พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอกันส่วนในคดีบังคับคดี: ที่ดินที่ตกเป็นของโจทก์จากการซื้อฝาก ไม่ใช่ทรัพย์สินลูกหนี้
จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์จึงตกไปยังโจทก์ ไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ไถ่ที่ดินและบ้านพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยแล้ว โจทก์ขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จัดการให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดไว้ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่ผู้ร้องจะขอกันส่วนที่ดินพิพาทในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ร้องกับจำเลยร่วมกัน แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ร้องกับจำเลยร่วมกัน แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและการกันส่วนทรัพย์สิน: ที่ดินขายฝากไม่ใช่ทรัพย์สินลูกหนี้ตามคำพิพากษา
จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทจึงตกไปยังโจทก์ผู้ซื้อไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแต่อย่างใดและโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารเนื่องจากจำเลยไม่ไถ่ที่ดินและบ้านพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารแล้ว โจทก์ขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดไว้ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 287 และมาตรา 289 ในอันที่ผู้ร้องจะขอกันส่วนที่ดินพิพาทในคดีนี้ได้
แม้ว่าผู้ร้องกับจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงเป็นของผู้ร้องครึ่งหนึ่งด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย กรณีจึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องที่แสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องแต่อย่างใด
แม้ว่าผู้ร้องกับจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงเป็นของผู้ร้องครึ่งหนึ่งด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย กรณีจึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องที่แสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ หากมีเหตุยกเว้นต้องอุทธรณ์ หากไม่ทำแล้วจะขอเพิกถอนไม่ได้
โจทก์ จำเลยทั้งสาม และจำเลยร่วมทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำพิพากษานั้นไม่ชอบเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเข้าข้อยกเว้นที่สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาได้ตามมาตรา 138 วรรคสอง (2) จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษานั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้วจำเลยที่ 1 จะมายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ โดยมอบบัตรเบิกถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยให้โจทก์ยึดถือไว้ การที่โจทก์ใช้บัตรดังกล่าวถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยถือได้ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้น้ำในที่ดิน: ท่อส่งน้ำส่วนตัวมิใช่ทางน้ำสาธารณะ การปิดกั้นไม่เป็นการละเมิด
ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่และจำเลยมีลักษณะเป็นสวน ไม่มีคลองสาธารณประโยชน์ผ่านที่ดิน โจทก์ทั้งสี่และจำเลยนำน้ำจากคลองบางสีทอง ซึ่งอยู่ห่างจากที่ดินของโจทก์ทั้งสี่และจำเลยประมาณ 50 เมตร มาใช้รดน้ำต้นไม้ในสวน โดยใช้ต้นตาลที่ทะลวงไส้ออกเป็นท่อส่งน้ำฝังไว้ใต้พื้นดินติดต่อกับที่ดินของบุคคลอื่นที่อยู่ริมคลองบางสีทองเพื่อชักน้ำเข้ามาใช้ต่อกันเป็นทอด ๆ จึงเป็นท่อส่งน้ำที่ทำขึ้นเองเพื่อเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกันของชาวสวน แม้จะนานเพียงใดก็ไม่ทำให้ท่อส่งน้ำที่วางไว้ใต้ดินของใครเป็นท่อส่งน้ำสาธารณประโยชน์ไปได้ และน้ำที่ไหลเข้ามาในที่ดินของจำเลยไปยังที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ผ่านท่อส่งน้ำดังกล่าวไม่ใช่เป็นน้ำที่ไหลตามธรรมดาจากที่ดินสูงมายังที่ดินต่ำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 ที่จะให้สิทธิเจ้าของที่ดินซึ่งอยู่สูงกว่าจะกันน้ำเอาไว้ได้เพียงที่จำเป็นแก่ที่ดินของตนและไม่ใช่เป็นทางน้ำผ่านที่ดินตามมาตรา 1355 ที่เจ้าของที่ดินที่มีทางน้ำผ่านไม่มีสิทธิจะชักเอาน้ำไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของตนตามควรให้เป็นเหตุเสื่อมเสียแก่ที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ตามทางน้ำนั้น และข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากมีการทำถนนสาธารณประโยชน์ทำให้ทับท่อส่งน้ำไปในที่ดินของจำเลยเสียหาย ทำให้ไม่มีน้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยแล้วจำเลยต้องไปขอซื้อน้ำจากที่ดินแปลงของ บ. เพื่อประโยชน์ในที่ดินของจำเลย โดยจำเลยเสียค่าใช้จ่ายเพียงลำพัง และปิดท่อส่งน้ำในที่ดินของตนเองไม่ให้ส่งน้ำไปยังที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามเงื่อนไขที่ บ. ให้จำเลยใช้น้ำต่อจาก บ. คนเดียว การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยรื้อสิ่งปิดกั้นทางน้ำออกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล & การแก้ไขอุทธรณ์: จำเลยยอมรับอำนาจศาลเมื่อไม่โต้แย้งในชั้นพิจารณา & แก้ไขอุทธรณ์นอกกรอบเวลา
แม้จำเลยให้การว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศและนิติกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งก่อนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาต้องเสนอปัญหานี้ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 แต่หลังจากจำเลยยื่นคำให้การ ดังกล่าว ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยายังคงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปและในวันนัดพร้อมเพื่อไกล่เกลี่ย ชี้สองสถานหรือสืบพยาน จำเลยก็มิได้โต้แย้ง กลับแถลงว่ามีพยานพร้อมจะสืบจำนวน 3 ปาก ตามวันที่ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยากำหนดนัดซึ่งเป็นวันว่างของคู่ความ และเมื่อศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยมิได้ยกเรื่องนี้ขึ้นโต้แย้งอีกเช่นกัน จึงถือได้ว่าจำเลยยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาจนล่วงเลยเวลาที่จะเสนอปัญหานี้ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่แล้ว
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงเพิ่มเข้ามาจำนวนมากมิใช่เป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดเพียงเล็กน้อยจึงต้องตกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และมาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 ซึ่งจำเลยจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เสียภายในวันที่ 12 ธันวาคม 2546 อันเป็นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ได้เช่นนี้ เป็นการยื่นอุทธรณ์ที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงเพิ่มเข้ามาจำนวนมากมิใช่เป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดเพียงเล็กน้อยจึงต้องตกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และมาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 ซึ่งจำเลยจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เสียภายในวันที่ 12 ธันวาคม 2546 อันเป็นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ได้เช่นนี้ เป็นการยื่นอุทธรณ์ที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หลักฐานทางอาญา การยืนยันตัวตนยานพาหนะหลบหนี และสิทธิการคืนของกลาง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์เป็นของกลาง แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับของกลางมาด้วยก็ตาม ศาลจะสั่งคืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของก็ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหาย กรณีสินค้ามีค่า และการจำกัดความรับผิด
สินค้าที่ขนส่งเป็นของมีค่า และโจทก์ผู้ส่งได้บอกสภาพแห่งของว่าเป็นนาฬิกาและบอกราคาของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยผู้ขนส่งแล้ว จำเลยจึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลสินค้าเป็นพิเศษในการขนส่ง เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าซึ่งเป็นราคาที่บอกแก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 616, 620 ทั้งโจทก์ไม่ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยตามข้อความที่ปรากฏด้านหลังของใบรับขนทางอากาศ ข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 625 โจทก์จึงไม่จำต้องเพิ่มส่วนความรับผิดของจำเลยโดยเลือกชำระค่าบริการเพิ่มแทนการยอมรับการจำกัดความรับผิด อีกทั้งการที่โจทก์ไม่เสียค่าบริการเพิ่มจะถือว่าโจทก์มีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วยและอาศัยเป็นพฤติการณ์ในการลดค่าเสียหายของโจทก์หาได้ไม่ จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดขอใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าที่ขนส่งตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้ากรณีของสูญหาย และการจำกัดความรับผิดที่ไม่เป็นผลผูกพัน
เมื่อสินค้าที่ขนส่งเป็นของมีค่า และโจทก์ผู้ส่งได้บอกสภาพแห่งของว่าเป็นนาฬิกาและบอกราคาของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยผู้ขนส่งแล้ว จำเลยก็ต้องใช้ความระมัดระวังดูแลสินค้าเป็นพิเศษในการขนส่ง เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าซึ่งเป็นราคาที่บอกแก่ตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616, 620 และโจทก์ไม่ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยตามข้อความที่ปรากฏด้านหลังของใบรับขนทางอากาศ ข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 625 โจทก์จึงไม่จำต้องเลือกชำระค่าบริการเพิ่มแทนการยอมรับการจำกัดความรับผิดของจำเลย ทั้งการที่โจทก์ไม่เสียค่าบริการเพิ่มจะถือว่าโจทก์มีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วย และอาศัยเป็นพฤติการณ์ในการลดค่าเสียหายของโจทก์หาได้ไม่ จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าที่ขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้ ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกับจำเลยอื่นละเมิดลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพของโจทก์ด้วยการร่วมกันนำอุปกรณ์ชุดเครื่องรับสัญญาณ อุปกรณ์ถอดรหัสและแปลงสัญญาณ อุปกรณ์กระจายสัญญาณของโจทก์ทั้งสองไปติดตั้งไว้ในอาคารแล้วแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำโดยการกระจายสัญญาณเสียงและภาพทางโทรทัศน์ในระบบของโจทก์ไปตามสัญญาหรือสายอากาศที่ต่อเข้าไปในห้องเช่าในอาคารจำนวน 225 ห้อง ไปพร้อมกับระบบการให้บริการสัญญาณทางโทรทัศน์ของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการเคเบิลทีวีแบบบอกรับสมาชิก เพื่อให้ผู้เช่าห้องได้รับฟังและรับชมรายการทางโทรทัศน์ของโจทก์โดยมีเครื่องหมายบริการของโจทก์ปรากฏในรายการโทรทัศน์นั้นด้วย ขอให้จำเลยที่ 4 ชดใช้ค่าเสียหายและหยุดการกระทำละเมิด ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 4 ที่อ้างว่า ตัวแทนหรือพนักงานของโจทก์พ่วงต่อสัญญาณโทรทัศน์ของโจทก์เข้ามาในเครื่องรับสัญญาณของจำเลยที่ 4 ทำให้จำเลยที่ 4 ได้รับความเสียหาย แม้เป็นการฟ้องในมูลละเมิดเช่นกัน แต่ก็เป็นการละเมิดต่างครั้งต่างคราวกันและมูลเหตุคนละเรื่องกัน ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 4 ที่กล่าวอ้างใช้สิทธิทางศาลอันเนื่องมาจากการที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 4 เพราะโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเอาความเท็จมาฟ้องต่อศาล เป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อกล่าวอ้าง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิม จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 4 ที่กล่าวอ้างใช้สิทธิทางศาลอันเนื่องมาจากการที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 4 เพราะโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเอาความเท็จมาฟ้องต่อศาล เป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อกล่าวอ้าง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิม จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม