คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนตรี ยอดปัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ที่ดินเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์หลังการประกาศเดินสายไฟฟ้า: ผู้รับโอนมีสิทธิได้รับค่าทดแทน
แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ค. ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้าก็ตาม แต่การจ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ในกรณีนี้ มิได้มีกฎหมายใด ๆ บัญญัติห้ามมิให้จ่ายแก่ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากเจ้าของเดิมที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินอยู่ก่อนแต่ยังไม่ได้รับอย่างใด สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินของ ค. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในขณะที่จำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้ามิได้เป็นสิทธิเฉพาะตัวที่จะไม่ตกทอดไปยังผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินรายใหม่ นอกจากนั้นไม่ปรากฏว่า ค. ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลเรียกเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคหนึ่งมาก่อน ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ใด หรือได้นำเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินไปวางไว้ต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคาร อ. แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจากจำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้าก็ตามก็ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ในปัจจุบันเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ พิจารณาจากราคาที่ดินจริงและปัจจัยอื่นประกอบ
สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินของ ค. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้ามิได้เป็นสิทธิเฉพาะตัวที่จะไม่ตกทอดไปยังผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินรายใหม่ ทั้ง ค. มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลเรียกเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 ทวิ วรรคหนึ่ง มาก่อนฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินให้แก่ผู้ใดหรือได้นำเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินไปวางไว้ต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสิน แม้โจทก์จะซื้อที่ดินมาจาก ค.ภายหลังจากจำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้า ก็ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ในปัจจุบันเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง
การที่จะกำหนดและจ่ายเงินทดแทนการใช้ที่ดินตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายเนื่องจากผู้พิพากษาลงลายมือชื่อโดยมิชอบ และการดำเนินการเรื่องคู่ความหลังมรณะไม่ถูกต้อง
โจทก์ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องแก่จำเลย โดยจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์และไม่ปรากฏว่าได้คัดค้านคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาดังกล่าว แล้วต่อมา ย. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ กรณีจึงย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ของ ย. ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้ ย. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้นั้น จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและเป็นข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้มิได้มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คดีนี้ ศาลชั้นต้นโดยองค์คณะผู้พิพากษา 2 คน ได้ทำการพิจารณาและพิพากษายกฟ้องตามคำพิพากษา ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2545 ต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2548 ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในขณะนั้นเป็นผู้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา และนัดฟังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในวันที่ 10 มิถุนายน 2548 แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นลงวันที่ 10 มิถุนายน 2548 นั้น มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อทำคำพิพากษา โดยผู้พิพากษาคนดังกล่าวไม่ได้นั่งพิจารณาคดีนี้และมิใช่บุคคลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29(3) ที่จะมีอำนาจลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาหลังจากได้ตรวจสำนวนคดีนี้แล้วได้ ทั้งคดีนี้มิใช่เป็นกรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นลงวันที่ 10 มิถุนายน 2548 จึงเป็นคำพิพากษาที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คดีมีประเด็นข้อพิพาทโต้แย้งกันว่า จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์หยุดทำกิจการทำไม้ป่าชายเลนที่ได้รับสัมปทานตามสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนเอกสารหมาย จ.4 เป็นการชั่วคราวอันจะเป็นเหตุให้จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนกับโจทก์หรือไม่ และจะต้องจ่ายเงินชดเชยความเสียหายกับคืนเงินประกันในการที่จะต้องชำระเบี้ยปรับตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด อันเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่มีอยู่ในสำนวนตามที่คู่ความทั้งสองฝ่ายนำสืบแล้วทำคำพิพากษาใหม่ต่อไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2548 โดยมิได้มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยซ้ำอีกแล้วสรุปว่าโจทก์ไม่อาจเรียกเงินค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินวางประกันความเสียหายตามสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน เนื่องจากขณะฟ้อง สัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันจนสิ้นอายุสัมปทานตามมติคณะรัฐมนตรีครั้งใหม่ที่ทบทวนมติเดิมตามเอกสาร หมาย จ.35 เป็นทำนองว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั่นเอง ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องควบคู่กับการวางค่าธรรมเนียมและชำระตามคำพิพากษา หรือประกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินและมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในคราวเดียวกัน จำเลยจะต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ด้วย ทั้งต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยจะเลือกอุทธรณ์เฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลเพียงอย่างเดียวหาได้ไม่ อุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมา และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยให้ จึงเป็นการไม่ชอบและไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการรับรองหนี้: ความรับผิดของผู้โอนและผู้รับโอน
การที่จำเลยที่ 1 นำสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 มาโอนให้แก่โจทก์ และโจทก์ตกลงชำระค่าตอบแทนจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 และ 306 โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ในนามของโจทก์เมื่อลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ และแม้โจทก์จะสามารถดำเนินการบังคับให้ลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีข้อตกลงในข้อ 6 ที่จำเลยที่ 1 รับรองลูกค้าที่โอนหนี้เป็นลูกค้าชั้นดี หากลูกค้าปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือลูกค้าไม่ต้องชำระหนี้ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องเป็นเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ลูกค้าไม่ชำระหนี้ตามมูลหนี้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะได้ชำระหนี้คืนครบถ้วนดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงยังต้องรับผิดชำระหนี้ในสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่โจทก์ไปแล้วตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ ฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี กรณีหาใช่การฟ้องเรียกลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ในมูลหนี้อันเกิดจากสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับลูกหนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: ผู้รับโอนมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้โอนหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
จำเลยที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ และโจทก์ตกลงชำระค่าตอบแทนจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 และ 306 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ในนามของโจทก์ แต่เมื่อตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีข้อตกลงในข้อ 6 ว่า "หากลูกค้าปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือลูกค้าไม่ต้องชำระหนี้ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ ให้แก่ผู้รับโอน ผู้โอนตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนเป็นเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ลูกค้าไม่ชำระหนี้ตามมูลหนี้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไปจนกว่าผู้รับโอนจะได้ชำระหนี้คืนครบถ้วน และผู้รับโอนจะมีสิทธินำเงินที่หักไว้ตามสัญญาข้อ 4 หรือค่าตอบแทนที่ผู้โอนจะได้รับจากการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นมาหักชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้โอนทราบ..." ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงยังต้องรับผิดชำระหนี้ในสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่โจทก์ไปแล้วตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาโอนให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญา จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญาโอนสิทธเรียกร้องซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนจากจำเลยที่ 1 เรียกให้ลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ในมูลหนี้อันเกิดจากสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับลูกหนี้อันมีอายุความ 2 ปี ฟ้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับ การขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกบนที่ดินผู้อื่นมิได้เป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาต
กรณีบุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนหรือรับรองว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบ้านที่ผู้ร้องปลูกอยู่บนที่ดินของผู้อื่นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้ หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าวประการใด ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจโดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 สำหรับ ป.ที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดินฯ นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงวิธีการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินที่ได้กรรมสิทธิ์มาด้วยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 มิใช่กฎหมายใกล้เคียงที่อาจนำมาใช้แก่กรณีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการแสดงกรรมสิทธิ์บ้านบนที่ดินของผู้อื่น ต้องมีกฎหมายรองรับชัดเจน จึงจะยื่นคำร้องต่อศาลได้
บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้นๆ ได้ แต่กรณีตามคำร้องขอของผู้ร้องซึ่งร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบ้านที่ผู้ร้องปลูกอยู่ในที่ดินของผู้อื่นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำเช่นนั้นได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาล หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้อย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ส่วน ป.ที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงวิธีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1382 มิใช่กฎหมายใกล้เคียงที่นำมาใช้แก่กรณีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดต่อชื่อเสียงจากบทความข่าว การร่วมรับผิดของนายจ้างและบรรณาธิการ การกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้วว่า จำเลยทั้งสามลงพิมพ์ข้อความเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 อันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงและมิใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมเป็นละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทางทำมาหาได้และทางเจริญในกิจการของโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ ส่วนการคิดคำนวณค่าเสียหายอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจะต้องบรรยายมาในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 เขียนข่าวลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจสืบเนื่องจาก ว. เพื่อนของจำเลยที่ 2 มาแจ้งให้ทราบว่าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลของโจทก์ 1 คืน เสียค่ารักษาพยาบาลประมาณ 4,000 บาท แพงกว่าที่โรงพยาบาลประมาณไว้ 3,000 บาท แต่จำเลยที่ 2 ลงข่าวมีข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์อ่านแล้วเป็นที่เข้าใจว่าโรงพยาบาลศรีสยามได้กลายเป็นโรงฆ่าสัตว์ แพทย์ของโรงพยาบาลเป็นโจรในเครื่องแบบสีขาว โรงพยาบาลเป็นโรงทรมานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ซึ่งไม่ได้เป็นข้อความที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลคิดค่ารักษาพยาบาลแพงเกินกว่าความเป็นจริงตามที่จำเลยที่ 2 รับทราบมา จึงไม่ใช่ข้อความที่ติชมด้วยความสุจริตเป็นธรรมเพื่อปกปักรักษาประโยชน์สังคมโดยส่วนรวม การที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจลงพิมพ์โฆษณาต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423
จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ต้องรับผิดชอบในข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ตนคัดเลือกนำมาลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งหมด จะอ้างว่าโดยปกติตนจะตรวจข่าวในกรอบพาดหัวหน้า 1 เป็นหลัก ข่าวในส่วนปลีกย่อยจะไม่ให้ความสนใจนั้นไม่ได้ เมื่อข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดก็จะต้องรับผิดเพราะตนเป็นผู้จัดการไขข่าวให้แพร่หลาย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การเปลี่ยนแปลงได้หากไม่ขัดแย้งชัดเจนและยังอยู่ในอำนาจต่อสู้คดี ศาลต้องพิจารณาตามพฤติการณ์
จำเลยให้การตอนต้นว่า โจทก์ได้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่ พ. แล้ว พ. นำรถยนต์พิพาทมาขายให้จำเลย แต่ตอนหลังกลับให้การว่า พ. เป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของโจทก์ โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียค่าตอบแทน เป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างคำฟ้องของโจทก์ในข้อเท็จจริง ซึ่งมีผลทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงตามที่จำเลยให้การต่อสู้เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ พ. โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิให้การต่อสู้คดีไปตามพฤติการณ์แห่งข้อเท็จจริงเท่าที่จำเลยพึงให้การได้ ทั้งในการซื้อขาย เจ้าของทรัพย์อาจทำสัญญาซื้อขายโดยตนเองหรือโดยมีตัวแทนไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือปริยายทำการขายทรัพย์สินนั้นแทนก็ได้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันหรือไม่ชัดแจ้งจนถึงขนาดที่ไม่อาจนำสืบไปในทางหนึ่งทางใดได้ ถือว่าเป็นคำให้การที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว
of 51