คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนตรี ยอดปัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7191/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริตและจงใจทำให้เกิดความเสียหาย ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้อื่น
การที่จำเลยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยในข้อหาละเมิดต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้โดยอ้างว่าการที่โจทก์ทั้งสองดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9597/2546 เป็นการละเมิดต่อจำเลยนั้น แม้จะถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ก็ตาม แต่หากการใช้สิทธิทางศาลที่มีความมุ่งหมายหรือเจตนาที่จะให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายก็ย่อมเป็นการละเมิด คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องอ้างว่าจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยเป็นฝ่ายไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9597/2546 การที่จำเลยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยในข้อหาละเมิด เรียกทรัพย์คืนต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยอ้างว่าโจทก์ทั้งสองดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยฝ่าฝืนกฎหมายนั้นเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและจงใจให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องก็ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายได้ กรณีถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลเป็นคดีนี้ได้
คดีนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอ ก็เป็นการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ดังนี้จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7191/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิฟ้องโดยไม่สุจริตและเจตนาทำให้ผู้อื่นเสียหาย ถือเป็นการละเมิดและมีอำนาจฟ้องได้
การเป็นโจทก์ฟ้องคดี แม้จะถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่หากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและมีความมุ่งหมายหรือเจตนาที่จะให้จำเลยได้รับความเสียหาย ก็ย่อมเป็นการละเมิด
การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอก็เป็นเพียงการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานเรื่องความเป็นทายาทจากคำรับของจำเลย และอำนาจฟ้องในคดีผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานทายาทโดยชอบธรรมของ ถ. ผู้ตายซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้เป็นทายาทโดยชอบธรรมของผู้ตาย แต่ในชั้นพิจารณาปรากฏว่า ทนายโจทก์นำพยานเข้าสืบ 1 ปาก แล้วแถลงขอเลื่อนการพิจารณาไปสืบพยานโจทก์เกี่ยวกับการรับโอนสิทธิเรียกร้อง การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี รวมถึงการบอกกล่าวไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้ตาย ทนายจำเลยแถลงยอมรับว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยโดยชอบแล้ว คำแถลงของทนายจำเลยย่อมหมายความถึงยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์แถลงว่าจะขอเลื่อนไปสืบพยานในประเด็นที่ว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายแล้ว ไม่อาจแปลว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงเพียงบางส่วนว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยเท่านั้น โดยไม่ยอมรับเกี่ยวกับความเป็นทายาทของผู้ตายของจำเลยด้วย จึงฟังได้ว่าจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงในเรื่องความเป็นทายาทของผู้ตายแล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามคำรับของจำเลย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวอีกต่อไป ตามป.วิ.พ. มาตรา 84 (1)
ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะจำเลยมิใช่ทายาทของผู้ตาย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง โดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องและคดีมีประเด็นอื่นจำต้องให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยความรับผิดระหว่างโจทก์จำเลยต่อไปตามรูปคดี จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาในประเด็นข้ออื่นดังกล่าวต่อไปตามรูปคดี ตามป.วิ.พ. มาตรา 243 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ของผู้ปฏิเสธความรับผิด, การส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามสัญญา, ผลของการไม่สามารถพิสูจน์ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองสั่งซื้อสินค้าประเภทหินแกรนิตจากโจทก์หลายครั้ง แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าตามกำหนด จำเลยที่ 1 ให้การว่า สินค้าที่ซื้อจากโจทก์ส่วนหนึ่งจำเลยที่ 1 นำไปใช้ในโครงการก่อสร้างอาคาร ส. ตามสัญญาที่ทำไว้กับบริษัท ท. ซึ่งเป็นผู้รับเหมาโครงการดังกล่าว แต่เนื่องจากสินค้าที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยที่ 1 ไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถูกบริษัท ท. ปรับเป็นเงินจำนวน 4,000,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับค่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเรื่องการส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้องตามสัญญาขึ้นปฏิเสธความรับผิด จำเลยที่ 1 จึงมีภาระการพิสูจน์
ปัญหาเรื่องการกำหนดภาระการพิสูจน์ผิดพลาดเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความฝ่ายใดไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาแต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วชี้ขาดตัดสินคดีไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6385/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาหมั้น: การกระทำของคู่หมั้นเป็นเหตุให้ฝ่ายหนึ่งไม่สมควรสมรส และสิทธิเรียกร้องสินสอด
การที่โจทก์ที่ 2 ตกลงหมั้นหมายกับจำเลยที่ 2 นั้น แสดงว่าโจทก์ที่ 2 ประสงค์ที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกับจำเลยที่ 2 และในฐานะคู่หมั้นโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นฝ่ายหญิงย่อมต้องคาดหวังในตัวจำเลยที่ 2 ว่า จะเป็นผู้ที่สามารถนำพาครอบครัวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไปสู่ความเจริญและมั่นคง การที่โจทก์ที่ 2 พยายามปลุกจำเลยที่ 2 ให้ตื่นเพื่อให้ไปช่วยรดน้ำข้าวโพดอันเป็นงานที่อยู่ในวัยที่จำเลยที่ 2 จะช่วยเหลือได้ แต่จำเลยที่ 2 กลับอิดออด ซ้ำยังหลบเข้าไปในห้อง เมื่อโจทก์ที่ 2 ตามเข้าไปก็กระโดดหนีออกทางประตูหลังบ้าน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 หาได้เอาใจใส่ช่วยเหลือคู่หมั้นของตนตามที่ควรจะเป็น จึงย่อมเป็นธรรมดาที่โจทก์ที่ 2 จะรู้สึกไม่พอใจและแสดงออกซึ่งความรู้สึกไม่พอใจดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ที่ 2 ใช้มีดงัดกลอนประตูห้อง รวมทั้งการวิ่งไล่ตามและตบหน้าจำเลยที่ 2 แม้จะเป็นเรื่องไม่เหมาะสมและเกินเลยไปบ้าง แต่ก็เชื่อว่าเป็นเรื่องของอารมณ์ชั่ววูบเท่านั้น หาใช่เป็นนิสัยที่แท้จริงของโจทก์ที่ 2 ไม่ ทั้งนี้เพราะจำเลยที่ 2 และโจทก์ที่ 2 รู้จักกันมาตั้งแต่ทั้งสองฝ่ายยังเป็นเด็กย่อมต้องทราบนิสัยใจคอของกันและกันเป็นอย่างดี หากโจทก์ที่ 2 มีความประพฤติไม่ดีจำเลยที่ 2 คงไม่ไปขอหมั้นโจทก์ที่ 2 เป็นแน่ หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ยังไปบ้านโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 1 พยายามไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 2 สมรสกับโจทก์ที่ 2 แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้ถือเอาเรื่องดังกล่าวเป็นสาระสำคัญและโกรธเคืองโจทก์ที่ 2 การกระทำของโจทก์ที่ 2 ดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นอันทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยอมสมรสกับโจทก์ที่ 2 จึงถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องคืนของหมั้น และมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระค่าใช้จ่ายอันสมควรในการเตรียมการสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1440 (2) และสาเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมสมรสกับโจทก์ที่ 2 นั้น เนื่องจากจำเลยทั้งสองอ้างว่ามีเหตุสำคัญอันเกิดแก่โจทก์ที่ 2 ดังนั้น กำหนดวันสมรสจึงไม่ใช่ข้อสำคัญที่จะนำมาพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการหมั้นได้กำหนดวันสมรสไว้ล่วงหน้าหรือไม่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1437 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า "สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณีเพื่อตอบแทนการที่หญิงยินยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้" ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองตกลงว่าจะให้สินสอดแก่โจทก์ที่ 1 เพื่อเป็นการตอบแทนที่โจทก์ที่ 2 ยอมสมรสด้วยแต่การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 2 ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกสินสอดจากจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อจำนำ และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้สลักหลัง
จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 ได้จำนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่บริษัทเงินทุนทรัพย์ ส. เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำ จึงมีฐานะเสมือนเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ผู้จำนำ ดังนั้น แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการสลักหลังเพื่อจำนำ การที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำสลักหลังโอนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจึงมีผลเท่ากับเป็นการสลักหลังของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคหนึ่ง ผู้รับสลักหลังมีสิทธิเท่ากับผู้รับจำนำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับสลักหลังมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 3 รับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงมีสิทธิเพียงไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินและการสลักหลังโดยตัวแทน สิทธิของผู้รับสลักหลังจำกัดเฉพาะไล่เบี้ยผู้ออก
จำเลยที่ 3 จำนำตั๋วสัญญาใช้เงินแก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงมีฐานะเสมือนเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ก็ต้องถือว่าเป็นการสลักหลังเพื่อจำนำ การที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำสลักหลังโอนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจึงมีผลเท่ากับเป็นการสลักหลังของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคหนึ่ง ผู้รับสลักหลังมีสิทธิเท่ากับผู้รับจำนำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับสลักหลังมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 3 รับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงมีสิทธิเพียงไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6044/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินก่อนของผู้เช่านา vs. สัญญาจะซื้อจะขาย: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องความชอบธรรมของสิทธิ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จะซื้อที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 มีการวางมัดจำกันไว้แล้วบางส่วน จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันคือชำระราคาส่วนที่เหลือ และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่กัน ดังนั้น การที่โจทก์มายื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เพื่อขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ อ้างว่าโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาจึงมีสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทได้ก่อนจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 โดยตรง เพราะแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 แต่การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ ย่อมเป็นผลให้จำเลยที่ 1 เสียสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลในคดีนี้เพื่อให้ฟังว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เช่านา แต่สมรู้กับจำเลยที่ 2 มาฟ้องคดีนี้ และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วยได้ และปัญหาว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้
การที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ว่า โจทก์สมคบกับจำเลยที่ 2 มาฟ้องคดีนี้ เพราะจำเลยที่ 2 ต้องการที่ดินพิพาทคืน จำเลยที่ 1 จึงมิใช่คู่ความเดียวกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิถามค้านพยานจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 117 วรรคสอง แต่ก็เป็นดุลยพินิจของศาลตามกฎหมายด้วยในการพิจารณาว่า ข้อเท็จจริงที่ได้จากทางพิจารณาเพียงพอแล้วหรือไม่ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ถามค้านพยานจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่า ไม่มีเหตุสมควรต้องย้อนสำนวนลงไปเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่
บุคคลที่จะขอใช้สิทธิซื้อที่นาได้ก่อนผู้อื่นตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 และมาตรา 54 จะต้องเป็นผู้เช่านาตามกฎหมาย โดยเป็นผู้เช่าที่ดินดังกล่าวทำนาโดยแท้จริงเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6042/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกทอดสิทธิเช่าซื้อที่ดินหลังผู้เช่าซื้อเสียชีวิต ตามระเบียบปฏิรูปที่ดินฯ สิทธิตกแก่คู่สมรสก่อน
ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ระบุว่า หากผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมในระหว่างที่เช่าซื้อ... ที่ดินที่เช่าซื้อจะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ซึ่งมาตรา 39 บัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม... ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" แต่ไม่ปรากฏว่ามีการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายมาตราดังกล่าวแต่อย่างใด แต่ก็มีระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 30 วรรคหก ของพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง ได้บัญญัติว่าเมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง เมื่อระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดังกล่าวใช้บังคับอยู่ก่อนที่ ฉ. ถึงแก่กรรม จึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดังกล่าวมาใช้กับที่ดินที่ ฉ. เช่าซื้อตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อข้อ 10 การสืบสิทธิการเช่าซื้อที่ดินของ ฉ. จึงต้องเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดังกล่าว ดังนั้นสิทธิการเช่าซื้อของ ฉ. จึงตกทอดทางมรดกแก่คู่สมรสเป็นอันดับแรกก็คือโจทก์นั่นเองตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 หมวด 2 การตกทอดทางมรดกของสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อข้อ 11 ที่กำหนดว่า "เมื่อเกษตรกรถึงแก่กรรมให้สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อตกทอดแก่คู่สมรสเป็นอันดับแรก" ดังนั้นมติของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่วินิจฉัยให้แบ่งสิทธิการเช่าซื้อของ ฉ. จึงไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องดำเนินการแบ่งสิทธิการเช่าซื้อของ ฉ. แก่โจทก์ทั้งหมด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคดีทรัพย์มรดก: คดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. ฟ้องเรียกเงินฝากจำนวน 255,859.02 บาท ที่ฝากไว้กับธนาคารจำเลยคืน โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ผู้ตาย ซึ่งหากศาลพิพากษาให้ตามขอก็ย่อมทำให้จำนวนทรัพย์มรดกที่จะนำมาแบ่งให้แก่ทายาทเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นไม่เกิน 300,000 บาท ก็ย่อมอยู่ในอำนาจที่ศาลแขวงจะพิจารณาพิพากษาได้
of 51