พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287-288/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้ตายประมาทเองไม่มีอำนาจฟ้อง – ประเมินความประมาทของผู้ขับขี่และผู้เสียหาย
เมื่อพิจารณาคำเบิกความพยานโจทก์ประกอบกับรอยห้ามล้อยาวถึง 20.30 เมตร และความเสียหายของรถยนต์ที่จำเลยขับซึ่งได้รับความเสียหายตรงบริเวณกันชนด้านขวามือผู้ขับยุบไปค่อนข้างมากแล้ว เชื่อว่าจำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงเกินสมควรซึ่งการขับรถด้วยความเร็วสูงมาถึงทางร่วมทางแยกก็มิได้ลดหรือชะลอความเร็วของรถให้ช้าลง เป็นการขับรถโดยประมาทอย่างหนึ่ง แต่เหตุที่จำเลยห้ามล้อไม่น่าจะเกิดจากการที่จำเลยหักหลบหลุมตรงบริเวณปากทางแยกเป็นสำคัญ เพราะตามภาพถ่ายหมาย จ.5 สำนวนหลัง เห็นได้ชัดว่าหลุมดังกล่าวล้ำเข้ามาในผิวจราจรของช่องเดินรถที่จำเลยขับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหลบหลุมถึงขนาดล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวน เชื่อว่าเหตุที่จำเลยขับล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวนเพราะหักหลบรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับตัดหน้า จุดชนอยู่ตรง ๆ กับปากทางแยก ชนถูกรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับตรงฝาครอบแบตเตอรี่ขวามือผู้ตาย น่าเชื่อว่าผู้ตายยังมิได้ตั้งลำรถจักรยานยนต์ในช่องเดินรถที่ตนจะเข้าไป ทั้งตามคำเบิกความของ อ. ก็ได้ความว่า เมื่อ อ. และผู้ตายขับรถมาถึงปากทางแยก อ. เห็นรถยนต์ที่จำเลยขับแล่นมาอยู่ห่างรถที่ อ. ขับ 30 ถึง 40 เมตร อ. จึงหยุดตรงปากทางแยก ไม่ขับออกไปในถนนที่เกิดเหตุ แต่ผู้ตายขับออกไปจึงถูกรถยนต์ที่จำเลยขับมาชน เห็นได้ว่าถ้าผู้ตายระมัดระวังโดยยังไม่ขับออกไปเหมือน อ. ก็จะไม่ถูกจำเลยขับรถยนต์ชน ยิ่งกว่านั้นตามคำเบิกความของ ถ. จ. และ ท. พยานโจทก์ทั้งสองที่เบิกความว่าผู้ตายขับในลักษณะพุ่งออกไปอันเป็นลักษณะของการขับรถออกไปอย่างรวดเร็ว เมื่อจำเลยเห็นจึงห้ามล้อตั้งแต่อยู่ห่าง 20 ถึง 30 เมตร พฤติการณ์เช่นนี้ แม้จุดชนอยู่ห่างจากเส้นแบ่งช่องเดินรถประมาณ 1.40 เมตร ดังที่โจทก์ทั้งสองฎีกา ก็ไม่เป็นข้อบ่งชี้ว่า ผู้ตายมิได้ประมาทที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าทั้งผู้ตายและจำเลยต่างขับรถโดยประมาท ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย เมื่อผู้ตายก็เป็นผู้ขับรถโดยประมาท ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายและไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งรวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องอุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4), 5 (2) และ 3 (2) เมื่อไม่มีอำนาจฟ้องฎีกา ก็ไม่อาจขอให้ไม่รอการลงโทษดังที่ฎีกาขึ้นมาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หักกลบลบหนี้จากสัญญาเดียวกัน: ศาลฎีกาชี้ว่าการหักกลบลบหนี้ต้องพิจารณาในชั้นบังคับคดี
ความรับผิดชอบจำเลยที่ต้องชำระค่างานให้แก่โจทก์กับความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องชำระค่าปรับแก่จำเลยเกิดจากสัญญาเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน จึงหาใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ซึ่งมาตรา 344 ห้ามมิให้หักกลบลบหนี้หากสิทธิเรียกร้องนั้นยังมีข้อต่อสู้ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นปรับบทวินิจฉัยไม่ เมื่อจำเลยและโจทก์ต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันในแต่ละคดีซึ่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องกระทำแยกต่างหากจากกัน ดังนี้ จำเลยจะขอหักหนี้ได้เพียงใดหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ที่เกิดจากสัญญาเดียวกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างในงานที่ทำให้แก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยฎีกาขอให้นำเงินค่าปรับที่ศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระแก่จำเลยในอีกคดีหนึ่งมาหักกลบลบหนี้ในคดีนี้ ดังนี้ ความรับผิดของจำเลยที่ต้องชำระค่างานแก่โจทก์กับความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องชำระค่าปรับแก่จำเลยเกิดจากสัญญาเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน จึงหาใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ซึ่งมาตรา 344 ห้ามมิให้หักกลบลบหนี้หากสิทธิเรียกร้องนั้นยังมีข้อต่อสู้อยู่ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นปรับแก่คดีไม่ เมื่อจำเลยและโจทก์ต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันในแต่ละคดีซึ่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องกระทำแยกต่างหากจากกัน ดังนี้ จำเลยจะขอหักหนี้ได้เพียงใดหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15873/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยความชอบธรรมของกฎหมาย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่อาจฎีกาได้
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การส่งคำโต้แย้งของคู่ความเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คู่ความขอให้ส่งไปได้เฉพาะในประเด็นว่า บทบัญญัติหรือเนื้อความของกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ตามคำร้องของจำเลยเป็นการโต้แย้งกระบวนการตรากฎหมายว่าไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 154 ซึ่งมาตราดังกล่าวมิได้ให้สิทธิแก่จำเลยหยิบยกเป็นประเด็นโต้แย้งต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงไม่ต้องส่งคำโต้แย้งของจำเลยเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยนั้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ดังกล่าวเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 211 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม ต้องถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15442/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันพยายามฆ่า: การพิสูจน์เจตนาและบทบาทของจำเลยที่ 2 รวมถึงการแก้ไขโทษที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด
แม้จำเลยที่ 2 จะมีส่วนร่วมรู้เห็นที่จำเลยที่ 1 พาอาวุธปืนไปที่บ้าน ก. และเดินทางไปที่บ้าน ก. พร้อมกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมคบคิดที่จะใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสี่มาตั้งแต่แรก การที่จำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืน จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15309/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดฐานกระทำชำเราและการกระทำอนาจารต่อเด็ก การตีความ 'ช่องปาก' ตามกฎหมาย
การที่จำเลยเพื่อสนองความใคร่ของตนเองให้ผู้เสียหายที่ 1 อายุยังไม่เกิน 13 ปี อมอวัยวะเพศของจำเลยเป็นการใช้อวัยวะเพศของจำเลยกระทำกับช่องปากของผู้เสียหายที่ 1 เป็นการกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง เป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปี และการที่จำเลยให้ผู้เสียหายที่ 3 เลียอวัยวะเพศของจำเลยโดยที่อวัยวะเพศของจำเลยไม่ได้เข้าไปในปากของผู้เสียหายที่ 3 จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้อวัยวะเพศของจำเลยกระทำกับช่องปากของผู้เสียหายที่ 3 เพราะช่องปากเป็นที่ว่างในปาก ซึ่งมีปากเป็นทางเข้าออก โดยต้องผ่านปากเข้าไปก่อนจึงจะถึงช่องปาก เมื่ออวัยวะเพศของจำเลยไม่ได้เข้าไปในปากของผู้เสียหายที่ 3 ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้อวัยวะเพศของจำเลยกระทำกับช่องปากของผู้เสียหายที่ 3 ไม่เป็นการกระทำชำเราตามความหมายของกฎหมายดังกล่าว การกระทำของจำเลยต่อผู้เสียหายที่ 3 ไม่เป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปี แต่เป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15274/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหา, การมีเครื่องกระสุนปืนผิดประเภท, และการใช้กฎหมายที่ถูกต้องในการลงโทษ
การที่ ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้พนักงานสอบสวน แจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบก็เพื่อที่ผู้ต้องหาจะได้ทราบว่าตนถูกกล่าวหาหรือแจ้งข้อหาว่ากระทำผิดในข้อหาอะไร จะได้สามารถให้การแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้อง แต่การแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่หากพนักงานสอบสวนปฏิบัติผิดพลาดหรือบกพร่องแล้วจะทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามบันทึกคำให้การว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุจำเลยได้ใช้ปืนยิงแมวของผู้กล่าวหาที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเข้าไปในบ้านจำเลยและเจ้าพนักงานตำรวจได้ร่วมกันจับกุมจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและมีข้อความต่อไปที่แสดงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ถือได้ว่ามีการแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ได้
จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนพกขนาด .357 แม้เครื่องกระสุนปืนของกลางซึ่งมีขนาด .38 จะใช้กับอาวุธปืนพกขนาด .357 ได้แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องระบุคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2549 ซึ่งเป็นการระบุ พ.ศ. ของคำสั่งดังกล่าวผิดพลาด มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า และกรณีดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนพกขนาด .357 แม้เครื่องกระสุนปืนของกลางซึ่งมีขนาด .38 จะใช้กับอาวุธปืนพกขนาด .357 ได้แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องระบุคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2549 ซึ่งเป็นการระบุ พ.ศ. ของคำสั่งดังกล่าวผิดพลาด มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า และกรณีดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15274/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่ไม่ได้รับอนุญาต
พันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำซึ่งกล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำผิดเพียงว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุผู้ต้องหาได้ใช้อาวุธปืนยิงแมวของผู้กล่าวหาที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเข้าไปในบ้านของจำเลย และเจ้าพนักงานตำรวจได้ร่วมกันจับกุมตัวจำเลยได้พร้อมด้วยอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางนำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี เหตุเกิดที่บ้านเลขที่ 63/2 ถนน 25 มกรา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2548 เวลาประมาณ 11 นาฬิกา วันที่ 19 มีนาคม 2548 เวลาประมาณ 20 นาฬิกา แต่ก็มีข้อความต่อไปที่แสดงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ถือได้ว่ามีการแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานะที่ซึ่งเกิดการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้ว การสอบสวนในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 134 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
มาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้" แปลความได้ว่าหากผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ ก็ไม่จำต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ อันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และไม่เป็นความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่ออาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้เป็นอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 และกระสุนปืนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาด .38 แม้จะใช้กับอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 ได้ แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้
แม้โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องโดยระบุคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2549 ซึ่งไม่มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินดังกล่าว แต่กรณีเป็นการผิดพลาดไป ซึ่งข้อผิดพลาดดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์อ้างกฎหมายผิด มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามฟ้องศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า และกรณีดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
มาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้" แปลความได้ว่าหากผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ ก็ไม่จำต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ อันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และไม่เป็นความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่ออาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้เป็นอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 และกระสุนปืนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาด .38 แม้จะใช้กับอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 ได้ แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้
แม้โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องโดยระบุคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2549 ซึ่งไม่มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินดังกล่าว แต่กรณีเป็นการผิดพลาดไป ซึ่งข้อผิดพลาดดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์อ้างกฎหมายผิด มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามฟ้องศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า และกรณีดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14306/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับในคดียาเสพติด
ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับจำเลยทั้งสองเกินแปดหมื่นบาท และมิได้สั่งว่าจะบังคับชำระค่าปรับอย่างไร ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้ชัดเจน โดยพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังแทนค่าปรับไม่เกิน 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13509/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกองทุนรวม: การตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจและอำนาจกระทำการแทน
แม้จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ว่า หนังสือมอบอำนาจและหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นเอกสารปลอมอันถือได้ว่าจำเลยทั้งสามคัดค้านการนำเอกสารมาสืบโดยเหตุที่ว่าต้นฉบับปลอมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคสอง แต่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานและอ้างส่งสำเนาต่อศาลแทนต้นฉบับเอกสาร ซึ่งก่อนจะส่งสำเนาโจทก์ให้โอกาสจำเลยทั้งสามตรวจดูแล้ว จำเลยทั้งสามมิได้คัดค้านว่าสำเนาเอกสารไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ประกอบกับต้นฉบับเอกสารโจทก์ต้องใช้เป็นประจำ การที่ศาลชั้นต้นรับสำเนาเอกสารไว้แทนต้นฉบับ เท่ากับอนุญาตให้รับคืนต้นฉบับเอกสารและส่งสำเนาเอกสารไว้แทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 ทวิ จึงรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานได้