พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, การรับผิดในสัญญาซื้อขาย, และการชำระหนี้แทนกัน
สัญญาทำขึ้นในขณะบริษัทโจทก์ใช้ชื่อว่าบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวช จำกัด ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อบริษัทพัฒนประเวศ จำกัด ซึ่งตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมีกรรมการบริษัท 2 คน คือ ส. กับ ร.คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทมีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ ดังนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นบริษัทเดียวกับบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวช จำกัด ที่เป็นคู่สัญญากับจำเลย และ ส.ย่อมมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท ฟ้องจำเลยแทนโจทก์ได้
จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์ต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท และอายุความร้องทุกข์เช็ค
แม้การร้องทุกข์มิใช่การทำนิติกรรม แต่การมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์แทนโจทก์ โจทก์ก็ต้องทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ บริษัทโจทก์จดทะเบียนไว้ว่าจำนวนกรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทได้ คือ กรรมการจำพวก ก. 1นายกับกรรมการจำพวก ข. 1 นาย เมื่อกรรมการโจทก์เพียงผู้เดียวลงชื่อมอบอำนาจให้ ก. ไปร้องทุกข์ การมอบอำนาจจึงไม่ผูกพันบริษัทโจทก์ การกระทำของ ก. ไม่ผูกพันโจทก์ ในทางกลับกันบริษัทโจทก์ไม่สามารถถือเอาการกระทำของ ก. เป็นของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์ก็ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์ต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท และอายุความคดีเช็ค
แม้การร้องทุกข์มิใช่การทำนิติกรรม แต่การมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์แทนโจทก์ โจทก์ก็ต้องทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ บริษัทโจทก์จดทะเบียนไว้ว่า จำนวนกรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทได้ คือ กรรมการจำพวก ก. 1 นาย กับกรรมการจำพวก ข. 1 นาย เมื่อกรรมการโจทก์เพียงผู้เดียวลงชื่อมอบอำนาจให้สมุห์บัญชีไปร้องทุกข์ การมอบอำนาจจึงไม่ผูกพันบริษัทโจทก์ การกระทำของสมุห์บัญชีไม่ผูกพันโจทก์ ในทางกลับกันบริษัทโจทก์ไม่สามารถถือเอาการกระทำของสมุห์บัญชีเป็นของโจทก์ได้เมื่อโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์ก็ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์ต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท การร้องทุกข์ไม่ตรงตามข้อบังคับทำให้ขาดอายุความ
แม้การร้องทุกข์มิใช่การทำนิติกรรม แต่การมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์แทนโจทก์ โจทก์ก็ต้องทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ บริษัทโจทก์จดทะเบียนไว้ว่า จำนวนกรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทได้ คือ กรรมการจำพวก ก. 1 นายกับกรรมการจำพวก ข. 1 นาย เมื่อกรรมการโจทก์เพียงผู้เดียวลงชื่อมอบอำนาจให้ ก. ไปร้องทุกข์ การมอบอำนาจจึงไม่ผูกพันบริษัทโจทก์ การกระทำของ ก. ไม่ผูกพันโจทก์ ในทางกลับกันบริษัทโจทก์ไม่สามารถถือเอาการกระทำของ ก. เป็นของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์ก็ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการบริษัทในการมอบอำนาจฟ้องคดี และอายุความสัญญาขายลดเช็ค
ป.พ.พ. มาตรา 1144 ถึงมาตรา 1170 บัญญัติให้กรรมการบริษัทมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับบริษัทไว้หลายประการ เช่น ให้กรรมการใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในอันที่จะประกอบกิจการของบริษัทอย่างผู้ค้าขายด้วยความระมัดระวัง ให้มีอำนาจเรียกประชุมกรรมการและออกเสียงชี้ขาดปัญหาในที่ประชุม ให้มีอำนาจมอบอำนาจของตนให้ผู้จัดการ ฯลฯ ซึ่งกรณีดังกล่าวถือได้ว่าผู้เป็นกรรมการของบริษัททุกคนต้องมีหน้าที่บริหารกิจการของบริษัท ฉะนั้นกรรมการบริษัทคนหนึ่งจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้จัดการและประทับตราของบริษัท แต่งตั้งให้ผู้อื่นฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
การใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164ส่วนการฟ้องผู้สั่งจ่ายซึ่งมิได้ทำสัญญาขายลดเช็คด้วย ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 24 กันยายน 2525เช็คสั่งจ่ายลงวันที่ 1 ตุลาคม 2524 ไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างเป็นประเด็นในคำให้การว่า โจทก์เคยนำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องไปฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีอื่นแล้วจึงนำมาฟ้องคดีนี้อีกไม่ได้เพราะเป็นฟ้องซ้อน แต่จำเลยที่ 2 มิได้นำสืบให้ได้ข้อเท็จจริงดังที่อ้าง ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 จึงฟังไม่ขึ้น.(ที่มา-ส่งเสริม)
การใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164ส่วนการฟ้องผู้สั่งจ่ายซึ่งมิได้ทำสัญญาขายลดเช็คด้วย ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 24 กันยายน 2525เช็คสั่งจ่ายลงวันที่ 1 ตุลาคม 2524 ไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างเป็นประเด็นในคำให้การว่า โจทก์เคยนำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องไปฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีอื่นแล้วจึงนำมาฟ้องคดีนี้อีกไม่ได้เพราะเป็นฟ้องซ้อน แต่จำเลยที่ 2 มิได้นำสืบให้ได้ข้อเท็จจริงดังที่อ้าง ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 จึงฟังไม่ขึ้น.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ หากผู้ลงนามไม่ใช่ผู้มีอำนาจตามข้อบังคับบริษัท
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย ส. กรรมการบริษัทจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ต้องมีกรรมการของจำเลยตามที่ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับจำนวนสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลผูกพันจำเลย การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส. และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมนั้น จึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรค 2(2) ไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลงนามในสัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท หากไม่เป็นไปตามข้อบังคับ สัญญาเป็นโมฆะ
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยส.กรรมการบริษัทจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ต้องมีกรรมการของจำเลยตามที่ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับจำนวนสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลผูกพันจำเลยการที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับส.และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมนั้นจึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรค2(2)ไม่มีผลบังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจ้างงานใหม่ย่อมยกเลิกข้อตกลงเดิม การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์โดยเฉพาะเจาะจงให้มาทำงานกับจำเลยในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่แน่นอนหนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณานั้นเป็นการให้โอกาสโจทก์ที่จะมีคำสนองต่อจำเลยหรือไม่เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยแล้วจึงเป็นคำสนองของโจทก์แต่การที่ต่อมาโจทก์ได้ทำใบสมัครงานกับจำเลยโดยกำหนดให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือนซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขขึ้นใหม่เช่นนี้จึงมีผลเป็นว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงกันใหม่โดยยกเลิกข้อตกลงเดิมนั้นแล้วโจทก์ต้องผูกพันตามข้อตกลงใหม่ ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า กรรมการของบริษัทที่ทำงานในโรงพยาบาลด้วยไม่ต้องทดลองงานมีความหมายว่ากรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการตามข้อบังคับของบริษัทโดยอยู่ในความครอบงำ ของที่ประชุมใหญ่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144และกรรมการผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นเช่นพนักงานคนหนึ่งของบริษัทด้วยเช่นนี้กรรมการผู้นั้นไม่ต้องทดลองงานโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยไม่ว่าโจทก์จะดำรงตำแหน่งใดในบริษัทจำเลย โจทก์ก็คงมีฐานะเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานคนหนึ่งของจำเลยเท่านั้นหาใช่ว่าตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแล้วจะมิใช่พนักงานของจำเลยไม่เมื่อโจทก์มิได้ทักท้วงเงื่อนไขที่จำเลยให้ทดลองปฏิบัติงานโจทก์ก็ต้องผ่านการทดลองปฏิบัติงานตามข้อตกลงใหม่ โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เขียนเงื่อนไขในใบสมัครงานเพิ่มเติมโดยพลการลับหลังโจทก์ เป็นการปลอมเอกสารโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงเงื่อนไขดังกล่าวต่อกันและ ส. เบิกความกลับไปกลับมาบิดเบือนความจริงหลายประการเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยโดยอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือนจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจ้างงานใหม่ย่อมยกเลิกข้อตกลงเดิม การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์โดยเฉพาะเจาะจงให้มาทำงานกับจำเลยในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่แน่นอน หนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอ ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณานั้น เป็นการให้โอกาสโจทก์ที่จะมีคำสนองต่อจำเลยหรือไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยแล้วจึงเป็นคำสนองของโจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ได้ทำใบสมัครงานกับจำเลยโดยกำหนดให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขขึ้นใหม่ เช่นนี้จึงมีผลเป็นว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงกันใหม่โดยยกเลิกข้อตกลงเดิมนั้นแล้ว โจทก์ต้องผูกพันตามข้อตกลงใหม่
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า กรรมการของบริษัทที่ทำงานในโรงพยาบาลด้วยไม่ต้องทดลองงานมีความหมายว่ากรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการตามข้อบังคับของบริษัทโดยอยู่ในความครอบงำ ของที่ประชุมใหญ่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144 และกรรมการผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นเช่นพนักงานคนหนึ่งของบริษัทด้วยเช่นนี้ กรรมการผู้นั้นไม่ต้องทดลองงานโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยไม่ว่าโจทก์จะดำรงตำแหน่งใดในบริษัทจำเลย โจทก์ก็คงมีฐานะเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานคนหนึ่งของจำเลยเท่านั้นหาใช่ว่าตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแล้ว จะมิใช่พนักงานของจำเลยไม่ เมื่อโจทก์มิได้ทักท้วงเงื่อนไขที่จำเลยให้ทดลองปฏิบัติงานโจทก์ก็ต้องผ่านการทดลองปฏิบัติงานตามข้อตกลงใหม่
โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เขียนเงื่อนไขในใบสมัครงานเพิ่มเติมโดยพลการลับหลังโจทก์ เป็นการปลอมเอกสารโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงเงื่อนไขดังกล่าวต่อกันและ ส. เบิกความกลับไปกลับมาบิดเบือนความจริงหลายประการ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยโดยอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า กรรมการของบริษัทที่ทำงานในโรงพยาบาลด้วยไม่ต้องทดลองงานมีความหมายว่ากรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการตามข้อบังคับของบริษัทโดยอยู่ในความครอบงำ ของที่ประชุมใหญ่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144 และกรรมการผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นเช่นพนักงานคนหนึ่งของบริษัทด้วยเช่นนี้ กรรมการผู้นั้นไม่ต้องทดลองงานโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยไม่ว่าโจทก์จะดำรงตำแหน่งใดในบริษัทจำเลย โจทก์ก็คงมีฐานะเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานคนหนึ่งของจำเลยเท่านั้นหาใช่ว่าตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแล้ว จะมิใช่พนักงานของจำเลยไม่ เมื่อโจทก์มิได้ทักท้วงเงื่อนไขที่จำเลยให้ทดลองปฏิบัติงานโจทก์ก็ต้องผ่านการทดลองปฏิบัติงานตามข้อตกลงใหม่
โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เขียนเงื่อนไขในใบสมัครงานเพิ่มเติมโดยพลการลับหลังโจทก์ เป็นการปลอมเอกสารโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงเงื่อนไขดังกล่าวต่อกันและ ส. เบิกความกลับไปกลับมาบิดเบือนความจริงหลายประการ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยโดยอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677-679/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีโดยคณะกรรมการบริหารของบริษัท
คณะกรรมการของบริษัทโจทก์ซึ่งมี 15 นาย ได้อาศัยอำนาจตามข้อบังคับของโจทก์ลงมติเลือกตั้งกรรมการของโจทก์เป็นคณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและดำเนินงานประจำวันของโจทก์อย่างใกล้ชิดโดยเป็นผู้ใช้อำนาจของคณะกรรมการโจทก์จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริหารคนหนึ่งของโจทก์เป็นลูกหนี้โจทก์ร่วมกับจำเลยอื่น แล้วไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ การที่กรรมการบริหาร 3 นายในจำนวน 5 นายซึ่งเป็นเสียงส่วนข้างมากโดยมีมติเวียนอนุมัติมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องจำเลยที่ 4 กับพวกเพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ และขจัดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 4ผู้เป็นกรรมการบริหารของโจทก์คนหนึ่ง ถือได้ว่ากรรมการบริหารของโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนโจทก์แล้ว