พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7346/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราโดยสมคบกันและมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ผู้เสียหายให้การสอดคล้องกับพฤติการณ์
การที่ ต. กระชากมือดึงผู้เสียหายเข้าไปในห้องทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย เมื่อ ต. ออกจากห้อง จำเลยก็เข้าไปในห้องทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายต่อ และเมื่อจำเลยออกจากห้อง ต. กับ ป. พวกของจำเลยก็พากันเข้าไปในห้องร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอีก พฤติการณ์การข่มขืนกระทำชำเราเช่นนี้ แม้ว่าผู้กระทำมิได้อยู่ในห้องในขณะที่คนหนึ่งข่มขืนกระทำชำเราอยู่ แต่จำเลยกับพวกได้กระทำในลักษณะติดต่อกัน จึงเป็นการสมคบกันกระทำความผิด อันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20031/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์จำกัดในคดีที่ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นใหม่
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง บัญญัติว่า คดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตนั้น หมายถึงโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นลงโทษจริง ๆ แก่จำเลย หาใช่โทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนลดโทษให้แก่จำเลยไม่ เมื่อนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละตลอดชีวิต จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 25 ปี ดังนั้น เมื่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้อุทธรณ์ในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน อีกทั้งไม่ปรากฏว่าความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน กับความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันอันศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจหยิบยกคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานขึ้นพิจารณาได้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบ และฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ ขอให้ยกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานเช่นเดียวกับจำเลยที่ 3 นั้น จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในส่วนความผิดดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13298/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งกรณีทุจริตของคนขับรถและอายุความฟ้องร้อง
พยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งนำน้ำมันเตาตามใบส่งของไปให้แก่บริษัท ท. จากการกระทำทุจริตของคนขับรถของจำเลยที่ 1 และโดยที่สัญญารับขนให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในการกระทำของคนขับรถ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และเมื่อคดีฟังได้ว่าเป็นกรณีที่มีการทุจริตกันจึงเข้าข้อยกเว้นของบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 624 ซึ่งไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความการฟ้องเรียกร้องตามข้อยกเว้นดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 ประกอบมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11321/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้เข้ารับการฟื้นฟูยาเสพติด & อำนาจดำเนินคดีเมื่อขาดคุณสมบัติ
เมื่อมีผู้กระทำผิดฐานเสพยาเสพติดโดยไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่น ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุก ตามคำพิพากษาของศาล ศาลต้องส่งตัวผู้กระทำผิดไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ติดยาเสพติด จนมีการจัดทำแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ผู้กระทำผิดจะถูกส่งตัวไปยังพนักงานสอบสวนหรือดำเนินคดีผู้กระทำผิดที่เข้ารับการฟื้นฟู มีได้ 2 กรณี โดยเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 24 เมื่อความปรากฏแก่ศาลภายหลังจากศาลมีคำสั่งตามมาตรา 19 ว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องหาหรือถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรือต้องคำพิพากษาให้จำคุก ก็ให้เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งส่งตัวผู้นั้นไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกรณีหนึ่งและตามมาตรา 33 วรรคสอง เมื่อปรากฏผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่พอใจ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดก็มีอำนาจส่งตัวผู้นั้นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินคดีอีกกรณีหนึ่ง
การที่จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผนการฟื้นฟู แล้วต่อมาไปกระทำความผิดและถูกดำเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน และทำให้เสียทรัพย์ซึ่งมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ อันเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก ย่อมส่งผลกระทบต่อการเข้ารับการฟื้นฟูตามแผนการฟื้นฟูที่คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกำหนด และเป็นเหตุให้ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นที่พอใจ หรือแม้หากได้รับการฟื้นฟูจนครบกำหนดเวลาตามมาตรา 25 แล้ว คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาก็ยังคงสามารถส่งตัวบุคคลดังกล่าวเพื่อดำเนินคดีได้ หากผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ ดังนั้น เมื่อปรากฏแก่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระหว่างการเข้ารับการฟื้นฟูของจำเลยว่าจำเลยไปกระทำความผิดและถูกดำเนินคดีในความผิดที่มีโทษจำคุกคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจึงมีอำนาจยกเลิกแผนการฟื้นฟูและรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีจำเลยตามบัญญัติดังกล่าวได้ตามมาตรา 33 วรรคสอง
การที่จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผนการฟื้นฟู แล้วต่อมาไปกระทำความผิดและถูกดำเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน และทำให้เสียทรัพย์ซึ่งมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ อันเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก ย่อมส่งผลกระทบต่อการเข้ารับการฟื้นฟูตามแผนการฟื้นฟูที่คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกำหนด และเป็นเหตุให้ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นที่พอใจ หรือแม้หากได้รับการฟื้นฟูจนครบกำหนดเวลาตามมาตรา 25 แล้ว คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาก็ยังคงสามารถส่งตัวบุคคลดังกล่าวเพื่อดำเนินคดีได้ หากผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ ดังนั้น เมื่อปรากฏแก่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระหว่างการเข้ารับการฟื้นฟูของจำเลยว่าจำเลยไปกระทำความผิดและถูกดำเนินคดีในความผิดที่มีโทษจำคุกคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจึงมีอำนาจยกเลิกแผนการฟื้นฟูและรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีจำเลยตามบัญญัติดังกล่าวได้ตามมาตรา 33 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14450/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พิจารณาจากระยะเวลาและพฤติการณ์ ไม่ใช่แค่ความโกรธเคืองสะสม
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ผู้กระทำความผิดต้องได้มีเวลาคิดไตร่ตรองและทบทวนแล้วจึงตกลงใจที่จะฆ่าผู้อื่น หาใช่กรณีที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วนไม่ การที่ข้อเท็จจริงได้ความว่ามีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ไม่ใช่เหตุผลที่บ่งชี้แน่นอนว่ามีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเสมอไป ต้องขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดี คดีนี้ได้ความว่าจำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนแต่ก็เป็นสาเหตุตั้งแต่เมื่อประมาณ 1 ปี มาแล้ว แม้ปรากฏว่ายังคงโกรธเคืองกันตลอดมาก็ไม่อาจแปลความไปถึงขนาดว่าจำเลยมีความคิดจะฆ่าผู้ตายมาตลอดได้ เพราะหากเป็นเช่นนั้นจำเลยก็สามารถจะทำได้ง่ายและคงไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไปนานเป็นปีจึงเพิ่งมาก่อเหตุคดีนี้ การที่จำเลยมาพบเห็นผู้ตายนั่งดื่มสุราที่บ้านของ ส. ในคืนวันเกิดเหตุนั้นจึงเป็นเพียงเหตุบังเอิญ ซึ่งหากพบแล้วจำเลยเกิดความต้องการที่จะแก้แค้นผู้ตายโดยจำเลยมีอาวุธปืนติดตัวมาด้วยและใช้อาวุธปืนนั้นยิงผู้ตายในขณะนั้นย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาปัจจุบันทันด่วนโดยจำเลยไม่มีเวลาคิดไตร่ตรองทบทวนก่อนเลย ดังนั้น ที่จำเลยกลับไปบ้านซึ่งอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อเอาอาวุธปืนมายิงผู้ตายก็ไม่แตกต่างกับที่จำเลยยิงผู้ตายในทันทีที่พบเห็นแต่อย่างใด ถือไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12264/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการรับสภาพหนี้ใหม่: ฟ้องข้ามอายุความแม้มีการทำหนังสือรับสภาพหนี้
สำเนาใบกำกับภาษีระบุชื่อจำเลยเป็นลูกค้าทุกฉบับ และยอดหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้มีรายการหักทอนกันระหว่างโจทก์และจำเลยหลายรายการ ระบุยอดสุดท้ายว่าเป็นรายการที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์ คงเหลือ 314,965.05 บาท เท่ากับรายการตามหนังสือรับสภาพหนี้ ปรากฏว่ามีการส่งอะไหล่ครั้งสุดท้ายระบุวันที่ 18 ตุลาคม 2540 โดยไม่ปรากฏว่าได้มีกำหนดเวลาชำระค่าอะไหล่กันไว้ ถือว่าเป็นหนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก ดังนั้น ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจะมีอายุความ 2 ปี ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย หรือมีอายุความ 5 ปี ดังที่โจทก์ฎีกา ก็เป็นที่เห็นได้ว่า หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 เป็นการจัดทำขึ้นหลังจากขาดอายุความแล้ว หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งโจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายใน 2 ปี นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพความรับผิดดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 ประกอบมาตรา 193/28 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10660/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความที่ไม่สุจริต: ศาลปรับลดค่าจ้างตามผลงานจริง แม้สัญญาจะระบุอัตราตามทุนทรัพย์
แม้สัญญาจ้างว่าความระบุให้โจทก์ในฐานะทนายความจำเลยดำเนินคดีต่อศาลแรงงานกลางเรียกร้องค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เงินโบนัส ค่าเสียหายในการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เงินกองทุนเลี้ยงชีพที่ค้างชำระ และเงินรางวัลขยันระหว่างปี แต่การที่โจทก์ซึ่งทราบดีว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด กลับระบุในคำฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายบางส่วน สูงเกินสิทธิที่จำเลยจะได้รับ และบางส่วนจำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับเลย ทั้งนี้เพื่อให้จำนวนทุนทรัพย์ในคดีสูงเกินจริงเพื่อประโยชน์ในค่าจ้างว่าความที่ตนจะได้รับจากจำเลยในอัตราร้อยละ 10 ของจำนวนทุนทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างว่าความ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ไม่อาจถือเอาจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างว่าความตามสัญญาจ้างว่าความได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ได้กระทำการตามสัญญาจ้างว่าความจนศาลแรงงานกลางและศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยได้รับชดใช้ค่าเสียหายไปบางส่วนจนคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่ผลแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำเป็นจำนวน 15,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10654/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความ: ค่าจ้างคำนวณจากทุนทรัพย์จริง ห้ามกำหนดค่าจ้างเกินสิทธิลูกความ
โจทก์จำเลยตกลงกันให้จ่ายค่าจ้างว่าความในอัตราร้อยละ 10 ของจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง เป็นเพียงการกำหนดกฎเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างว่าความให้คิดเป็นจำนวนร้อยละเท่าใดของทุนทรัพย์ที่ฟ้องซึ่งเป็นจำนวนแน่นอน หาใช่เป็นสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่ลูกความจะได้รับเมื่อชนะคดีไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่ใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนหนี้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน, การคำนวณหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยสรุปว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด จึงเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์อยู่แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดดังกล่าวให้ถูกต้องได้หากฟังว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยไม่จำต้องยกเหตุว่าประเด็นดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นผู้ค้ำประกันในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 ถึงที่ 5 มียอดหนี้รวมเป็นเงิน 1,080,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่ายอดหนี้ดังกล่าวมีดอกเบี้ยค้างชำระ แม้โจทก์จะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไปรวมเป็นเงิน 2,000,000 บาท ซึ่งรวมหนี้การกู้เบิกเงินเกินบัญชีในครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันด้วย โจทก์ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดตามส่วนของจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 คงต้องรับผิดเพียง 540,000 บาท
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นผู้ค้ำประกันในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 ถึงที่ 5 มียอดหนี้รวมเป็นเงิน 1,080,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่ายอดหนี้ดังกล่าวมีดอกเบี้ยค้างชำระ แม้โจทก์จะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไปรวมเป็นเงิน 2,000,000 บาท ซึ่งรวมหนี้การกู้เบิกเงินเกินบัญชีในครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันด้วย โจทก์ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดตามส่วนของจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 คงต้องรับผิดเพียง 540,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6292/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทถึงกำหนดเมื่อทวงถาม: โจทก์มีอำนาจฟ้องเมื่อทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทถึงกำหนดเมื่อทวงถามมิใช่ถึงกำหนดเมื่อได้เห็น ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินได้ โดยหาจำต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นต่อจำเลยเพื่อให้จำเลยชำระเงินก่อนไม่
ตามตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความระบุไว้ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปี แสดงว่าไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ตามสัญญาได้อยู่แล้ว ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่ใช่เบี้ยปรับ เฉพาะดอกเบี้ยส่วนที่เกินกว่าอัตราร้อยละ 16 ต่อปี เท่านั้นที่เป็นเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าศาลเห็นว่าส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 16 ต่อปี สูงเกินส่วน ศาลจะลดไปจำนวนพอสมควรก็ได้ แต่จะลดลงเหลือเท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ไม่ได้
ตามตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความระบุไว้ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปี แสดงว่าไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ตามสัญญาได้อยู่แล้ว ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่ใช่เบี้ยปรับ เฉพาะดอกเบี้ยส่วนที่เกินกว่าอัตราร้อยละ 16 ต่อปี เท่านั้นที่เป็นเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าศาลเห็นว่าส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 16 ต่อปี สูงเกินส่วน ศาลจะลดไปจำนวนพอสมควรก็ได้ แต่จะลดลงเหลือเท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ไม่ได้