คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1144

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผู้จัดการทำสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัท แม้ไม่มีตราบริษัท ก็มีผลผูกพันได้ หากแสดงเจตนาทำในนามบริษัท
กรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์. โดยกรรมการผู้จัดการนั้นลงชื่อแทน. แม้มิได้ประทับตราบริษัท. ซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้จะต้องประทับตราด้วย.ก็ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย. บริษัทโจทก์ย่อมเอาสัญญาเช่าซื้อที่กรรมการผู้จัดการทำกับจำเลยฟ้องจำเลยได้.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 992/2497)
บริษัทโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์. จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทโจทก์. ศาลจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นชี้ขาดยกฟ้องมิได้. เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโดยกรรมการผู้จัดการ แม้ไม่มีตราบริษัท ก็มีผลผูกพันหากทำในนามบริษัท และจำเลยไม่โต้แย้งอำนาจกรรมการ
กรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ โดยกรรมการผู้จัดการนั้นลงชื่อแทน แม้มิได้ประทับตราบริษัทซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนนั้นจะต้องประทับตราด้วย ก็ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยบริษัทโจทก์ย่อมเอาสัญญาเช่าซื้อที่กรรมการผู้จัดการทำกับจำเลยฟ้องจำเลยได้
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 992/2497)
บริษัทโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อและบริษัทโจทก์ ศาลจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นชี้ขาดยกฟ้องมิได้ เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รัฐวิสาหกิจมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากรัฐ ไม่ผูกพันตามระเบียบราชการ เว้นแต่มีมติคณะกรรมการอนุมัติ
บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 97 เมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งได้ตราขึ้นและจดทะเบียนไว้
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้ เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รัฐวิสาหกิจฐานะนิติบุคคลแยกต่างหาก ไม่ผูกพันระเบียบราชการ เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติ
บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 97 เมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งได้ตราขึ้นและจดทะเบียนไว้
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้ เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ.เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รัฐวิสาหกิจมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น ไม่ผูกพันระเบียบราชการ เว้นแต่จะอนุมัติเอง
บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 97. เมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งได้ตราขึ้นและจดทะเบียนไว้.
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้. เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการ.ไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ.เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการลงนามสัญญา แม้ข้อบังคับกำหนด 2 คน แต่การยินยอมมอบอำนาจให้กรรมการคนเดียวดำเนินการได้ ถือผูกพันบริษัท
บริษัทจำเลยมีกรรมการ 3 คน ตามข้อบังคับต้องมีกรรมการ2 คน ลงชื่อเป็นสำคัญจึงจะผูกพันบริษัท แต่สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีกรรมการคนเดียวลงชื่อ ตั้งแต่ตั้งบริษัทมากรรมการอีก 2 คนไม่เคยเข้าจัดการ ได้มอบอำนาจให้กรรมการจัดการลงชื่อเป็นผู้จัดการจึงเป็นการเชิดกรรมการผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ทำการในฐานะตัวแทน ดังนั้น สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญากู้ที่กรรมการที่ลงชื่อได้กระทำไปในหน้าที่กรรมการผู้จัดการ และเป็นตัวแทนบริษัทจำเลยและได้ประทับตราบริษัทไว้ด้วย ถือได้ว่าบริษัทจำเลยได้กระทำนิติกรรมและกิจการกับโจทก์เอง บริษัทจำเลยจะกลับปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
กรรมการบริษัทคนที่ลงชื่อในสัญญากู้ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์เพื่อสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในนามของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยรับไว้แล้ว ถือว่ากรรมการผู้จัดการกระทำไปในนามบริษัทจำเลยทั้งสิ้น มิใช่กระทำการในฐานะส่วนตัว และบริษัทจำเลยได้รับประโยชน์จากการสั่งสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเข้ามาจำหน่ายโดยตรงบริษัทจำเลยจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการในการทำสัญญาและการกระทำแทนบริษัท: แม้ลงชื่อคนเดียวแต่ทำหน้าที่กรรมการผู้จัดการและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท ถือว่าบริษัทผูกพันตามสัญญา
บริษัทจำเลยมีกรรมการ 3 คน ตามข้อบังคับต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อเป็นสำคัญจึงจะผูกพันบริษัท แต่สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีกรรมการคนเดียว ลงชื่อ ตั้งแต่ตั้งบริษัทมากรรมการอีก 2 คนไม่เคยเข้าจัดการ ได้มอบอำนาจให้กรรมการจัดการลงชื่อเป็นผู้จัดการ จึงเป็นการเชิดกรรมการผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ทำการในฐานะตัวแทน ดังนั้น สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญากู้ที่กรรมการที่ลงชื่อได้กระทำไปในหน้าที่กรรมการผู้จัดการ และเป็นตัวแทนบริษัทจำเลยและได้ประทับตราบริษัทไว้ด้วย ถือได้ว่าบริษัทจำเลยได้กระทำนิติกรรมและกิจการกับโจทก์เอง บริษัทจำเลยจะกลับปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
กรรมการบริษัทคนที่ลงชื่อในสัญญากู้ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์เพื่อสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในนามของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยรับไว้แล้ว ถือว่ากรรมการผู้จัดการกระทำไปในนามบริษัทจำเลยทั้งสิ้น มิใช่กระทำการในฐานะส่วนตัว และบริษัทจำเลยได้รับประโยชน์จากการสั่งสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตเข้ามาจำหน่ายโดยตรง บริษัทจำเลยจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คเกินจำนวนเงินในบัญชี ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค แม้ผู้ทรงเช็คยื่นเช็คล่าช้า
เช็คซึ่งให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค ถ้าผู้ทรงเช็คไม่ยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันออกเช็คนั้นก็ทำให้ผู้ทรงเช็คเสียสิทธิบางอย่างดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 990 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ไม่ทำให้ผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ พ้นผิดไปด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อันเป็นบริษัทนิติบุคคลจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 2 กับที่ 3 เซ็นชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในนามของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้ใช้เงินสูงกว่าจำนวนที่มีอยู่ในบัญชีในขณะที่ออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ดังนี้ จำเลยที่ 2,3 ย่อมได้ชื่อว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็ครายนี้ จึงต้องมีความผิดในฐานเป็นตัวการด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คที่ไม่มีเงินรองรับ และความรับผิดของกรรมการบริษัทในฐานะตัวการ
เช็คซึ่งให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค ถ้าผู้ทรงเช็คไม่ยื่นแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันออกเช็คนั้น ก็ทำให้ผู้ทรงเช็คเสียสิทธิบางอย่างดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 940 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ไม่ทำให้ผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ พ้นผิดไปด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อันเป็นบริษัทนิติบุคคล จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของบริษัท จำเลยที่ 2 กับที่ 3 เซ็นชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในามของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้ใช้เงินสูงกว่าจำนวนที่มีอยู่ในบัญชีในขณะทีออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ดังนี้ จำเลยที่2,3 ย่อมได้ชื่อว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็ครายนี้ จึงต้องมีความผิดในฐานเป็นตัวการด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบริษัทจำกัด, เอกสารทางราชการ, และอายุความหลังการผ่อนชำระหนี้
กรรมการผู้แทนบริษัทจำกัด ลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยนั้น ถือว่าบริษัทจำกัดเป็นโจทก์ กรรมการหาใช่ตัวโจทก์ไม่ ฉะนั้น แม้กรรมการจะมรณะ โจทก์ก็ดำเนินคดีได้
โจทก์ระบุอ้างพยานเอกสารไว้แล้วแต่ไม่ได้ส่งสำเนาให้อีกฝ่ายก่อนวันสืบพยาน 3 วันนั้น หากเอกสารนั้นเป็นของทางราชการออกให้ ข้อความในเอกสารย่อมเป็นที่เชื่อถือได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลรับฟังเอกสารนั้นได้
อายุความเรียกร้องนั้น ถ้าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยใช้เงินให้บางส่วนแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลง
of 18