พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ผู้โอนสิทธิไม่มีอำนาจบังคับคดีแทนเจ้าหนี้เดิมหากไม่มีกฎหมายเฉพาะรองรับ
บุคคลที่มีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกที่อ้างว่าได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสอง ไม่ใช่คู่ความในคดีหรือเป็นบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี จึงไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีได้ นอกจากนี้การที่จะเข้าสวมสิทธิแทนคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีนั้น ต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายให้เข้าสวมสิทธิแทนได้ เช่น ตาม พ.ร.ก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฯ เป็นต้น ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: การส่งสำเนาคำชี้ขาดเป็นเงื่อนไขสำคัญ
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะพิพาท มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า เมื่อทำคำชี้ขาดแล้วอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดจะต้องจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีที่เกี่ยวข้องทุกคน และมาตรา 23 บัญญัติให้คู่กรณีฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีตามมาตรา 21 วรรคสี่แล้ว แสดงว่าผู้ร้องจะเกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ก็ต่อเมื่อมีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว แม้อนุญาโตตุลาการจะมีหน้าที่จัดส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านดังที่ผู้ร้องอุทธรณ์ แต่ผู้ร้องก็ยังมีหน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงข้อนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้ร้องที่นำสืบมายังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่ามีการส่งสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถึงผู้คัดค้านซึ่งจะต้องถูกบังคับตามคำชี้ขาดแล้ว ผู้ร้องจึงยังไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมประกันชีวิตเนื่องจากปกปิดข้อเท็จจริง ศาลพิพากษายืนตามศาลล่างว่าจำเลยมีหน้าที่พิสูจน์การบอกล้างภายในกำหนด
โจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประโยชน์จากการถึงแก่ความตายของ ก. ซึ่งประกันชีวิตไว้ต่อจำเลย จำเลยให้การรับว่าได้รับประกันชีวิต ก. แต่ยกข้อต่อสู้ว่านิติกรรมเป็นโมฆียะและได้บอกล้างแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิตตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด และให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์ จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันชีวิต คือ ก. ปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (H.I.V) หรือโรคเอดส์ และจำเลยได้บอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียกรรมภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง บัญญัติให้สิทธิไว้
หลักเกณฑ์ในการบรรยายฟ้องให้ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติไว้กำหนดให้โจทก์ต้องบรรยายคำฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้น โดยมิได้บัญญัติให้โจทก์ต้องบรรยายถึงข้อปฏิเสธความรับผิดของจำเลยในชั้นก่อนฟ้องมาเป็นสาระสำคัญของคำฟ้องด้วย ดังนี้ในชั้นพิจารณาจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยซึ่งปฏิเสธความรับผิดตามที่โจทก์ฟ้องมีภาระการพิสูจน์จะต้องนำสืบให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แห่งข้อยกเว้นความรับผิดในฐานะผู้รับประกันชีวิต ก. ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระยะเวลาในการบอกล้างนิติกรรมและพิพากษาคดีมานั้น จึงไม่เป็นการพิจารณาพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
หลักเกณฑ์ในการบรรยายฟ้องให้ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติไว้กำหนดให้โจทก์ต้องบรรยายคำฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้น โดยมิได้บัญญัติให้โจทก์ต้องบรรยายถึงข้อปฏิเสธความรับผิดของจำเลยในชั้นก่อนฟ้องมาเป็นสาระสำคัญของคำฟ้องด้วย ดังนี้ในชั้นพิจารณาจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยซึ่งปฏิเสธความรับผิดตามที่โจทก์ฟ้องมีภาระการพิสูจน์จะต้องนำสืบให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แห่งข้อยกเว้นความรับผิดในฐานะผู้รับประกันชีวิต ก. ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระยะเวลาในการบอกล้างนิติกรรมและพิพากษาคดีมานั้น จึงไม่เป็นการพิจารณาพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6582/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลา ทำให้ศาลไม่รับอุทธรณ์ และไม่มีสิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 จะต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันทราบคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนไปแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์คำสั่วงไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเกิน 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ย่อมมีผลเท่ากับไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์นี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่, ตัวแทนเรียกเงินทดรองจ่ายจากตัวการ, และอายุความค่าเบี้ยประกันภัย
สัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าในวันที่ 28 กันยายน 2544 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและเงินกู้ค้างชำระเป็นยอดหนี้ตามบัญชี 2,719,380 บาท และดอกเบี้ยนอกบัญชี 1,408,325.13 บาท ตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้โดยมีเงื่อนไขการผ่อนชำระคืนกับเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนด โดยให้ถือหลักประกันตามสัญญาเดิมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญานี้เช่นนี้ แม้สัญญาระบุว่า "โดยมีเงื่อนไขการชำระคืนดังนี้..." ก็ไม่อยู่ในความหมายของการเพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขที่จะทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 349 เพราะเป็นเพียงการกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ใหม่เท่านั้นกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันทำให้หนี้เดิมระงับ
จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ไปทำสัญญาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองแทนเมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงมีฐานะเป็นตัวแทนย่อมฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระแทนได้ เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ทดรองจ่ายไปจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ไปทำสัญญาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองแทนเมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงมีฐานะเป็นตัวแทนย่อมฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระแทนได้ เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ทดรองจ่ายไปจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6150/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยเกินกว่าที่โจทก์อ้าง และขอบเขตความรับผิดจำกัดตามกรมธรรม์
โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์โดยสารไม่ประจำทางคันเกิดเหตุ มีความรับผิดต้องชดใช้ค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 3 ยื่นกรมธรรม์ประกันภัยประกอบคำแถลงต่อศาล ซึ่งปรากฏว่าเป็นกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวกันกับที่โจทก์อ้าง หากแต่มีรายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากกรมธรรม์ประกันภัยของโจทก์ระบุความรับผิดของจำเลยที่ 3 ในเรื่องค่ารักษาพยาบาลไว้ในแผ่นที่ 2 ว่า "จำนวนเงินจำกัดความรับผิดแต่ละครั้งเกินกว่าจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับมาแล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ถึง 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน" แม้จำเลยที่ 3 จะขาดนัดพิจารณาและยื่นกรมธรรม์ประกันภัยฉบับดังกล่าวก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลฎีกามีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าว โดยถือว่าเป็นพยานของศาลเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5681/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสวมสิทธิคู่ความ – ทราบคำสั่งศาล – ไม่โต้แย้งภายใน 8 วัน – หมดสิทธิคัดค้าน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์โดยไม่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบก่อน แต่ในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตดังกล่าวก็เป็นวันที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้องขอให้ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้วย ทนายความของจำเลยที่ 1 มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาว่า สอบทนายโจทก์และทนายผู้สวมสิทธิโจทก์แล้วไม่ค้าน กรณีดังกล่าวย่อมแสดงว่าทนายความของจำเลยทั้งสองทราบในวันนั้นแล้วว่าผู้ร้องได้รับอนุญาตให้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์เช่นกันเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งที่ผิดระเบียบดังกล่าวของศาลชั้นต้นภายใน 8 วันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5679/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นรถหายได้ แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัย เพราะเป็นประเด็นที่จำเลยยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยแต่เพียงเรื่องอำนาจฟ้อง โดยไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นๆ รวมถึงประเด็นข้อพิพาทในเรื่องรถยนต์พิพาทสูญหายหรือไม่ แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแล้ว จำเลยได้ทำคำแก้อุทธรณ์โดยตั้งประเด็นไว้ด้วยว่ารถยนต์พิพาทไม่ได้สูญหาย เมื่อปรากฏว่าประเด็นข้อพิพาทในชั้นอุทธรณ์ซึ่งเกิดจากคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยมีเรื่องรถยนต์พิพาทสูญหายหรือไม่อยู่ด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 237 และ 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เหตุจากทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 162,000 บาท คงมีแต่โจทก์ที่อุทธรณ์ ส่วนที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 270,000 บาท จำเลยที่ 1 ฎีกา ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีส่วนต่างระหว่างจำนวนเงินที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระแก่โจทก์ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5361/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการรับช่วงสิทธิ ผู้ค้ำประกันไม่อาจไล่เบี้ยหากไม่ยกข้อต่อสู้
จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่า คดีที่ธนาคาร ก. ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยนั้น จำเลยได้ให้การในคดีนั้นว่าขาดอายุความอย่างใดบ้าง คดีจะฟังว่าโจทก์ยอมชำระหนี้แก่ธนาคารทั้ง ๆ ที่จำเลยให้การและนำสืบอยู่ว่าคดีขาดอายุความ และโจทก์ทราบดีแล้วว่าสิทธิเรียกร้องของธนาคารขาดอายุความ อันจะถือว่าโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันละเลยไม่ยกข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ธนาคารตาม ป.พ.พ. มาตรา 695 ยังไม่ได้
เมื่อ ว. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ได้หักเงินค่าขายไก่ของจำเลยไว้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารครบถ้วนแล้ว แต่ ว. กลับมิได้นำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคาร ก. ตามที่จำเลยค้างชำระต่อธนาคาร โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องผูกพันรับผิดในการกระทำของ ว. ด้วย การที่ธนาคาร ก. ได้ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1486/2545 ของศาลชั้นต้น และโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปถือว่าเป็นการชำระหนี้แทนจำเลยตามจำนวนที่ ว. ตัวแทนของโจทก์ได้รับเอาไป มิใช่เป็นการชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิจากธนาคารมาฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ได้
เมื่อ ว. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ได้หักเงินค่าขายไก่ของจำเลยไว้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารครบถ้วนแล้ว แต่ ว. กลับมิได้นำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคาร ก. ตามที่จำเลยค้างชำระต่อธนาคาร โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องผูกพันรับผิดในการกระทำของ ว. ด้วย การที่ธนาคาร ก. ได้ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1486/2545 ของศาลชั้นต้น และโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปถือว่าเป็นการชำระหนี้แทนจำเลยตามจำนวนที่ ว. ตัวแทนของโจทก์ได้รับเอาไป มิใช่เป็นการชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิจากธนาคารมาฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ได้