คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มานัส เหลืองประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย และการเพิ่มโทษจากประวัติอาชญากรรม
ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลถูกแทงจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้ไม้ตีผู้ตายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ 1 ต่อยจนเซไปแล้วและจำเลยที่ 2 แยกไปทำร้าย พ. โดยไม่ได้ร่วมทำร้ายผู้ตายอย่างใดอีก การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า จึงเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 แต่โดยลำพังพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 คงเป็นเพียงแต่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายเท่านั้นแต่การร่วมกันทำร้ายมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 288 แต่ความผิดดังกล่าวรวมความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก อยู่ด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6226/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำภาระจำยอมด้วยการก่อสร้าง การกระทำดังกล่าวเป็นการลดทอนประโยชน์ของภาระจำยอมและกระทบสิทธิเจ้าของสามยทรัพย์
ทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่ตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์นั้นเป็นทางที่ใช้สัญจรอยู่ในโครงการหมู่บ้านและที่ดินจัดสรรของจำเลยทั้งสอง ไม่ว่ารถยนต์จะสามารถใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกได้หรือไม่ก็ตาม บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1390 ห้ามมิให้เจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใดๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวก การที่จำเลยทั้งสองทำการปลูกสร้างหรือก่อสร้างแผงร้านค้าลงในที่ดินย่อมเป็นการกีดขวางการใช้ประโยชน์ในทางภาระจำยอมดังกล่าวอันจะเป็นเหตุทำให้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์และผู้ซื้อที่ดินและบ้านจัดสรรซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ในโครงการของจำเลยทั้งสอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธ และการพิพากษาขัดแย้งเรื่องอาวุธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบมาตรา 340 ตรี, 83 ลงโทษจำคุก 9 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคแรก ประกอบมาตรา 340 ตรี ลงโทษจำคุก 9 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เฉพาะบทจากความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยผู้กระทำคนใดคนหนึ่งมีอาวุธติดตัวไปด้วยเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยไม่ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือ ขณะกระทำผิดจำเลยกับพวกไม่มีอาวุธ อันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5945/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย: การประเมินความรับผิดจากประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 ให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายไปคืนจากผู้ขับขี่รถหรือผู้ประสบภัยได้ก็แต่กรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้นั้น เมื่อ น. มิได้ขับรถโดยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยที่ 1 ผู้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 15,000 บาท ในฐานะทายาทโดยธรรมของ น. ต้องชำระเงินคืนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5619/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ จำเลยมีส่วนร่วมในการยินยอมให้ใช้สถานที่เพื่อกระทำอนาจารเท่านั้น ไม่ถือเป็นตัวการร่วม
คดีนี้คนร้าย 4 คน ได้พาผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปข่มขืนกระทำชำเรา หลังจากนั้นคนร้าย 2 คน ได้พาผู้เสียหายนั่งรถจักรยานยนต์ไปที่บ้านหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นห้องพักของจำเลย แล้วคนร้าย 2 คนนั้นได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอีกรอบ จากนั้นจึงให้จำเลยมาข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการที่คนร้าย 4 คน ได้พรากผู้เสียหายไปจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตั้งแต่แรกแต่ประการใด จำเลยเป็นเพียงเจ้าของห้องพักที่เกิดเหตุซึ่งยินยอมให้พวกนำผู้เสียหายมาใช้ห้องพักเป็นสถานที่หลับนอนและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย โดยมิได้มีการพรากผู้เสียหายไปยังที่อื่นๆ อีก จำเลยจึงมิใช่ตัวการร่วมหรือผู้สนับสนุนในความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันภัยรถยนต์: ตัวการจ้างวานใช้ vs. เจ้าของรถที่ไม่ได้ควบคุมดูแล
ตามข้อ 18 แห่งกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ระบุให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยคืนจากผู้เอาประกันภัยได้ จะต้องเป็นกรณีที่ "ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดต่อผู้ประสบภัย" เท่านั้น ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุโดยจำเลยที่ 2 เป็นตัวการ จ้าง วาน ใช้ และไปประสบเหตุ แต่ในทางนำสืบไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้เป็นตัวการจ้าง วาน ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวและเกิดเหตุรถชนกัน ดังนี้แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นเจ้าของรถ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ควบคุมดูแลรถจักรยานยนต์โดยนั่งไปด้วยขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่รถชนและมีผู้ถึงแก่ความตายและรับอันตรายสาหัสต่อผู้ประสบภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ 18 ที่ให้สิทธิโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยคืนได้แต่โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิไล่เบื้ยเอาแก่ผู้ที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนทำให้เกิดเหตุรถชนขึ้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2540 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เพิกถอนการขายทอดตลาด - ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ป.วิ.พ.
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินจำนองของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินสมควร โดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ซึ่งบทบัญญัติในวรรคสี่ของมาตรา 309 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นอุทธรณ์ บัญญัติว่า คำสั่งของศาลตามวรรคสองให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด คำว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง" ของบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงหากมีกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แล้ว คำสั่งใดๆ ของศาลที่เกี่ยวข้องกับคำร้องดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง" ในบทบัญญัติวรรคสี่นี้ทั้งสิ้น การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเช่นนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ย่อมเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว ฎีกาของจำเลยทุกข้อไม่ว่าจะอ้างเหตุใดๆ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเช่าซื้อรถยนต์สูญหาย โจทก์ฟ้องซ้ำในประเด็นเดิมหลังคดีถึงที่สุดแล้ว
มูลเหตุแห่งการฟ้องจำเลยทั้งสองของโจทก์ ทั้งในคดีเดิมและคดีนี้มาจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ทำไว้กับโจทก์ฉบับเดียวกัน แม้ในคดีเดิมโจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนด ขอให้ส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาและค่าใช้ทรัพย์ ส่วนในคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าระหว่างการครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญารถยนต์สูญหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยขอให้ชำระค่ารถยนต์ในส่วนที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายระหว่างเช่าซื้อนั้นได้ปรากฏขึ้นก่อนที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีเดิมซึ่งโจทก์ทราบดี แต่โจทก์ไม่ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายตามข้อตกลงในสัญญา การที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ราคารถยนต์ที่สูญหายในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับเดียวกันอีก ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องได้อยู่แล้วในคดีก่อน เมื่อคดีก่อนถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4970/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง แม้มีการมอบหมายงานให้บริษัทอื่น แต่จำเลยยังคงมีอำนาจบังคับบัญชาและจ่ายค่าจ้าง
จำเลยมีวัตถุประสงค์หลักคือประกอบกิจการออกแบบและเป็นที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างท่อก๊าซ จำเลยรับจ้างเป็นวิศวกรที่ปรึกษาออกแบบในโครงการท่อส่งก๊าซให้บริษัท ว. จำเลยจ้างโจทก์เป็นวิศวกรและส่งโจทก์ไปทำงานในโครงการดังกล่าวของบริษัท ว. จำเลยเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนในการทำงานที่โจทก์ไปทำงานที่บริษัท ว. ให้โจทก์ตลอดมา อันเป็นการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติของโจทก์จึงเป็นค่าจ้าง การที่โจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและการบังคับบัญชาของบริษัท ว. นั้น เป็นกรณีที่จำเลยมอบอำนาจบังคับบัญชาบางส่วนของตนไปให้บริษัท ว. ใช้แทนจำเลยในระหว่างที่โจทก์ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับบริษัท ว. เมื่องานออกแบบเสร็จสิ้นลง บริษัท ว. มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าการปฏิบัติงานของโจทก์สิ้นสุดลง เป็นกรณีที่บริษัท ว. แจ้งส่งตัวโจทก์คืนให้จำเลย แสดงว่าอำนาจในการเลิกจ้างโจทก์ยังคงอยู่ที่จำเลย หาได้ทำให้จำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์แต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4970/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง แม้มีการมอบหมายงานให้บริษัทอื่น แต่ยังคงเป็นลูกจ้างเดิม
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งวิศวกรซึ่งเป็นงานที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักของจำเลยคือประกอบกิจการออกแบบและเป็นที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างท่อก๊าซโดยจำเลยรับจ้างเป็นวิศวกรที่ปรึกษาออกแบบในโครงการท่อส่งก๊าซมาบตาพุด ให้บริษัท ว. จำเลยส่งโจทก์ไปทำงานในโครงการดังกล่าว โจทก์ไปทำงานที่บริษัท ว. ก็ด้วยคำสั่งของจำเลยและทำงานในโครงการที่จำเลยรับจ้างจากบริษัท ว. นั่นเอง เมื่องานออกแบบเสร็จสิ้นลงบริษัท ว. จึงมีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าการปฏิบัติงานของโจทก์สิ้นสุดลงในวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เป็นกรณีที่บริษัท ว. แจ้งส่งตัวโจทก์คืนให้จำเลยเมื่อการปฏิบัติงานสิ้นสุดลง ไม่ใช่บริษัท ว. บอกเลิกจ้างโจทก์ แสดงว่า อำนาจในการเลิกจ้างโจทก์ยังคงอยู่ที่จำเลย อีกทั้งจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนในการที่โจทก์ไปทำงานที่บริษัท ว. ตามคำสั่งของจำเลยให้โจทก์ตลอดมา ค่าตอบแทนนั้นเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติของโจทก์จึงเป็นค่าจ้าง การที่โจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและการบังคับบัญชาของบริษัท ว. เป็นกรณีที่จำเลยมอบอำนาจบังคับบัญชาบางส่วนของตนไปให้บริษัท ว. ใช้แทนในระหว่างที่โจทก์ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับบริษัท ว. โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย แม้จำเลยยื่นแบบรายการหักภาษี ณ ที่จ่ายของโจทก์ในฐานะผู้มีรายได้อิสระก็ไม่ทำให้นิติสัมพันธ์ความเป็นลูกจ้างนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเปลี่ยนแปลงไป
of 40