พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5988/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: อำนาจฟ้องของโจทก์เมื่อคณะอนุกรรมการยุติการฟื้นฟูโดยไม่ครบถ้วน
ผู้ที่จะถูกส่งตัวเข้าไปรับการฟื้นฟูสมรรถภาพคือบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ไม่ว่าผู้นั้นจะให้ความยินยอมหรือไม่ก็ตาม โดยศาลจะมีคำสั่งส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดยาเสพติดก่อนและคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพมีอำนาจวินิจฉัยว่าผู้รับการตรวจพิสูจน์เป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด จากนั้น ต้องจัดให้มีแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 22 จำเลยเป็นผู้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัวให้รับการบำบัดฟื้นฟูในสถานพยาบาลใกล้บ้านแบบผู้ป่วยนอก และให้รายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามโปรแกรมของสำนักงานคุมประพฤติ การที่จำเลยไม่ให้ความร่วมมือในการฟื้นฟูและขาดการรายงานตัวโดยหลบหนีไปไม่สามารถติดตามตัวได้ เป็นการฝ่าฝืน มาตรา 30 และมาตรา 31 พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจและหน้าที่จับตัวจำเลยกลับเข้าไว้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อบำบัดฟื้นฟูตามแผน และมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 โดยในมาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการดำเนินคดีแก่ผู้รับการฟื้นฟู หากผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ ฉะนั้นเมื่อได้ตัวจำเลยมาแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดระยอง ด่วนมีคำสั่งว่า "ปัจจุบันไม่ทราบที่อยู่อาศัยที่ชัดเจนพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดตามตัวมาเข้ารับการฟื้นฟู และให้ส่งตัวคืนพนักงานสอบสวนตามมาตรา 33 วรรคสอง จึงเป็นการไม่ชอบตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีผู้ติดยาเสพติด: ต้องส่งตัวเข้ารับการบำบัดให้ครบถ้วนก่อน จึงดำเนินคดีได้
จำเลยหลบหนีไปขณะถูกนำตัวไปเข้ารับการฟื้นฟูที่ศูนย์ฟื้นฟูฯ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำสั่งว่า ผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่พอใจ และให้แจ้งพนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรณภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 13 (8) ประกอบมาตรา 33 วรรคสอง เป็นการไม่ชอบ เพราะมาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟู ในกรณีที่ผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ ฉะนั้น เมื่อได้ตัวจำเลยมาแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วน ตามมาตรา 25 ก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและการดำเนินคดีอาญา: โจทก์มีอำนาจฟ้องหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
จำเลยกระทำผิดข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดชัยภูมิ ได้ประชุมและมีคำวินิจฉัยผลการตรวจพิสูจน์จำเลยว่า เป็นผู้เสพยาเสพติด และให้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง และจำเลยได้อยู่รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นเวลาหกเดือน ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ครบกำหนดแล้ว เพียงแต่จำเลยผิดนัดไม่ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติครั้งสุดท้ายในโปรแกรมกลับสู่สังคม จึงเป็นเหตุให้พนักงานคุมประพฤติรายงานไปยังคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดชัยภูมิ ว่า ขาดการรายงานตัว 1 ครั้ง และผลการประเมินของจำเลยไม่ผ่านการประเมิน ทั้งมีความเห็นให้ส่งจำเลยคืนพนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยยังไม่เข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟูตามนัยมาตรา 25 จึงคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริง และตามพฤติการณ์แห่งคดีข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบกำหนดเวลาตามมาตรา 25 แล้ว แต่ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดชัยภูมิจึงมีหน้าที่รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีต่อไป ตามมาตรา 33 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
จำเลยประกอบอาชีพค้าขายขับรถส่งของช่วยมารดาชำระหนี้สินที่มีอยู่มาก โดยไม่นับวันเวลาจนลืมวันนัด กรณีมีเหตุสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดีในสังคม จึงให้รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลย แต่เพื่อให้หลาบจำจึงให้ลงโทษปรับจำเลยด้วย
จำเลยประกอบอาชีพค้าขายขับรถส่งของช่วยมารดาชำระหนี้สินที่มีอยู่มาก โดยไม่นับวันเวลาจนลืมวันนัด กรณีมีเหตุสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดีในสังคม จึงให้รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลย แต่เพื่อให้หลาบจำจึงให้ลงโทษปรับจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้ของตัวแทนต่อผู้ทรงเช็คพิพาท ไม่ขัดต่อมาตรา 916 ป.พ.พ. และการพิสูจน์การผิดสัญญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าเครื่องปรับอากาศและค่าติดตั้งแทนบริษัท ค. จึงเป็นการยอมรับว่าจำเลยกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัท ค. มิใช่การกระทำในฐานะส่วนตัว ดังนั้นบริษัท ค. ซึ่งเป็นตัวการมีข้อต่อสู้อย่างไรต่อโจทก์ จำเลยในฐานะตัวแทนย่อมยกข้อต่อสู้นั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เช่นกัน กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อต่อสู้ระหว่างจำเลยผู้ถูกฟ้องกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบันโดยตรง หาใช่เป็นข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6729/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, การให้สัตยาบันการผิดระเบียบ, และความรับผิดร่วมในคดีละเมิด
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะโดยประมาทพยายามแซงรถยนต์บรรทุกพ่วงที่จำเลยที่ 3 ขับ แต่จำเลยที่ 3 ก็ขับในลักษณะไม่ยอมให้แซง จึงเป็นเหตุให้รถยนต์กระบะและรถยนต์บรรทุกพ่วงแล่นตีคู่กันไปข้างหน้าด้วยความเร็วโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของรถที่แล่นสวนมาในช่องเดินรถฝั่งตรงข้าม เมื่อโจทก์ที่ 2 ขับรถยนต์แล่นสวนทางมา รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ขับเฉี่ยวชนกันแล้วเสียหลักไปชนกับรถยนต์ที่โจทก์ที่ 2 ขับ ดังนี้ จำเลยที่ 3 มีส่วนประมาททำให้เกิดเหตุในคดีนี้ไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีส่วนประมาททำให้เกิดความเสียหายอันเดียวกันจึงพิพากษาให้ร่วมกันรับผิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438
คำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ใช้บังคับเฉพาะคู่ความในคดีอาญาเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องคดีอาญาจึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญามาฟังเป็นยุติในคดีส่วนแพ่ง
ค่าโลงศพเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดงานศพ ส่วนอาหารก็เป็นเรื่องจำเป็นที่เจ้าภาพต้องจัดเตรียมไว้จึงไม่ใช่ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสี่ต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งหกให้รับผิดฐานละเมิดมาในคดีเดียวกัน ซึ่งไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกกันได้ การคิดทุนทรัพย์ต้องแยกของโจทก์แต่ละคน เมื่อจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา การที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยารับคดีไว้พิจารณาพิพากษาจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นขึ้นว่ากล่าวได้ในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้าง และต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 คดีนี้ โจทก์ทั้งสี่ยื่นฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งไม่มีอำนาจที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา แต่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 กลับยินยอมให้ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดำเนินกระบวนพิจารณา โดยสืบพยานโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งหกจนทั้งสองฝ่ายแถลงหมดพยานและศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพิพากษาคดีแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ยอมปฏิบัติตามที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นอันเป็นการให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่อาจยกการผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างได้
อนึ่ง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์แต่ละคนได้รับค่าสินไหมทดแทนแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันชำระเงิน 415,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ โดยให้จำเลยที่ 6 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นเงิน 250,348 บาท พร้อมดอกเบี้ย โดยมิได้แยกเป็นความรับผิดต่อโจทก์แต่ละคน ทั้งให้จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของจำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนนั้น ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ใช้บังคับเฉพาะคู่ความในคดีอาญาเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องคดีอาญาจึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญามาฟังเป็นยุติในคดีส่วนแพ่ง
ค่าโลงศพเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดงานศพ ส่วนอาหารก็เป็นเรื่องจำเป็นที่เจ้าภาพต้องจัดเตรียมไว้จึงไม่ใช่ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสี่ต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งหกให้รับผิดฐานละเมิดมาในคดีเดียวกัน ซึ่งไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกกันได้ การคิดทุนทรัพย์ต้องแยกของโจทก์แต่ละคน เมื่อจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา การที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยารับคดีไว้พิจารณาพิพากษาจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นขึ้นว่ากล่าวได้ในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้าง และต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 คดีนี้ โจทก์ทั้งสี่ยื่นฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งไม่มีอำนาจที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา แต่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 กลับยินยอมให้ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดำเนินกระบวนพิจารณา โดยสืบพยานโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งหกจนทั้งสองฝ่ายแถลงหมดพยานและศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพิพากษาคดีแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ยอมปฏิบัติตามที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นอันเป็นการให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่อาจยกการผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างได้
อนึ่ง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์แต่ละคนได้รับค่าสินไหมทดแทนแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันชำระเงิน 415,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ โดยให้จำเลยที่ 6 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นเงิน 250,348 บาท พร้อมดอกเบี้ย โดยมิได้แยกเป็นความรับผิดต่อโจทก์แต่ละคน ทั้งให้จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของจำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนนั้น ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างสรรพสินค้าต่อความเสียหายรถยนต์ในลานจอดรถจากการดูแลรักษาความปลอดภัยที่บกพร่อง
จำเลยที่ 1 มีข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะนำรถเข้าไปจอดในบริเวณลานจอดรถในห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 1 ว่าจะต้องรับบัตรจอดรถจากพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เสียก่อน และเมื่อจะนำรถออกจากบริเวณลานจอดรถก็จะต้องนำบัตรจอดรถมอบคืนแก่พนักงานรักษาความปลอดภัยที่ทางออกจึงจะนำรถออกจากลานจอดรถได้ แม้ผู้ที่มาใช้บริการที่จอดรถเป็นผู้เลือกที่จอดรถ ดูแลปิดประตูรถ และเก็บกุญแจรถไว้เอง และไม่ต้องเสียค่าบริการก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาก็ย่อมทำให้ลูกค้าที่มาใช้บริการโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าบริเวณที่จอดรถดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 1 ได้จัดให้มีบริการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยสำหรับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตลอดจนรถที่ลูกค้าจะนำเข้าจอดขณะเข้าไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 และพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนรับดูแลรักษาความเรียบร้อยและความปลอดภัยโดยถือว่าเป็นการให้บริการอย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการ ซึ่งถือได้ว่ามีผลโดยตรงต่อยอดการจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดโดยปล่อยปละละเลยให้คนร้ายลักรถของ อ. ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจอดรถอยู่ในลานจอดรถของจำเลยที่ 1 ไป จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 และพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความเรียบร้อยและความปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 420 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชำระค่าเสียหายในการที่รถสูญหายจึงรับช่วงสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3792/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบริษัทประกันภัยต่อความเสียหายจากผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
ตารางกรมธรรม์และสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ในส่วนที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดสำหรับความผิดต่อบุคคลภายนอกของจำเลยที่ 1 ผู้ขับ ซึ่งขับโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เสมือนหนึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยเองด้วยนั้น เป็นเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยทั่วไปซึ่งกรมการประกันภัยพิจารณาให้บริษัทประกันภัยออกกรมธรรม์ประกันภัยเช่นนั้น หากกรมธรรม์ประกันภัยของจำเลยที่ 3 มีเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นแตกต่างจากแบบของกรมการประกันภัย จำเลยที่ 3 ก็น่าที่จะนำสืบเข้ามาเพราะตามปกติกรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ย่อมมีอยู่ที่จำเลยที่ 3 ถ้าจำเลยที่ 3 ไม่คุ้มครองความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขับ จำเลยที่ 3 น่าจะนำสืบเข้ามาเพราะนำสืบได้ง่ายและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อจำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 3 ก็มิได้อ้างส่งต่อศาล กลับอ้างตามคำแก้ฎีกาว่าเป็นหน้าที่โจทก์ที่จะนำสืบ เมื่อตามคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 3 และพฤติกรรมของจำเลยที่ 3 ดังวินิจฉัยมาเป็นเช่นนี้ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดสำหรับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งขับโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 นั้น ชอบด้วยความเป็นธรรมตามรูปคดีนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่งดสืบพยานชอบด้วยกฎหมายเมื่อผู้ถูกบังคับยกเหตุขัดแย้งคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการได้ และการอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาต้องห้าม
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า ผู้คัดค้านก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนไม่เกินร้อยละ 5 และได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวงที่ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้สามารถทำได้แต่อนุญาโตตุลาการกลับวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทไปโดยไม่นำข้อกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัย คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านต่อศาลชั้นต้นอย่างชัดแจ้งแล้วย่อมมีสิทธินำสืบพิสูจน์เพื่อให้ศาลปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคำคัดค้านของผู้คัดค้านไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 และเป็นการคัดค้านไม่ตรงประเด็น ไม่มีประเด็นที่ผู้คัดค้านจะนำสืบพิสูจน์ แล้วให้งดการสืบพยานเป็นการไม่ชอบ เป็นอุทธรณ์ในทำนองว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานของผู้คัดค้าน เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาคดี คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42 บัญญัติให้คู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการยื่นคำร้องต่อศาล และเมื่อศาลได้รับคำร้องแล้วให้รีบทำการไต่สวนและมีคำพิพากษาโดยพลัน และศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้ โดยเหตุแห่งการปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าว ได้แก่ เหตุที่คู่ความต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามมาตรา 43 ประการหนึ่ง และเหตุที่ศาลอาจยกขึ้นได้เองตามมาตรา 44 อีกประการหนึ่ง ผู้ซึ่งจะต้องถูกบังคับย่อมมีสิทธิยกข้อที่จะเป็นเหตุให้ศาลปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้คัดค้านคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดได้และศาลต้องทำการไต่สวนเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่า คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นคำชี้ขาดที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้นหรือไม่
ผู้คัดค้านอุทธรณ์กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งงดสืบพยานของผู้คัดค้านโดยมีคำขอเพียงให้ศาลฎีกามีคำสั่งหรือคำพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของผู้คัดค้านแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ มิได้มีคำขอให้ผู้คัดค้านชนะคดีตามคำคัดค้าน แม้จะโต้แย้งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ก็เป็นเพียงเหตุผลประกอบการอุทธรณ์คัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42 บัญญัติให้คู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการยื่นคำร้องต่อศาล และเมื่อศาลได้รับคำร้องแล้วให้รีบทำการไต่สวนและมีคำพิพากษาโดยพลัน และศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้ โดยเหตุแห่งการปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าว ได้แก่ เหตุที่คู่ความต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามมาตรา 43 ประการหนึ่ง และเหตุที่ศาลอาจยกขึ้นได้เองตามมาตรา 44 อีกประการหนึ่ง ผู้ซึ่งจะต้องถูกบังคับย่อมมีสิทธิยกข้อที่จะเป็นเหตุให้ศาลปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้คัดค้านคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดได้และศาลต้องทำการไต่สวนเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่า คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นคำชี้ขาดที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้นหรือไม่
ผู้คัดค้านอุทธรณ์กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งงดสืบพยานของผู้คัดค้านโดยมีคำขอเพียงให้ศาลฎีกามีคำสั่งหรือคำพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของผู้คัดค้านแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ มิได้มีคำขอให้ผู้คัดค้านชนะคดีตามคำคัดค้าน แม้จะโต้แย้งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ก็เป็นเพียงเหตุผลประกอบการอุทธรณ์คัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการมอบหมายและตัวแทน กรณีละเมิดจากการดูแลความปลอดภัยในศูนย์การค้า
โจทก์นำสืบเพียงว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ลานจอดรถชั้นเกิดเหตุโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ปล่อยปละละเลยมิได้ดูแลรักษาความปลอดภัยตามหน้าที่ของตนแก่รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเป็นเหตุให้มีคนเข้ามาลักรถยนต์คันดังกล่าว หรือมีหน้าที่รับบัตรจอดรถคืนในขณะเกิดเหตุตามฟ้องโจทก์ พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยหายไป จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จำเลยร่วมย่อมเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งพนักงานรักษาความปลอดภัย ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบ 420
อาคารจอดรถเป็นอาคารห้างสรรพสินค้าที่จำเลยที่ 3 ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้า และได้ความตามหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ว่าจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีวัตถุประสงค์บริหารจัดการร้านค้าเพื่อประกอบการค้าในลักษณะศูนย์การค้าด้วย ชื่อของจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมีคำว่า เซ็นทรัล ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 3 มี น. กับอีก 11 คน ในจำนวน 11 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ น. ถึง 9 คน ส่วนจำเลยร่วมก็มี ว. กับอีก 7 คน เป็นกรรมการในจำนวน 7 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ ว. ถึง 5 คน ทั้งอาคารมีที่จอดรถที่เดียวกัน ใช้บัตรจอดรถเดียวกันมีเครื่องหมายของศูนย์การค้าเซ็นทรัล สาขาปิ่นเกล้า แม้จำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทคนละบริษัท แต่ตามหลักฐานและพฤติการณ์ดังกล่าวน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าที่อาคารร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือจำเลยที่ 3 มีหน้าที่จำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีหน้าที่บริหารจัดการรวมทั้งบริหารจัดการเกี่ยวกับการจอดรถของลูกค้า แม้จำเลยร่วมผู้เดียวลงชื่อเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าทั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยร่วมเป็นตัวแทนของตน จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยร่วม
จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จำเลยร่วมย่อมเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งพนักงานรักษาความปลอดภัย ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบ 420
อาคารจอดรถเป็นอาคารห้างสรรพสินค้าที่จำเลยที่ 3 ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้า และได้ความตามหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ว่าจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีวัตถุประสงค์บริหารจัดการร้านค้าเพื่อประกอบการค้าในลักษณะศูนย์การค้าด้วย ชื่อของจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมีคำว่า เซ็นทรัล ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 3 มี น. กับอีก 11 คน ในจำนวน 11 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ น. ถึง 9 คน ส่วนจำเลยร่วมก็มี ว. กับอีก 7 คน เป็นกรรมการในจำนวน 7 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ ว. ถึง 5 คน ทั้งอาคารมีที่จอดรถที่เดียวกัน ใช้บัตรจอดรถเดียวกันมีเครื่องหมายของศูนย์การค้าเซ็นทรัล สาขาปิ่นเกล้า แม้จำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทคนละบริษัท แต่ตามหลักฐานและพฤติการณ์ดังกล่าวน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าที่อาคารร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือจำเลยที่ 3 มีหน้าที่จำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีหน้าที่บริหารจัดการรวมทั้งบริหารจัดการเกี่ยวกับการจอดรถของลูกค้า แม้จำเลยร่วมผู้เดียวลงชื่อเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าทั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยร่วมเป็นตัวแทนของตน จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องคดีหลักทรัพย์: ประเด็นการบังคับขายหลักทรัพย์, พยานหลักฐาน, และการวินิจฉัยของศาล
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์จะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้ง แต่อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้กล่าวอ้างเพียงพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และเลขมาตรา จำนวน 6 มาตรา เท่านั้น โดยมิได้บรรยายให้ปรากฏในอุทธรณ์ว่า กฎหมายและบทมาตราดังกล่าวมีหลักเกณฑ์สำคัญที่โจทก์จะต้องบรรยายประกอบข้อกล่าวอ้างมาในคำฟ้องด้วยอย่างไร อุทธรณ์ข้อนี้จึงไม่ชัดแจ้งและต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี โดยในข้อ 2 ระบุว่า "......โจทก์ไม่ได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โจทก์จึงไม่สามารถซื้อขายหลักทรัพย์ตามคำฟ้องในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จริง เพราะการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตามมาตรา 184 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 กระทำได้โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิก......" จึงเป็นข้อต่อสู้ในประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือไม่เท่านั้น หาได้ให้การต่อสู้ว่าคำฟ้องของโจทก์ต้องบรรยายข้อเท็จจริงให้เข้าข้อกฎหมายตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 184 จึงจะเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังที่จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงนอกคำให้การถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 5 ท้ายประมวลรัษฎากรระบุว่า "5. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารค่าอาการแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมหรือตกลงให้เบิกเกินบัญชี" ตามบทบัญญัติดังกล่าวระบุเอกสารไว้เพียง 2 ประเภท คือสัญญากู้เงินกับสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร สัญญากู้เงินมีความแตกต่างจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี เนื่องจากการกู้เงินคู่สัญญาย่อมจะทราบจำนวนเงินอันเป็นวัตถุประสงค์ของสัญญาได้ทันที และสามารถปิดอากรแสตมป์ไปตามจำนวนดังกล่าวได้ แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแม้ในทางปฏิบัติจะเรียกว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี แต่ก็มิใช่สัญญากู้เงินทั่วไป เนื่องจากขณะทำสัญญาเป็นเพียงการกำหนดวงเงินที่ลูกหนี้จะทำการก่อหนี้ได้เท่านั้น ส่วนลูกหนี้จะขอกู้และเป็นหนี้ในจำนวนใดยังไม่ทราบแน่ชัดในขณะทำสัญญา บัญชีอัตราอากรแสตมป์จึงระบุไว้ให้ถือเอาวงเงินที่ตกลงให้เบิกเกินบัญชีเป็นจำนวนที่จะคำนวณค่าอากรแสตมป์ หาใช่จำนวนที่เป็นหนี้กันจริงไม่ เมื่อพิจารณาถึงสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัด ที่กำหนดวัตถุประสงค์ให้บริษัทตัวแทนจ่ายเงินทดรองอันถือเป็นเงินกู้ยืมเพื่อชำระค่าหลักทรัพย์ที่ลูกค้าสั่งซื้อ โดยให้มีการหักทอนบัญชีกันเป็นครั้งคราว หรือบันทึกข้อตกลงในการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์โดยมีหลักทรัพย์นั้นมาวางเป็นประกัน แสดงว่าในขณะทำสัญญายังไม่ทราบจำนวนยอดเงินที่เป็นหนี้ควรทราบแต่เพียงวงเงินที่อนุมัติไว้ตามใบคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ตามวงเงินจะบังเกิดมีขึ้นหรือไม่ก็ไม่เป็นที่แน่ชัด อยู่ที่การสั่งซื้อของลูกค้าและการหักทอนบัญชีอันจะมีระหว่างคู่สัญญา กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการกู้ตามความประสงค์ของข้อ 5. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ คงมีลักษณะเป็นเพียงการกำหนดวงเงินเพื่อหักทอนบัญชีเดินสะพัด แต่ข้อ 5 แห่งบัญชีดังกล่าวกำหนดให้การตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารเท่านั้นที่จะเสียค่าอากรแสตมป์ตามยอดที่ตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชี หาได้บัญญัติรวมมาถึงสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัด ดังที่ปรากฏในคดีนี้ด้วยไม่ และกรณีไม่อาจตีความหมายที่กำหนดไว้ให้ครอบคลุมถึงได้ จึงต้องถือว่าสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัดมิใช่เอกสารที่มีการระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ศาลชอบที่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
จำเลยต่อสู้คดีโดยเริ่มจากคำให้การ การนำสืบพยานจำเลย อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมาโดยตลอดว่า สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ฟ้อง เป็นเรื่องบริษัทหลักทรัพย์และตัวแทนนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ต้องปฏิบัติและเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษโดยเฉพาะ แต่ไม่ปรากฏในทางนำสืบของจำเลยว่า บทกฎหมายพิเศษที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างได้บัญญัติให้การสั่งซื้อหรือการบังคับขายหลักทรัพย์จะต้องจัดทำเป็นหนังสือ ในทางตรงกันข้ามกลับปรากฏจากสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจำเลยทำไว้ต่อโจทก์ ในข้อ 1 "...คำว่า "คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ให้หมายความรวมถึง คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยวาจา โดยโทรสาร โทรพิมพ์ หรือโดยวิธีอื่นใด" จึงเห็นได้ว่า คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือเสมอไป ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานและวินิจฉัยคดีมานั้น จึงหาเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ผิดกฎหมายดังที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นตามคำให้การ ข้อ 7 ว่า หากโจทก์ไม่ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ของจำเลยตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำเลยก็สามารถสั่งขายหลักทรัพย์ของตนได้ ดังนั้น หากโจทก์ไม่ดำเนินการบังคับขาย จำเลยก็ไม่หลุดพ้นจากความรับผิด อันเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นซึ่งเกิดจากคำให้การ ข้อ 7 ของจำเลยแล้ว ซึ่งหากจำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์โต้แย้งข้อวินิจฉัยในประเด็นนี้ของศาลชั้นต้น แต่จำเลยกลับบรรยายอุทธรณ์เกี่ยวกับข้อต่อสู้ในคำให้การ ข้อ 7 อยู่ในอุทธรณ์หน้าที่ 14 ข้อ 1.7 ในทำนองว่าศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยให้จำเลยทุกข้อที่จำเลยกล่าวอ้าง ทั้ง ๆ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ตามประเด็นที่ยกขึ้นในคำให้การแล้ว ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระ จึงชอบแล้ว
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 5 ท้ายประมวลรัษฎากรระบุว่า "5. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารค่าอาการแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมหรือตกลงให้เบิกเกินบัญชี" ตามบทบัญญัติดังกล่าวระบุเอกสารไว้เพียง 2 ประเภท คือสัญญากู้เงินกับสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร สัญญากู้เงินมีความแตกต่างจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี เนื่องจากการกู้เงินคู่สัญญาย่อมจะทราบจำนวนเงินอันเป็นวัตถุประสงค์ของสัญญาได้ทันที และสามารถปิดอากรแสตมป์ไปตามจำนวนดังกล่าวได้ แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแม้ในทางปฏิบัติจะเรียกว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี แต่ก็มิใช่สัญญากู้เงินทั่วไป เนื่องจากขณะทำสัญญาเป็นเพียงการกำหนดวงเงินที่ลูกหนี้จะทำการก่อหนี้ได้เท่านั้น ส่วนลูกหนี้จะขอกู้และเป็นหนี้ในจำนวนใดยังไม่ทราบแน่ชัดในขณะทำสัญญา บัญชีอัตราอากรแสตมป์จึงระบุไว้ให้ถือเอาวงเงินที่ตกลงให้เบิกเกินบัญชีเป็นจำนวนที่จะคำนวณค่าอากรแสตมป์ หาใช่จำนวนที่เป็นหนี้กันจริงไม่ เมื่อพิจารณาถึงสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัด ที่กำหนดวัตถุประสงค์ให้บริษัทตัวแทนจ่ายเงินทดรองอันถือเป็นเงินกู้ยืมเพื่อชำระค่าหลักทรัพย์ที่ลูกค้าสั่งซื้อ โดยให้มีการหักทอนบัญชีกันเป็นครั้งคราว หรือบันทึกข้อตกลงในการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์โดยมีหลักทรัพย์นั้นมาวางเป็นประกัน แสดงว่าในขณะทำสัญญายังไม่ทราบจำนวนยอดเงินที่เป็นหนี้ควรทราบแต่เพียงวงเงินที่อนุมัติไว้ตามใบคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ตามวงเงินจะบังเกิดมีขึ้นหรือไม่ก็ไม่เป็นที่แน่ชัด อยู่ที่การสั่งซื้อของลูกค้าและการหักทอนบัญชีอันจะมีระหว่างคู่สัญญา กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการกู้ตามความประสงค์ของข้อ 5. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ คงมีลักษณะเป็นเพียงการกำหนดวงเงินเพื่อหักทอนบัญชีเดินสะพัด แต่ข้อ 5 แห่งบัญชีดังกล่าวกำหนดให้การตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารเท่านั้นที่จะเสียค่าอากรแสตมป์ตามยอดที่ตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชี หาได้บัญญัติรวมมาถึงสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัด ดังที่ปรากฏในคดีนี้ด้วยไม่ และกรณีไม่อาจตีความหมายที่กำหนดไว้ให้ครอบคลุมถึงได้ จึงต้องถือว่าสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัดมิใช่เอกสารที่มีการระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ศาลชอบที่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
จำเลยต่อสู้คดีโดยเริ่มจากคำให้การ การนำสืบพยานจำเลย อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมาโดยตลอดว่า สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ฟ้อง เป็นเรื่องบริษัทหลักทรัพย์และตัวแทนนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ต้องปฏิบัติและเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษโดยเฉพาะ แต่ไม่ปรากฏในทางนำสืบของจำเลยว่า บทกฎหมายพิเศษที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างได้บัญญัติให้การสั่งซื้อหรือการบังคับขายหลักทรัพย์จะต้องจัดทำเป็นหนังสือ ในทางตรงกันข้ามกลับปรากฏจากสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจำเลยทำไว้ต่อโจทก์ ในข้อ 1 "...คำว่า "คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ให้หมายความรวมถึง คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยวาจา โดยโทรสาร โทรพิมพ์ หรือโดยวิธีอื่นใด" จึงเห็นได้ว่า คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือเสมอไป ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานและวินิจฉัยคดีมานั้น จึงหาเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ผิดกฎหมายดังที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นตามคำให้การ ข้อ 7 ว่า หากโจทก์ไม่ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ของจำเลยตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำเลยก็สามารถสั่งขายหลักทรัพย์ของตนได้ ดังนั้น หากโจทก์ไม่ดำเนินการบังคับขาย จำเลยก็ไม่หลุดพ้นจากความรับผิด อันเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นซึ่งเกิดจากคำให้การ ข้อ 7 ของจำเลยแล้ว ซึ่งหากจำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์โต้แย้งข้อวินิจฉัยในประเด็นนี้ของศาลชั้นต้น แต่จำเลยกลับบรรยายอุทธรณ์เกี่ยวกับข้อต่อสู้ในคำให้การ ข้อ 7 อยู่ในอุทธรณ์หน้าที่ 14 ข้อ 1.7 ในทำนองว่าศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยให้จำเลยทุกข้อที่จำเลยกล่าวอ้าง ทั้ง ๆ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ตามประเด็นที่ยกขึ้นในคำให้การแล้ว ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระ จึงชอบแล้ว