พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3321/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี: นับจากวันคดีถึงที่สุด ไม่ใช่แค่วันมีคำพิพากษา
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นหมายถึงวันที่ศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2540 จำเลยทั้งสองมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษา แต่จำเลยทั้งสองมิได้ยื่นอุทธรณ์คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 3 พฤษภาคม 2540 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาบังคับคดีต้องนับตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ร้องยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 ยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาที่ผู้ร้องจะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วยความสมัครใจของผู้เช่าซื้อ และผลต่อการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์เพื่อขอโอนสิทธิการเช่าซื้อให้แก่ ท. และโจทก์ได้เรียกเก็บเงินค่าเปลี่ยนสัญญา ค่าเปลี่ยนชื่อในเล่มทะเบียนโดยใช้แบบพิมพ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าตรวจสภาพรถ ค่าปรับล่าช้าและสั่งจ่ายเช็ครวม 6 ฉบับ เพื่อชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าและโจทก์ยึดรถจากผู้ครอบครองคือ ท. และเป็นการยึดรถที่จังหวัดยโสธรอันเป็นภูมิลำเนาของ ท. ซึ่งโจทก์รับในฎีกาว่ายึดรถยนต์ได้จาก ท. พฤติการณ์ดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว ดังนั้น ไม่ว่าการเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 เป็น ท. นั้น โจทก์จะไม่อนุมัติในภายหลัง สัญญาเช่าซื้อก็เป็นอันเลิกกันแล้วนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้สิทธิผู้เช่าซื้อเลิกสัญญา เมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 มิได้ประพฤติผิดสัญญาและไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาและค่าขาดประโยชน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแรงงานและการเพิกถอนกระบวนพิจารณาเมื่อขาดนัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ
การพิจารณาคดีแรงงานมีวิธีพิจารณาต่างกับคดีแพ่งทั่วๆ ไป โดยมี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ บัญญัติไว้เป็นพิเศษ กรณีที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ได้บัญญัติไว้แล้วอย่างไรก็ต้องบังคับไปตามนั้น จะนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ เท่านั้น
คดีนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางได้กำหนดเวลานัดพิจารณาและสืบพยาน โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดเมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการถูกต้องแล้ว
คดีนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางได้กำหนดเวลานัดพิจารณาและสืบพยาน โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดเมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563-2565/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: สถานที่พักย่อยไม่ใช่สาระสำคัญ การเปลี่ยนแปลงสถานที่พักไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุเพียงว่า "บริษัท ฯ ตกลงจัดให้มีการพักย่อย 15 นาที เพิ่มเติมจากการหยุดพักปกติโดยให้หยุดช่วงแรกเวลา 9.45-10.00 น. และช่วงที่สองเวลา 15.00-15.15 น." เท่านั้น โดยไม่ได้จำกัดว่าจำเลยต้องจัดสถานที่พักย่อยให้เฉพาะที่โรงอาหาร จำเลยจึงอาจจัดสถานที่พักย่อยให้แก่ลูกจ้างได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ซึ่งอาจต้องพิจารณาถึงสถานที่ ลักษณะการทำงาน และจำนวนลูกจ้าง เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้น แม้ว่าจำเลยจะเคยให้ลูกจ้างออกจากอาคารโรงงานไปพักย่อยที่โรงอาหาร แต่เมื่อลูกจ้างของจำเลยเกือบทั้งหมดประมาณ 300 คน สละสิทธิพักย่อยโดยขอรับเงินเพิ่มเดือนละ 60 บาทแทน ดังนั้น ในขณะที่โจทก์พักย่อย ลูกจ้างของจำเลยเกือบทั้งหมดจึงอยู่ระหว่างการทำงาน และเวลาพักย่อยแต่ละช่วงมีเพียง 15 นาทีเท่านั้น ทั้งเป็นเพียงการพักสายตาซึ่งสามารถพักในบริเวณที่นั่งทำงานได้ การที่จำเลยเปลี่ยนสถานที่พักย่อยให้โจทก์พักเฉพาะในบริเวณที่กำหนดจึงไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เมื่อจำเลยมีคำสั่งไม่ให้โจทก์ออกนอกอาคารโรงงาน แต่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งจำเลยออกไปพักย่อยที่โรงอาหารจำเลยจึงมีคำสั่งลงโทษตักเตือนเป็นหนังสือ แต่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวอีกจึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมซึ่งนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของตัวแทนลูกจ้าง-กรรมการสหภาพแรงงาน กรณีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์เป็นตัวแทนฝ่ายลูกจ้างภายหลังเป็นประธานและกรรมการสหภาพแรงงานที่ร่วมยื่นข้อเรียกร้องเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างมาโดยตลอด โจทก์ย่อมทราบแล้วว่าถ้าฝ่ายนายจ้างจะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า นายจ้างต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง โจทก์ควรแจ้งการเรียกประชุมเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่นายจ้างมิได้กระทำให้ถูกต้องตามกฎหมายให้ฝ่ายนายจ้างทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง โจทก์ปล่อยเวลาให้ผ่านไปจนโจทก์ลาออกแล้วอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่นายจ้างจะพึงได้รับเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเกี่ยวกับการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น กรณีกรรมการและบุคคลภายนอกทำให้บริษัทเสียหาย และการเพิกถอนรายงานการประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. ให้อำนาจผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการผู้ทำให้บริษัทเสียหาย โดยเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากกรรมการผู้ทำให้บริษัทได้รับความเสียหายเท่านั้น การที่โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 (บุคคลภายนอก) และที่ 2 (บริษัท) โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 (กรรมการ) ได้คบคิดกันฉ้อฉล และให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนคืนที่ดินแก่จำเลยที่ 2 หาใช่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นกรรมการไม่ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลภายนอกไม่ได้เป็นกรรมการ โจทก์ทั้งหกจึงไม่มีอำนาจฟ้องกรณีนี้
รายงานการประชุมที่โจทก์ทั้งหกขอให้เพิกถอนถือไม่ได้ว่าเป็นมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบตามความหมายของมาตรา 1195 แห่ง ป.พ.พ. เพราะมิได้มีการประชุมกันจริง หากแต่เป็นรายงานการประชุมเท็จที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำขึ้นฝ่ายเดียวเพื่อโอนที่ดินให้จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่กระทบถึงสิทธิหรือประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นโดยตรง กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1195 ที่โจทก์ทั้งหกในฐานะผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนรายงานการประชุมเท็จได้ โจทก์ทั้งหกไม่มีอำนาจฟ้องกรณีนี้เช่นกัน
รายงานการประชุมที่โจทก์ทั้งหกขอให้เพิกถอนถือไม่ได้ว่าเป็นมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบตามความหมายของมาตรา 1195 แห่ง ป.พ.พ. เพราะมิได้มีการประชุมกันจริง หากแต่เป็นรายงานการประชุมเท็จที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำขึ้นฝ่ายเดียวเพื่อโอนที่ดินให้จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่กระทบถึงสิทธิหรือประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นโดยตรง กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1195 ที่โจทก์ทั้งหกในฐานะผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนรายงานการประชุมเท็จได้ โจทก์ทั้งหกไม่มีอำนาจฟ้องกรณีนี้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดีแข่งรถและการพักใช้ใบอนุญาตที่ไม่ปรากฏในฟ้อง
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกขับรถแข่งขันในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความเดือดร้อนของผู้อื่น โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยทั้งสิบสี่เป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่ศาลล่างทั้งสองให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยทั้งสิบสี่มีกำหนดคนละ 6 เดือน เป็นการพิพากษาที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองปรปักษ์และการคุ้มครองบุคคลภายนอกที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยสุจริต
บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง หมายถึง บุคคลใดๆ ก็ได้ที่มิใช่เจ้าของที่ดินเดิมซึ่งได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว เมื่อธนาคาร ก. เป็นทั้งผู้รับจำนองที่ดินพิพาทจากเจ้าของที่ดินเดิมและยังเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ธนาคาร ก. จึงเป็นบุคคลภายนอกย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
เมื่อธนาคาร ก. ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลโดยไม่ปรากฏว่าซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ อย่างไร ก็ย่อมเป็นไปตามข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณแก่ผู้ซื้อว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ถือว่าธนาคาร ก. ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ผู้ร้องไม่อาจอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันธนาคาร ก. ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง แม้เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทจากธนาคาร ก. ภายใน 10 ปี นับแต่วันรับโอนจากธนาคาร ก. และรับโอนโดยไม่สุจริตก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครองครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนคนต่อมาได้ เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ธนาคาร ก. ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตตอนแรก แม้ผู้ร้องจะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา แต่การครอบครองในช่วงหลังที่ธนาคาร ก. และผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์มา เมื่อนับถึงวันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ยังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์ต่อผู้คัดค้านที่ 1 ครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วด้วยหาได้ไม่
เมื่อธนาคาร ก. ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลโดยไม่ปรากฏว่าซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ อย่างไร ก็ย่อมเป็นไปตามข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณแก่ผู้ซื้อว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ถือว่าธนาคาร ก. ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ผู้ร้องไม่อาจอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันธนาคาร ก. ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง แม้เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทจากธนาคาร ก. ภายใน 10 ปี นับแต่วันรับโอนจากธนาคาร ก. และรับโอนโดยไม่สุจริตก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครองครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนคนต่อมาได้ เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ธนาคาร ก. ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตตอนแรก แม้ผู้ร้องจะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา แต่การครอบครองในช่วงหลังที่ธนาคาร ก. และผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์มา เมื่อนับถึงวันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ยังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์ต่อผู้คัดค้านที่ 1 ครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถต่อการประมาทของลูกจ้าง และการระงับหนี้จากการชดใช้ค่าเสียหายบางส่วน
ในคดีแพ่งการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นเรื่องการชั่งน้ำหนักคำพยานว่า พยานหลักฐานของฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อกว่าอีกฝ่าย แม้จะไม่มีประจักษ์พยานเบิกความก็ไม่ได้หมายความว่าศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงไม่ได้ โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์เก๋งคันที่ถูกบรรทุกชนมีพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของโจทก์ เบิกความว่าได้ไปตรวจดูร่องรอยในที่เกิดเหตุและสอบถามพนักงานสอบสวนได้ความว่าผู้ขับรถบรรทุกขับรถโดยประมาทล้ำเข้าไปช่องเดินรถของรถยนต์เก๋ง หลังเกิดเหตุผู้ขับรถบรรทุกหลบหนีไป ส่วนจำเลยที่ 1 เจ้าของรถบรรทุกไม่นำสืบหักล้าง และยังทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ฝ่ายรถยนต์เก๋ง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ซึ่งเบิกความเพียงว่า ที่ต้องทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อนำรถบรรทุกออกไปใช้งานและเพื่อนของ ส. คนขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 มาขอยืมรถบรรทุกจากบุตรสาวจำเลยที่ 1 ไปขนไม้เพื่อใช้สร้างบ้านนั้นโดยไม่ปรากฏข้อท้วงติงในบันทึกดังกล่าวว่า เป็นการช่วยเหลือโดยเห็นแก่มนุษยธรรมเพิ่งกล่าวอ้างในภายหลัง จึงฟังได้ว่าผู้ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุขับรถโดยประมาท
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์เก๋งมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถบรรทุกจะซ่อมรถยนต์เก๋งคันที่ผู้ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ขับไปชนให้อยู่ในสภาพเดิมข้อตกลงในส่วนนี้ จึงไม่มีรายละเอียดและข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงิน วิธีชำระ ตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และหาได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์คันเกิดเหตุ โดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใดไม่ ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งที่เกิดเหตุดังกล่าวจึงยังไม่ระงับ ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถบรรทุกชดใช้เงินค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งนั้นเป็นเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเพียงบางส่วนตามความรับผิดในสัญญาประกันภัย ไม่ทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับ
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์เก๋งมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถบรรทุกจะซ่อมรถยนต์เก๋งคันที่ผู้ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ขับไปชนให้อยู่ในสภาพเดิมข้อตกลงในส่วนนี้ จึงไม่มีรายละเอียดและข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงิน วิธีชำระ ตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และหาได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์คันเกิดเหตุ โดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใดไม่ ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งที่เกิดเหตุดังกล่าวจึงยังไม่ระงับ ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถบรรทุกชดใช้เงินค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งนั้นเป็นเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเพียงบางส่วนตามความรับผิดในสัญญาประกันภัย ไม่ทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการประเมินสัญญาประนีประนอมยอมความ
บันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุกับผู้เอาประกันภัยมีข้อความเพียงว่า จำเลยจะซ่อมรถยนต์คันที่ถูกชนให้อยู่ในสภาพเดิม ไม่มีรายละเอียดและข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงิน วิธีชำระ ตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และไม่มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้น จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดจึงยังไม่ระงับ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้บประกันภัยจึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้