คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มานัส เหลืองประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ สัญญาบัญชีเดินสะพัด อายุความ และดอกเบี้ย
สัญญาซิตี้แบงก์แชร์เพาเวอร์เอกสารหมาย จ.1 ระบุให้โจทก์เปิด "บัญชีทดรองจ่าย" ให้แก่จำเลย และทดรองจ่าย "เงินทดรอง" แทนจำเลยในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ในสัญญาข้อ 5 ข้อ 9 และข้อ 10 จำเลยตกลงให้สิทธิแก่โจทก์ในการนำเงินค่าขายหลักทรัพย์และดอกผลของหลักทรัพย์ที่จำเลยมีสิทธิได้รับไปหักทอนบัญชีหรือหักกลบลบหนี้เพื่อชำระหนี้ได้ทุกครั้ง ข้อตกลงซึ่งโจทก์จำเลยแสดงต่อกันเช่นนี้จึงต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ส่วน "บัญชีทดรองจ่าย" และการทดรองจ่าย "เงินทดรอง" ในการซื้อขายหลักทรัพย์ของจำเลยผ่านบริษัทหลักทรัพย์ อ. เป็นเพียงวิธีการตามที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้บรรลุตามเจตนาของจำเลยที่มุ่งประสงค์จะทำธุรกรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น หาเกี่ยวกับข้อตกลงตามสัญญาซึ่งต้องด้วยลักษณะของบัญชีเดินสะพัดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ต่ออำนาจศาลในการพิจารณาคดีอุทธรณ์ และการบังคับตามคำชี้ขาด
แม้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ส่งถ้อยคำสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาจะปรากฏว่า พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มีผลใช้บังคับแล้ว และมิได้มีบทเฉพาะกาลให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปก็ตาม แต่เมื่อขณะที่จำเลยยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้นั้น คดียังอยู่ในระหว่างใช้บังคับตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 อยู่ คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะต้องรับไว้พิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยไม่ต้องบอกเลิกก่อน
การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีอ้างว่า มีเหตุอื่นใดๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) อันก่อสิทธิฟ้องคดีได้โดยสมบูรณ์หาใช่กรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีกำหนดการอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติประสงค์จะเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่มีเหตุอันจะต้องดำเนินการตามมาตรา 1056 ประกอบมาตรา 1055 (4) ไม่ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องโดยหาต้องดำเนินการตามมาตรา 1056 ก่อน
การที่จำเลยและโจทก์ที่ 3 หย่าขาดกันตามคำพิพากษาตามยอมนั้น หาอาจหมายความว่า โจทก์ทั้งสามและจำเลยตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน อันเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1061 ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดโดยการปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย และการอุทธรณ์คำสั่งศาลต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตารางค่าธรรมเนียม
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนัดฟังคำสั่งศาลฎีกาใหม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าตามคำร้องของจำเลยไม่ได้อ้างเหตุว่า การปิดหมายไม่ชอบเพราะเหตุใด ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่าปิดหมายนัดที่ภูมิลำเนาของจำเลยและทนายจำเลย ในส่วนของโจทก์โจทก์แถลงว่าส่งหมายนัดชอบแล้ว ถือได้ว่าการส่งหมายนัดฟังคำสั่งศาลฎีกาและศาลชั้นต้นโดยวิธีปิดหมายชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีเหตุที่จะนัดฟังคำสั่งศาลฎีกาใหม่ ให้ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นนัดฟังคำสั่งศาลฎีกาใหม่ ค่าคำร้องให้เป็นพับนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของจำเลยแล้ว หากจำเลยไม่เห็นด้วย และประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งชี้ขาดดังกล่าว ก็ต้องทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและชำระหนี้ตามคำพิพากษา ส่งผลให้ศาลไม่รับอุทธรณ์
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548 จำเลยยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เนื่องจากยื่นเกินกำหนดที่ศาลอนุญาต คือวันที่ 19 ธันวาคม 2548 จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีคำสั่ง วันที่ 23 ธันวาคม 2548 จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและให้รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย โดยไม่ต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและไม่ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าจำเลยมิได้นำเงินมาชำระตามตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กำหนด อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้ยกคำร้อง และเมื่อศาลยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยแล้ว กรณีจึงไม่ต้องสั่งอุทธรณ์คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยฉบับลงวันที่ 23 ธันวาคม 2548 อีก ดังนี้จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความต้องมีเจตนาชำระหนี้ชัดเจน ไม่ถือเป็นสัญญาหากเพียงตกลงซ่อมแซมเอง คดีมีปัญหาข้อเท็จจริงเกินสองแสนต้องห้ามฎีกา
การประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 นั้น คือ สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน แต่สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีใจความเพียงว่า "ค่าเสียหายในการนี้ คู่กรณีทั้งสองตกลงกันเองได้และจะนำไปซ่อมกันเอง" ไม่มีสาระสำคัญแสดงว่าจำเลยเจรจาตกลงกับ ส. คนขับรถบรรทุกหกล้อที่โจทก์รับประกันภัยไว้ในเรื่องการชำระค่าเสียหายให้ชัดแจ้งแต่อย่างใด จึงไม่มีผลเป็นการประนีประนอมยอมความตามกฎหมาย มูลหนี้ละเมิดจึงไม่ระงับสิ้นไปเมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยนำรถยนต์บรรทุกหกล้อคันดังกล่าวไปซ่อมจนมีสภาพดีดังเดิม โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัย คุ้มครองความรับผิดทางละเมิดจากผู้ขับขี่เมาสุรา ข้อจำกัดการยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย และจำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัย หมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 เรื่องการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 2.12 ระบุว่า การประกันภัยความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะ หรือความรับผิดต่อผู้โดยสาร และความรับผิดต่อทรัพย์สิน ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลขณะที่อยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมาถึงขนาดที่ไม่สามารถควบคุมรถยนต์ได้ตามข้อ 2.12.7 และมีข้อสัญญาพิเศษตามข้อ 2.13 ระบุว่า ภายใต้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตาราง บริษัทผู้รับประกันภัยจะไม่ยกข้อยกเว้นความรับผิดตามข้อ 2.12 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอก หรือความรับผิดต่อผู้โดยสาร จากข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวย่อมหมายความว่า โดยหลักแล้วกรมธรรม์ประกันภัยจะคุ้มครองความรับผิดของผู้เอาประกันภัยในเรื่องความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกที่เกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัย ความรับผิดต่อผู้โดยสารที่อยู่ในรถยนต์ที่เอาประกันภัยที่เกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัย และความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่เกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัย เว้นแต่เป็นกรณีผู้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมาถึงขนาดที่ไม่สามารถควบคุมรถยนต์ได้ ผู้เอาประกันภัยจะไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่มีข้อสัญญาพิเศษยกเว้นให้รับผิดจากข้อยกเว้นข้างต้นอีก กล่าวคือ ถ้าเป็นกรณีความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกและความรับผิดต่อผู้โดยสาร แม้ผู้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมาถึงขนาดที่ไม่สามารถควบคุมรถยนต์ได้ ผู้รับประกันภัยจะไม่ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก คงมีแต่เฉพาะกรณีความรับผิดต่อทรัพย์สินเท่านั้นที่ไม่มีข้อห้ามยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอก ฉะนั้น เมื่อกรณีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 4 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย โดยอาศัยสัญญาประกันภัยดังกล่าวให้ชำระเงินค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ได้รับบาดเจ็บและรถยนต์ของโจทก์เสียหาย แบ่งเป็นเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าซ่อมรถยนต์ ค่าลากรถยนต์และค่ารถยนต์ที่เสื่อมราคา จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยนั้นแล้ว จำเลยที่ 4 ก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดเฉพาะต่อความเสียหายในทรัพย์สินของโจทก์
ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง ฉะนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องผู้เประกันภัยด้วย ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัย เสียไป จำเลยที่ 4 จึงยังต้องรับผิดตามกรมธรรม์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14144/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดหนี้ภาระค้ำประกันเมื่อผู้รับจำนองยินยอมให้ผู้ซื้อรับภาระจำนอง และการระงับหนี้ของผู้ค้ำประกันร่วม
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ต่างทำสัญญาค้ำประกันหนี้กู้ยืมเงินและหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวนเดียวกันไว้ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม พร้อมกับจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าวด้วย ต่อมาจำเลยที่ 5 ขายที่ดินที่จำนองให้แก่จำเลยที่ 2 และโจทก์มีหนังสือที่แสดงเจตนาว่ายอมปลดหนี้ภาระการค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 5 จนหมดสิ้นแล้ว เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 293 และมาตรา 296 การที่โจทก์สละสิทธิต่อจำเลยที่ 5 ย่อมมีผลทำให้หนี้ตามภาระการค้ำประกันสำหรับจำเลยที่ 5 ระงับไปตามมาตรา 340 และย่อมมีผลทำให้หนี้ตามภาระการค้ำประกันสำหรับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมระงับไปด้วยตามมาตรา 293 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และแม้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เนื่องจากต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและหนี้ตามภาระการค้ำประกันดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ในระหว่างจำเลยที่ 4 และที่ 5 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 4 ได้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10749/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในคดีรับขน และความคุ้มครองประกันภัยความเสียหายจากการขนส่ง
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดชำระค่าเสียหายตามสัญญารับขน จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยร่วมที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอีกทอดหนึ่ง จำเลยร่วมที่ 2 ใช้รถโฟร์กลิฟยกเครื่องขัดเรียบลงจากรถยนต์บรรทุกโดยเครื่องขัดเรียบหล่นกระแทกพื้นได้รับความเสียหาย และยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไปในภายหลังหากศาลพิจารณาให้ตนเป็นฝ่ายแพ้คดี การเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาในคดีก็เพื่อให้ผูกพันในผลแห่งคดี จำเลยที่ 2 มิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความคนละฝ่ายกับจำเลยร่วมที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 2 โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาแม้จำเลยร่วมที่ 2 จะยื่นคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกา คดีก็ไม่มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 2 ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในปัญหาดังกล่าวและที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ชอบเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8963/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินฝากในบัญชีชื่อจำเลย ธนาคารคืนเงินให้จำเลย ผู้ฝากย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้รับฝากจำต้องคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากไว้นั้นให้แก่ผู้ฝาก หรือทรัพย์สินนั้นฝากในนามของผู้ใดคืนให้แก่ผู้นั้น... บัญชีเงินฝากชื่อบัญชีเป็นการฝากในนามของจำเลยโดยไม่ปรากฏข้อความว่าจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าวแทนผู้ร้อง ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินฝากให้แก่จำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมาย แม้ผู้ร้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้จำเลยรับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าทั่วไปแทนผู้ร้อง แต่เงินที่ผู้ร้องนำเข้าฝากในบัญชีเงินฝากของจำเลยจึงเป็นกรณีการฝากเงิน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึ่งต้องส่งคืนเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่ฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิเอาเงินนั้นออกใช้ได้ ฉะนั้นเงินที่ฝากจึงตกเป็นของธนาคาร เมื่อจำเลยใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินที่ฝากจากธนาคาร ธนาคารก็ไม่จำต้องคืนเงินตราอันเดียวกับที่รับฝาก ธนาคารคงมีแต่หน้าที่จะต้องคืนเงินให้ครบถ้วนเท่านั้น จำเลยเป็นผู้ทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารในนามของจำเลย ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฝาก ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญากับธนาคารด้วย จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินที่รับฝากไว้จากบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ในนามของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 และมาตรา 672 ผู้ร้องเพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามหน้าที่ที่จำเลยมีต่อผู้ร้องเท่านั้น หากจำเลยไม่รับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าตามที่ผู้ร้องอนุมัติเงินไป ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยคืนได้เอง ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของเงินฝากตามบัญชีธนาคารของจำเลยที่ถูกอายัดไว้ และไม่มีสิทธิขอให้ถอนอายัดเงินฝากดังกล่าว
of 40