คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนอง เล่าศรีวรกต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาจำกัดเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบและพิพากษายืนตามอำนาจมาตรา 245 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ แต่ถือว่าคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แล้ว พิพากษายืนนั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ยกคดีขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อและผู้สลักหลังเช็ค
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า เช็คพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งมีมูลหนี้ต่อกันหรือไม่ และโจทก์ได้เช็คมาไว้ในครอบครองในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินของโจทก์พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ชำระราคาค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้นำเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือไปมอบให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เสนอขายบ้านพร้อมที่ดินของภริยาจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทนำไปมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าเช็คพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งมีมูลหนี้ต่อกัน และโจทก์ได้รับเช็คดังกล่าวมาไว้ในครอบครองในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประเด็นข้อพิพาทแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ได้กำหนดประเด็นขึ้นมาวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงมิได้เป็นการหยิบยกประเด็นขึ้นวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาทเพราะเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์หรือไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ของภริยาจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 2 เช็คพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 จึงมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่จริง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทนั้นและถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถูกฟ้องในมูลเช็ค หาอาจต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ศาลยกฟ้องคดีเพิกถนินิกรรม หากประเด็นข้อพิพาทเคยถูกวินิจฉัยชี้ขาดในคดีก่อนแล้ว
ก่อนคดีนี้ จำเลยที่ 2 เคยฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยให้รับผิดตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 2 ประมูลซื้อมาจากจำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองรับผิดต่อจำเลยที่ 2 และคำพิพากษาในคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ซึ่งโจทก์ทั้งสองได้ให้การต่อสู้ในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และไม่อยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเพราะมิได้มอบให้ อ. ทำการซื้อขายแทน แต่ข้อต่อสู้ดังกล่าวต่อมาโจทก์ทั้งสองได้แถลงขอสละข้อต่อสู้ตามคำให้การทั้งหมด และยอมรับว่าเป็นหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวอยู่จริง ดังนี้ ข้อต่อสู้ดังกล่าวรวมถึงข้ออ้างของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ที่ว่าการซื้อขายทรัพย์สินด้อยคุณภาพระหว่างจำเลยทั้งสองขัดต่อกฎหมายและ ม. ไม่มีอำนาจลงนามในสัญญาซื้อขายแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วในคดีก่อนที่จะนำมาอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้ ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ที่โจทก์ทั้งสองมาฟ้องจำเลยที่ 2 คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และเมื่อโจทก์ทั้งสองต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำกับจำเลยที่ 1 ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งที่ศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ห้ามฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คดีก่อนจำเลยที่ 2 คดีนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะโจทก์คดีดังกล่าวจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมตาม พ.ร.บหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยมีบริษัท ว. เป็นผู้จัดการ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2542 ระหว่างที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการจัดตั้งเป็นกองทุนรวม ได้มอบให้ อ. ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขาย ตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ซึ่งสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ อ. ซื้อมารวมถึงมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาค้ำประกัน สัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 2 นำมาฟ้องโจทก์ทั้งสองให้รับผิด และต่อมาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 จำเลยที่ 2 ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมจึงได้ให้สัตยาบันการกระทำของ อ. จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งโจทก์ทั้งสองให้การต่อสู้ในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และไม่อยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเพราะมิได้มอบให้ อ. ทำการซื้อขายแทน ต่อมาโจทก์ทั้งสองได้แถลงขอสละข้อต่อสู้ตามคำให้การทั้งหมดและยอมรับว่าเป็นหนี้จำลยที่ 2 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวจริง ดังนี้ ข้อต่อสู้ดังกล่าวรวมถึงข้ออ้างของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ที่ว่าการซื้อขายทรัพย์สินด้อยคุณภาพระหว่างจำเลยทั้งสองขัดต่อกฎหมาย และ ม. ไม่มีอำนาจลงนามในสัญญาซื้อขายแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วในคดีก่อนที่จะนำมาอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้ ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ที่โจทก์ทั้งสองมาฟ้องจำเลยที่ 2 คดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
เมื่อโจทก์ทั้งสองต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำกับจำเลยที่ 1 ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดช่วยเหลือคนต่างด้าว: ความรู้เรื่องการเข้าเมืองผิดกฎหมายแสดงในตัวการกระทำ
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้ว่าคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 แต่การที่ฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยได้บังอาจช่วยเหลือซ่อนเร้นคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 อันเป็นการช่วยด้วยประการใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวดังกล่าวพ้นจากการจับกุมก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยรู้ว่าคนต่างด้าวนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง และเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15139/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีขาดนัดและการกำหนดจำนวนเงินตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม ศาลต้องพิจารณาประเภทของหนี้ให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องโดยตั้งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ. ขับและถูกจำเลยกระทำละเมิด โดยโจทก์ได้จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ไปเป็นเงิน 41,526.97 บาท พร้อมดอกเบี้ย จึงรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยผู้ทำละเมิด เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม กำหนดหลักเกณฑ์ให้ศาลปฏิบัติในการกำหนดจำนวนเงินตามคำขอบังคับของโจทก์ ดังนี้ (1) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน และ (2) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 41,526.97 บาท พร้อมดอกเบี้ยนั้น เป็นการอ้างเหตุว่าโจทก์รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันภัยซึ่งถูกจำเลยกระทำละเมิด อันเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องมาจากเรื่องละเมิดและเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำขอบังคับของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ไม่อาจกำหนดจำนวนเงินได้โดยแน่นอน ตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (2) ซึ่งบัญญัติให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอนตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ที่ให้อำนาจศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยานไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 25 มกราคม 2548 ว่าเป็นกรณีโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน อนุญาตให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยาน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (2) เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ก็ตาม ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 243 (2), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15064/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดโทษพยายามฆ่า - ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องตามอัตราโทษสองในสามของโทษฆ่า
โทษฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 กำหนดโทษไว้เป็น 3 ประการ คือ โทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต และจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี โดยให้ศาลเลือกพิจารณาลงโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ในคดีนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้นซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาเลือกกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 คือ โทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ฉะนั้น โทษสูงสุดของอัตราโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ 20 ปี ดังกล่าวที่สามารถจะลงโทษในข้อหาฐานพยายามได้ในกรณีนี้คือ 13 ปี 4 เดือน การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ข้อหาฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น 15 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงเป็นการลงโทษเกินสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์หรือฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15016/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงไม่ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความในสัญญาค้ำประกัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องขาดอายุความสำหรับผู้ค้ำประกัน
แม้ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 694 แต่บทกฎหมายดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงอาจทำข้อตกลงแตกต่างกับที่กฎหมายมาตรานี้บัญญัติไว้ได้ สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความเป็นข้อต่อสู้อย่างหนึ่งซึ่งลูกหนี้ยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตกลงกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะไม่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามข้อ 4 ของสัญญาค้ำประกัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับระหว่างคู่สัญญาและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และคงมีผลเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่อาจยกข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความของจำเลยที่ 1 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์เท่านั้น ส่วนอายุความตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 เองโดยตรง กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความของสัญญาค้ำประกันไว้ จึงมีอายุความสิบปีอันเป็นอายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15016/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาค้ำประกัน & ข้อตกลงไม่ยกข้อต่อสู้ลูกหนี้: ศาลฎีกาตัดสินฟ้องขาดอายุความ
แม้ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วยดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 694 แต่บทกฎหมายดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงอาจทำข้อตกลงแตกต่างกับที่กฎหมายมาตรานี้บัญญัติไว้ได้ สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความเป็นข้อต่อสู้อย่างหนึ่งซึ่งลูกหนี้ยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตกลงกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะไม่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามข้อ 4 ของสัญญาค้ำประกัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับระหว่างคู่สัญญาและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่อย่างไรก็ตาม คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว และยังได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จึงมีประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ด้วยสัญญาค้ำประกันข้อ 4 คงมีผลเพียงว่า จำเลยที่ 2 ไม่อาจยกข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความของจำเลยที่ 1 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์เท่านั้น ส่วนอายุความตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 เองโดยตรงกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความของสัญญาค้ำประกันไว้ จึงมีอายุความสิบปีอันเป็นอายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2531 ซึ่งถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและโจทก์ชอบที่จะเรียกจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน จนถึงวันที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2545 พ้นเวลาสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14737/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย และการได้มาซึ่งสิทธิโดยชอบธรรม
โจทก์เป็นผู้มีชื่อถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด จำเลยที่ 1 จึงสามารถนำสืบข้อเท็จจริงหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาททางทะเบียนเท่านั้น หาได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามความเป็นจริงไม่ แม้ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จะมีชื่อ อ. เป็นผู้ถือสิทธิครอบครอง แต่การที่ อ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่ ล. และได้มอบการครอบครองให้แก่ ล. ถือเป็นการสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ล. ตั้งแต่ปี 2530 แล้ว อ. จึงหมดสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 และเมื่อ ล. ขายและมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 เข้าไปไถและถมดินในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2536 จึงเป็นการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยมีเจตนาที่จะยึดถือเพื่อตน จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 ดังนั้น เมื่อ อ. หมดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะขายฝากที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แม้การขายฝากระหว่างโจทก์ กับ อ. จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแต่อย่างใด
of 20