คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนอง เล่าศรีวรกต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานที่เกิดมูลคดีสัญญาซื้อขาย: การส่งมอบสินค้าถึงจำเลยที่ภูมิลำเนาเป็นสถานที่เกิดสัญญา
จำเลยทั้งสองสั่งซื้อสินค้าผ่านพนักงานของโจทก์ที่จังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง จากนั้นพนักงานของโจทก์ส่งใบสั่งซื้อสินค้ามายังโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการในเขตศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อโจทก์มีคำสั่งอนุมัติก็จะจัดส่งสินค้าไปให้จำเลยทั้งสองที่จังหวัดนครปฐม ดังนี้ เป็นการที่จำเลยทั้งสองทำคำเสนอต่อโจทก์ที่ไม่ได้อยู่เฉพาะหน้า หากโจทก์ประสงค์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยทั้งสองก็ต้องแสดงเจตนาบอกกล่าวสนองรับไปถึงจำเลยทั้งสอง อย่างไรตามการที่โจทก์จัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อไปให้จำเลยทั้งสองที่จังหวัดนครปฐมและจำเลยทั้งสองได้รับมอบสินค้าไว้แทนการบอกกล่าวสนองรับก็ถือว่าสถานที่รับมอบสินค้าเป็นสถานที่ที่มูลแห่งคดีได้เกิดขึ้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
จำเลยทั้งสองมิได้แสดงเจตนาให้ถือว่าการกระทำของโจทก์ที่อนุมัติและดำเนินการจัดส่งสินค้าแก่จำเลยทั้งสองเป็นการบอกกล่าวสนองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายมีประเพณีปฏิบัติเช่นนั้นที่จะทำให้ก่อเกิดสัญญาในอันจะทำให้เกิดมูลคดี ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น
แม้โจทก์จะอ้างว่าคู่สัญญาอาจตกลงทำสัญญากันทางโทรศัพท์หรือเครื่องโทรสารก็ตาม แต่คดีนี้เป็นสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง มิใช่เรื่องสัญญาระหว่างบุคคลที่อยู่เฉพาะหน้า ที่คู่สัญญาอาจเสนอและสนองรับกัน ณ สถานที่และในเวลาเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 168 และ 356

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การรับฟังข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญาที่ถึงที่สุด
คดีแพ่งเรื่องใดจะเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ต้องพิจารณาว่าความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญาหรือไม่ ถ้าต้องอาศัยก็เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา มิใช่พิจารณาว่าโจทก์ต้องฟ้องคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีอาญาเสร็จเด็ดขาด การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องทางแพ่งอันสืบเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาฐานบุกรุกของจำเลย จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
การนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ กล่าวคือ คำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุด ข้อเท็จจริงนั้นเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและได้วินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้ง และผู้ที่ถูกข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันต้องเป็นคู่ความเดียวกับในคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า, การปรับปรุงอาคาร, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อย
จำเลยเช่าอาคารจากโจทก์เป็นเวลา 10 ปี การที่จำเลยเปลี่ยนลักษณะการใช้อาคารจากร้านขายของเป็นร้านอาหารประเภทบาร์เบียร์เป็นการกระทำเพื่อความสะดวกสบายในการใช้สอยทรัพย์สินที่เช่าจากโจทก์เท่านั้น ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยพร้อมกับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยถือได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ จะฎีกาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกจากกัน กล่าวคือ ถ้าหากฎีกาประเด็นเรื่องขับไล่ก็ต้องพิจารณาว่าค่าเช่าเกินเดือนละ 10,000 บาท หรือไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยมีอัตราค่าเช่าเดือนละ 14,000 บาท ฎีกาของจำเลยในส่วนเรื่องขับไล่จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ส่วนในเรื่องค่าเสียหายซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีจำนวนเพียง 42,000 บาท ไม่เกิน 200,000 บาท ย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การแสดงอำนาจฟ้องใหม่หลังศาลยกฟ้องคดีเดิมที่ไม่สมบูรณ์
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า โจทก์ไม่ได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่า บ. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนธนาคาร ก. ผู้โอน หนังสือการโอนขายสินเชื่อระหว่างผู้โอนกับโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ไม่อาจนำมาฟ้องบังคับจำเลยได้ และพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเนื้อหาแห่งคดีว่าจำเลยผิดสัญญาทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้หรือไม่ อันเป็นเรื่องโจทก์แสดงอำนาจฟ้องไม่ถูกต้องคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ให้รับผิดในมูลหนี้เดิมโดยแสดงหลักฐานการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนธนาคาร ก. ของ บ. ย่อมเป็นการแสดงอำนาจฟ้องให้ปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญารับโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้มาจากผู้โอนแล้ว จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอให้พิจารณาคดีใหม่ สิทธิและเงื่อนไขตามกฎหมาย
คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาโดยไม่จงใจ มีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ได้เฉพาะใน 2 กรณี คือในระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ถ้าคู่ความที่ขาดนัดมาศาลภายหลังที่ศาลเริ่มต้นสืบพยานของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไปบ้างแล้ว และศาลเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่จงใจขาดนัดหรือมีเหตุอันสมควร ศาลจึงจะสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสาม แต่ถ้าคู่ความที่ขาดนัดพิจารณานั้นคงขาดนัดตลอดไปจนศาลพิจารณาคดีฝ่ายเดียวไปจนเสร็จสิ้นแล้ว และพิพากษาให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาแพ้คดีในประเด็นพิพาท คู่ความซึ่งแพ้คดีโดยไม่จงใจขาดนัดยังมีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ได้ เว้นแต่จะต้องด้วยข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา207 เมื่อโจทก์จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 เสร็จสิ้นไปแล้ว ย่อมไม่มีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ สิทธิของโจทก์มีอยู่ทางเดียวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 203 คือ ฟ้องใหม่ภายในอายุความเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก: ผู้เช่ารายใหม่ไม่มีอำนาจฟ้องหากยังมิได้เข้าครอบครอง
แม้โจทก์จะมีสิทธิใช้สอยตึกพิพาทในฐานะเป็นผู้เช่าตามสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็ยังไม่เคยเข้าครอบครองตึกพิพาทตามสัญญาเช่ามาก่อน ที่จำเลยและบริวารอยู่ในตึกพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิของ จ. ไม่ได้อาศัยสิทธิของโจทก์ การที่จำเลยและบริวารยังคงอยู่ในตึกพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการละเมิดต่อเจ้าของตึกหาใช่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ารายใหม่ไม่ จำเลยจึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์เนื่องจากโจทก์กับจำเลยต่างไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากตึกพิพาทโดยลำพังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐจากการจ่ายเงินผิดพลาด: โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐ ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
จังหวัดยโสธรทำสัญญาว่าจ้างกับจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายอำเภอลงนามแทนจังหวัดยโสธร ต่อมาโจทก์ได้รับโอนสิทธิในการรับเงินค่าจ้างจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 3 ไม่จ่ายเงินแก่โจทก์กลับไปจ่ายแก่จำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และการจ่ายเงินของจำเลยที่ 3 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะนายอำเภอและในฐานะผู้ร้บมอบอำนาจจากจังหวัดยโสธร มิใช่ทำในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 แต่ต้องฟ้องต่อหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ มาตรา 5 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินมีทุนทรัพย์ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา แม้มีการแก้ไขคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่จำเลยที่ 1 อ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินสาธารณะ และกล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกที่สาธารณะ ให้โจทก์ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และรั้วกำแพงคอนกรีตออกจากที่ดินดังกล่าว หากไม่รื้อถอนจำเลยที่ 1 จะดำเนินคดีกับโจทก์ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และมีคำขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์สำหรับประชาชนใช่ร่วมกันและเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 4 รื้อถอนเสาไม้ชั่วคราวที่ปักอยู่ในที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณะ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง คือที่ดินจำนวน 1 ไร่ 11 ตารางวา ราคา 267,150 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐม แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 4 รื้อถอนเสาไม้ชั่วคราวที่ปักอยู่ในที่ดินของโจทก์ด้วย ก็เป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อศาลแขวงนครปฐมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอหลักว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่แล้ว ก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในคำขอต่อเนื่องดังกล่าวด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ว่า อ่านคำร้องของโจทก์แล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องในส่วนใดของคำฟ้องเดิม จึงมีคำสั่งให้โจทก์ทำคำร้องฉบับใหม่โดยบรรยายให้ชัดว่าต้องการแก้ไขคำฟ้องเดิมในส่วนใดหรือต้องการเพิ่มเติมคำร้องลงไปในตรงส่วนใดของคำฟ้องเดิมโดยให้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้อง โจทก์มิได้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง จึงไม่มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา แต่ถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 11 ตารางวา เท่านั้น จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวง: คดีมีทุนทรัพย์/ไม่มีทุนทรัพย์ - การพิจารณาเนื้อที่พิพาทที่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแต่องค์การบริหารส่วนตำบลจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณะและกล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกที่สาธารณะ ให้โจทก์ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและรั้วกำแพงคอนกรีตออกจากที่ดินดังกล่าว และมีคำขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์สำหรับประชาชนใช่ร่วมกันและให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 4 รื้อถอนเสาไม้ชั่วคราวที่ปักอยู่ในที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณะประเด็นพิพาทจึงมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง 267,150 บาท จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐม แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 4 รื้อถอนเสาไม้ชั่วคราวที่ปักอยู่ในที่ดินของโจทก์ด้วย ก็เป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อศาลแขวงนครปฐมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอหลักว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่แล้ว ก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในคำขอต่อเนื่องดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ว่าอ่านคำร้องของโจทก์แล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ต้องการแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำฟ้องในส่วนใดของคำฟ้องเดิม จึงมีคำสั่งให้โจทก์ทำคำร้องฉบับใหม่โดยบรรยายให้ชัดว่าต้องการแก้ไขคำฟ้องเดิมในส่วนใด หรือต้องการเพิ่มเติมคำฟ้องลงไปตรงส่วนใดของคำฟ้องเดิม โดยให้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้อง โจทก์มิได้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจึงไม่มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา แต่ถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 11 ตารางวา เท่านั้น คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ในชั้นบังคับคดี ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายโดยไม่ต้องวางเงินประกัน
จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีอันเป็นกระบวนการในชั้นบังคับคดี แต่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อมานั้น แม้การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทำขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว แต่การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกกลับ แก้หรือถูกยกไปด้วย อีกทั้งกรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนจากการยื่นอุทธรณ์เพราะหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดียังคงดำเนินการบังคับคดีกับจำเลยได้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยคดีนี้จึงไม่จำต้องนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันมาวางไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันมาวางไว้ต่อศาลและศาลอุทธรณ์อาศัยเหตุที่จำเลยไม่นำเงินส่วนที่ขาดหรือหาประกันมาวางเพิ่มต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดแล้วมีคำสั่งว่าจำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงเป็นกระบวนพิจารณาและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 20