พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุกสำคัญกว่า: เมื่อยังพิสูจน์ความเป็นเจ้าของไม่ได้ ไม่ถือว่ามีความผิดฐานบุกรุก
การที่จะเป็นความผิดฐานบุกรุกจำเลยจะต้องกระทำโดยมีเจตนาบุกรุกด้วยกล่าวคือ จำเลยจะต้องรู้ว่าที่ดินที่หาว่าจำเลยบุกรุกนั้นเป็นของผู้เสียหายทั้งสาม แต่คดีนี้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการครอบครองที่ดินหรือความเป็นเจ้าของที่ดินที่หาว่าจำเลยบุกรุกโจทก์และจำเลยยังนำสืบโต้แย้งกันอยู่ โดยโจทก์นำสืบว่าที่ดินเป็นของผู้เสียหายทั้งสามผู้เสียหายทั้งสามครอบครองที่ดินตลอดมาตั้งแต่ปี 2525 ส่วนจำเลยนำสืบว่าที่ดินเป็นของจำเลย จำเลยซื้อมาจาก ช. ตั้งแต่ปี 2537 แล้วจำเลยครอบครองตลอดมาฝ่ายผู้เสียหายมิได้ครอบครองแต่อย่างใด ที่ดินไม่ใช่เป็นของผู้เสียหายทั้งสาม แม้ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้เสียหายทั้งสาม จำเลยก็นำสืบอยู่ว่าโฉนดที่ดินออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งจำเลยไม่รู้มาก่อนและไม่ยอมรับว่าที่ดินเป็นของผู้เสียหายทั้งสาม เมื่อผู้เสียหายทั้งสามกับจำเลยยังคงโต้เถียงความเป็นเจ้าของกันเช่นนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องทางแพ่ง ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาบุกรุก การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผิดสัญญา ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยเป็นที่สุด ไม่สามารถฎีกาได้
คดีนี้สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งปรับผู้ประกันทั้งสามซึ่งเป็นผู้ประกัน จำเลยที่ 2 ตามสัญญาประกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ผู้ประกันทั้งสามยื่นคำร้องขอเพิกถอนสัญญาประกัน ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน เห็นว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ดังนั้น ไม่ว่าผู้ประกันทั้งสามจะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวในประเด็นใดก็ตาม ก็ถือเป็นกรณีที่ผู้ประกันทั้งสามผิดสัญญาประกันต่อศาล ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประการใดแล้วและมีการอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของผู้ประกันทั้งสามมานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษาให้ยกฎีกาของผู้ประกันทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: จำเลยเป็นตัวการร่วม แม้รับจ้างขน และการริบของกลางที่ไม่ชอบ
จำเลยถูกจับขณะที่มีเมทแอมเฟตามีนของกลางอยู่ในความยึดถือครอบครองของจำเลย แม้ฟังว่าจำเลยยึดถือครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางขณะอยู่ในช่วงระหว่างจำเลยรับขน และเมทแอมเฟตามีนของกลางจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างก็ถือว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุน
แม้จำเลยจะให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่า จำเลยรับจ้างขนเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ผู้ว่าจ้าง แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยก็นำสืบปฏิเสธว่าคำให้การดังกล่าวเกิดขึ้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจทำขึ้นมาเองโดยจำเลยไม่ทราบข้อความและข้อเท็จจริงก็ไม่ได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้อาศัยคำให้การของจำเลยขยายผลจนเป็นเหตุให้มีการจับกุมผู้ว่าจ้างมาดำเนินคดี คดียังไม่พอฟังว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนจึงไม่อาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ฟ้องจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ฉะนั้น เงินค่าจ้างที่จำเลยได้จากผู้ว่าจ้างในการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปส่งมอบให้แก่ลูกค้าผู้สั่งซื้อและโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จำเลยใช้ติดต่อกับผู้ว่าจ้างให้นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้แก่ลูกค้าผู้สั่งซื้อจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 จึงไม่อาจริบได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งริบเงินและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ชอบปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
แม้จำเลยจะให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่า จำเลยรับจ้างขนเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ผู้ว่าจ้าง แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยก็นำสืบปฏิเสธว่าคำให้การดังกล่าวเกิดขึ้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจทำขึ้นมาเองโดยจำเลยไม่ทราบข้อความและข้อเท็จจริงก็ไม่ได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้อาศัยคำให้การของจำเลยขยายผลจนเป็นเหตุให้มีการจับกุมผู้ว่าจ้างมาดำเนินคดี คดียังไม่พอฟังว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนจึงไม่อาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ฟ้องจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ฉะนั้น เงินค่าจ้างที่จำเลยได้จากผู้ว่าจ้างในการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปส่งมอบให้แก่ลูกค้าผู้สั่งซื้อและโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จำเลยใช้ติดต่อกับผู้ว่าจ้างให้นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้แก่ลูกค้าผู้สั่งซื้อจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 จึงไม่อาจริบได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งริบเงินและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงไม่ชอบปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสีย, การส่งหมาย, ราคาขายทอดตลาด, และคำสั่งศาลถึงที่สุด
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 3 ซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนสิ้นเชิง แต่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดนั้นเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไม่ได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้มีชื่อตามทะเบียนบ้านในทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบก็ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าการขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าที่สมควร โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่กระทำการตรวจสอบให้รอบคอบก่อนเคาะไม้ขายทอดตลาดว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดนั้นเพียงพอแล้วหรือไม่ เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคท้าย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าการขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าที่สมควร โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่กระทำการตรวจสอบให้รอบคอบก่อนเคาะไม้ขายทอดตลาดว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดนั้นเพียงพอแล้วหรือไม่ เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเกษตรกรรมและการบอกเลิกสัญญาเนื่องจากผิดสัญญา ข้อตกลงในสัญญาเช่ามีผลผูกพัน
การบอกเลิกการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งต้องแจ้งการบอกเลิกต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีคำวินิจฉัยก่อน บังคับเฉพาะแต่การเช่านาซึ่งหมายถึงเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ และพืชไร่หมายความว่าพืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้นหรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายในสิบสองเดือนตามที่ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ให้คำนิยามไว้ ดังนี้ ต้นมะพร้าวจึงไม่ใช่พืชไร่แต่เป็นพืชเกษตรกรรมอื่น ไม่อยู่ในบังคับให้ต้องแจ้งการบอกเลิกการเช่าต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อให้มีคำวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อตกลงในสัญญาเช่าห้ามผู้เช่าขุดคู บ่อน้ำในที่ดินที่เช่า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่า เป็นข้อกำหนดลักษณะการใช้ที่ดิน เป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า เมื่อจำเลยที่ 1 รับว่าขุดคูและบ่อน้ำในที่ดินที่เช่าโดยได้รับอนุญาตด้วยวาจา จำเลยที่ 1 จึงผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า เมื่อจำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า จำเลยที่ 1 มิได้ผิดสัญญาเนื่องจากกระทำไปโดยได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่า ดังนี้ ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดข้อตกลงว่า กรณีผู้เช่ากระทำผิดสัญญา ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีและผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิจะเข้ายึดถือครอบครองที่เช่าได้โดยพลัน แม้การที่โจทก์เข้ารื้อถอนต้นมะพร้าวออกจากที่ดินที่เช่าจะเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 แต่ก็เป็นผลสืบเนื่องจากข้อตกลงในสัญญาเช่าที่ให้สิทธิโจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่ดินที่เช่า ถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม หลังจากโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่า ต่อมาอีกประมาณปีเศษโจทก์จึงเข้าปรับสภาพที่ดินให้เป็นดังเดิม ซึ่งเมื่อขณะจำเลยที่ 1 ขุดคูและบ่อน้ำ จำเลยที่ 1 ยอมรับจะปรับสภาพที่ดินให้เป็นไปดังเดิมภายหลัง ดังนี้ที่โจทก์เข้าปรับสภาพที่ดินรวมถึงรื้อถอนต้นมะพร้าวของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์กระทำตามข้อตกลงในสัญญาเช่า แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
ข้อตกลงในสัญญาเช่าห้ามผู้เช่าขุดคู บ่อน้ำในที่ดินที่เช่า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่า เป็นข้อกำหนดลักษณะการใช้ที่ดิน เป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า เมื่อจำเลยที่ 1 รับว่าขุดคูและบ่อน้ำในที่ดินที่เช่าโดยได้รับอนุญาตด้วยวาจา จำเลยที่ 1 จึงผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า เมื่อจำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า จำเลยที่ 1 มิได้ผิดสัญญาเนื่องจากกระทำไปโดยได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่า ดังนี้ ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดข้อตกลงว่า กรณีผู้เช่ากระทำผิดสัญญา ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีและผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิจะเข้ายึดถือครอบครองที่เช่าได้โดยพลัน แม้การที่โจทก์เข้ารื้อถอนต้นมะพร้าวออกจากที่ดินที่เช่าจะเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 แต่ก็เป็นผลสืบเนื่องจากข้อตกลงในสัญญาเช่าที่ให้สิทธิโจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่ดินที่เช่า ถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม หลังจากโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่า ต่อมาอีกประมาณปีเศษโจทก์จึงเข้าปรับสภาพที่ดินให้เป็นดังเดิม ซึ่งเมื่อขณะจำเลยที่ 1 ขุดคูและบ่อน้ำ จำเลยที่ 1 ยอมรับจะปรับสภาพที่ดินให้เป็นไปดังเดิมภายหลัง ดังนี้ที่โจทก์เข้าปรับสภาพที่ดินรวมถึงรื้อถอนต้นมะพร้าวของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์กระทำตามข้อตกลงในสัญญาเช่า แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ-สัญญาซื้อขาย: ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อความเสียหายจากเอกสารปลอมและการแบ่งความรับผิดกับผู้ขาย
เมื่อปรากฏว่าบริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์ต้องส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถให้แก่นายทะเบียนกรุงเทพมหานครเมื่อได้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายหรือผลิตหรือประกอบรถขึ้นใหม่เพื่อจำหน่าย โดยต้องจัดส่งเอกสารประกอบหนังสือแจ้ง คือ บัญชีรับและจำหน่ายรถใบเสร็จรับเงินอากรขาเข้า ใบรับรองการนำเข้า สำเนาใบขนสินค้าขาเข้า บัญชีแสดงรายการสินค้าหรืออินวอยซ์ ทั้งต้องจัดส่งบัญชีรับและจำหน่ายรถของแต่ละเดือนให้นายทะเบียนกรุงเทพมหานครทราบ แสดงว่าหลักฐานต่างๆ ดังกล่าวมีอยู่ที่นายทะเบียนกรุงเทพมหานครครบถ้วนแล้ว เมื่อมีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนรถใหม่จึงสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่าหลักฐานของผู้ยื่นคำขอตรงกับที่บริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์แจ้งมาหรือไม่ การที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกขั้นตอนรวมทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายทะเบียนมิได้ตรวจสอบทั้งที่ปรากฏข้อพิรุธของเอกสารอย่างชัดเจน จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เมื่อมีการออกใบคู่มือจดทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 5 ทำให้โจทก์ทั้งสองหลงเชื่อเอกสารดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นเอกสารที่ออกโดยถูกต้องจึงตกลงซื้อรถยนต์คันพิพาท เมื่อมีการตรวจพบในภายหลังว่าเอกสารที่จำเลยที่ 5 นำไปยื่นต่อนายทะเบียนเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 2 จึงมีประกาศยกเลิกการจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทและแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ส่งใบคู่มือจดทะเบียนและแผ่นป้ายทะเบียนรถคืนแก่นายทะเบียน จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายไม่ได้ใช้รถยนต์คันพิพาททั้งที่ชำระเงินค่ารถไปครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในผลแห่งละเมิดที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันคืนเงินค่ารถยนต์จำนวน 1,350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ ต้องเสียค่าเช่ารถเดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง คำขออื่นให้ยก โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินค่ารถจำนวน 1,350,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น เท่ากับโจทก์ทั้งสองไม่ติดใจในส่วนของค่าเสียหายที่ต้องเสียค่าเช่ารถมาใช้แทนรถยนต์คันพิพาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในความเสียหายส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ มาตรา 246 แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมมือหรือรู้เห็นเป็นใจกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในการรับจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทโดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าเอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนรถใหม่เป็นเอกสารปลอม ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย แต่โดยเหตุที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในมูลหนี้ละเมิดอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ ส่วนจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองตามมูลหนี้สัญญาซื้อขาย แม้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองจำนวนเดียวกันแต่ก็ไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ทั้งสองเต็มจำนวนได้ เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แล้ว เห็นว่าเป็นความประมาทเลินเล่อซึ่งมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในหน่วยงานของรัฐ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในเอกสารต่างๆที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ในการกระทำและความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้วเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 450,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าว
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันคืนเงินค่ารถยนต์จำนวน 1,350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ ต้องเสียค่าเช่ารถเดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง คำขออื่นให้ยก โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินค่ารถจำนวน 1,350,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น เท่ากับโจทก์ทั้งสองไม่ติดใจในส่วนของค่าเสียหายที่ต้องเสียค่าเช่ารถมาใช้แทนรถยนต์คันพิพาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในความเสียหายส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ มาตรา 246 แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมมือหรือรู้เห็นเป็นใจกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในการรับจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทโดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าเอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนรถใหม่เป็นเอกสารปลอม ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย แต่โดยเหตุที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในมูลหนี้ละเมิดอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ ส่วนจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองตามมูลหนี้สัญญาซื้อขาย แม้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองจำนวนเดียวกันแต่ก็ไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ทั้งสองเต็มจำนวนได้ เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แล้ว เห็นว่าเป็นความประมาทเลินเล่อซึ่งมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในหน่วยงานของรัฐ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในเอกสารต่างๆที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ในการกระทำและความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้วเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 450,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง และการปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ขัดแย้งกัน ทำให้ไม่อาจสืบพยานได้
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่า โจทก์ทำสัญญาซื้อขายบ้านกับ ป. โจทก์จึงเป็นเจ้าของบ้าน และการบอกเลิกการเช่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นประเด็นพิพาทกัน จำเลยไม่อุทธรณ์โต้เถียงในประเด็นดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาฎีกาเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่านับแต่จำเลยเช่าบ้านจากโจทก์ จำเลยชำระค่าเช่าแก่โจทก์เดือนละ 16,000 บาท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่ามาตลอด และนับแต่เดือนมีนาคม 2540 เป็นต้นมา จำเลยก็ไม่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์อีกจนกระทั่งถึงวันฟ้อง ซึ่งในข้อนี้จำเลยให้การและนำสืบว่า จำเลยชำระค่าเช่าแก่โจทก์มาตลอดจนกระทั่งถูกโจทก์ฟ้องจำเลยจึงไม่ชำระแก่โจทก์ ขณะเดียวกันจำเลยได้ให้การต่อสู้ด้วยว่าหากฟังว่าจำเลยไม่ชำระค่าเช่า เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2540 ที่จำเลยผิดนัดถึงวันฟ้อง คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความแล้ว คำให้การดังกล่าวจึงขัดแย้งกันเท่ากับมิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิสืบพยานตามที่ให้การต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่านับแต่จำเลยเช่าบ้านจากโจทก์ จำเลยชำระค่าเช่าแก่โจทก์เดือนละ 16,000 บาท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่ามาตลอด และนับแต่เดือนมีนาคม 2540 เป็นต้นมา จำเลยก็ไม่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์อีกจนกระทั่งถึงวันฟ้อง ซึ่งในข้อนี้จำเลยให้การและนำสืบว่า จำเลยชำระค่าเช่าแก่โจทก์มาตลอดจนกระทั่งถูกโจทก์ฟ้องจำเลยจึงไม่ชำระแก่โจทก์ ขณะเดียวกันจำเลยได้ให้การต่อสู้ด้วยว่าหากฟังว่าจำเลยไม่ชำระค่าเช่า เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2540 ที่จำเลยผิดนัดถึงวันฟ้อง คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความแล้ว คำให้การดังกล่าวจึงขัดแย้งกันเท่ากับมิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิสืบพยานตามที่ให้การต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การแจ้งวันขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การขายทอดตลาดเป็นโมฆะ
การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 1 อาจกระทำได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีเพิ่งขายทอดตลาดไปเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547 และยังมิได้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้การบังคับคดีจึงยังไม่เสร็จลงตามมาตรา 296 วรรคสี่ ส่วนที่ต้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนให้ได้ความก่อนว่ามีข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นหรือไม่และจำเลยที่ 1 ทราบแล้วหรือไม่ เมื่อใด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 14 ธันวาคม 2547 ฉบับแรก ขอให้รับคำร้องขอเพิกถอนการพิจารณาของจำเลยที่ 1 ไว้ไต่สวนต่อไป ย่อมเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
จำเลยที่ 1 เพิ่งทราบเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมอบให้ ว. ไปขอคัดถ่ายเอกสารการขายทอดตลาดที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรสาคร และเพิ่งได้รับเอกสารมาเมื่อวันที่ 7 เดือนเดียวกัน ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตั้งแต่วันที่ 7 เดือนดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบแล้วก็มอบให้ทนายความของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ทนายความของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดฉบับลงวันที่ 9 ธันวาคม 2547 จึงเป็นการยื่นคำร้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม
จำเลยที่ 1 เพิ่งทราบเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมอบให้ ว. ไปขอคัดถ่ายเอกสารการขายทอดตลาดที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรสาคร และเพิ่งได้รับเอกสารมาเมื่อวันที่ 7 เดือนเดียวกัน ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตั้งแต่วันที่ 7 เดือนดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบแล้วก็มอบให้ทนายความของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ทนายความของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดฉบับลงวันที่ 9 ธันวาคม 2547 จึงเป็นการยื่นคำร้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: พยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและคำซัดทอดเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ หากไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
นอกจากคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนและคำซัดทอดของจำเลยที่ 1 โดยมีสิบตำรวจโท ช. ผู้จับกุมจำเลยที่ 2 และพันตำรวจโท ม. พนักงานสอบสวนมาเบิกความสนับสนุนแล้ว โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมานำสืบสนับสนุน ทั้งจำเลยที่ 2 ก็นำสืบโต้แย้งว่ามิได้ให้การรับสารภาพโดยสมัครใจ ดังนั้น ลำพังแต่เพียงคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมและสอบสวน และคำให้การซัดทอดของจำเลยที่ 1 โดยมีผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนมาเบิกความสนับสนุนดังกล่าว โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมานำสืบสนับสนุนยังไม่สามารถนำมารับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้ขนส่งที่นำไปเป็นของตนเอง ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยขนส่งสินค้าของโจทก์ไปให้ลูกค้า จำเลยนำสินค้าไปเป็นของตนเอง โจทก์ต้องจัดส่งสินค้าอย่างเดียวกันให้ลูกค้าอีกครั้งทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว แม้ตามฟ้องโจทก์จะเรียกเอาค่าเสียหายแต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกเอาก็เท่ากับราคาสินค้าที่ได้มอบให้จำเลยไปจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความฟ้องร้อง ทั้งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสินค้าของโจทก์สูญหายระหว่างการขนส่ง จึงไม่อาจนำอายุความตามมาตรา 624 มาใช้บังคับได้