พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8963/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินฝากในบัญชีชื่อจำเลย ธนาคารคืนเงินให้จำเลย ผู้ฝากย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้รับฝากจำต้องคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากไว้นั้นให้แก่ผู้ฝาก หรือทรัพย์สินนั้นฝากในนามของผู้ใดคืนให้แก่ผู้นั้น... บัญชีเงินฝากชื่อบัญชีเป็นการฝากในนามของจำเลยโดยไม่ปรากฏข้อความว่าจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าวแทนผู้ร้อง ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินฝากให้แก่จำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมาย แม้ผู้ร้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้จำเลยรับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าทั่วไปแทนผู้ร้อง แต่เงินที่ผู้ร้องนำเข้าฝากในบัญชีเงินฝากของจำเลยจึงเป็นกรณีการฝากเงิน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึ่งต้องส่งคืนเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่ฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิเอาเงินนั้นออกใช้ได้ ฉะนั้นเงินที่ฝากจึงตกเป็นของธนาคาร เมื่อจำเลยใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินที่ฝากจากธนาคาร ธนาคารก็ไม่จำต้องคืนเงินตราอันเดียวกับที่รับฝาก ธนาคารคงมีแต่หน้าที่จะต้องคืนเงินให้ครบถ้วนเท่านั้น จำเลยเป็นผู้ทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารในนามของจำเลย ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฝาก ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญากับธนาคารด้วย จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินที่รับฝากไว้จากบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ในนามของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 และมาตรา 672 ผู้ร้องเพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามหน้าที่ที่จำเลยมีต่อผู้ร้องเท่านั้น หากจำเลยไม่รับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าตามที่ผู้ร้องอนุมัติเงินไป ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยคืนได้เอง ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของเงินฝากตามบัญชีธนาคารของจำเลยที่ถูกอายัดไว้ และไม่มีสิทธิขอให้ถอนอายัดเงินฝากดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8672/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: จำเลยไม่อาจอุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้องที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตแต่การที่โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน ทั้งศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา ถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคสอง แล้ว
จำเลยทั้งสองยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่า มูลคดีไม่ได้เกิดในเขตอำนาจศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ามูลคดีในการทำสัญญาเช่าซื้อเกิดขึ้นที่กรุงเทพมหานครและสัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดกระบี่ อีกทั้งในสัญญาไม่ได้ระบุว่าทำขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต คดีจึงอยู่นอกเขตอำนาจของศาลชั้นต้นและพิพากษายกฟ้อง คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นจึงสมประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์ได้อีก
จำเลยทั้งสองยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่า มูลคดีไม่ได้เกิดในเขตอำนาจศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ามูลคดีในการทำสัญญาเช่าซื้อเกิดขึ้นที่กรุงเทพมหานครและสัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดกระบี่ อีกทั้งในสัญญาไม่ได้ระบุว่าทำขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต คดีจึงอยู่นอกเขตอำนาจของศาลชั้นต้นและพิพากษายกฟ้อง คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นจึงสมประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8377/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฟ้อง – ผลกระทบต่อคำพิพากษา – การนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งคำร้องของจำเลยที่ 2 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรมเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18, 227, 228
การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือไม่ก็ตาม นอกจากผู้อุทธรณ์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แล้ว หากอุทธรณ์คำสั่งนั้นมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นผู้อุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยตรง เพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็จะอนุญาตให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ย่อมทำให้ศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ โดยต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไปด้วย เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใช้บังคับคดีนี้เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 ขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน มีลักษณะเลื่อนลอยไม่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 อย่างไรหรือเป็นเพราะเหตุใด เป็นฎีกาที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน
การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือไม่ก็ตาม นอกจากผู้อุทธรณ์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แล้ว หากอุทธรณ์คำสั่งนั้นมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นผู้อุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยตรง เพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็จะอนุญาตให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ย่อมทำให้ศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ โดยต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไปด้วย เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใช้บังคับคดีนี้เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 ขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน มีลักษณะเลื่อนลอยไม่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 อย่างไรหรือเป็นเพราะเหตุใด เป็นฎีกาที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8377/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หากมีผลกระทบต่อคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งคำร้องของจำเลยที่ 2 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรมเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18, 227, 228 ดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกาอย่างไรก็ตาม การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือไม่ก็ตาม นอกจากผู้อุทธรณ์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แล้ว หากอุทธรณ์คำสั่งนั้นมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ผู้อุทธรณ์ก็อยู่ในบังคับที่จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามมาตรา 229 คดีนี้แม้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวเพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เช่นนี้เป็นอุทธรณ์ที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยตรง เพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้นศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็จะอนุญาตให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ย่อมทำให้ศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ โดยศาลชั้นต้นต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไปด้วย เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามมาตรา 229 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 229 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ทั้งสองฉบับจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่และการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้และบรรยายในคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความว่า ก่อนมีการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อให้จำเลยร่วมแล้ว โดยโจทก์ให้ความยินยอมเป็นหนังสือและทำสัญญาเช่าซื้อฉบับใหม่กับจำเลยร่วม อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็นจำเลยร่วม จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้หมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ย่อมมีผลเป็นการยกฟ้องจำเลยร่วม จำเลยทั้งสามยังคงอุทธรณ์ว่า จำเลยร่วมเป็นผู้ต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่จำเลยทั้งสาม จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งโจทก์และเป็นอุทธรณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยร่วมด้วยเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยร่วมยังเป็นคู่ความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามโดยสั่งให้ส่งสำเนาแก่โจทก์ แต่ไม่ได้ส่งสำเนาแก่จำเลยร่วมเพื่อแก้อุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 235 และการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไปโดยมิได้มีคำสั่งให้แก้ไขเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียก่อนกับการที่ศาลชั้นต้นไม่นัดจำเลยร่วมมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยมิชอบ เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา จึงต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วย้อนสำนวนกลับไปดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7892/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและการส่งมอบรถยนต์ ผู้เช่าซื้อต้องส่งมอบรถคืนโจทก์ด้วยตนเอง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 มอบรถยนต์ให้ ช. ใช้ประโยชน์ ช. ย่อมเป็นผู้ครอบครองรถยนต์แทนจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 จะบอกเลิกสัญญาโดยการส่งมอบรถยนต์คืน ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้ส่งมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573
จำเลยทั้งสองให้การแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว ข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองที่ว่ามีการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 เป็น ช. หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อจึงระงับ หรือมิฉะนั้นก็เป็นกรณีตัวการไม่เปิดเผยชื่อ เมื่อเปิดเผยชื่อตัวการโดยจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบ ช. ตัวการต้องเข้ามาผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองให้การแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว ข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองที่ว่ามีการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 เป็น ช. หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อจึงระงับ หรือมิฉะนั้นก็เป็นกรณีตัวการไม่เปิดเผยชื่อ เมื่อเปิดเผยชื่อตัวการโดยจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบ ช. ตัวการต้องเข้ามาผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น: การเข้าร่วมประชุมด้วยความรู้เท่าทันถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องทราบนัดและเข้าร่วมประชุมคราวปัญหาพร้อมกับผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ ครบทั้งหมด 7 คน สำหรับการประชุมคราวปัญหาได้มีการแจ้งนัดประชุมให้ผู้ร้องทราบทางโทรศัพท์และเป็นการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ซึ่งผู้ร้องทราบปัญหาดี ผู้ร้องได้มีหนังสือขอให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งมีการอ้างอิงบันทึกฉบับลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2543 ที่มีการเสนอขายที่ดินเพื่อจัดการชำระหนี้ด้วย จึงเชื่อว่าผู้ร้องทราบล่วงหน้าถึงปัญหาและวาระที่ที่ประชุมจะต้องพิจารณา กับมีเวลาเตรียมตัวเพื่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ ต้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1175 แล้ว แม้การแจ้งนัดประชุมคราวปัญหาให้ผู้ร้องทราบจะกระทำโดยทางโทรศัพท์ แต่ผู้ร้องก็ทราบนัดและเข้าร่วมประชุมด้วย การที่ผู้ร้องแพ้มติในที่ประชุมดังกล่าวแล้วกลับมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมโดยอ้างว่า การแจ้งนัดประชุมไม่ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่ ป.พ.พ. มาตรา 1175 บัญญัติไว้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ มาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเดิมซ้ำ แม้จะมีการถอนฟ้องคดีแรกแล้ว ก็ยังถือเป็นฟ้องซ้อนตามกฎหมาย
ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดในมูลละเมิดและประกันภัยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 2026/2548 ของศาลจังหวัดปฐม แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีก่อนเสียเพื่อไปฟ้องเป็นคดีใหม่ต่อศาลที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ในมูลหนี้เดิมและรายเดียวกันเป็นคดีนี้ต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ ดังนั้น เมื่อคดีที่โจทก์ขอถอนฟ้องในคดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ต้องถือว่าคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด การที่โจทก์นำมูลหนี้รายเดียวกันฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอีกจึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาศาลฎีกาจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง คดีก่อนถึงที่สุดก็ตาม ก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ผู้โอนสิทธิไม่มีอำนาจบังคับคดีแทนเจ้าหนี้เดิมหากไม่มีกฎหมายเฉพาะรองรับ
บุคคลที่มีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกที่อ้างว่าได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสอง ไม่ใช่คู่ความในคดีหรือเป็นบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี จึงไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีได้ นอกจากนี้การที่จะเข้าสวมสิทธิแทนคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีนั้น ต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายให้เข้าสวมสิทธิแทนได้ เช่น ตาม พ.ร.ก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฯ เป็นต้น ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีจำกัดเฉพาะคู่ความหรือผู้ชนะคดี การโอนสิทธิไม่อาจสวมสิทธิบังคับคดีได้
บุคคลที่มีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกที่อ้างว่าได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยไม่ใช่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีตามคำพิพากษา จึงไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีได้ นอกจากนี้ การที่จะเข้าสวมสิทธิแทนคู่ความหรือบุคคลที่เป็นฝ่ายชนะคดีนั้นต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายให้เข้าสวมสิทธิแทนได้ เช่น พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 เป็นต้น ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้เข้าสวมสิทธิแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยในคดีนี้ได้