คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1144

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนบริษัท: ผู้ถือหุ้น/กรรมการ ไม่มีอำนาจฟ้องโดยตรง ต้องใช้มติที่ประชุม หรือฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการ
โจทก์เป็นเพียงผู้ถือหุ้น ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนบริษัทจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงควบคุมการดำเนินงานของจำเลยที่ 1 บางประการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น หาอาจก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของจำเลยที่ 1 เสียเองได้ไม่ และแม้โจทก์เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ด้วยคนหนึ่งก็ตาม แต่ตามหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ลำพังโจทก์เพียงคนเดียวไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และการจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3
ส่วนปัญหาที่ว่า หากไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายก็จะไม่มีใครเป็นผู้เสียหายได้เลยนั้น ในกรณีเช่นนี้ โจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นสามารถกระทำได้โดยใช้มติที่ประชุมใหญ่ถอดถอนกรรมการชุดเดิมและแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ แล้วให้กรรมการชุดใหม่ดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 หรือหากโจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นเสียหายก็สามารถดำเนินการฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากกรรมการผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ โดยหากบริษัทไม่ฟ้องกรรมการผู้นั้น โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะดำเนินการฟ้องเองได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิด, ความรับผิดร่วม, คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา, ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์, การจดทะเบียนซ้ำ, การยุยงพนักงาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่ยุยงพนักงานโจทก์ให้ทำงานกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน 1,000,000 บาท และให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาปีละ 500,000 บาท นับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2534 จนกว่าจำเลยที่ 3 จะส่งยาให้โจทก์จำหน่าย โจทก์มิได้อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่เกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้จึงถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 และจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นอีกไม่ได้ แต่ในส่วนค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาปีละ 500,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้นับจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2539 โจทก์มีสิทธิฎีกาได้
จำเลยที่ 3 ไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายตามสัญญาตั้งแต่ประมาณเดือนมิถุนายน 2534 และตามสัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาของจำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียวในประเทศไทยจะสิ้นสุดสัญญาอีกครั้งในวันที่ 1 มกราคม 2539 ประกอบกับตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้แก่โจทก์ตามปกติ นับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2539 อันตรงกับวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายได้อีก และจำเลยที่ 3 มีสิทธิส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายได้ คำขอโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด กรรมการโจทก์มี 6 คน คือ ว. ส. และ พ. กับกรรมการอื่นอีก 3 คน กรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ เมื่อคำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความระบุว่าโจทก์โดย ส. และ พ. กรรมการผู้มีอำนาจ แม้จะแตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า กรรมการผู้มีอำนาจโจทก์คือ ว. และ พ. ก็ตาม แต่บุคคลทั้งสามตามที่ระบุชื่อต่างก็เป็นกรรมการโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้สัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยของจำเลยที่ 3 จะมิได้มีกรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับของโจทก์ก็ตาม แต่ก็มีข้อความระบุชื่อคู่สัญญาไว้ชัดเจนว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 3 กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาในนามโจทก์ จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นคู่สัญญา ทั้งภายหลังทำสัญญาโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างถือเอาสัญญานั้นมาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของตน ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 3 แล้ว
ปัญหาว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาโดยนับแต่ปี 2532 จนกว่าจำเลยที่ 3 จะหยุดส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายหรือไม่นั้น เป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกและความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด จึงไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ และระหว่างที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการโจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดให้จำเลยที่ 3 ยกเลิกไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายหรือชักนำให้จำเลยที่ 3 แต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยแทนโจทก์ และการที่จำเลยที่ 1 นำยาของจำเลยที่ 3 ที่โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนไปจดทะเบียนซ้ำต่อคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2534 จำเลยที่ 1 ได้สั่งยาหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับยาที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ขาดรายได้ปกติและไม่มียาดังกล่าวจำหน่าย ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จึงต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ฟังยุติดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด ไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 สั่งหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ เป็นการกระทำภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีอำนาจกระทำได้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้จำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิด กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันมิอาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, การมอบอำนาจ, และการพิสูจน์หนี้เงินกู้: การรับฟังพยานหลักฐานและการค้ำประกัน
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1144,1158 และ 1164 เป็นการมอบอำนาจของกรรมการบริษัทที่มอบอำนาจของกรรมการเองให้แก่ผู้อื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเช่นนั้นต้องเป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการบริษัทด้วยกัน แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจ ให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจ ให้บุคคลอื่นมาฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้ บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้ แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการ มอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใด โดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็น พยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาต คัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้ คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังพยานหลักฐานได้ ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, การมอบอำนาจ, หลักฐานการกู้ยืม, การชำระหนี้, ความถูกต้องของเอกสาร
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1144, 1158และ 1164 เป็นการมอบอำนาจของกรรมการบริษัทที่มอบอำนาจของกรรมการเองให้แก่ผู้อื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเช่นนั้นต้องเป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการบริษัทด้วยกัน
แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการมอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใดโดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย
เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็นพยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นการนำสืบหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7121/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีตราบริษัท ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเช็ค แม้ทำหน้าที่แทนบริษัท
จำเลยที่1และที่2เป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของบริษัทอ. ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นของบริษัทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ของบริษัทและของจำเลยที่1แต่จำเลยที่1และที่2มิได้ประทับตราของบริษัทด้วยจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1และที่2ไม่ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คโดยระบุว่ากระทำการแทนบริษัทดังกล่าวดังนั้นจำเลยที่1และที่2จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900,901

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7121/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในเช็ค: ลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คโดยไม่ประทับตราบริษัท
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของบริษัท อ.ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นของบริษัทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ของบริษัทและของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ประทับตราของบริษัทด้วย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะผู้แทนบริษัท และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คโดยระบุว่ากระทำการแทนบริษัทดังกล่าว ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 901

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความ: การผูกพันของกรรมการบริษัท และการใช้สิทธิคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อเลิกสัญญา
บริษัทใช้ชื่อจำเลยเป็นชื่อบริษัท ตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนระบุว่า บริษัทมีกรรมการ 4 คน จำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทและเป็นหัวหน้าสำนักงานกฎหมาย
สัญญารับมอบงานเป็นสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นสัญญาจ้างทำของมีข้อความว่า โจทก์ได้มอบให้จำเลยและทนายความในสำนักงานฟ้องคดี จำเลยรับจะดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ว.ผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ลงชื่อและประทับตราโจทก์ในช่องผู้มอบงาน ส่วนจำเลยลงชื่อในช่องผู้รับมอบงานแต่ผู้เดียวไม่ได้ประทับตราของบริษัท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ทั้งข้อความในสัญญาแสดงชัดอยู่ว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยและหรือทนายความในสำนักงานของจำเลยให้ฟ้องคดีโดยจำเลยตกลงเป็นผู้รับจ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัท แม้สัญญารับมอบงานได้กระทำที่บริษัท แต่ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานได้ทำสัญญารับจ้างว่าความกับโจทก์โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความซึ่งมีชื่อบริษัทที่หัวกระดาษทำสัญญากับโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างว่าความได้เลิกกันด้วยการตกลงยินยอมของทั้งสองฝ่ายคู่สัญญาจึงมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ โดยเฉพาะในวรรคสาม โจทก์ผู้ว่าจ้างต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นโดยคิดค่าจ้างตามรูปคดี หาใช่จำเลยต้องคืนค่าจ้างทั้งหมดโดยคิดเป็นค่าเสียหายของโจทก์ตามที่โจทก์เรียกร้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความเลิกกันด้วยความยินยอม โจทก์ต้องใช้ค่าจ้างตามรูปคดี จำเลยต้องคืนส่วนที่เหลือ
บริษัทใช้ชื่อจำเลยเป็นชื่อบริษัทตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนระบุว่าบริษัทมีกรรมการ4คนจำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทมีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทได้จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทและเป็นหัวหน้าสำนักงานกฎหมาย สัญญารับมอบงานเป็นสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นสัญญาจ้างทำของมีข้อความว่าโจทก์ได้มอบให้จำเลยและทนายความในสำนักงานฟ้องคดีจำเลยรับจะดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ว. ผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ลงชื่อประทับตราโจทก์ในช่องผู้มอบงานส่วนจำเลยลงชื่อในช่องผู้รับมอบงานแต่ผู้เดียวไม่ได้ประทับตราของบริษัทจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลทั้งข้อความในสัญญาแสดงชัดอยู่ว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยและหรือทนายความในสำนักงานของจำเลยให้ฟ้องคดีโดยจำเลยตกลงเป็นผู้รับจ้างจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทแม้สัญญารับมอบงานได้กระทำที่บริษัทแต่ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานได้ทำสัญญารับจ้างว่าความกับโจทก์โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความซึ่งมีชื่อบริษัทที่หัวกระดาษทำสัญญากับโจทก์เท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง สัญญาจ้างว่าความได้เลิกกันด้วยการตกลงยินยอมทั้งสองฝ่ายคู่สัญญาจึงมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมโดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมาตรา391วรรคสองวรรคสามและวรรคสี่โดยเฉพาะในวรรคสามโจทก์ผู้ว่าจ้างต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นโดยคิดค่าจ้างตามรูปคดีหาใช่จำเลยต้องคนค่าจ้างทั้งหมดโดยคิดเป็นค่าเสียหายของโจทก์ตามที่โจทก์เรียกร้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกัน และอำนาจฟ้องตามสัญญา การแปลงหนี้ การผิดนัดชำระหนี้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัทล.โดยน.กรรมการบริษัทกับอ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลยโดยอ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัทล.เป็นหนี้โจทก์จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าอ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเองหาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้นย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของอ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349และ350แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัทล.อยู่ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใดๆที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไปบันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลยแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่าจำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัทล.ให้แก่โจทก์และบริษัทล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้กรณีต้องด้วยมาตรา314ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัทล.และบริษัทล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์ บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด4เดือนนับแต่วันทำสัญญาเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงมิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกันและการสัตยาบันข้อตกลง แม้ไม่มีตราสำคัญก็มีผลผูกพันได้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัท ล. โดย น.และ อ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลย โดย อ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับ แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัท ล.เป็นหนี้โจทก์ จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล. ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า อ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเอง หาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
of 18