คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนอง เล่าศรีวรกต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายกัญชา: ศาลฎีกาแก้เป็นว่ามีความผิดฐานจำหน่ายกัญชา แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาต่างไป
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยและยึดกัญชาแห้ง 5 ห่อ น้ำหนักสุทธิ 23.740 กรัม เป็นของกลาง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายกัญชาตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76/1 วรรคหนึ่ง จำคุกกระทงละ 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้ว คงลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี 4 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมิได้มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และมิได้จำหน่ายกัญชา พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76 วรรคหนึ่ง แต่เพียงฐานเดียว ลงโทษจำคุก 3 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ มาตรา 78 แล้ว คงลงโทษจำคุก 1 เดือน 15 วัน ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลอุทธรณ์แก้ทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษอันเป็นการแก้ไขมากแต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
การที่โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทจากการกล่าวถึงประวัติการกู้ยืมเงินขณะโต้เถียงด้วยอารมณ์โกรธ ไม่ถึงขั้นทำให้เสียชื่อเสียง
จำเลยพูดทวงเงินที่ ถ. ค้างชำระแล้วจำเลยกับ ถ. มีปากเสียงด่าว่ากัน และจำเลยได้ด่าว่า โคตรของมึงยืมเงินกูไปเป็นประจำ ไอ้หรัด อีต้อย ก็ไปยืมเงินกู เหตุเกิดขณะ ถ. กับจำเลยต่างทะเลาะโต้เถียงกันต่างอยู่ในอารมณ์โกรธ ข้อความที่ว่าไอ้หรัดซึ่งหมายถึงผู้เสียหายเป็นเพียงคำเรียกหาที่ไม่สุภาพ ส่วนที่ว่าผู้เสียหายเคยยืมเงินจำเลยก็กล่าวตามข้อเท็จจริงซึ่งผู้เสียหายรับว่าเคยกู้ยืมเงินจากจำเลยจริง ทั้งการกู้ยืมเงินกันก็ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่มีข้อความกล่าวถึงกับว่าผู้เสียหายคดโกง ดังนี้ ตามความรู้สึกของวิญญูชนทั่วๆ ไปจึงไม่เป็นถ้อยคำที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจถึงขนาดความเชื่อถือไว้วางใจ หรือความคดโกงชั่วร้าย อันจะเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: เอกสารสิทธิชี้ขาด การนำสืบแก้ข้อความในเอกสารต้องห้าม
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก เป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง เมื่อหนังสือสัญญาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระบุว่า โจทก์ทั้งสองได้ชำระราคาและจำเลยทั้งสองได้รับเงินค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องฟังยุติตามนั้น การที่จำเลยทั้งสองนำพยานบุคคลมาสืบว่า ยังไม่ได้รับชำระค่าที่ดินครบถ้วน เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8001/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์ลดค่าเสียหายเกินกรอบประเด็นที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาฟังขึ้น
ข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 170,610.55 บาท สูงเกินเกณฑ์กำหนดที่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ และการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหาย 119,000 บาทแก่โจทก์ เป็นการให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเกินกว่าที่ควรจะต้องรับผิดนั้น มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงในเรื่องดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาโดยกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 119,000 บาท และจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านจำนวนเงินค่าเสียหายดังกล่าวตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด คงมีแต่โจทก์เพียงฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มขึ้นอีกตามจำนวนเงินที่เรียกร้องมาในคำฟ้อง คดีจึงมีประเด็นวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์เพียงว่าสมควรที่จะกำหนดค่าเสียหายเพิ่มขึ้นตามที่โจทก์อุทธรณ์เรียกร้องมาหรือไม่เท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนค่าเสียหายของโจทก์ที่ยุติไปแล้วโดยลดจำนวนเงินค่าเสียหายของโจทก์จาก 119,000 บาท ลงเหลือ 25,000 บาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จและฟ้องเท็จ กรณีปลอมแปลงเอกสารและเบิกความเท็จต่อศาล
จำเลยทราบว่าลายมือชื่อที่จำเลยอ้างว่าปลอม ความจริงเป็นลายมือชื่อของจำเลยซึ่งลงชื่อไว้ มิใช่ลายมือชื่อปลอม การที่จำเลยแจ้งว่ามีการปลอมลายมือชื่อจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดทางอาญาแก่พนักงานสอบสวนโดยรู้อยู่แล้วว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 และเมื่อจำเลยเอาความเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฟ้องเท็จอันเป็นความผิดตามมาตรา 175 อีกกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดตามมาตรา 174 วรรคสอง ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยแจ้งความเท็จเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ จำเลยมิได้ยืนยันว่าผู้ที่ปลอมเอกสารคือโจทก์ โดยจำเลยแจ้งความเพียงว่าจำเลยสงสัยโจทก์ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ ไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องสอด: ศาลวินิจฉัยสถานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อพิจารณาการมีส่วนได้เสียในคดีมรดก
การพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดหรือไม่ มีประเด็นต้องวินิจฉัย 2 ประเด็น คือ ประเด็นว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้หรือไม่ และประเด็นว่ากรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้เข้ามาในคดีได้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในคดีนี้ จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจร้องสอดของผู้ร้อง คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องสอดหรือนอกประเด็น แม้คำวินิจฉัยที่ว่า ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบ ของเจ้ามรดกมีผลกระทบต่อสิทธิ ของโจทก์ในฐานะทายาทของเจ้ามรดก ซึ่งทำให้โจทก์มีสิทธิฎีกา ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ใช่ภริยาโดยชอบก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาสำคัญที่สมควรนำไปวินิจฉัย ในคดีที่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาโดยตรงของคดีเมื่อคดีนี้ผู้ร้องไม่ได้ ฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ที่ยกคำร้องสอด เพราะไม่เห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ปัญหาในเรื่องการร้องสอดของผู้ร้องจึงยุติไปแล้ว การที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของโจทก์ ไม่ว่าวินิจฉัยในทางใดย่อมไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลล่าง ฎีกาข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ในคดีนี้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 219 วรรคสอง และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องทำในที่ดินของผู้อื่น การให้การขัดแย้งกันทำให้ประเด็นกรรมสิทธิ์จากการครอบครองไม่成立
คำให้การของจำเลยที่ว่า ที่ดินส่วนที่จำเลยคัดค้านเป็นที่ดินของจำเลยเอง หากไม่ใช่ที่ดินของจำเลย จำเลยก็ได้ครอบครองโดยสงบเปิดเผยเป็นระยะเวลาติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี จนได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ถือเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะคำให้การของจำเลยในตอนหลังขัดแย้งกันคำให้การของจำเลยในตอนแรกคำให้การในตอนหลังนี้เท่ากับจำเลยได้ให้การว่า ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นของจำเลยแต่จำเลยครอบครองติดต่อกันโดยสงบเปิดเผยติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี เมื่อคำให้การของจำเลยขัดแย้งกัน จึงเป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองหรือไม่ เพราะการครอบครองปรปักษ์มีได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ซื้อที่ดินเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ เป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน ต่อมา สำนักงานที่ดินอำเภอกันตังได้ประกาศและออกสำรวจที่ดินเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน แต่มีระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ซึ่งออกโดยอาศัยประมวลกฎหมายที่ดินได้กำหนดหลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ครอบครองทำประโยชน์ได้ไม่เกิน 50 ไร่ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด โจทก์จึงขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็น 2 แปลง แปลงแรกจำนวน 50 ไร่ ให้สามีโจทก์มีชื่อถือแทน และอีกแปลงหนึ่งคือที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนที่เกินจาก 50 ไร่ ให้มีชื่อบิดาสามีโจทก์ถือแทน ดังนี้ ขณะโจทก์ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โจทก์รู้อยู่ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิจะขอออก เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด การที่โจทก์ให้บุคคลอื่นมีชื่อถือแทน และต่อมาโจทก์ฟ้องร้องขอให้โอนที่ดินคืนแก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของทางราชการ ถือเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดและบทลงโทษในคดีลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และกรรโชกทรัพย์ ศาลจำกัดการเพิ่มโทษ
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือมีโทษสถานหนักกว่านั้น แม้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ต่อเมื่อพยานโจทก์ตามที่นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าวจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดและพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จำเลยก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิด และขอให้กำหนดโทษให้เบาลงและรอการลงโทษได้กรณีมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำรับสารภาพ หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยเข้าไปกระตุกสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 จนหลุดออก แล้วได้ตบตีผู้เสียหายที่ 1 การกระตุกสร้อยคอกับการตบตีทำร้ายร่างกาย จึงแยกออกเป็น 2 ตอน จำเลยมิได้ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 1 เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) แต่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาสร้อยคอและรูปสัญลักษณ์ศาสนาอิสลามทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า จึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยพูดขอเงินกับผู้เสียหายที่ 2 ว่า หากไม่ให้เงินจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ต่อไป เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้เงินจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ตามฟ้องศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วมและประเด็นความประมาทของผู้ขับขี่ กรณีรถชน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยและผู้ตายต่างขับรถมาด้วยความประมาท ตามคำฟ้องของโจทก์ถือว่าผู้ตายมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ส. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตาย จึงไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ส. เข้าร่วมเป็นโจทก์จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 20