พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาโดยปริยาย และสิทธิในการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาและนำออกประมูลขายทอดตลาด เมื่อนำมาหักกับราคาเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วยังขาดอยู่อีก โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคาและค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัด ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา 160,000 บาท ส่วนค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยนั้นถือเป็นการคิดค่าเสียหายส่วนหนึ่ง เมื่อได้กำหนดค่าเสียหายให้เป็นจำนวนพอสมควรแล้วจึงไม่กำหนดให้อีก พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ 160,000 บาท คำขออื่นให้ยก ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแสดงว่า โจทก์มีสิทธิได้รับทั้งค่าขาดราคาและค่าขาดประโยชน์ แต่เมื่อศาลกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคาให้โจทก์มากพอสมควรแล้ว จึงไม่กำหนดค่าขาดประโยชน์ให้อีก ดังนั้น ในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา แต่โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ได้ (แม้โจทก์แก้อุทธรณ์โดยไม่ได้ขอค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์) เพราะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้อง และศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับอยู่แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายค่าขาดประโยชน์ได้ แม้ศาลชั้นต้นกำหนดค่าขาดราคาแล้ว หากการบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาและนำออกประมูลขายทอดตลาดได้เงิน 70,000 บาท เมื่อนำมาหักกับราคาเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วยังขาดอยู่อีก 179,173.72 บาท โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา 179,173.72 บาท และค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน เป็นเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัด ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา 160,000 บาท ส่วนค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยนั้นถือเป็นการคิดค่าเสียหายส่วนหนึ่ง เมื่อได้กำหนดค่าเสียหายให้เป็นจำนวนพอสมควรแล้วจึงไม่กำหนดให้อีก ดังนั้น ในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้อง และศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดได้ และการพิพากษาเกินคำขอเป็นปัญหาความสงบเรียบร้อย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยทั้งสามได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
สัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 8 ต่อปี และเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้โดยไม่ต้องแจ้งจำเลยที่ 1 ทราบแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตามกฎหมายก็ตาม แต่สัญญากู้ยืมเงินระบุว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ไม่ว่างวดใดงวดหนึ่ง ให้โจทก์มีสิทธิเรียกคืนเงินกู้ทั้งหมดพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ครบถ้วน ข้อเท็จจริงได้ความว่า นับแต่วันทำสัญญากู้ยืมเงินมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยหลายครั้ง โจทก์คงคิดดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 9 ต่อปี เท่านั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 เป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ภายหลังที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามสัญญา ซึ่งเป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัด ดอกเบี้ยที่โจทก์ปรับเพิ่มขึ้นจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ 7,084,795.31 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น ปรากฏตามคำฟ้องว่าหนี้กู้ยืมและค้ำประกันในส่วนที่เป็นต้นเงินโจทก์ขอมาเพียง 7,000,000 บาท ส่วนดอกเบี้ย 62,136.99 บาท โจทก์มิได้ขอมาด้วย นอกจากนี้เงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยทรัพย์จำนอง 22,658.32 บาท ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้จำเลยทั้งสามรับผิดเป็นอีกส่วนหนึ่งแยกต่างหากจากเงินที่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมและค้ำประกันไว้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำดอกเบี้ย 62,136.99 บาท กับเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย 22,658.32 บาท มารวมกับต้นเงิน 7,000,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ และมีผลให้จำเลยทั้งสามต้องชำระเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยซ้ำซ้อน ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
สัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 8 ต่อปี และเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้โดยไม่ต้องแจ้งจำเลยที่ 1 ทราบแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตามกฎหมายก็ตาม แต่สัญญากู้ยืมเงินระบุว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ไม่ว่างวดใดงวดหนึ่ง ให้โจทก์มีสิทธิเรียกคืนเงินกู้ทั้งหมดพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ครบถ้วน ข้อเท็จจริงได้ความว่า นับแต่วันทำสัญญากู้ยืมเงินมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยหลายครั้ง โจทก์คงคิดดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 9 ต่อปี เท่านั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 เป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ภายหลังที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามสัญญา ซึ่งเป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัด ดอกเบี้ยที่โจทก์ปรับเพิ่มขึ้นจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ 7,084,795.31 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น ปรากฏตามคำฟ้องว่าหนี้กู้ยืมและค้ำประกันในส่วนที่เป็นต้นเงินโจทก์ขอมาเพียง 7,000,000 บาท ส่วนดอกเบี้ย 62,136.99 บาท โจทก์มิได้ขอมาด้วย นอกจากนี้เงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยทรัพย์จำนอง 22,658.32 บาท ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้จำเลยทั้งสามรับผิดเป็นอีกส่วนหนึ่งแยกต่างหากจากเงินที่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมและค้ำประกันไว้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำดอกเบี้ย 62,136.99 บาท กับเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย 22,658.32 บาท มารวมกับต้นเงิน 7,000,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ และมีผลให้จำเลยทั้งสามต้องชำระเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยซ้ำซ้อน ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9524/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองย่อมเป็นสิทธิทรัพย์สินแยกต่างหากจากสิทธิส่วนบุคคลตามสัญญาค้ำประกัน แม้พิพากษายกฟ้องค้ำประกัน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งเจ็ดสัญญาพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่สำหรับหนี้ตามสัญญาใช้บัตรวีซ่ากรุงไทยและสินเชื่อธนวัฎบัตรเครดิต ศาลชั้นต้นเพียงแต่พิพากษายกฟ้องโดยเหตุที่โจทก์มิได้นำสืบจำนวนหนี้ที่แท้จริงในกรณีโจทก์คิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นว่าเป็นจำนวนเท่าใด ทำให้ศาลชั้นต้นไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ได้และในทำนองเดียวกันศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ก็โดยเหตุจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 เพียง 4 สัญญาในจำนวน 7 สัญญา แต่โจทก์นำสืบยอดหนี้รวมกันมาทั้งเจ็ดสัญญา ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจทราบจำนวนหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี 4 สัญญาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นเหตุให้ไม่อาจพิพากษากำหนดจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดได้เช่นกัน แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชี้ชัดแล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญาใช้บัตรวีซ่ากรุงไทยและสินเชื่อธนวัฎบัตรเครดิตเช่นนี้แม้ศาลชั้นต้นในคดีนี้จะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีต่อโจทก์อันเป็นบุคคลสิทธิที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันก็ตามแต่สำหรับที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์นั้น โจทก์ย่อมเป็นเจ้าหนี้จำนองและทรงทรัพย์สิทธิที่จะบังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ตามวงเงินจำนองที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองไว้ได้ เพราะไม่ปรากฏเหตุความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนองดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 744 บัญญัติไว้ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำพิพากษาที่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8914/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง ตามมาตรา 58 วรรคแรก ประมวลกฎหมายอาญา
ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก บัญญัติว่า "เมื่อความปรากฏแก่ศาลเองหรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทำความผิดอันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลังหรือบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังแล้วแต่กรณี" ดังนั้น เมื่อความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติว่า ภายในกำหนดระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนทั้งสองคดี จำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีก จึงต้องนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนทั้งสองคดีมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ก็ตาม ที่ศาลล่างทั้งสองมิได้นำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนทั้งสองคดีมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายและกรณีนี้มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ และมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎหมายบัญญัติให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีหลังด้วยเสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7655/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาซ้อน: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ฯ ที่ไม่อนุญาตให้แก้ไขการนับโทษ เนื่องจากจำเลยมิได้ยกเหตุในชั้นศาลล่าง
การที่จะวินิจฉัยว่าการนับโทษต่อของศาลชั้นต้นเป็นไปโดยชอบหรือไม่ จะต้องรับฟังข้อเท็จจริงให้เป็นยุติตามที่จำเลยกล่าวอ้างว่าเหตุคดีนี้เกิดในเวลาเดียวกันและเป็นกรรมเดียวกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2328/2548 ของศาลชั้นต้น แต่จำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น ตามอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ และเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าต้องนับโทษในคดีนี้ควบกับคดีดังกล่าว จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7506/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไว้เพื่อขายวัตถุออกฤทธิ์ประเภทต่างกัน ถือเป็นหลายกรรมต่างกัน แม้กระทำพร้อมกัน
ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ฯ ได้บัญญัติให้มาซิลดอลและไดอาซีแพม เป็นวัตถุออกฤทธิ์คนละประเภทกัน โดยมาซิลดอลเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ส่วนไดอาซีแพมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 97) ฯ เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ฯ ทั้งบทกำหนดโทษในความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวก็เป็นคนละมาตรากัน แสดงว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์แต่ละประเภทแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น แม้จำเลยจะมีไว้เพื่อขายวัตถุออกฤทธิ์ทั้ง 2 ประเภทในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดในแต่ละกระทงศาลอุทธรร์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ความผิดในแต่ละกระทงศาลอุทธรร์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการคัดค้านในคดีไม่มีข้อพิพาท: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเกี่ยวข้องกับมูลคดีโดยตรง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ที่ว่าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าบุคคลเช่นนั้นเป็นคู่ความ มิได้หมายความว่า ถ้าใครมาคัดค้านจะเป็นคู่ความไปเสียทั้งหมด แต่คงหมายเฉพาะผู้คัดค้านที่จะคัดค้านได้เท่านั้น คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกลับจดชื่อบริษัท ก. คืนเข้าสู่ทะเบียนเพื่อผู้ร้องจะได้ดำเนินการฟ้องบังคับชำระหนี้กับบริษัทดังกล่าวแทนบรรดาผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ ประเด็นแห่งคดีมีอยู่เพียงว่า มีเหตุสมควรที่จะสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกลับจดชื่อบริษัทดังกล่าวคืนเข้าสู่ทะเบียนหรือไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิการเช่าอาคารซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของบริษัทดังกล่าวเท่านั้น หาได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดีไม่ จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเข้ามาในคดี ที่ศาลชั้นต้นรับคำคัดค้านไว้พิจารณาจึงเป็นการไม่ชอบ ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการคัดค้านคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นแห่งคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 (4) ที่ว่า บุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าบุคคลเช่นนั้นเป็นคู่ความ มิได้หมายความว่า ถ้าใครมาคัดค้านจะเป็นคู่ความไปเสียทั้งหมด แต่คงหมายเฉพาะผู้คัดค้านที่จะคัดค้านได้เท่านั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกลับจดชื่อบริษัท ก. คืนเข้าสู่ทะเบียนเพื่อผู้ร้องจะได้ดำเนินการฟ้องบังคับชำระหนี้กับบริษัทดังกล่าวแทนบรรดาผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ ประเด็นแห่งคดีมีอยู่เพียงว่า มีเหตุผลสมควรที่จะสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกลับจดชื่อบริษัทดังกล่าวคืนเข้าสู่ทะเบียนหรือไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิการเช่าอาคารซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของบริษัทดังกล่าวเท่านั้น มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดี จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเข้ามาในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของสัญญาจำนองเมื่อลายมือชื่อไม่ตรงกับผู้จำนองจริง และการวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง
การที่โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อในช่องผู้จำนองตามหนังสือสัญญาจำนองและมีการมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาจำนองแทนโจทก์ที่ 1 หรือไม่ ย่อมต้องมีข้อเท็จจริงที่จะนำมาพิจารณาเข้ากับข้อกฎหมาย เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ที่ 1 ยอมรับว่าได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาจำนองจริงเพียงแต่อ้างว่าเป็นหนังสือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใส่ชื่อในโฉนดหาใช่สัญญาจำนองไม่ จึงไม่มีข้อเท็จจริงในประเด็นเรื่องลายมือชื่อในช่องผู้จำนองตามหนังสือสัญญาจำนองไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาจำนองแทนปรากฏในคำฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นวินิจฉัยว่า ตามหนังสือสัญญาจำนองลายมือชื่อในช่องผู้รับจำนองไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 แต่เป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ทั้งไม่มีการมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาจำนองแทนโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นธรรมต่อจำเลยที่ 2 เพราะหากมีประเด็นนี้ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 อาจนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยก็ได้ การที่จะยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยขึ้นวินิจฉัยเองจะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีด้วย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าการจำนองเฉพาะที่ดินส่วนของโจทก์ที่ 1 เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 714 นั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย