พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10348/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและคำร้องดำเนินคดีอนาถา กรอบเวลาอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. และการพิจารณาพยานหลักฐาน
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าไม่มีพยานมาไต่สวนให้เห็นได้ว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งจะต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า (เดิม) แต่มีกำหนดยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายใน 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
เมื่อผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายใน 1 เดือน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ และต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องไว้พิจารณา การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งเพราะเหตุผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งเกิน 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง จึงไม่ชอบและไม่ทำให้คดีเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง เพราะเป็นคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายใน 1 เดือน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ และต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องไว้พิจารณา การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งเพราะเหตุผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งเกิน 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง จึงไม่ชอบและไม่ทำให้คดีเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง เพราะเป็นคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10323/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีได้ แม้ไม่ได้เป็นทนายความ หากเป็นฐานะคู่ความตามกฎหมาย
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) จึงมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย เพราะมิใช่การว่าความอย่างทนายความตามมาตรา 60 วรรคสองและ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10255/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของและแจ้งให้เจ้าของทราบ การได้รับอนุญาตดำเนินคดีแบบคนอนาถาไม่ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยเข้าอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าจาก ฮ. การที่จำเลยครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนด โดยไม่ได้ทำสัญญาเช่าขึ้นใหม่และไม่ชำระค่าเช่าแต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินและตึกแถวพิพาทแทนอีกต่อไปหรือจำเลยเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริตอาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ถือไม่ได้ว่าจำเลยเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือจากยึดถือแทนเป็นยึดถือเพื่อตน จำเลยจึงเป็นผู้ยึดถือทรัพย์สินในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครองฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
การได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 (เดิม) นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 (เดิม) ดังนั้น แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลก็ชอบจะพิพากษาคดีให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองได้
การได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 (เดิม) นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 (เดิม) ดังนั้น แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลก็ชอบจะพิพากษาคดีให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10255/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องบอกกล่าวเจตนา และการรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมแม้ได้รับอนุญาตดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
จำเลยเข้าอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าจาก ฮ. การที่จำเลยครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดโดยไม่ได้ทำสัญญาเช่าใหม่และไม่ชำระค่าเช่า ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจากยึดถือแทนเป็นยึดถือเพื่อตน จำเลยจึงเป็นผู้ยึดถือทรัพย์สินในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง จำเลยจะต้องบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนอีกต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริตอาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทว่าไม่มีเจตนายึดถือแทนอีกต่อไป จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
การได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 (เดิม) เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 (เดิม) ดังนั้น แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองได้
การได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 (เดิม) เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 (เดิม) ดังนั้น แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10228/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องแทนและการแต่งคำฟ้องโดยมิได้เป็นทนายความ
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนต่อจำเลยทั้งสอง ส. ในฐานะตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไป ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์ คำว่าคู่ความหมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ ดังนั้น ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทน ย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่คำฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และเมื่อพิจารณาตาม พ.ร.บ.ทนายความฯ มาตรา 33 ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้อง แต่ก็บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการเรียงหรือแต่งฟ้องนั้น ไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์แม้มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งคำฟ้องแทนโจทก์ก็มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10154/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญากู้ยืม: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับสูงเกินสมควรได้ แต่ไม่อำนาจงดเบี้ยปรับทั้งหมด
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาพอแปลได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์และต่อมาผิดนัดไม่ชำระหนี้จนเป็นเหตุให้โจทก์ใช้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งการใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกค่าเสียหาย ประกอบกับสัญญากู้ยืมเงินได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับได้ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนต้นเงินที่ค้างชำระหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ซึ่งเบี้ยปรับคือ สัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เบี้ยปรับจึงนับว่าเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 อีกทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ แสดงว่ากฎหมายประสงค์จะให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าเบี้ยปรับตามสัญญาเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้ แต่ไม่มีบทบัญญัติในมาตราใดให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่กำหนดเบี้ยปรับให้จำเลยที่ 1 ชำระแก่โจทก์ จึงมีผลเป็นการงดเบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์เสียทั้งสิ้น ซึ่งไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์และต่อมาผิดนัดไม่ชำระหนี้จนเป็นเหตุให้โจทก์ใช้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งการใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกค่าเสียหาย ประกอบกับสัญญากู้ยืมเงินได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับได้ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนต้นเงินที่ค้างชำระหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ซึ่งเบี้ยปรับคือ สัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เบี้ยปรับจึงนับว่าเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 อีกทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ แสดงว่ากฎหมายประสงค์จะให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าเบี้ยปรับตามสัญญาเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้ แต่ไม่มีบทบัญญัติในมาตราใดให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่กำหนดเบี้ยปรับให้จำเลยที่ 1 ชำระแก่โจทก์ จึงมีผลเป็นการงดเบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์เสียทั้งสิ้น ซึ่งไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10123/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินกองทุนฯ ข้อตกลงผูกพันตามระเบียบ และการนับอายุความ
ตามสัญญากู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีข้อสัญญาระบุไว้ว่า การกู้และให้กู้ตามสัญญานี้นอกจากจะถือปฏิบัติตามสัญญาทุกข้อแล้ว ผู้กู้จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของผู้ให้กู้ยืมที่เกี่ยวกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ได้ออกใช้บังคับอยู่แล้วก่อนในวันทำสัญญานี้ และที่จะได้ออกใช้บังคับต่อไปในภายหน้าโดยเคร่งครัด และให้ถือว่าระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย จึงต้องถือว่าระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน ซึ่งออกใช้บังคับก่อนจำเลยที่ 1 จะผิดนัดชำระหนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา มีผลใช้บังคับและผูกพันจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบหรือต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ก่อน และกำหนดเวลาชำระหนี้ที่กำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าวมิใช่เป็นการขยายอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10082/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ กรณีรถหายจากการโจรกรรม ศาลฎีกาพิจารณาความระมัดระวังตามวิญญูชน
การที่จะพิจารณาว่าจำเลยในฐานะผู้รับฝากรถยนต์คันพิพาทไว้โดยมีบำเหน็จค่าฝากได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับคนทั่วๆ ไปในภาวะเช่นนั้นว่าควรจะพึงใช้ความระมัดระวังเช่นไร ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยจอดรถยนต์คันพิพาทไว้บริเวณด้านหน้าอู่ซ่อมรถของจำเลยโดยได้ล็อกประตูและล็อกพวงมาลัยรถยนต์คันพิพาท ส่วนตัวจำเลยก็นอนอยู่ภายในอู่ดังกล่าว เมื่อได้ยินเสียงเครื่องยนต์รถดังขึ้นก็ได้ลุกขึ้นดู ปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาทหายไปก็ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจสายตรวจที่ผ่านมาทราบและออกติดตามคนร้ายกับเจ้าพนักงานตำรวจด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นแล้ว
อู่ซ่อมรถของจำเลยเป็นห้องแถวและเป็นอู่ขนาดเล็ก บริเวณด้านหน้าของอู่ตั้งประชิดติดกับขอบถนน ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะมีการกั้นรั้วหรือจัดหายามมาคอยระแวดระวังในเวลากลางคืน ดังนั้น การที่จำเลยจอดรถยนต์คันพิพาทไว้บริเวณด้านหน้าของอู่จะถือว่าจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นหาได้ไม่
อู่ซ่อมรถของจำเลยเป็นห้องแถวและเป็นอู่ขนาดเล็ก บริเวณด้านหน้าของอู่ตั้งประชิดติดกับขอบถนน ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะมีการกั้นรั้วหรือจัดหายามมาคอยระแวดระวังในเวลากลางคืน ดังนั้น การที่จำเลยจอดรถยนต์คันพิพาทไว้บริเวณด้านหน้าของอู่จะถือว่าจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10082/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากรถยนต์ต่อการโจรกรรม พิจารณาจากความระมัดระวังตามวิญญูชน
การที่จะพิจารณาว่าจำเลยในฐานะผู้รับฝากรถยนต์ไว้โดยมีบำเหน็จค่าฝากได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับคนทั่ว ๆ ไปในภาวะเช่นนั้นว่าควรจะพึงใช้ความระมัดระวังเช่นไร จำเลยใช้ห้องแถวซึ่งอยู่ติดกับถนนเป็นที่ตั้งอู่ บริเวณด้านหน้าของอู่ตั้งประชิดติดกับขอบถนน แสดงว่าอู่ของจำเลยเป็นอู่ขนาดเล็กย่อมเป็นไปได้ยากที่จะมีการกั้นรั้วหรือจัดหายามมาคอยระแวดระวังในเวลากลางคืน การที่จำเลยจอดรถยนต์กระบะคันพิพาทไว้บริเวณด้านหน้าอู่ของจำเลยโดยได้ล็อกประตูและล็อกพวงมาลัยรถยนต์คันพิพาท ส่วนตัวจำเลยก็นอนอยู่ภายในอู่ดังกล่าว เมื่อได้ยินเสียงเครื่องยนต์รถดังขึ้นก็ได้ลุกขึ้นดู เมื่อพบว่ารถยนต์คันพิพาทหายไป ก็ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจสายตรวจที่ผ่านมาทราบและออกติดตามคนร้ายกับเจ้าพนักงานตำรวจด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10081/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนของตัวแทนที่มิได้เป็นทนายความ: คำฟ้องชอบด้วยกฎหมายเมื่อได้รับมอบอำนาจตาม ป.วิ.พ.
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนแก่จำเลยทั้งสอง ส. ในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆ ตามกฎหมาย หรือในฐานะทนายความ ดังนั้น ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทนย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง แต่ก็บัญญัติยกเว้นไว้ว่า การแต่งฟ้องนั้นไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น แม้ ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งฟ้องแทนโจทก์มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ ป.วิ.พ.มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย