ว บริษัท ว. ยังเคยใช้บริการของบริษัทอื่นที่รับขนส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูงโดยเฉพาะ เชื่อว่าบริษัท ว. ทราบถึงความแตกต่างของเงื่อนไขการขนส่งสินค้าและอัตราค่าบริการของบริษัทผู้ประกอบการรับขนส่งสินค้าทางอากาศแต่ละบริษัทเป็นอย่างดี การที่บริษัท ว. ผู้ส่งระบุข้อความในช่องรายการมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งไว้ 500 ดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่แจ้งราคามูลค่าสินค้าตามจริงก็เพราะทราบถึงข้อจำกัดความรับผิดตามเงื่อนไขการขนส่งของจำเลยทั้งสองเป็นอย่างดี เท่ากับเป็นกรณีที่บริษัท ว. ผู้ส่งเลือกที่จะยอมรับข้อจำกัดความรับผิดด้านหลังใบรับขนทางอากาศและตามเงื่อนไขการขนส่งของจำเลยทั้งสองนั่นเอง โดยทราบดีว่าหากสินค้าสูญหายและจะได้รับชดใช้เท่าใด ทั้งหากบริษัท ว. ผู้ส่งคาดหมายว่า หากเกิดกรณีสินค้าสูญหายจะได้รับชดใช้เต็มตามมูลค่าของสินค้าก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องทำประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์อีก นอกจากนี้การที่บริษัท ว. ผู้ส่งระบุมูลค่าสินค้าในช่องมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งกับช่องมูลค่าสินค้าเพื่อพิธีการศุลกากรแตกต่างกันก็คงเป็นเพราะทราบว่าการสำแดงจำนวนมูลค่าสินค้าในแต่ละช่องรายการจะมีผลต่อเรื่องใด ตลอดจนทราบถึงข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งดังกล่าว เชื่อได้ว่าพนักงานประจำแผนกขนส่งของบริษัท ว. ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรงทราบเงื่อนไขการขนส่งต่างๆ เป็นอย่างดี เมื่อพนักงานดังกล่าวลงลายมือชื่อในใบรับขนทางอากาศในฐานะตัวแทนบริษัทผู้ส่ง จึงถือได้ว่าบริษัท ว. ผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งเช่นว่านั้นแล้ว ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าเสียหาย ต้องพิจารณาหน่วยการขนส่งที่แท้จริงตามกฎหมาย
โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งเป็นเช็ค แต่ผู้รับตราส่งไม่สามารถนำเช็คไปเรียกเก็บเงินได้จึงจัดส่งคืนโจทก์ จากนั้นผู้รับตราส่งตกลงให้ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับค่าสินไหมทดแทนผู้รับตราส่ง และโจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นตัวแทนของผู้รับตราส่งแล้ว เท่ากับโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่งซึ่งมีต่อผู้ขนส่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 บัญญัตินิยามคำว่า "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และ "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่นเมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่าการขนส่งสินค้าครั้งนี้ สินค้ามี 880 ชุด บรรจุอยู่ในลังหรือกล่องกระดาษรวม 22 ลัง และวางบนไม้รองสินค้า 2 ไม้รองสินค้าดังนี้ แม้สินค้ามี 880 ชุด แต่ชุดของสินค้าดังกล่าวไม่ใช่หน่วยการขนส่งตามคำนิยามข้างต้น ส่วนไม้รองสินค้าตามคำนิยามก็เป็นเพียงภาชนะขนส่ง เมื่อสินค้าที่ขนส่งมี 22 ลัง แต่ละลังที่บรรจุสินค้าอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ จึงถือว่าแต่ละลังที่บรรจุสินค้าเป็นหนึ่งหน่วยการขนส่ง เมื่อสินค้าทั้งหมดมี 22 ลัง ใน 1 ลังบรรจุสินค้ารวม 40 ชุด แต่สินค้าได้รับความเสียหายรวม 660 ชุด เท่ากับ 17 ลัง หรือ 17 หน่วยการขนส่ง ดังนี้ จำเลยและจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดเป็นเงิน 170,000 บาท และเมื่อโจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ และผู้รับตราส่งมีสิทธิเท่ากับผู้ส่ง เมื่อผู้ขนส่งมีสิทธินำการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม มาตรา 58 มาใช้บังคับได้ ผู้ขนส่งจึงยกการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งดังกล่าวมาใช้อ้างต่อโจทก์ได้ด้วย
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 บัญญัตินิยามคำว่า "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และ "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่นเมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่าการขนส่งสินค้าครั้งนี้ สินค้ามี 880 ชุด บรรจุอยู่ในลังหรือกล่องกระดาษรวม 22 ลัง และวางบนไม้รองสินค้า 2 ไม้รองสินค้าดังนี้ แม้สินค้ามี 880 ชุด แต่ชุดของสินค้าดังกล่าวไม่ใช่หน่วยการขนส่งตามคำนิยามข้างต้น ส่วนไม้รองสินค้าตามคำนิยามก็เป็นเพียงภาชนะขนส่ง เมื่อสินค้าที่ขนส่งมี 22 ลัง แต่ละลังที่บรรจุสินค้าอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ จึงถือว่าแต่ละลังที่บรรจุสินค้าเป็นหนึ่งหน่วยการขนส่ง เมื่อสินค้าทั้งหมดมี 22 ลัง ใน 1 ลังบรรจุสินค้ารวม 40 ชุด แต่สินค้าได้รับความเสียหายรวม 660 ชุด เท่ากับ 17 ลัง หรือ 17 หน่วยการขนส่ง ดังนี้ จำเลยและจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดเป็นเงิน 170,000 บาท และเมื่อโจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ และผู้รับตราส่งมีสิทธิเท่ากับผู้ส่ง เมื่อผู้ขนส่งมีสิทธินำการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม มาตรา 58 มาใช้บังคับได้ ผู้ขนส่งจึงยกการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งดังกล่าวมาใช้อ้างต่อโจทก์ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในสัญญารับขนทางทะเล: ตัวแทนไม่มีอำนาจฟ้องแทนคู่สัญญาที่แท้จริง
โจทก์ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในสัญญารับขนของทางทะเล โจทก์เป็นตัวแทนของสายการเดินเรือต่างประเทศหลายบริษัทรวมทั้งสายการเดินเรือของบริษัท ป. ผู้ขนส่ง โจทก์ทำหน้าที่รับจองตู้สินค้าและออกใบตราส่ง และตามใบตราส่งก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของตู้สินค้า และโจทก์ไม่มีสายการเดินเรือเป็นของตน ต่อมาโจทก์มอบสำเนาใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 ตามใบตราส่งก็ระบุไว้ชัดว่าโจทก์ออกใบตราส่งแทนบริษัท ป. ผู้ขนส่ง ต่อมาได้มีการชำระค่าระวางขนส่ง ค่าภาระหน้าท่า และค่าธรรมเนียมการออกใบขนส่งให้แก่โจทก์ โจทก์ได้มอบใบเสร็จรับเงินให้ ปรากฏว่าหลักฐานการรับเงินค่าระวางขนส่งและค่าภาระหน้าท่า โจทก์ได้ออกใบเสร็จรับเงินแทนบริษัท ป. ส่วนหลักฐานการรับเงินค่าธรรมเนียมการออกใบตราส่ง โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินในนามของตนเอง บริษัท ป. จึงเป็นผู้รับชำระค่าระวางการขนส่งสินค้าครั้งนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัท ป. เป็นคู่สัญญากับผู้ส่งสินค้าในสัญญารับขนของทางทะเลครั้งนี้ มิใช่โจทก์ โจทก์เป็นเพียงตัวแทนของสายการเดินเรือของบริษัท ป. เมื่อบริษัท ป. ไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ ทั้งกรณีนี้โจทก์ไม่อาจรับช่วงสิทธิได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในสัญญารับขนทางทะเล: ตัวแทนสายการเดินเรือไม่มีอำนาจฟ้องแทนเจ้าของเรือ
บริษัท ป. ประกอบกิจการสายการเดินเรือรับส่งสินค้าโดยมีโจทก์เป็นตัวแทน โจทก์ออกใบตราส่ง ใบเสร็จรับเงินค่าระวางขนส่ง ค่าภาระหน้าท่า และค่าธรรมเนียมการออกใบตราส่งแทนบริษัท ป. ดังนั้นบริษัท ป. จึงเป็นคู่สัญญากับผู้ส่งสินค้าในสัญญารับขนของทางทะเลและเป็นผู้ขนส่งสินค้าที่แท้จริง เมื่อโจทก์เป็นเพียงตัวแทนของสายการเดินเรือของบริษัทดังกล่าว โดยบริษัทดังกล่าวไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดี ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์อาจรับช่วงสิทธิได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยในฐานะเจ้าอาวาสและประธานมูลนิธิ
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าอาวาสวัด ส. และเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของคณะกรรมการมูลนิธิ ห. กับเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิดังกล่าว เมื่อมูลนิธิมีวัตถุประสงค์เผยแผ่พระพุทธศาสนาและรับเด็กยากจนมาอาศัยอยู่ที่วัด ส. เพื่อส่งเสียให้ได้รับการศึกษา การอบรมให้เด็กเหล่านั้นประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดีตามหลักพุทธศาสนาและตั้งใจศึกษาเล่าเรียนย่อมอยู่ในวัตถุประสงค์ของมูลนิธิด้วย แม้การเงินของมูลนิธิแยกออกจากวัดเพราะมีฐานะป็นนิติบุคคลแตกต่างกัน แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิย่อมต้องอบรมสั่งสอนผู้เสียหายทั้งแปดซึ่งอยู่ในความดูแลของตนให้ปฏิบัติดีเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้นมิให้เงินที่ผู้บริจาคเพื่อการศึกษาของเด็กยากจนสิ้นเปลืองเปล่า เมื่อมูลนิธิมาก่อตั้งภายในอาณาเขตวัด ส. เด็กๆ รวมทั้งผู้เสียหายทั้งแปดย่อมต้องเชื่อฟังจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าอาวาสวัด ส. ดังเช่นที่เป็นศิษย์วัดอีกสถานหนึ่ง กล่าวได้ว่า จำเลยที่ 1 ดูแลผู้เสียหายทั้งแปดในฐานะเป็นครูอาจารย์ดูแลนักเรียนในปกครองกับฐานะเจ้าอาวาสดูแลศิษย์ไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 8 จึงเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความปกครองดูแลของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงในความดูแลของเจ้าอาวาสและประธานมูลนิธิ: ศาลฎีกายืนโทษจำเลย
ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าอาวาสและเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งมีวัตถุประสงค์เผยแผ่พระพุทธศาสนาและรับเด็กยากจนมาอาศัยอยู่ที่วัดเพื่อส่งเสียให้ได้รับการศึกษา ดังนั้น การอบรมให้เด็กเหล่านั้นประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดีตามหลักพุทธศาสนาและตั้งใจศึกษาเล่าเรียนย่อมอยู่ในวัตถุที่ประสงค์ของมูลนิธิด้วย แม้ด้านการเงินของมูลนิธิแยกออกจากวัดเพราะมีฐานะเป็นนิติบุคคลแตกต่างกัน แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิย่อมต้องอบรมสั่งสอนผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเด็กหญิงชาวเขาที่จำเลยที่ 1 รับมาอยู่ในความดูแลของตนที่วัดให้ปฏิบัติดีเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ทั้งมูลนิธิก็ตั้งอยู่ในอาณาเขตของวัด ผู้เสียหายย่อมต้องเชื่อฟังจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าอาวาสดังเช่นที่เป็นศิษย์วัดอีกสถานหนึ่ง เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ดูแลผู้เสียหายในฐานะเป็นครูอาจารย์ดูแลเด็กนักเรียนในปกครองกับในฐานะเจ้าอาวาสดูแลศิษย์ไปพร้อมๆ กัน การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหาย ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11044/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า ‘คูลแอร์’ ไม่สื่อถึงลักษณะสินค้าขนมหวาน/หมากฝรั่ง จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะ
คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงนั้น ต้องเป็นคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอย่างตรงไปตรงมาจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ เพราะเป็นคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง คำว่า "คูลแอร์" ไม่ปรากฏความหมายในพจนานุกรม แต่เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากอักษรโรมันคำว่า "COOLAIR" ซึ่งแปลรวมกันได้ว่า อากาศเย็น ลมเย็น เมื่อนำมาใช้กับสินค้าที่ขอจดทะเบียนคือขนมหวานและหมากฝรั่งจึงไม่ใช่คำแปลหรือความหมายของลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรง ไม่สามารถทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าได้ทันที และคำดังกล่าวยังไม่อาจทำให้สาธารณชนพิจารณาหรือคิดไตร่ตรองไปถึงสินค้าขนมหวานและหมากฝรั่งได้ เพราะสินค้าดังกล่าวโดยเฉพาะหมากฝรั่งไม่จำเป็นต้องมีความเกี่ยวข้องกับความเย็นเสมอไปเครื่องหมายการค้าคำว่า "คูลแอร์" ของโจทก์จึงไม่ถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9753/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแฟรนไชส์เป็นสัญญาต่างตอบแทน หากฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายก็มีสิทธิไม่ชำระหนี้ และไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
สัญญาแฟรนไชส์มีข้อตกลงที่ให้โจทก์นำเงินมาลงทุนประกอบการร้านแฟมิลี่มาร์ทโดยใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของจำเลย โจทก์เป็นผู้ประกอบการร้านแฟมิลี่มาร์ทและรับผิดชอบต่อลูกจ้างของตนในฐานะนายจ้าง โดยโจทก์จะต้องโอนเงินรายได้จากการขายสินค้าให้จำเลยและจำเลยจะจ่ายเงินปันผลกำไรประจำเดือนและเงินส่วนแบ่งกำไรสะสมให้โจทก์ สัญญาแฟรนไชส์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
โจทก์ผิดสัญญาไม่ส่งเงินรายได้จากการขายให้จำเลย โดยที่สัญญาแฟรนไชส์ที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาแก่จำเลยก่อน โจทก์จะมาขอให้จำเลยส่งร้านให้โจทก์เข้าครอบครองไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบร้าน โจทก์จะอ้างเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้เช่นเดียวกัน
โจทก์ผิดสัญญาไม่ส่งเงินรายได้จากการขายให้จำเลย โดยที่สัญญาแฟรนไชส์ที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาแก่จำเลยก่อน โจทก์จะมาขอให้จำเลยส่งร้านให้โจทก์เข้าครอบครองไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบร้าน โจทก์จะอ้างเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้เช่นเดียวกัน