พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดียาเสพติด: ข้อมูลผู้ซื้อไม่เพียงพอต่อการลดโทษ และเหตุตั้งครรภ์ไม่สมเหตุผลเพียงพอต่อการรอลงโทษ
แม้จำเลยได้ให้การในชั้นสอบสวนว่า จำเลยซื้อฝิ่นมาจาก น. ตามบันทึกคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวน แต่ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวขยายผลจับกุมบุคคลที่จำเลยกล่าวอ้างได้หรือไม่อย่างไร คำให้การของจำเลยยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความผิดของจำเลยโดยศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ประเด็นความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต แม้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบาโดยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็ต้องวินิจฉัยปัญหานี้อีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 245 วรรคสอง ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดียาเสพติดประเภท 2 (โคคาอีน) ต้องพิจารณาปริมาณสารบริสุทธิ์เพื่อใช้บทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17 ต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง ยกเว้นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เฉพาะมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ต้องถูกลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสาม เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีโคคาอีนจำนวน 3 ซอง น้ำหนัก 2.36 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้ไม่ปรากฏว่ามีการคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใดก็ตาม แต่ต้องถือว่าโคคาอีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 69 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองโดยสุจริตของผู้รับจำนอง vs สิทธิครอบครองของผู้ไม่จดทะเบียน การคุ้มครองผู้ได้สิทธิโดยเสียค่าตอบแทน
โจทก์รับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เมื่อโจทก์เสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาย่อมไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นิติกรรมจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับจำนองได้เต็มสัญญา ผู้ร้องจะขอกันส่วนของตนจากเงินที่ขายทอดตลาดที่ดินจากการบังคับจำนองหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล: การจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีทุพพลภาพชั่วคราว มิได้มีข้อยกเว้นในสัญญา
ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้มีประกันภัยได้นำรถยนต์ซึ่งเอาประกันภัยไว้ไปประสบอุบัติเหตุจนได้รับอันตรายสาหัส ระบบขับถ่ายและการย่อยอาหารผิดปกติมีอาการปวดท้องเป็นบางครั้งและไม่หาย เรี่ยวแรงลดน้อยถอยลงจนไม่อาจทำงานหนักที่โจทก์ที่ 2 ต้องทำเป็นประจำได้ บาดแผลภายในเกิดการอักเสบ โจทก์ที่ 2 ถูกตัดลำไส้บางส่วนออกไปประมาณ 20 เซนติเมตร ทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมา จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 2 ทุพพลภาพถาวร ซึ่งตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีประกันภัยคือ โจทก์ที่ 2 ผู้ได้รับอุบัติเหตุทุพพลภาพถาวรในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงขอใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนดังกล่าวตามสัญญาในฐานะคู่สัญญาและในฐานะผู้รับประโยชน์ให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 100,000 บาท ตามคำฟ้องดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยโดยบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บอย่างไรและมีอาการอย่างไร คำฟ้องโดยหลักเป็นเรื่องค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ส่วนที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าจึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 2 ผู้มีประกันภัยทุพพลภาพถาวรนั้น เป็นความคิดเห็นของโจทก์ทั้งสองถึงลักษณะของบาดแผล อาการบาดเจ็บและผลที่เกิดขึ้น เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไม่ใช่ทุพพลภาพถาวร แต่เป็นเรื่องทุพพลภาพชั่วคราว ศาลมีอำนาจพิพากษาได้เพราะคำฟ้องโจทก์ทั้งสองบรรยายครอบคลุมถึงอยู่แล้ว ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ที่ 2 โดยเหตุโจทก์ทุพพลภาพชั่วคราวจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
สัญญาประกันภัยคุ้มครองการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล 4 ข้อ ข้อ 1 เสียชีวิต ข้อ 2 สูญเสียมือ เท้า สายตา ข้อ 3 ทุพพลภาพถาวร ข้อ 4 ทุพพลภาพชั่วคราว จำนวนเงินเอาประกันภัยต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งไม่เกิน 100,000 บาท ไม่มีข้อสัญญาข้อใดระบุยกเว้นไว้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดกรณีทุพพลภาพชั่วคราว จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามข้อสัญญาที่ระบุไว้ดังกล่าว
สัญญาประกันภัยคุ้มครองการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล 4 ข้อ ข้อ 1 เสียชีวิต ข้อ 2 สูญเสียมือ เท้า สายตา ข้อ 3 ทุพพลภาพถาวร ข้อ 4 ทุพพลภาพชั่วคราว จำนวนเงินเอาประกันภัยต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งไม่เกิน 100,000 บาท ไม่มีข้อสัญญาข้อใดระบุยกเว้นไว้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดกรณีทุพพลภาพชั่วคราว จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามข้อสัญญาที่ระบุไว้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มจากการเช่าซื้อเลิกสัญญา สิทธิเรียกร้องค่าใช้ทรัพย์แทนค่าเช่าซื้อ
ความรับผิดในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเกี่ยวกับการทำสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ เมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนดชำระแต่ละงวดเพื่อนำส่งกรมสรรพากรตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 78 (2) มาตรา 82 และ มาตรา 82/4 หมายความว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ในแต่ละงวดตามสัญญา ต่อมาสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกัน เมื่อโจทก์ได้ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน คู่กรณีแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันได้ คงเรียกได้แต่ค่าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้นซึ่งไม่ก่อให้เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด เมื่อไม่มีค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หนี้ตามที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้จึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มิได้ยื่นฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หนี้ตามที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้จึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มิได้ยื่นฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย และการใช้สิทธิเรียกร้องค่าใช้ทรัพย์เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระ
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกกันเนื่องจากโจทก์ติดตามยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาได้โดยฝ่ายจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย คู่กรณีแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อก่อนเลิกสัญญาโดยไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อนั้น ผู้เช่าซื้อจำต้องใช้เงินเป็นค่าเช่าหรือค่าใช้ทรัพย์ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม แต่ไม่ต้องใช้ค่าเสียหายใด ๆ เป็นค่าขาดราคานอกจากค่าที่ได้ใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยมิได้ชำระค่าเช่าซื้อนั้น
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันได้คงเรียกได้แต่ค่าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้นซึ่งไม่ก่อให้เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด แม้โจทก์จะได้ออกเงินทดรองชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกเอาจากจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันได้คงเรียกได้แต่ค่าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้นซึ่งไม่ก่อให้เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด แม้โจทก์จะได้ออกเงินทดรองชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกเอาจากจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษเกินคำขอ และการโต้แย้งดุลพินิจการกำหนดโทษในคดียาเสพติด
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยมีกัญชาอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4, 7, 8, 26, 76 โดยมิได้ระบุมาตรา 76/1 มาด้วย และจำเลยให้การรับสารภาพซึ่งเป็นกรณีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ที่ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ และถือว่าโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 76/1 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยมานั้นเกินคำขอไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษไม่ได้แก้กำหนดโทษเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษไม่ได้แก้กำหนดโทษเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าต่อเนื่อง, กรรมเดียว, ไตร่ตรองไว้ก่อน: การแทงผู้เสียหายและผู้ตายในคราวเดียวกัน
จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ เมื่อรถจักรยานยนต์ล้มผู้เสียหายลุกขึ้นวิ่งหนีไป จำเลยจึงใช้มีดแทงผู้ตายซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ในทันทีทันใดในเวลาต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์ที่จะต้องการฆ่าผู้ตาย แต่เหตุที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายที่มากับผู้ตายก่อนเนื่องจากเสียหายเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์โดยมีผู้ตายนั่งซ้อนท้าย จำเลยประสงค์จะให้รถจักรยานยนต์หยุดเพื่อจะได้มีโอกาสแทงทำร้ายผู้ตายได้ต่อไป โดยที่ผู้ตายไม่สามารถซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์หลบหนี จึงเห็นเจตนาได้ว่าจำเลยประสงค์จะแทงทำร้ายทั้งผู้เสียหายและผู้ตายในคราวเดียวกัน แม้จะเป็นการกระทำสองหนและต่อบุคคลสองคนก็อยู่ในเจตนาอันเดียวกันนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปราบปรามยาเสพติดเป็นเหตุลดโทษได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยพร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวน 50 เม็ด ที่จำเลยร่วมกับพวกจำหน่ายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ และตรวจค้นจำเลยพบเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 5 เม็ด ซึ่งจำเลยรับว่าเป็นของตนที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว จำเลยได้แจ้งด้วยว่ายังมีเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวนหนึ่งซุกซ่อนอยู่ที่บ้านของจำเลย และพาเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นจนสามารถยึดเมทแอมเฟตามีนได้อีกจำนวน 1,170 เม็ด ซึ่งฝังดินไว้ใต้ต้นปาล์มห่างจากบ้านของจำเลยประมาณ 300 เมตร เป็นของกลาง เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจสามารถดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาร่วมกับพวกมีเมทแอมเฟตามีน จำนวน 1,225 เม็ด น้ำหนัก 117.19 กรัม มีปริมาณคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 27.905 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย นับว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดผู้ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อตำรวจหรือพนักงานสอบสวน สมควรลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2