คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระศักดิ์ เสรีเศวตรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10383/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่ได้ระบุรายละเอียด เหตุผลประเมิน และการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อลงทุนให้เช่าถือเป็นการขายเพื่อประกอบกิจการ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ได้แจ้งข้อหาประเมินว่าโจทก์ได้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการคำฟ้องของโจทก์มิได้อ้างว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 77 แต่อย่างใด การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด และพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในคำฟ้อง ซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ป.รัษฎากร มาตรา 88/5 ประกอบมาตรา 91/21 (5) เพียงแต่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษีเท่านั้น มิได้กำหนดว่าในการแจ้งการประเมินเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินให้ผู้เสียภาษีต้องเสียภาษีอากรทราบด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โดยมิได้ระบุว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ จึงเป็นหนังสือแจ้งการประเมินที่ชอบด้วย ป.รัษฎากร แล้ว
แม้จะมี พ.ร.ฎ. ใหม่ ออกมายกเลิก พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ แต่เมื่อขณะที่โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์พิพาทและเกิดความรับผิดทางภาษีนั้น พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ ยังมีผลใช้บังคับ การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยนำหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ มาใช้ในการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะของโจทก์จึงชอบแล้ว
พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ มาตรา 3 (5) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บัญญัติว่า การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6) ได้แก่การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการแต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในเกษตรกรรม ดังนั้น แม้อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบกิจการและที่มีไว้เพื่อใช้ในการประกอบกิจการนั้นอาจยังมิได้นำมาใช้ในการประกอบกิจการดังที่โจทก์เบิกความว่าโจทก์เพิ่งสร้างอาคารพิพาทภายหลังจากที่ซื้อที่ดิน และตั้งใจนำที่ดินและอาคารพิพาทออกให้เช่าแต่ยังไม่มีผู้เช่า พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์แต่แรกว่าประสงค์จะลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มมูลค่าของที่ดิน โดยการสร้างอาคารพิพาทแล้วนำออกให้เช่า แม้ต่อมาจะมีผู้มาเช่าหรือไม่ก็ตามก็ต้องถือว่าโจทก์ประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์แล้ว ที่ดินและอาคารพิพาทจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ เมื่อโจทก์ขายที่ดินและอาคารพิพาทจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร โดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่โจทก์ถือครอง โจทก์ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือครองที่ดินและการเปลี่ยนแปลงหลักฐานการถือครองไม่ถือเป็นการได้มาซึ่งที่ดินใหม่เพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์และ ช. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าของอันถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองตั้งแต่ปี 2504 ที่จำเลยอ้างว่า เมื่อไม่มีเอกสารใดมายืนยันว่าโจทก์และ ช. ได้สิทธิครอบครองตั้งแต่เมื่อใด จึงให้ถือวันที่ออกโฉนดที่ดินเป็นวันที่ได้มาซึ่งที่ดิน นั้น เห็นว่า การที่โจทก์และ ช. เพิ่งมาขอออกโฉนดที่ดินแทนแบบแจ้งการครอบครอง เป็นแต่เพียงการที่โจทก์เปลี่ยนแปลงหลักฐานการถือสิทธิจากแบบแจ้งการครอบครอง ส.ค.1 เดิม มาเป็นโฉนดที่ดิน จะถือว่าโจทก์เพิ่งได้มาซึ่งที่ดินในวันที่ออกโฉนดที่ดินหาได้ไม่ การที่โจทก์และ ช. โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องให้แก่บุคคลอื่นจึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือครองที่ดินก่อนออกโฉนด ไม่ถือเป็นการได้มาซึ่งที่ดินในวันที่ออกโฉนด จึงไม่เข้าข่ายเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์และ ช. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าของอันถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินตั้งแต่ปี 2504 การที่โจทก์เพิ่งมาขอออกโฉนดที่ดินแทนแบบแจ้งการครอบครองในปี 2536 เป็นเพียงการที่โจทก์เปลี่ยนแปลงหลักฐานการถือสิทธิในที่ดิน จะถือว่าโจทก์เพิ่งได้มาซึ่งที่ดินตามฟ้องในวันที่ออกโฉนดได้ไม่ การที่โจทก์และ ช. โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องให้แก่บุคคลอื่น จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 3 (6) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ อันจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8432/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษพยายามกระทำความผิดทางอาญา: คำนวณจากอัตราโทษขั้นต่ำ-สูงสุด หรือจากโทษที่ศาลกำหนด?
ป.อ. มาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่า "ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" หมายถึง การกำหนดโทษที่จะลงโดยคำนวณโทษจากสองในสามของอัตราโทษขั้นต่ำและขั้นสูงตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งโทษสองในสามส่วนของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80 คือโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปี 8 เดือน ถึง 13 ปี 4 เดือน หรือจำคุก 33 ปี 4 เดือน ที่ศาลกำหนดโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี ก่อนลดโทษให้นั้น จึงเป็นการกำหนดโทษจำคุกในระหว่างโทษขั้นต่ำและขั้นสูงโดยคำนวณโทษจากสองในสามของอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดแล้ว มิใช่กำหนดโทษความผิดสำเร็จ ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติให้ศาลกำหนดโทษที่จะลงไว้ก่อนแล้วจึงคำนวณโทษสองในสามส่วนจากโทษที่ได้กำหนดไว้นั้นดังเช่นบัญญัติไว้ตาม ป.อ. มาตรา 54 ซึ่งเป็นเรื่องการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลงจากโทษที่ได้กำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8323/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลต้องส่งคำร้องให้ผู้พิพากษาพิจารณาก่อนรับฎีกา และข้อจำกัดในการย้อนสำนวน
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์คนใดคนหนึ่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งคำร้องของจำเลยพร้อมสำนวนไปให้ผู้พิพากษาตามที่จำเลยระบุเพื่อพิจารณาคำร้องของจำเลยจนครบ เว้นแต่จะมีผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงครบทุกประเด็นตามที่จำเลยต้องการแล้ว เมื่อปรากฎว่ามีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาบางประเด็น ไม่อนุญาตบางประเด็น ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยในประเด็นที่มีผู้อนุญาตทันทีโดยไม่ส่งคำร้องของจำเลยพร้อมสำนวนไปให้ผู้พิพากษาคนอื่นตามคำร้องของจำเลยพิจารณาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 221
ปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกานั้น ต้องเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลล่าง เมื่อปรากฎว่าปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยขอให้รับรองนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นเพราะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนลงไปเพื่อให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของจำเลยไปให้ผู้พิพากษาคนอื่นพิจารณาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดทำให้ขาดอำนาจฟ้อง คดีหมิ่นประมาท
จำเลยที่ 1 ขอร้องให้โจทก์ยอมรับสมอ้างว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 โดยบอกว่าจะไม่ทำให้โจทก์เดือดร้อนและจะสนับสนุนโจทก์ให้สอบเพื่อรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ โจทก์ไม่รับปาก ต่อมาจำเลยที่ 1 บอกว่าจำเลยที่ 2 ไม่ยอมกลับจะขอพบโจทก์ โจทก์จึงตัดสินใจยอมรับสมอ้างตามที่จำเลยที่ 1 ขอร้อง โจทก์ไปพบจำเลยที่ 2 แสดงตัวรับสมอ้างว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 ไปบอก นาง ฉ. มารดาสามีโจทก์และ นาย ก. สามีโจทก์ว่าโจทก์เป็นชู้กับจำเลยที่ 1 โจทก์และนาย ก. ไปหาจำเลยทั้งสองที่บ้าน จำเลยที่ 1 ยืนยันว่าเรื่องที่จำเลยที่ 2 พูดนั้นเป็นความจริง ถือได้ว่าโจทก์สมัครใจที่จะให้จำเลยที่ 1 พูดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกัน โจทก์จึงมีส่วนสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6034/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจำคุกเดิมของผู้ต้องหา และการใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ในการลงโทษ
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องหรือกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เพื่อประกอบดุลพินิจในการลงโทษของศาล การที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 726/2541 จำคุก 1 เดือน และศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยที่ 1 ว่า เคยมีประวัติต้องโทษเมื่อปี 2541 เรื่องอาวุธปืนตามรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวหรือไม่ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วและจำเลยที่ 1 ได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ฟังว่าจำเลยที่ 1 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงชอบด้วยกฎหมาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 และ 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และ 67 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดยในบทความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่ คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลยที่ 1 ในส่วนนี้ ส่วนบทกำหนดโทษนั้น มาตรา 67 กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสภาพที่จะลงได้ ส่วนโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ แม้มีส่วนก่อเหตุ การประเมินค่าเสียหายจากเหตุละเมิด
โจทก์มีส่วนก่อเหตุ แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์เป็นการกระทำที่ร้ายแรงมากกว่าการกระทำของโจทก์จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุและเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ กรณีมิใช่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุและการรับผิดในความเสียหายจากการกระทำละเมิด แม้ผู้ถูกกระทำมีส่วนก่อเหตุ
แม้โจทก์จะมีส่วนก่อเหตุ โดยเฉพาะกับจำเลยที่เป็นพ่อตาโจทก์ที่ถูกโจทก์กระทำไม่สมควรอย่างยิ่ง แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์อันถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ร้ายแรงมากกว่าการกระทำของโจทก์ที่เป็นผู้ก่อเหตุคดีนี้ ตามข้อเท็จจริงที่รับฟังมาได้แล้วว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว กรณีหาใช่ว่าเป็นความยินยอมของโจทก์ไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5994/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอนุญาตให้ดูแลรักษารถของกลางระหว่างพิจารณาคดี ไม่ใช่คำสั่งสิ้นสุด คดีจึงยังไม่ถึงที่สุด และไม่อุทธรณ์ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องนำรถยนต์บรรทุกของกลางไปดูแลรักษาไว้ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีของผู้ร้องเสร็จสิ้นไป เพราะจะต้องมีการไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องอีก กรณีต้องด้วยบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 196 ที่ห้ามผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแก่คดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลให้ผู้ร้องมีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้อง
of 6