คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มานัส เหลืองประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7398-7399/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนแปลงหลังแปรรูป ผลต่อสิทธิแรงงานและการเลิกจ้าง
ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ได้นิยามคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" ไว้โดยเฉพาะแล้วว่าหมายถึง (1) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทรวง ทบวง กรมหรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่าหรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) ที่มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ เมื่อการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้แปรรูปเป็นบริษัท ป. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 บริษัทดังกล่าวจึงไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 6 (2) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ย่อมทำให้บริษัทจำเลยมีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นกระทรวง ทบวง กรมหรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่าหรือรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 6 (1) ไม่เกินร้อยละห้าสิบ ดังนั้นบริษัทจำเลยจึงไม่เป็นรัฐวิสาหกิจและไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ อีกต่อไป แต่จะตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแรงงานทั่วไป อีกทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท บ. ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ย่อมสิ้นสภาพเป็นสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจลงในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ด้วย โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว นอกจากนี้แล้วสหภาพแรงงานดังกล่าวมิได้มีการยกเลิกด้วยเหตุนายทะเบียนมีคำสั่งให้ยกเลิกตามมาตรา 66
เมื่อเดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนธันวาคม 2545 โจทก์ไม่ไปถึงสถานที่ทำงานในเวลา 8.00 นาฬิกา อันเป็นเวลาทำงานตามปกติรวมทั้งสิ้น 35 ครั้ง จำเลยออกหนังสือเตือนลงวันที่ 21 มกราคม 2546 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2546 โจทก์แสดงกิริยาดูหมิ่นเหยียดหยามและพูดจาไม่สุภาพหยาบคายต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง จำเลยออกหนังสือเตือนฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 เอกสารทั้งสองฉบับลงลายมือชื่อ ว. ผู้จัดการส่วนการพนักงาน หนังสือทั้งสองฉบับนี้ระบุว่าเป็นเรื่องเตือนให้ปรับปรุงความประพฤติ และยังระบุเรื่องการกระทำผิดของโจทก์ด้วย อีกทั้งมีข้อความเหมือนกันว่า "ดังนั้นเพื่อให้ท่านแก้ไขและปรับปรุงความประพฤติของท่านให้เป็นพนักงานที่ดีและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมตามกฎข้อบังคับและมาตรฐานการทำงานที่ดี บริษัทฯ จึงลงโทษท่าน โดยการออกหนังสือเตือนให้ปรับปรุงความประพฤติครั้งที่ 1 ขอตักเตือนว่าหากท่านฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของบริษัทโดยการกระทำผิดเช่นนั้นอีก บริษัทจะพิจารณาลงโทษสถานหนักต่อไป" หลังจากนั้นปรากฏว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 ถึงมีนาคม 2546 โจทก์ยังคงทำผิดซ้ำคำเตือนโดยไปไม่ถึงอาคารสถานที่ทำงานและไม่ปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 8.00 นาฬิกา รวมทั้งสิ้น 13 ครั้ง จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 24 มีนาคม 2546 ลงนามโดย ว. เช่นกัน แต่ระบุเรื่องว่าหนังสือแจ้งการกระทำผิดซ้ำคำเตือน เมื่อมีข้อความระบุการกระทำความผิดของโจทก์ในเรื่องดังกล่าวแล้วยังระบุว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน ทั้งระบุว่าบริษัทจะพิจารณาลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อไป มิได้มีข้อความเรื่องลงโทษโจทก์ด้วยการออกหนังสือตักเตือนหลังจากออกหนังสือฉบับนี้ได้ 9 วัน จำเลยออกหนังสือปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงาน ดังนั้น หนังสือแจ้งการกระทำผิดซ้ำคำเตือน จึงมิใช่หนังสือเตือนแต่เป็นหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือน โดยโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) การกระทำของโจทก์เป็นการละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายเป็นอาจิณ จำเลยเป็นนายจ้างสามารถไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 พฤติการณ์เกี่ยวกับการทำงาน รวมทั้งการฝ่าฝืนคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของจำเลยย่อมมีเหตุผลอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7398-7399/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดซ้ำคำเตือน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหาย
ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2544 บริษัทจำเลยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 47.87 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยถือหุ้นร้อยละ 24.29 ธนาคาร ก. ถือหุ้นร้อยละ 7.86 และประชาชนทั่วไปถือหุ้นที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 ของหุ้นทั้งหมด เมื่อการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยแปรรูปเป็นบริษัท ป. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 บริษัท ป. จึงไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6 (2) ทำให้บริษัทจำเลยมีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่าหรือรัฐวิสาหกิจตาม มาตรา 6 (1) ไม่เกินร้อยละ 50 บริษัทจำเลยจึงไม่เป็นรัฐวิสาหกิจและไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 อีกต่อไป แต่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแรงงานทั่วไป อีกทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัทจำเลยซึ่งเป็นสหภาพที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 ย่อมสิ้นสภาพการเป็นสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจลงในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ด้วย โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 24
เมื่อเดือนมกราคม 2545 ถึงธันวาคม 2545 โจทก์ไม่ไปถึงสถานที่ทำงานในเวลา 8 นาฬิกา อันเป็นเวลาทำงานตามปกติรวม 35 ครั้ง จำเลยออกหนังสือเตือนลงวันที่ 11 มกราคม 2546 ต่อมาวันที่ 9 มกราคม 2546 โจทก์แสดงกิริยาดูหมิ่นเหยียดหยามและพูดจาไม่สุภาพหยาบคายต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง จำเลยออกหนังสือเตือนลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 โดยหนังสือเตือนทั้งสองฉบับระบุว่า เป็นเรื่องเตือนให้ปรับปรุงความประพฤติ และระบุเรื่องการกระทำผิดวินัยของโจทก์ด้วย โดยมีข้อความเรื่องลงโทษโจทก์ด้วยการออกหนังสือตักเตือน หลังจากนั้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 ถึงมีนาคม 2546 โจทก์ยังคงทำผิดซ้ำคำเตือนโดยไม่ไปถึงอาคารสถานที่ทำงานและไม่ปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา รวม 13 ครั้ง จำเลยจึงมีหนังสือลงวันที่ 24 มีนาคม 2546 ตามเอกสารหมาย ล.12 ระบุว่า หนังสือแจ้งการกระทำผิดซ้ำคำเตือน มีข้อความระบุความผิดของโจทก์ในเรื่องดังกล่าวแล้วยังระบุว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน ทั้งระบุว่าบริษัทจะพิจารณาลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อไปโดยมิได้มีข้อความเรื่องลงโทษโจทก์ด้วยการออกหนังสือตักเตือน หลังจากออกหนังสือฉบับนี้ได้ 9 วัน จำเลยออกหนังสือปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงาน ดังนี้ หนังสือแจ้งการกระทำผิดซ้ำคำเตือนตามเอกสารหมาย ล.12 ดังกล่าว จึงมิใช่หนังสือเตือน แต่เป็นหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7397/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: กรณีสัญญานอกเหนือสัญญาจ้างแรงงาน (สัญญาตัวแทน) และการส่งสำนวนให้อธิบดีผู้พิพากษาเพื่อวินิจฉัยอำนาจ
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าอย่างไร มีสิทธิและหน้าที่ต่อกันอย่างไร และจำเลยกระทำการใดอันถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ส่วนจะเป็นสัญญาประเภทใด ต้องยกกฎหมายใดมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้นเป็นหน้าที่ของศาลที่จะวินิจฉัยเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยมิใช่เป็นนายจ้างลูกจ้างกันตามสัญญาจ้างแรงงานแต่เป็นสัญญาตัวแทนซึ่งเป็นสัญญาแบบหนึ่งที่สามารถใช้บังคับได้ จึงมีปัญหาว่าศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาถึงความรับผิดตามสัญญาตัวแทนหรือไม่ แสดงว่ามีปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 หรือไม่ ซึ่งเป็นอำนาจของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยตามมาตรา 9 วรรคสอง ศาลแรงงานกลางจึงต้องส่งสำนวนให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเสียก่อนว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ก่อนจะวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7352/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญาเช่าซื้อ: ผู้ลงนามไม่มีอำนาจ, ไม่มีการมอบอำนาจจากกรรมการ, ไม่เป็นไปตามกม.
เอกสารที่ระบุว่า ธ. และ บ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เป็นเอกสารที่โจทก์มิได้ระบุอ้างเป็นพยานและนำสืบไว้ จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวว่า ธ. และ บ. เป็นกรรมการของโจทก์ได้ แม้หนังสือมอบอำนาจจะระบุว่า ธ. และ บ. เป็นกรรมการของโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจให้ ก. มีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็ตาม ก. ก็มิใช่ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็ตาม ก. ก็มิใช่ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อนั้นแทนโจทก์ เนื่องจากมิได้รับมอบอำนาจจากกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคสอง กำหนดว่าสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ และมาตรา 798 กำหนดว่ากิจการใดบังคับโดยกฎหมายว่าต้องทำเป็นหนังสือการตั้งตัวแทนเพื่อกิจการนั้นต้องทำเป็นหนังสือด้วย การที่ ก. ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว สัญญาเช่าซื้อจึงมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพสงวนสำหรับทายาทตามกฎหมายประกันสังคมเท่านั้น น้องร่วมบิดามารดาไม่มีสิทธิ
ส. จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน แล้วสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2548 ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 38 (2) ส. มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามมาตรา 77 ทวิ วรรคสอง ส. ตายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2548 ก่อนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ เมื่อตามมาตรา 77 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ทายาทของ ส. มีสิทธิได้รับเงินชราภาพ และตามมาตรา 77 จัตวา วรรคสอง ระบุว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพได้แก่ (1) บุตรชอบด้วยกฎหมาย (2) สามีหรือภริยา (3) บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ โจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดา ส. แม้จะเป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) แต่ไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามมาตรา 77 จัตวา วรรคสอง จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6923/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษและการนำโทษเดิมมาบวกกับโทษใหม่ แม้จะมีการล้างมลทินตาม พ.ร.บ. ล้างมลทิน
ตาม พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า "ให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีควมผิดนั้นๆ" นั้น หมายความว่าผู้ที่จะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ. นี้ ต้องเป็นผู้ที่ได้กระทำความผิดก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 โดยได้รับโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับ แต่สำหรับคดีก่อนทั้งสามคดีของจำเลย แม้จะได้กระทำผิดก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ก็ตาม แต่ศาลก็ให้รอการลงโทษไว้ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับโทษและพ้นโทษไปแล้ว กรณีของจำเลยไม่เข้าหลักเกณฑ์อันเป็นองค์ประกอบที่จะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยได้มากระทำผิดในคดีนี้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลให้รอการลงโทษไว้ จึงต้องนำโทษในคดีก่อนทั้งสามคดีมาบวกกับโทษในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 58

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6757/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินถมลำรางส่วนบุคคลเมื่อไม่มีภาระจำยอม การใช้สิทธิไม่สร้างความเสียหาย
เดิมเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5638 ขุดลำรางพิพาทผ่านที่ดินเพื่อนำน้ำจากคลองสาธารณประโยชน์มาใช้ในที่ดินมาประมาณ 40 ปี ต่อมาที่ดินตกเป็นของโจทก์กับจำเลยและบุคคลอื่นอีกหลายคนเป็นเจ้าของรวมกัน กับได้แบ่งแยกที่ดินเป็นของเจ้าของแต่ละคนลำรางจึงถูกแบ่งออกเป็นส่วนตามที่ดินที่ถูกแบ่งแยก เมื่อเจ้าของรวมในที่ดินมิได้มีข้อตกลงหรือจดทะเบียนให้ลำรางดังกล่าวเป็นลำรางที่ตกอยู่ในภาระจำยอมขณะมีการแบ่งแยกโฉนด จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ลำรางส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะถมดินกลบลำรางพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
เมื่อลำรางพิพาทมิได้ตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์การที่โจทก์ขอให้จำเลยเปิดลำรางพิพาทย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์ฝ่ายเดียวโดยจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินลำรางพิพาทเป็นฝ่ายเสียประโยชน์จากการใช้ที่ดินของตน การที่จำเลยถมดินกลบลำรางพิพาทจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำฟ้องต้องดูเนื้อหาทั้งหมด ไม่ใช่แค่บางส่วน แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ ยังต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืม
การพิจารณาถึงคำฟ้องของโจทก์ว่าประสงค์จะให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้อะไรจะต้องพิจารณาถึงเนื้อหาของคำฟ้องทั้งหมดประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องเป็นสำคัญ มิใช่พิจารณาแต่ถ้อยคำหรือข้อความเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของคำฟ้องซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและตามตั๋วสัญญาใช้เงินในเวลาเดียวกัน เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธเกี่ยวกับมูลหนี้การกู้ยืมเงิน ดังนั้น แม้จะรับฟังได้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองว่าสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ จำเลยทั้งสองก็ยังคงต้องรับผิดตามมูลหนี้กู้ยืมเงินต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6099/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเนื่องจากคำนวณค่าเสียหายจากการเลิกจ้างผิดพลาดจากบัญชีรวมพิจารณาคดี
ตามคำฟ้องของโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์จำนวน 170,512 บาท แต่เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งให้นำคดีนี้รวมพิจารณาคดีเดียวกับคดีอื่นแล้ว ศาลแรงงานกลางได้จัดทำบัญชีสำหรับรวมพิจารณาโดยนำรายละเอียดต่างๆ ในคำฟ้องแต่ละสำนวนมาลงไว้ ซึ่งในช่องคำขอท้ายฟ้องในบัญชีดังกล่าวลงรายการว่าโจทก์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายดังกล่าวเพียงจำนวน 17,052 บาท โดยจำนวนเงินดังกล่าวไม่ปรากฏในคำฟ้องหรือคำขอท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาด เมื่อพิจารณาถึงจำนวนเงินค่าเสียหายที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้โจทก์คนอื่นในคดีรวมพิจารณา ปรากฏว่ากำหนดค่าเสียหายจากการนำอัตราค่าจ้างสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานโดยประมาณ ยกเว้นโจทก์บางคนในคดีรวมพิจารณามีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายต่ำกว่าจำนวนที่คำนวณได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ศาลแรงงานกลางก็จะกำหนดให้ไม่เกินตามคำขอท้ายฟ้อง แต่กรณีของโจทก์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพียงคนเดียว โดยหากคำนวณตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้วจะได้จำนวนที่สูงกว่า 17,052 บาท ตามที่ลงไว้ในบัญชีสำหรับรวมพิจารณาเป็นจำนวนมาก แต่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เท่ากับจำนวนเงินที่ลงไว้ในบัญชีดังกล่าวโดยไม่ปรากฏว่าเป็นเพราะเหตุใด แสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นการนำข้อผิดพลาดในบัญชีดังกล่าวมากำหนดเป็นค่าเสียหาย จึงให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้โจทก์ใหม่โดยคำนึงถึงจำนวนเงินที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดให้อยู่ในดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลพิจารณาเหตุผลที่แท้จริงของการเลิกจ้าง นอกเหนือจากเหตุตามที่นายจ้างอ้าง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์ในฐานะผู้จัดการแผนกรับรถได้รับเรื่องการสั่งซ่อมรถยนต์คันพิพาทจากแผนกควบคุมแล้ว โจทก์มีหน้าที่ส่งเรื่องพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังหน่วยงานของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเพื่อเคลมค่าอะไหล่กับบริษัทผู้รับประกันภายในเวลาอันสมควร แต่โจทก์ไม่กระทำ ถือว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 อันเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว
ส่วนการพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างอันแท้จริงของนายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างอาจจะไม่ใช่เหตุตามคำให้การของจำเลยหรือที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ก็ได้ และเป็นคนละกรณีกับการพิจารณาการเลิกจ้างนั้นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุใดและเป็นธรรมหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเอาประกาศเรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ.3 และหนังสือแจ้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ.4 มาวินิจฉัยประกอบทางนำสืบของโจทก์ว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นผลมาจากจำเลยไม่พอใจที่จำเลยขอเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานปกติของโจทก์แล้ว แต่โจทก์โต้แย้งคัดค้านและยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานของโจทก์ได้ ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างเพราะเหตุโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อตามที่จำเลยให้การต่อสู้ได้ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 40