พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14122/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีต้องครบขั้นตอนภายใน 10 ปี หากไม่ครบถ้วนสิทธิในการยึดทรัพย์สินจะสิ้นสุดลง
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา ขั้นตอนแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ออกหมายบังคับคดี ขั้นตอนต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีและขั้นตอนสุดท้ายเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้
โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลย แต่ผู้แทนโจทก์ส่งเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยึดไม่ครบจึงยึดที่ดินไม่ได้ ผู้แทนโจทก์ไม่ไปพบและแถลงว่าจะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ และไม่ไปแถลงนำยึดทรัพย์ตามคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ภายหลังมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปรับเงินค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือคืน ปัจจุบันยังไม่มีการยึดทรัพย์ สำนวนบังคับคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างรอปลดเผา หากโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีจะต้องตั้งเรื่องบังคับคดีใหม่ เช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา
โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลย แต่ผู้แทนโจทก์ส่งเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยึดไม่ครบจึงยึดที่ดินไม่ได้ ผู้แทนโจทก์ไม่ไปพบและแถลงว่าจะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ และไม่ไปแถลงนำยึดทรัพย์ตามคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ภายหลังมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปรับเงินค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือคืน ปัจจุบันยังไม่มีการยึดทรัพย์ สำนวนบังคับคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างรอปลดเผา หากโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีจะต้องตั้งเรื่องบังคับคดีใหม่ เช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14122/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การดำเนินการตามขั้นตอนที่ครบถ้วนภายใน 10 ปี เพื่อรักษาสิทธิเรียกร้อง
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ตามคำบังคับ เป็นกรณีที่ต้องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 และมาตรา 278 จะเห็นได้ว่า การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ขั้นตอนต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี และขั้นตอนสุดท้ายเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ คดีนี้ผู้แทนโจทก์นำเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยึดมายื่นไม่ครบจึงไม่สามารถยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหนังสือแจ้งผู้แทนโจทก์ให้ไปพบเพื่อแถลงว่ายังประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ และให้มาแถลงยึดทรัพย์ แต่ก็ไม่มีการติดต่อเพื่อดำเนินการใดๆ จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการยึดที่ดินทั้ง 11 แปลง ดังกล่าว และสำนวนบังคับคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างรอปลดเผา เช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา กรณีย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่มีสิทธิยึดต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทั้ง 11 แปลงไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6131/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจรและขอบเขตความรับผิดในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาตามคำพิพากษาถึงที่สุด
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น การนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ คำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุด ข้อเท็จจริงนั้นเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้ง และเป็นคู่ความเดียวกัน คดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยมีความผิดฐานรับของโจรชิ้นส่วนรถยนต์ของ อ. ผู้เอาประกันภัยกับโจทก์ พฤติการณ์ในคดีส่วนแพ่ง คือ พบชิ้นส่วนรถยนต์บรรทุกสิบล้อพิพาทในบริเวณอู่ซ่อมรถที่จำเลยดำเนินกิจการ จำเลยรับว่าซื้อรถยนต์พิพาทจาก ก. ราคา 200,000 บาท โดยโอนลอยทั้งที่ ก. เพิ่งซื้อมาจากบริษัท ห. ในราคา 650,000 บาท ดังนั้น จำเลยรับซื้อรถยนต์ทั้งคันไว้ในราคาต่ำผิดปกติ จึงฟังได้ว่า จำเลยรับซื้อรถยนต์พิพาททั้งคันโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ลักมา แม้ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยรับของโจรชิ้นส่วนรถยนต์ มิได้รับของโจรรถยนต์ทั้งคันก็ตาม แต่คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 เมื่อคดีส่วนแพ่งฟังว่า จำเลยรับรถยนต์ไว้ทั้งคันก็ให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งคันแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดตามเช็ค แม้จะอ้างว่าให้ยืมเช็คเพื่อค้ำประกันการขายลดเช็ค
เมื่อฟังได้ว่า จำเลยที่ 8 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท โดยไม่ปรากฏในเช็คพิพาททั้งสองฉบับว่า เป็นเช็คค้ำประกันการขายลดเช็คดังที่จำเลยที่ 8 กล่าวอ้าง จำเลยที่ 8 จึงต้องรับผิดชดใช้เงินตามเนื้อความในเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ทั้งเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คผู้ถือ เมื่อโจทก์มีเช็คดังกล่าวไว้ในครอบครอง โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 การที่จำเลยที่ 8 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 8 ให้จำเลยที่ 6 ขอยืมเช็คพิพาทไปค้ำประกันการขายลดเช็คโดยจำเลยที่ 6 สั่งจ่ายเช็คของตนเองมาเปลี่ยน จำเลยที่ 8 มิได้มีเจตนาให้จำเลยที่ 1 นำไปชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นการยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยที่ 8 กับจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนมาต่อสู้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ส่วนที่จำเลยที่ 8 อ้างว่า โจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาด้วยการคบคิดกันฉ้อฉลกับจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 8 มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าโจทก์คบคิดกับจำเลยที่ 1 ฉ้อฉลจำเลยที่ 8 อย่างไร จำเลยที่ 8 นำสืบมาเพียงว่า จำเลยที่ 8 ให้จำเลยที่ 6 ยืมเช็คพิพาทไปค้ำประกันการขายลดเช็คโดยจำเลยที่ 6 สั่งจ่ายเช็คของตนเองมาแลกเปลี่ยนเท่านั้น จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังดังที่จำเลยที่ 8 อ้างมา จำเลยที่ 8 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับย่อมต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5063/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมูลละเมิด: การรับรู้ความเสียหายและการมอบอำนาจดำเนินคดี
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด" ผู้เสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าวได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลมี ป. เป็นผู้ว่าการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อ ป. มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายหรือผู้รักษาการแทนซึ่งในคดีนี้คือ ก. เป็นผู้ดำเนินคดีแพ่ง ก. ย่อมเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ แม้ อ. ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักกฎหมายก็ตาม แต่ อ. หาใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์แต่อย่างใดไม่ การที่ อ. มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ตามปกติเท่านั้น มิใช่เป็นการกระทำแทนผู้ว่าการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะของตัวการตัวแทนอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ว่าการ เมื่อปรากฏว่า ก. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ทราบเรื่องตามที่เจ้าหน้าที่เสนอตามลำดับชั้นและอนุมัติให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 จึงถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดในวันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 อันเป็นวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์อุทธรณ์โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องและชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วมิได้วินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป แต่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ ดังนั้น จึงชอบที่จะเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ เป็นเงิน 200 บาท
โจทก์อุทธรณ์โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องและชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วมิได้วินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป แต่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ ดังนั้น จึงชอบที่จะเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ เป็นเงิน 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การยกที่ดินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส หากไม่ได้รับความยินยอม คู่สมรสอีกฝ่ายมีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้
การที่จำเลยที่ 1 และ ช. ได้ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทมา ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสกับโจทก์ เป็นสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 บัญญัติว่า สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้ (5) ให้โดยเสน่หา และมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ กฎหมายมิได้บัญญัติให้นิติกรรมในการจัดการสินสมรสที่คู่สมรสทำไปโดยลำพังนั้น เป็นโมฆะหรือโมฆียะ บัญญัติแต่เพียงว่านิติกรรมนั้นอาจถูกเพิกถอนได้ในภายหลังเท่านั้น เมื่อศาลยังไม่มีคำพิพากษาให้เพิกถอน นิติกรรมการให้ที่ดินโดยเสน่หาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ย่อมสมบูรณ์ โจทก์ไม่จำต้องบอกล้างโมฆียะกรรมแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์จึงเป็นสินสมรส อำนาจในการจัดการสินสมรสดังกล่าว จำเลยที่ 1 และโจทก์จึงต้องจัดการร่วมกัน การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย: การแบ่งแยกตัวการและการซื้อขาย
ความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฝ่ายซื้อกับผู้ขายไม่อาจครอบครองเมทแอมเฟตามีนพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นฝ่ายผู้ขาย ส่วนจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 เป็นฝ่ายซื้อ จึงไม่เป็นตัวการร่วมในการครอบครองเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16097/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ทรัพย์ขายฝาก: การวางทรัพย์ต่อสำนักงานบังคับคดีภายในกำหนดเวลา ถือเป็นการใช้สิทธิไถ่โดยชอบ
ได้ความว่า เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการขายฝาก โจทก์ทั้งสองพยายามติดต่อจำเลยแต่ไม่สามารถติดต่อได้ ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนาปฏิเสธบอกปัดไม่ยอมรับการไถ่ถอนหรือไม่ยอมรับชำระหนี้อยู่ในตัว กรณีจึงมีเหตุให้โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิวางทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 331 เมื่อโจทก์ทั้งสองวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ต่อสำนักงานบังคับคดีจังหวัดชลบุรี สาขาพัทยา โดยมีหลักฐานแคชเชียร์เช็คลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 จ่ายสำนักงานบังคับคดีจำนวนเงิน 10,000,000 บาท ซึ่งเป็นวันที่ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอน นอกจากนี้โจทก์ที่ 1 ยังได้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐานว่า วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 โจทก์ที่ 1 นำเงินมาไถ่ถอนที่ดินตามสัญญาขายฝากซึ่งครบกำหนดแล้ว แต่จำเลยไม่มาตามนัดและไม่สามารถติดต่อได้ ตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน การแจ้งความเป็นหลักฐานระบุเวลา 17.15 นาฬิกา อันเป็นเวลาที่ทางราชการปิดทำการแล้ว จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ทั้งสองดำเนินการตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสำนักงานบังคับคดีและวันที่ 2 กรกฎาคม 2553 โจทก์ทั้งสองนำแคชเชียร์เช็คฉบับดังกล่าวที่สั่งจ่ายแก่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดชลบุรี สาขาพัทยา ไปวางทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานวางทรัพย์ที่สำนักงานบังคับคดีโดยมีบันทึกรายงานเจ้าพนักงานเป็นหลักฐาน ยิ่งเป็นข้อชี้ชัดว่าโจทก์ทั้งสองมีเงินสินไถ่ พร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลยตามสัญญาขายฝากในวันครบกำหนดจริง พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าโจทก์ทั้งสองผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ถอนได้ภายในกำหนดแล้ว ส่วนการจะนำแคชเชียร์เช็คไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์หรือวางแล้วถอนคืนไป ก็มิใช่กรณีที่นำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้มีสิทธิไถ่คืน การวางทรัพย์เป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าผู้ขายฝากมีเงินสินไถ่มาทำการไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากกับผู้รับซื้อฝาก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือผู้ไถ่ได้วางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาไถ่โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้" ในกรณีวางทรัพย์บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับให้โจทก์ทั้งสองผู้ไถ่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้ให้แก่จำเลยผู้ซื้อฝากพร้อมกับสินไถ่ที่โจทก์ทั้งสองวางแคชเชียร์เช็คจำนวนเงิน 10,000,000 บาท อันเป็นสินไถ่เท่าที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก จึงเป็นการใช้สิทธิไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากโดยชอบแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือผู้ไถ่ได้วางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาไถ่โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้" ในกรณีวางทรัพย์บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับให้โจทก์ทั้งสองผู้ไถ่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้ให้แก่จำเลยผู้ซื้อฝากพร้อมกับสินไถ่ที่โจทก์ทั้งสองวางแคชเชียร์เช็คจำนวนเงิน 10,000,000 บาท อันเป็นสินไถ่เท่าที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก จึงเป็นการใช้สิทธิไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15561/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคลสมาคม: การเพิกถอนใบอนุญาตยังไม่ถึงที่สุด สมาคมยังมีอำนาจฟ้อง
การกีฬาแห่งประเทศไทยเพิกถอนใบอนุญาตที่ให้โจทก์จัดตั้งเป็นสมาคมแต่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองและคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ยุติ ทั้งการเลิกสมาคมต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 101 (6) ที่บัญญัติให้สมาคมเลิกกันเมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมจากทะเบียน เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนได้ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียน โจทก์จึงยังมีสถานะเป็นนิติบุคคลและมีอำนาจฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15402/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: สิทธิบุคคลภายนอกคดี & การเพิกถอนกระบวนพิจารณา
การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนและมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ผู้คัดค้านจะไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ ถือว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกคดีมีสิทธิพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้อง และคำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) ก็ตาม แต่คดีนี้คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดไปแล้ว โดยข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ผู้ร้องนำคำสั่งศาลชั้นต้นไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือดำเนินการขอให้ผู้คัดค้านรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดิน อันจะถือได้ว่าเป็นการดำเนินการชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และคำร้องขอของผู้คัดค้านเพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาและคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ที่ดินแปลงดังกล่าวตกเป็นของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์เท่านั้น มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าผู้คัดค้านมีสิทธิเหนือที่ดินแปลงดังกล่าวแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องคัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อให้ได้ความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)