พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินสาธารณสมบัติหมดอายุสัญญา ไม่รื้อถอนอาคาร มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 77 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ท้องที่ใดมีอาคารก่อสร้างขึ้นเป็นจำนวนมากในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และมีสภาพหรืออาจทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร เมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ (4) มีคำสั่งให้เจ้าของอาคารทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราค่าเช่าที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด" และวรรคสี่ บัญญัติว่า "สัญญาเช่าที่ดินที่ทำขึ้นตามวรรคหนึ่ง (4) ให้มีระยะเวลาเช่าตามที่ตกลงกันแต่ต้องไม่เกินสิบปี การต่อระยะเวลาเช่าจะกระทำมิได้ เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าที่ดินแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ใดไม่รื้อถอนขนย้ายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างของตนออกจากบริเวณที่กำหนดใน พ.ร.ฎ.ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องระวางโทษปรับเป็นรายวันอีกวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน หรือจนกว่าผู้นั้นยินยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเข้าดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นเอง ในกรณีหลังนี้ให้นำมาตรา 42 วรรคสี่และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2534 เทศบาลตำบลหัวหินซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติเนื้อที่ 26.80 ตารางเมตร ซึ่งอยู่ในบริเวณเขตปรับปรุงอาคารตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ฯ มีกำหนด 10 ปี ครบกำหนดอายุสัญญาเช่าในวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 จำเลยได้เข้าไปปลูกสร้างอาคารและใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันที่สิ้นกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวถึงวันฟ้องต่อเนื่องกันตลอดมารวม 852 วัน จำเลยไม่รื้อถอน ขนย้ายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างของตนออกจากที่ดินบริเวณดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยเช่าที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติเนื้อที่ 26.80 ตารางเมตร ซึ่งอยู่ในบริเวณเขตปรับปรุงอาคารมีกำหนด 10 ปี เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่รื้อถอนขนย้ายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 77 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว กรณีไม่จำต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารก่อนดังที่จำเลยฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2534 เทศบาลตำบลหัวหินซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติเนื้อที่ 26.80 ตารางเมตร ซึ่งอยู่ในบริเวณเขตปรับปรุงอาคารตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ฯ มีกำหนด 10 ปี ครบกำหนดอายุสัญญาเช่าในวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 จำเลยได้เข้าไปปลูกสร้างอาคารและใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันที่สิ้นกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวถึงวันฟ้องต่อเนื่องกันตลอดมารวม 852 วัน จำเลยไม่รื้อถอน ขนย้ายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างของตนออกจากที่ดินบริเวณดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยเช่าที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติเนื้อที่ 26.80 ตารางเมตร ซึ่งอยู่ในบริเวณเขตปรับปรุงอาคารมีกำหนด 10 ปี เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่รื้อถอนขนย้ายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 77 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว กรณีไม่จำต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารก่อนดังที่จำเลยฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญาในคดีชุลมุนต่อสู้ การบรรยายรายละเอียดผู้ร่วมเหตุการณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งมีอาวุธมีดปลายแหลมติดตัวไปกับ ฉ. ผู้ตายฝ่ายหนึ่งกับ ส. อีกฝ่ายหนึ่ง สมัครใจเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป โดยในการชุลมุนต่อสู้ดังกล่าว ฉ. ถูกอาวุธมีดที่จำเลยนำติดตัวไปแทงถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและบุคคลที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่ให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนในการชุลมุนต่อสู้กันจะมีผู้ร่วมชุลมุนกันอีกหลายคน และผู้ร่วมชุลมุนกลุ่มใดเป็นฝ่ายก่อเหตุก่อน เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำพยานมาสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4316/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่สาธารณประโยชน์และการลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ดิน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่สาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐบริเวณชายแดนประเทศไทยและประเทศมาเลเซียด้วยการเข้าไปปลูกบ้านพักอาศัย กว้างประมาณ 7 เมตร ยาว 9 เมตร ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองปลูกสร้างบ้านพักอาศัยกว้าง 20 เมตร ยาว 7 เมตร ในที่ดินรกร้างว่างเปล่าบริเวณแนวพรมแดนประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันและเป็นที่ดินของรัฐ วันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้เป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยกระทำความผิดคดีก่อนและจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยบุกรุกก็มีจำนวนแตกต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันและเป็นที่ดินของรัฐจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 362 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งประสงค์ลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันและเป็นที่ดินของรัฐจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 362 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งประสงค์ลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4182/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รวมให้บุตรโดยไม่มีค่าตอบแทน ไม่ถือเป็นการขายเพื่อค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนอันถือได้ว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) และได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อผู้ที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์รวมให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทน จึงไม่ถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมตรา 91/2 (6) โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4182/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินให้บุตรโดยไม่มีค่าตอบแทน ไม่ถือเป็นการขายเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตามมาตรา 3 (6) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ ยังมีข้อยกเว้นหลายประการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร แสดงว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มามิใช่เป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป หากแต่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาเป็นแต่ละกรณีไป แม้คดีนี้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าโจทก์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนอันถือได้ว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่เมื่อผู้ที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทน การโอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6) โจทก์จึงไม่จำต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการกระทำชำเราต่อเนื่อง โดยไม่มีการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง
การที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายทั้งสองในแต่ละครั้งที่จำเลยมาพักที่บ้านของ ป. เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายทั้งสองคนละวันเวลาต่างวาระกัน และมิได้กระทำต่อเนื่องกันโดยหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายทั้งสองไว้จนไม่สามารถไปไหนได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่างวาระกัน เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
โจทก์บรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหายทั้งสองวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน รวม 10 ครั้ง อันเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ซึ่งศาลสามารถลงโทษจำเลยได้ มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหายทั้งสองวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน รวม 10 ครั้ง อันเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ซึ่งศาลสามารถลงโทษจำเลยได้ มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานสัญญาเช่าซื้อเพื่อพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในของกลางที่ถูกริบ การไม่เคร่งครัดบทบัญญัติมาตรา 238 ป.วิ.อ.
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 238 วรรคหนึ่งที่ว่า ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานได้ เป็นบทบัญญัติในภาค 5 ของ ป.วิ.อ. ซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้บังคับแก่พยานหลักฐานซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ตามมาตรา 226 ผู้ร้องเพียงนำสืบว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เครื่องถ่ายเอกสารของกลางที่ศาลสั่งริบแล้วเพื่อขอให้ศาลสั่งคืนแก่ผู้ร้องตาม ป.อ. มาตรา 36 กรณีจึงไม่จำต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้โดยเคร่งครัด เมื่อผู้ร้องแนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อซึ่งผู้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องรับรองว่าถูกต้องและมีจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเครื่องถ่ายเอกสารของกลางและลงชื่อในสำเนาสัญญาเช่าซื้อมาเบิกความยืนยัน ซึ่งโจทก์ยื่นคำคัดค้านเพียงว่าโจทก์ไม่รับรองสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ร้องอ้าง โดยมิได้คัดค้านว่าสำเนาสัญญาเช่าซื้อมีข้อความไม่ตรงกับต้นฉบับและไม่ถูกต้องอย่างไร สำเนาสัญญาเช่าซื้อจึงรับฟังได้ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมานำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าผู้ร้องให้จำเลยเช่าซื้อเครื่องถ่ายเอกสารของกลาง เมื่อจำเลยยังชำระค่าเช่าซื้อให้ผู้ร้องไม่ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เครื่องถ่ายเอกสารของกลางและมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนเครื่องถ่ายเอกสารของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยในคดีอนาจารและการพรากเด็ก: ศาลฎีกาพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของการเพิ่มโทษซ้ำซ้อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 วรรคแรก, 310 วรรคแรก, 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 92 ฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 1 ปี 4 เดือน ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร จำคุก 8 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 ปี 8 เดือน การที่ศาลชั้นต้นอ้างบทเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 92 ในคำพิพากษาจึงเป็นกรณีศาลชั้นต้นได้เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามแล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุข้อความว่าให้เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามซึ่งเป็นเพียงการไม่สมบูรณ์ชัดเจนเท่านั้น หาทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยเหตุที่ยังมิได้เพิ่มโทษจำเลยดังที่โจทก์ขอมาแต่อย่างใดไม่ ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยอีกจึงเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ดีที่ถูกศาลชั้นต้นต้องกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยในแต่ละฐานความผิดเสียก่อน แล้วจึงเพิ่มโทษจำเลยแต่ละฐานความผิดหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 54
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้เพิ่มเติมโทษจำเลยอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้เพิ่มเติมโทษจำเลยอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการฉ้อฉลต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสอง การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความมีผลทำให้ศาลฎีกาไม่สามารถพิจารณาได้
การเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมดังกล่าว ศาลจึงจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับแก่บุคคลนอกคดีได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วศาลอุทธรณ์ภาค 7 สั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีผลให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์เพราะจะมีผลกระทำไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการฉ้อฉลต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสอง การจำหน่ายคดีออกจากสารบบมีผลทางกฎหมาย
การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมดังกล่าว ศาลจึงจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับกับบุคคลนอกคดีได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 สั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ เพราะโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 มีผลให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่พิพากษายืนให้ยกฟ้อง