พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622-7623/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดสนับสนุนการครอบครองยาเสพติด ฟ้องซ้อน และการจำกัดอำนาจศาลในการลงโทษ
การที่จำเลยที่ 5 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนจากอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มาส่งให้จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างทางถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและยึดเมทแอมเฟตามีนได้เสียก่อน จำเลยที่ 4 ยังไม่ได้รับมอบการครอบครองเมทแอมเฟตามีนจากผู้ขาย จำเลยที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับพวกมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับคำสั่งจากจำเลยที่ 4 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ย่อมไม่มีความผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 4 แต่การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 1 ในการขนส่งเมทแอมเฟตามีนเพื่อให้ถึงปลายทาง และการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 5 ขณะกระทำความผิดเนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างขนเมทแอมเฟตามีนให้จำเลยที่ 5 อยู่ระหว่างถูกจับกุมและการจับกุมยังไม่เสร็จสิ้นเรียบร้อย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 1 ในการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม ป.อ. มาตรา 86 เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว เมื่อข้อแตกต่างมิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
สำหรับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 กระทำความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรคสอง รวมมากับฟ้องสำนวนหลังด้วย ปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 4 ฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นสำนวนแรก การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 4 ในส่วนที่เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ในสำนวนหลังอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
สำหรับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 กระทำความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรคสอง รวมมากับฟ้องสำนวนหลังด้วย ปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 4 ฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นสำนวนแรก การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 4 ในส่วนที่เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 29,795 เม็ด ในสำนวนหลังอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7610/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: ไม่ใช่หนี้เงินกู้ แต่เป็นค่าบริการ มีอายุความ 2 ปี
การที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิตกับโจทก์ก็มีความประสงค์เพื่อการชำระหนี้ค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตรวมทั้งเพื่อถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวเนื่องจากการใช้บัตรเครดิตทั้งสิ้น ดังนั้น หนี้ในคดีนี้จึงไม่ใช่หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหนี้บัญชีเดินสะพัดโดยตรง แต่เป็นการที่โจทก์ให้บริการการใช้บัตรเครดิตแก่จำเลยที่เป็นสมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7585/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงิน: การฟ้องเรียกหนี้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้จำนวนเงินดอกเบี้ยในฟ้องไม่ถูกต้อง ศาลปรับปรุงได้ และอายุความดอกเบี้ย
ตามคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ย แม้จำนวนเงินค่าดอกเบี้ยจะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงก็เป็นเรื่องการเรียกดอกเบี้ยผิดพลาดเท่านั้น ศาลย่อมจะคิดคำนวนให้ถูกต้องได้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ จำเลยได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใด เมื่อใด และจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้ว กับคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน 5 ปี ไม่ได้ ต้องห้ามมิให้เรียกตามกฎหมาย เท่ากับต่อสู้ว่าหนี้ ดอกเบี้ยเกิน 5 ปี ขาดอายุความแล้ว ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยย้อนหลังไปเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงชอบแล้ว
คำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน 5 ปี ไม่ได้ ต้องห้ามมิให้เรียกตามกฎหมาย เท่ากับต่อสู้ว่าหนี้ ดอกเบี้ยเกิน 5 ปี ขาดอายุความแล้ว ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยย้อนหลังไปเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7548/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการชำระหนี้โดยหักเงินจากผู้จ่ายเงินของจำเลย ศาลไม่อาจบังคับได้หากบุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา
ในสัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงว่า จำเลยยินยอมให้ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่จ่ายเงินหักเงินได้รายเดือนของจำเลยตามจำนวนเงินงวดที่ต้องชำระส่งชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้ การบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ตั้งแต่มาตรา 271 ถึงมาตรา 323 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์กับจำเลยจะตกลงกันให้บังคับคดีโดยวิธีการอย่างอื่นไม่ได้ คำขอท้ายฟ้องโจทก์ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์มีสิทธิขอรับเงินได้รายเดือนจากผู้มีอำนาจจ่ายเงินเพื่อจ่ายให้โจทก์เป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืมจนกว่าจะครบถ้วนนั้น เท่ากับยินยอมให้โจทก์ขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากผู้มีอำนาจหักเงินรายได้ของจำเลยได้โดยไม่ต้องขอหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและไม่ต้องดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลย จึงขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดี ศาลฎีกาไม่อาจสั่งให้ได้
แม้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องตกลงวิธีการชำระหนี้กันไว้ล่วงหน้าโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย แต่ข้อตกลงเกี่ยวพันไปถึงบุคคลภายนอกผู้ทำหน้าที่หักเงินได้ ตราบใดที่โจทก์และจำเลยยังสมัครใจปฏิบัติต่อกันตามสัญญา บุคคลภายนอกก็ดำเนินการหักเงินได้ของจำเลยส่งให้โจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยเปลี่ยนใจไม่ยอมชำระหนี้ให้ บุคคลภายนอกก็ไม่ยอมหักเงินส่งให้โจทก์ แม้ข้อสัญญาดังกล่าวจะเป็นสิทธิของโจทก์และจำเลยที่จะตกลงกันเกี่ยวกับวิธีชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า แต่บุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา จึงไม่ถูกผูกพันว่าจะต้องมีหน้าที่หักเงินส่งให้โจทก์ตลอดไป การที่จะบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อสัญญาเป็นเรื่องวัตถุแห่งหนี้ที่คู่สัญญาตกลงกัน กรณีนี้วัตถุแห่งหนี้คือการบังคับให้จำเลยยินยอมชำระหนี้ต่อไปโดยบุคคลภายนอกดำเนินการหักเงินได้รายเดือนของจำเลยเพื่อจ่ายให้โจทก์ เป็นเรื่องที่ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ต่อไปตามสัญญาได้ เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้น
แม้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องตกลงวิธีการชำระหนี้กันไว้ล่วงหน้าโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย แต่ข้อตกลงเกี่ยวพันไปถึงบุคคลภายนอกผู้ทำหน้าที่หักเงินได้ ตราบใดที่โจทก์และจำเลยยังสมัครใจปฏิบัติต่อกันตามสัญญา บุคคลภายนอกก็ดำเนินการหักเงินได้ของจำเลยส่งให้โจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยเปลี่ยนใจไม่ยอมชำระหนี้ให้ บุคคลภายนอกก็ไม่ยอมหักเงินส่งให้โจทก์ แม้ข้อสัญญาดังกล่าวจะเป็นสิทธิของโจทก์และจำเลยที่จะตกลงกันเกี่ยวกับวิธีชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า แต่บุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา จึงไม่ถูกผูกพันว่าจะต้องมีหน้าที่หักเงินส่งให้โจทก์ตลอดไป การที่จะบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อสัญญาเป็นเรื่องวัตถุแห่งหนี้ที่คู่สัญญาตกลงกัน กรณีนี้วัตถุแห่งหนี้คือการบังคับให้จำเลยยินยอมชำระหนี้ต่อไปโดยบุคคลภายนอกดำเนินการหักเงินได้รายเดือนของจำเลยเพื่อจ่ายให้โจทก์ เป็นเรื่องที่ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ต่อไปตามสัญญาได้ เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7451/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความครบถ้วนขององค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง: การแสดงเจตนาหลอกลวงตั้งแต่ต้น
ฟ้องของโจทก์ที่กล่าวว่า "จำเลยจะโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น ความจริงแล้วจำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า โฉนดที่ดินหาย แล้วออกโฉนดใหม่ นำโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจำนองแก่ผู้มีชื่อ จำเลยไม่มีเจตนาขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใดย่อมมีความหมายว่า จำเลยไม่มีเจตนาขายที่ดินให้แก่ผู้เสียหายตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 อันเป็นวันที่หลอกลวงผู้เสียหายแล้ว โดยก่อนหน้านั้นจำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินหาย แล้วออกโฉนดใหม่และนำไปจำนองแก่ผู้มีชื่อ ฟ้องโจทก์จึงบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบถ้วนองค์ประกอบผิดฐานฉ้อโกง อันเป็นฟ้องที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7451/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงเจตนาหลอกลวงตั้งแต่ต้น
ฟ้องของโจทก์ที่กล่าวว่า "เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 จำเลยหลอกลวง ส. ผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อเท็จจริงอันควรบอกให้แจ้งแก่ผู้เสียหายว่า จำเลยประสงค์จะขายที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 119511 ให้ผู้เสียหายโดยมีเงื่อนไขว่า "จำเลยจะโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น ความจริงแล้วจำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินหาย แล้วออกโฉนดใหม่ นำโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจำนองแก่ผู้มีชื่อ จำเลยไม่มีเจตนาขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด" ย่อมมีความหมายว่า จำเลยไม่มีเจตนาขายที่ดินให้แก่ผู้เสียหายตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 อันเป็นวันที่หลอกลวงผู้เสียหายแล้ว โดยก่อนหน้านั้นจำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินหาย แล้วออกโฉนดใหม่และนำไปจำนองแก่ผู้มีชื่อ ฟ้องโจทก์จึงบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบถ้วนองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง อันเป็นฟ้องที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมหลังคดีถึงที่สุด และการดำเนินการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีจึงที่สุดแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ต่อมาวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ขอให้ศาลเพิกถอนคำพิพากษาตามยอม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นอีกว่า โจทก์ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจะให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมอย่างไรจึงจะเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาข้อขัดข้องในการบังคับคดี การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบังคับคดีให้แก่โจทก์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบ ซึ่งตามคำร้องดังกล่าวของโจทก์เป็นคำร้องที่ยื่นในชั้นบังคับคดี คู่ความย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ ไม่อยู่บังคับของมาตรา 138
โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) โจทก์กลับเลือกที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความของโจทก์ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งการที่โจทก์จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ต้องเป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 138 วรรคสอง และต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง ตามมาตรา 229 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในกำหนดเวลาดังกล่าว กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม โดยไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์กระทำเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้วินิจฉัยเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง จึงไม่ชอบ
โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) โจทก์กลับเลือกที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความของโจทก์ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งการที่โจทก์จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ต้องเป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 138 วรรคสอง และต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง ตามมาตรา 229 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในกำหนดเวลาดังกล่าว กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม โดยไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์กระทำเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้วินิจฉัยเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทกำหนดโทษ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ และอำนาจแก้ไขโทษของศาลฎีกา
บทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสาม มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ประหารชีวิต และลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 คงลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท ด้วยนั้น ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่วางโทษปรับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษคดียาเสพติด: การแจ้งเบาะแสไม่ถึงขั้นลดโทษขั้นต่ำ และการแก้ไขโทษปรับที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้จำเลยที่ 1 ได้ให้ข้อมูลเบาะแสถึงเฮโรอีนของกลางซึ่งพยานโจทก์ไม่มีผู้ใดรู้เห็นและทราบมาก่อน ได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจใช้เวลาตรวจค้นจนกระทั่งพบเฮโรอีนของกลางเพียงประมาณครึ่งชั่วโมง ลักษณะการซุกซ่อนเฮโรอีนของกลางภายในห้องพักของจำเลยที่ 1 ย่อมอยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานตำรวจจะสามารถค้นพบได้จากการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ จึงมิใช่ผลโดยตรงจากการแจ้งเบาะแสของจำเลยที่ 1 ไม่อาจนับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดผู้ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน อันจะเป็นเหตุให้สมควรใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยที่ 1 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
ตามบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ประหารชีวิต ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 คงลงโทษจำเลยที่ 1 ให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท ด้วยนั้น ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่ลงโทษปรับได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ตามบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ประหารชีวิต ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 คงลงโทษจำเลยที่ 1 ให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท ด้วยนั้น ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่ลงโทษปรับได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลช่วยเหลือคดีช่วยลดโทษจำคุกในคดียาเสพติด
ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสามได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิลำเนาที่อยู่ รูปพรรณสัณฐาน และรายละเอียดอื่น ๆ ของ ช. ผู้ที่ว่าจ้างให้จำเลยทั้งสามขนยาเสพติดให้โทษของกลางไปส่งให้แก่ลูกค้า เมื่อพนักงานสอบสวนให้ดูรูปถ่ายของ ส. จำเลยทั้งสามยืนยันว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับ ข. จริง จนเป็นเหตุให้มีการออกหมายจับ ส. จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนับว่าจำเลยทั้งสามได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานสอบสวน จึงเห็นสมควรวางโทษต่ำกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 เมื่อเหตุที่ศาลฎีกาลดโทษให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนฎีกาซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225