คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนตรี ยอดปัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8321/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ ผู้ร้องต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาภายในเวลา หากไม่ทำสิทธิอุทธรณ์ระงับ
คำร้องขอขยายระยะเวลาของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานอกเหนือจากคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ผู้ร้องจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไป เว้นแต่ผู้ร้องจะไม่มีโอกาสที่จะโต้แย้งได้ การที่ทนายผู้ร้องได้ลงชื่อรับทราบในคำร้องฉบับดังกล่าวเพื่อให้มาฟังคำสั่งในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 กรณีย่อมต้องถือว่า ผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ให้จำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ อันเป็นเวลาหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึง 4 วัน ผู้ร้องย่อมมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งนี้ได้ แต่ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้ง เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8277/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการดำเนินการตามคำร้องขอเป็นคนอนาถา หากไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ศาลไม่รับอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นสั่งว่า ยื่นอุทธรณ์เกิน 7 วัน นับแต่วันอ่านคำสั่ง ขัด ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย (เดิม) จึงไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง มีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. 236 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงฎีกาไม่ได้
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8276/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเกี่ยวกับการเพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นที่สุดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้ไม่อุทธรณ์ได้
คดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. ตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง เป็นที่สุด ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่รับอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 จึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ย่อมเป็นที่สุดตามวรรคสี่ จึงให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 จึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งฉบับลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 โดยมิได้สั่งเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8201/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อทรัพย์จากการถูกขัดขวางการเข้าใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี มีเจตนารมณ์ที่จะให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีให้ได้รับสิทธิและสามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอันตกอยู่ในการบังคับคดีโดยไม่ถูกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารขัดขวางหรือโต้แย้งการใช้สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์โดยมิชอบ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 22)ฯ โดยมาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวบัญญัติให้ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. นี้ มิให้ใช้บังคับแก่คดีที่ฟ้องก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด ดังนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีทันที ดังนั้น เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ซื้อทรัพย์มาจากการขายทอดตลาดและมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์พิพาท แม้จะเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์พิพาทก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับก็ตาม แต่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ยื่นคำขอให้ศาลออกคำบังคับให้จำเลยและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์พิพาท เมื่อ พ.ร.บ. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี มาใช้บังคับแก่กรณีตามคำขอของผู้ซื้อทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเข้าทำสัญญาซื้อทรัพย์สินหลังการประมูล การโอนสิทธิเรียกร้อง และความผูกพันของสัญญา
ตามข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ อนุญาตให้บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์ได้เข้าทำสัญญากับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้ แสดงว่าผู้ที่เข้าทำสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินมิได้จำกัดเฉพาะผู้ที่ประมูลซื้อสินทรัพย์ได้เท่านั้น โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในการเข้าทำสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินมาจากบริษัทเงินทุน ก. ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลและในวันที่โจทก์ทำสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าทำสัญญากับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน และเมื่อผู้ที่ประมูลซื้อสินทรัพย์ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องในคดีนี้คือบริษัทเงินทุน ก. ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิในการเข้าทำสัญญาขาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบฟอร์มขอเสนอราคาและไม่ต้องปฏิบัติตามข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับขั้นตอนการเสนอราคา
ข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ที่กำหนดว่า หากผู้ชนะการประมูลต้องการเสนอให้ผู้อื่นลงนามในสัญญาขายแทน ผู้ชนะการประมูลจะต้องระบุชื่อพร้อมกับยื่นเอกสารของผู้ที่จะลงนามในสัญญาขายตามที่ระบุในรายละเอียดเอกสารเพิ่มเติมมายังองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินภายใน 2 วันทำการ นับจากวันประมูลนั้นเป็นเพียงระเบียบที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินกำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกและความเป็นระเบียบในการประมูล มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของระชาชนที่หากไม่ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ การที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไม่ได้ยึดถือข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ดังกล่าวที่กำหนดเกี่ยวกับวันเวลาในการเสนอบุคคลอื่นเข้าทำสัญญาแทนผู้ชนะการประมูลจึงไม่ทำให้สัญญาขายเสียไป
การที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินออกข้อสนเทศการจำหน่ายสินค้าทรัพย์ ฯ โดยกำหนดให้ผู้ที่ชนะการประมูลโอนสิทธิที่ผู้ชนะการประมูลมีอยู่ให้แก่ผู้อื่นโดยให้ผู้อื่นเข้าทำสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เป็นการกำหนดขั้นตอนและวิธีการเกี่ยวกับการจัดการสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการประมูลโดยเปิดเผยตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 วรรคห้า แล้ว จึงไม่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8167/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบันทึกคำให้การด้วยวาจาในคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ต้องทำตามแบบพิมพ์ที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นเป็นกระบวนการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก คดีนี้จำเลยแสดงความจำนงที่จะให้การด้วยวาจาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 193 วรรคสาม ศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ต้องจัดให้เจ้าพนักงานศาลจดบันทึกรายละเอียดของคำให้การลงในแบบพิมพ์บันทึกคำให้การด้วยวาจาคดีมโนสาเร่ (แบบ ม.2 ) แล้วอ่านให้จำเลยฟังและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ ทั้งนี้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ข้อ 2 การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดคำให้การด้วยวาจาของจำเลยลงในรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นเอกสารที่บันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาหรือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นของศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 48 โดยไม่ได้จัดให้เจ้าพนักงานศาลจดบันทึกรายละเอียดคำให้การของจำเลยลงในแบบพิมพ์ ม.2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 เมื่อปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาจำต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8137/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ชื่อสกุล การใช้ชื่อบริษัทที่คล้ายคลึงกัน การพิสูจน์ความเสียหาย
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงว่า การที่จำเลยใช้ชื่อสกุลของโจทก์เป็นชื่อของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือโจทก์ได้รับความเสียหายหรือต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงจากการที่จำเลยใช้ชื่อ บูรพาชีพ เป็นชื่อของจำเลย จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ ต้องเสียหายหรือเป็นวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปโจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยมิให้ใช้ชื่อ บูรพาชีพเป็นชื่อของจำเลยดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 18 ได้ ส่วนบริษัทบูรพาโอสถ จำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ จะได้รับความเสียหายอย่างไรจากการใช้ชื่อบูรพาชีพ ของจำเลย เป็นเรื่องต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยเองไม่เกี่ยวกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8137/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อสกุลเป็นชื่อบริษัท การคุ้มครองสิทธิในชื่อ และความเสียหายที่ต้องพิสูจน์
บริษัทจำเลยใช้ชื่อสกุลของโจทก์เป็นชื่อของจำเลยโดยไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงจากการที่จำเลยใช้ชื่อ บูรพาชีพ เป็นชื่อของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของนามสกุลบูรพาชีพต้องเสื่อมเสียประโยชน์ ต้องเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยมิให้ใช้ชื่อ บูรพาชีพ เป็นชื่อของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 18
บริษัทบูรพาโอสถ จำกัด เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ หากบริษัทบูรพาโอสถ จำกัด ได้รับความเสียหายอย่างไรจากการใช้ชื่อบูรพาชีพ เป็นชื่อของจำเลย ก็เป็นเรื่องที่บริษัทบูรพาโอสถจำกัด ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7907/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแปลงหนี้หลังคำพิพากษาตามยอม: ศาลไม่รับรู้หากมิได้ทำต่อหน้าศาล
ข้อตกลงในการชำระหนี้ที่คู่ความทำขึ้นใหม่แตกต่างจากข้อตกลงในการชำระหนี้ที่คู่ความกำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมไปแล้วนั้น เมื่อมิได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลไม่รับรู้ข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น หากปรากฏว่าจำเลยทั้งสองยังไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัด ศาลย่อมออกหมายบังคับคดีตามที่โจทก์ร้องขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องอนาถา: ไม่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท
การพิจารณาสั่งคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตหรือยกคำร้องก็ตาม หาใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีไม่ ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาคนเดียวจึงมีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (1)
of 51