พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5820/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: การรอให้กรรมการที่ชอบดำเนินการแทนก่อน
เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในฐานะผู้ถือหุ้นที่ใช้อำนาจครอบงำการจัดการเพื่อรักษาผลประโยชน์จากการลงทุนในบริษัทโดยฟ้องเพิกถอนรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่ ย.ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งกับพวกจัดทำอันเป็นเท็จ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทแล้ว ขั้นต่อไปย่อมเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบจะเข้ามาดำเนินกิจการ แล้วพิจารณาว่าสมควรฟ้องร้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ย.ในฐานะผู้แทนโดยมิชอบของจำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 หรือไม่ต่อไป โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหาได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะก้าวล่วงมาฟ้องในชั้นนี้เสียเองต่อบริษัทจำเลยที่ 7 ที่ 8 และจำเลยอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งซื้อสินค้าโดยกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำกัด ถือเป็นการกระทำแทนบริษัท และขอบเขตความรับผิดชอบต่อค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมี ส. เป็นกรรมการผู้จัดการการที่ ส. สั่งซื้อกรอบรูปจากโจทก์แม้จะลงลายมือชื่อในใบสั่งซื้อเพียงผู้เดียว ก็ถือได้ว่า ส. ทำการแทนจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดชอบตามใบสั่งซื้อดังกล่าว จำเลยสั่งซื้อกรอบรูปจากโจทก์แล้วผิดสัญญา เงินกำไรที่โจทก์จะได้รับจากการขายกรอบรูปย่อมเป็นค่าเสียหายตามปกติอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชดใช้ให้โจทก์ ส่วนค่าจ้างทำแม่พิมพ์กรอบรูปนั้น โจทก์มีข้อตกลงกับ ท.ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้ทำกรอบรูปเพื่อขายให้จำเลยว่า หากมีการส่งมอบกรอบรูปให้จำเลยเรียบร้อยค่าจ้างแม่พิมพ์ ท. จะเป็นผู้ออก แต่หากผิดสัญญาโจทก์ต้องรับผิดชอบเอง เช่นนี้ แม้ค่าจ้างทำแม่พิมพ์จะเป็นค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยผิดสัญญา แต่ก็เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่สามารถคาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นได้ก่อนล่วงหน้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินฝากโดยไม่ได้รับอนุญาตและการรับผิดในสัญญา แม้ไม่มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์นำเงินไปฝาก ณ ที่ทำการของบริษัทเงินทุนจำเลยพนักงานของจำเลยรับฝากเงินจากโจทก์และดำเนินการให้กรรมการผู้มีอำนาจออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนเงินที่รับจากโจทก์ และกำหนดวันสั่งจ่ายคืนตามเช็คเป็นเวลา 1 ปีแล้วนำเช็คบรรจุในซองพลาสติกมีตราของบริษัทจำเลยแล้วใส่ในซองจดหมายซึ่งมีชื่อบริษัทจำเลยนำมามอบให้แก่โจทก์ มีลักษณะเพื่อเป็นการใช้เงินคืนซึ่งจำเลยเคยปฏิบัติต่อโจทก์เช่นเดียวกันนี้มาก่อน อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนฯ การที่โจทก์นำเงินไปมอบให้แก่จำเลยก็เพื่อประสงค์จะได้ดอกเบี้ยตามข้อตกลงที่จำเลยให้สัญญา แต่โจทก์มิได้ตกลงกับจำเลยโดยเฉพาะว่าการใช้เงินคืนจำเลยจะต้องทำการออกตั๋วสัญญาใช้เงินหรือออกเช็คให้แก่โจทก์หรือต้องทำในรูปสัญญากู้ยืมหรือประการอื่นใด เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนที่รับมอบจากโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ตัวแทนจำเลยปฏิบัติต่อโจทก์ฝ่ายเดียว โจทก์มิได้ตกลงหรือรู้เห็นด้วยว่าเป็นการฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย จึงมิใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายพฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินและออกเช็คเพื่อใช้คืน ถือเป็นสัญญารับฝากเงินโดยปริยาย แม้ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์นำเงินไปฝาก ณ ที่ทำการของบริษัทเงินทุนจำเลย พนักงานของจำเลยรับฝากเงินจากโจทก์และดำเนินการให้กรรมการผู้มีอำนาจออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนเงินที่รับจากโจทก์ และกำหนดวันสั่งจ่ายคืนตามเช็คเป็นเวลา 1 ปี แล้วนำเช็คบรรจุในซองพลาสติกมีตราของบริษัทจำเลยแล้วใส่ในซองจดหมายซึ่งมีชื่อบริษัทจำเลยนำมามอบให้แก่โจทก์ มีลักษณะเพื่อเป็นการใช้เงินคืนซึ่งจำเลยเคยปฏิบัติต่อโจทก์เช่นเดียวกันนี้มาก่อน อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนฯ การที่โจทก์นำเงินไปมอบให้แก่จำเลยก็เพื่อประสงค์จะได้ดอกเบี้ยตามข้อตกลงที่จำเลยให้สัญญา แต่โจทก์มิได้ตกลงกับจำเลยโดยเฉพาะว่าการใช้เงินคืนจำเลยจะต้องทำการออกตั๋วสัญญาใช้เงินหรือออกเช็คให้แก่โจทก์หรือต้องทำในรูปสัญญากู้ยืมหรือประการอื่นใด เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนที่รับมอบจากโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ตัวแทนจำเลยปฏิบัติต่อโจทก์ฝ่ายเดียว โจทก์มิได้ตกลงหรือรู้เห็นด้วยว่าเป็นการฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย จึงมิใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายพฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มทุนของธนาคาร: ความขัดแย้งระหว่างมติกรรมการและผู้ถือหุ้นเดิม
ธนาคารจำเลยเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ภายในกำหนดเวลา 5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522ใช้บังคับ การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้จะนำมาตรา 1222 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่ มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฉบับดังกล่าวบัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ ต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลธรรมดาซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่นั้น หมายความว่าต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไป ดังนั้น การที่กรรมการธนาคารมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเกินกำหนดดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเท่าที่จำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว คือเพียงร้อยละยี่สิบห้าเท่านั้นการที่กรรมการธนาคารลงมติให้ขายเกินกำหนดดังกล่าวแม้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่เมื่อขัดต่อมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมในอันที่จะจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ โจทก์และโจทก์ร่วมชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติของกรรมการธนาคารได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจกรรมการในการเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ และการละเมิดต่อผู้ถือหุ้นเดิม
ธนาคารจำเลยเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ภายในกำหนดเวลา 5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ใช้บังคับ การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ จะนำมาตรา 1222 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่
มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฉบับดังกล่าวบัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ ต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลธรรมดาซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่นั้น หมายความว่าต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไป ดังนั้น การที่กรรมการธนาคารมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเกินกำหนดดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเท่าที่จำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว คือเพียงร้อยละยี่สิบห้าเท่านั้นการที่กรรมการธนาคารลงมติให้ขายเกินกำหนดดังกล่าวแม้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่เมื่อขัดต่อมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมในอันที่จะจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ โจทก์และโจทก์ร่วมชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติของกรรมการธนาคารได้
มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฉบับดังกล่าวบัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ ต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลธรรมดาซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่นั้น หมายความว่าต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไป ดังนั้น การที่กรรมการธนาคารมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเกินกำหนดดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเท่าที่จำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว คือเพียงร้อยละยี่สิบห้าเท่านั้นการที่กรรมการธนาคารลงมติให้ขายเกินกำหนดดังกล่าวแม้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่เมื่อขัดต่อมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมในอันที่จะจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ โจทก์และโจทก์ร่วมชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติของกรรมการธนาคารได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีผลผูกพันกรรมการ การขายหุ้นเพิ่มทุนต้องเป็นไปตามมติที่ประชุม
ธนาคารจำเลยเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ภายในกำหนดเวลา5 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2522 ใช้บังคับ การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติ นี้ จะนำมาตรา 1222 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่ มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2522 บัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลธรรมดาซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่นั้น หมายความว่าต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไป ดังนั้น การที่กรรมการธนาคารมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเกินกำหนดดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเท่าที่จำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว คือเพียงร้อยละยี่สิบห้าเท่านั้น การที่กรรมการธนาคารลงมติให้ขายเกินกำหนดดังกล่าว แม้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่เมื่อขัดต่อ มติ ที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้น ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมในอันที่จะจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ โจทก์และโจทก์ร่วมชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติของกรรมการธนาคารได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทต้องกระทำการด้วยตนเอง การมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนในฐานะกรรมการไม่ผูกพันบริษัท
การเป็นกรรมการบริษัทเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว กรรมการจึงต้องกระทำการด้วยตนเอง จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทนตนในฐานะกรรมการบริษัทหาได้ไม่ เมื่อข้อบังคับของบริษัทโจทก์ระบุว่ากรรมการซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทโจทก์คือ นาง ก. ลงลายมือชื่อร่วมกับ นาย ช. ดังนั้นการที่ นาง ก. ลงลายมือชื่อในนามตนเองและลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากนาย ช.ในคำฟ้อง จึงไม่มีผลผูกพันบริษัทโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทต้องลงนามด้วยตนเอง การมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนในฐานะกรรมการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การเป็นกรรมการบริษัทเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว กรรมการจึงต้องกระทำการด้วยตนเอง จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทนตนในฐานะกรรมการบริษัทหาได้ไม่ เมื่อข้อบังคับของบริษัทโจทก์ระบุว่ากรรมการซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทโจทก์คือ นาง ก. ลงลายมือชื่อร่วมกับ นาย ช. ดังนั้นการที่ นาง ก. ลงลายมือชื่อในนามตนเองและลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากนาย ช. ในคำฟ้อง จึงไม่มีผลผูกพันบริษัทโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดี: ตราประทับบริษัทใช้ได้แม้ขนาดเล็กกว่าที่จดทะเบียน หากเป็นตราที่ใช้ในกิจการทั่วไป
ตราสำคัญของบริษัทโจทก์ที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับตราสำคัญซึ่งได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แม้จะมีขนาดเล็กกว่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ และเป็นตราที่โจทก์ใช้ในกิจการทั่ว ๆ ไปเป็นประจำทั้งกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ยืนยันว่าเป็นผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบแล้ว.