พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า 'ตรากุ้งมังกร' ไม่เล็งถึงลักษณะน้ำปลา ศาลยืนรับจดทะเบียน
คำว่า "กุ้ง" ไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าน้ำปลาโดยตรง ทั้งเมื่อกล่าวถึงคำว่า "กุ้ง" ก็ไม่ทำให้สาธารณชนนึกถึงสินค้าน้ำปลา
ประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย กำหนดในทำนองเดียวกับประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2535 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คือ กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า "น้ำปลาและกะปิ" คือ "กุ้ง" และกำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า "น้ำปลา" คือ "ปลา" ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า "กุ้ง" เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า "น้ำปลา" จึงไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็นคนละกรณีกัน
ประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย กำหนดในทำนองเดียวกับประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2535 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คือ กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า "น้ำปลาและกะปิ" คือ "กุ้ง" และกำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า "น้ำปลา" คือ "ปลา" ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า "กุ้ง" เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า "น้ำปลา" จึงไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็นคนละกรณีกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า "TIMEWALKER" ไม่สามารถจดทะเบียนได้ เพราะสื่อถึงลักษณะสินค้าโดยตรง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร แม้ว่าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุด ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อเจ้าพนักงานอื่นของฝ่ายบริหารต่อไปอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยยืนย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการบรรยายฟ้องว่ามีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๒๖ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา ๕๕ แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้คำว่า "TIMEWALKER" จะเป็นคำที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรม แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องและนำสืบว่า คำว่า "TIMEWALKER" เป็นการนำเอาคำว่า "TIME" และคำว่า "WALKER" มาเรียงต่อกันเกิดเป็นคำใหม่ โจทก์แปลคำดังกล่าวว่า "ผู้เดินเวลาที่มีชีวิต" ซึ่งเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าคำนั้นสามารถแปลความหรือสื่อความหมายได้ หาใช่เป็นคำประดิษฐ์หรือคำใหม่ที่ไม่มีความหมาย และการแปลความของโจทก์ก็เป็นการแปลจากคำว่า "TIME" และคำว่า "WALKER" นั่นเอง เมื่อพจนานุกรมให้ความหมายคำว่า "TIME" ว่าหมายถึง เวลา และคำว่า "WALKER" หมายถึง การเดิน ผู้เดิน หรือผู้ชอบเดิน คำว่า "TIMEWALKER" จึงอาจสื่อถึงความหมายได้หลายประการ การที่โจทก์แปลความว่า "ผู้เดินเวลาที่มีชีวิต" ก็อาจเป็นไปได้ตามความมุ่งหมายของโจทก์ และขณะเดียวกันคำว่า "TIMEWALKER" ก็สื่อถึงความหมายว่า ผู้เดินเวลา หรือเครื่องมือที่เดินตามเวลา ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจถึงนาฬิกาซึ่งเป็นเครื่องบอกเวลาได้เช่นกัน เมื่อโจทก์นำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๑๔ รายการสินค้า นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาพก และนาฬิกาแขวน จึงถือได้ว่าคำว่า "TIMEWALKER" เป็นคำที่บรรยายลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกนาฬิกาของโจทก์อันเป็นการเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๗ วรรคสอง (๒) คำดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ อันจะพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา ๖
แม้คำว่า "TIMEWALKER" จะเป็นคำที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรม แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องและนำสืบว่า คำว่า "TIMEWALKER" เป็นการนำเอาคำว่า "TIME" และคำว่า "WALKER" มาเรียงต่อกันเกิดเป็นคำใหม่ โจทก์แปลคำดังกล่าวว่า "ผู้เดินเวลาที่มีชีวิต" ซึ่งเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าคำนั้นสามารถแปลความหรือสื่อความหมายได้ หาใช่เป็นคำประดิษฐ์หรือคำใหม่ที่ไม่มีความหมาย และการแปลความของโจทก์ก็เป็นการแปลจากคำว่า "TIME" และคำว่า "WALKER" นั่นเอง เมื่อพจนานุกรมให้ความหมายคำว่า "TIME" ว่าหมายถึง เวลา และคำว่า "WALKER" หมายถึง การเดิน ผู้เดิน หรือผู้ชอบเดิน คำว่า "TIMEWALKER" จึงอาจสื่อถึงความหมายได้หลายประการ การที่โจทก์แปลความว่า "ผู้เดินเวลาที่มีชีวิต" ก็อาจเป็นไปได้ตามความมุ่งหมายของโจทก์ และขณะเดียวกันคำว่า "TIMEWALKER" ก็สื่อถึงความหมายว่า ผู้เดินเวลา หรือเครื่องมือที่เดินตามเวลา ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจถึงนาฬิกาซึ่งเป็นเครื่องบอกเวลาได้เช่นกัน เมื่อโจทก์นำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๑๔ รายการสินค้า นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาพก และนาฬิกาแขวน จึงถือได้ว่าคำว่า "TIMEWALKER" เป็นคำที่บรรยายลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกนาฬิกาของโจทก์อันเป็นการเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๗ วรรคสอง (๒) คำดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ อันจะพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา ๖
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3685/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความหมายคำและพฤติกรรมการใช้จริง
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้ามีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ ต้องพิจารณาความหมายของคำในเครื่องหมายการค้าประกอบกับตัวสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียน โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LASERJET ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์จากการผสมคำ เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 2 ประเภทหมึกที่บรรจุในตลับคาร์ทริดจ์สำหรับเครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องพิมพ์ โดยคำว่า LASER มีความหมายว่า คลื่นแสงที่ขยายกำลังแต่ถูกส่งออกมาเป็นลำแสงที่แคบอาจเรียกว่า ลำแสงเลเซอร์ ส่วนคำว่า JET แปลความหมายได้ว่า ของเหลว แก๊ส หรือฝุ่นที่พ่นออกมาเป็นลำ คำว่า LASERJET จึงมิได้หมายความเพียงว่า ของเหลวที่พุ่งออกมาดังที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัย แต่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงว่า สินค้าผงหมึกของโจทก์มีลักษณะการทำงานด้วยการพ่นออกมาเป็นลำคล้ายแสงเลเซอร์ไม่ว่าจะพ่นเป็นแสง ของเหลว ผง หรือฝุ่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า LASERJET กับเครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ ทั้งได้โฆษณาเผยแพร่และจำหน่ายสินค้าเครื่องพิมพ์กับหมึกพิมพ์ในประเทศไทยมานานจนสาธารณชนในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า LASERJET ของโจทก์แตกต่างจากสินค้าหมึกพิมพ์ของผู้อื่น เครื่องหมายการค้า LASERJET จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า LASERJET กับเครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ ทั้งได้โฆษณาเผยแพร่และจำหน่ายสินค้าเครื่องพิมพ์กับหมึกพิมพ์ในประเทศไทยมานานจนสาธารณชนในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า LASERJET ของโจทก์แตกต่างจากสินค้าหมึกพิมพ์ของผู้อื่น เครื่องหมายการค้า LASERJET จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ ห้ามใช้คำที่บ่งบอกลักษณะสินค้าโดยตรง
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ ซึ่งทำขึ้นก่อนฟ้อง หลังจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยยืนตาม ได้มอบอำนาจไว้อย่างกว้างขวางและระบุไว้ชัดเจนว่าโจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีต่อสู้คดีทางอาญาและทางแพ่งอันเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในศาลได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงเป็นการมอบอำนาจแก่ผู้ดำเนินคดีนี้แทนโจทก์แล้ว
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายืนตามคำสั่งของนายทะเบียน ไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายใดบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องภายหลังกำหนดดังกล่าวได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นสาระสำคัญสองส่วน คือคำที่เป็นตัวอักษรโรมันสองคำรวมกันในลักษณะประดิษฐ์ คือคำว่า POPCORN อ่านว่า ป๊อบคอร์น แปลว่า ข้าวโพดคั่ว และคำว่า CHICKEN อ่านว่า ชิคเคน แปลว่าไก่ เมื่อรวมคำกันแล้วแปลว่า ไก่ข้าวโพดคั่ว เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 29 รายการสินค้า 18 รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ เน้นที่สัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม คำว่า POPCORN CHICKEN อาจจัดอยู่ในความหมายของสินค้ารายการที่ 1) เนื้อสัตว์ 2) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 4) สัตว์ปีกไม่มีชีวิต 5) ผลิตภัณฑ์ทำจากสัตว์ปีก และ 6) สัตว์ล่าไม่มีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ารายการที่ 17) อาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม ทั้งเมื่อพิเคราะห์เฉพาะคำว่า POPCORN มีความหมายเดียวกันกับสินค้ารายการที่ 9) ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธี และที่ 10) ผักที่ผ่านกรรมวิธี ส่วนลำพังคำว่า CHICKEN ก็เป็นคำสามัญในการค้าขายสินค้าตามรายการข้างต้น เครื่องหมายการค้า POPCORN CHICKEN เมื่อจะนำไปใช้กับสินค้าต่าง ๆ ตามความประสงค์ของโจทก์ดังที่แสดงออกไว้ในคำขอจดทะเบียน จึงนับได้ว่ามุ่งประสงค์ที่จะให้เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ารายการที่ 17) อาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 6 (1) หากยอมรับให้จดทะเบียนคำที่เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรงเช่นนี้ได้ย่อมจะทำให้โจทก์ผูกขาดการใช้คำสามัญที่แสดงลักษณะของการนำพืชหรือสัตว์มาทำการแปรรูปเป็นอาหาร อันเป็นการกีดกันสิทธิของบุคคลทั่วไปที่จะใช้คำเหล่านั้นโดยชอบเกี่ยวกับการค้าของตน
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายืนตามคำสั่งของนายทะเบียน ไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายใดบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่ทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องภายหลังกำหนดดังกล่าวได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นสาระสำคัญสองส่วน คือคำที่เป็นตัวอักษรโรมันสองคำรวมกันในลักษณะประดิษฐ์ คือคำว่า POPCORN อ่านว่า ป๊อบคอร์น แปลว่า ข้าวโพดคั่ว และคำว่า CHICKEN อ่านว่า ชิคเคน แปลว่าไก่ เมื่อรวมคำกันแล้วแปลว่า ไก่ข้าวโพดคั่ว เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 29 รายการสินค้า 18 รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ เน้นที่สัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม คำว่า POPCORN CHICKEN อาจจัดอยู่ในความหมายของสินค้ารายการที่ 1) เนื้อสัตว์ 2) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 4) สัตว์ปีกไม่มีชีวิต 5) ผลิตภัณฑ์ทำจากสัตว์ปีก และ 6) สัตว์ล่าไม่มีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ารายการที่ 17) อาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม ทั้งเมื่อพิเคราะห์เฉพาะคำว่า POPCORN มีความหมายเดียวกันกับสินค้ารายการที่ 9) ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธี และที่ 10) ผักที่ผ่านกรรมวิธี ส่วนลำพังคำว่า CHICKEN ก็เป็นคำสามัญในการค้าขายสินค้าตามรายการข้างต้น เครื่องหมายการค้า POPCORN CHICKEN เมื่อจะนำไปใช้กับสินค้าต่าง ๆ ตามความประสงค์ของโจทก์ดังที่แสดงออกไว้ในคำขอจดทะเบียน จึงนับได้ว่ามุ่งประสงค์ที่จะให้เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ารายการที่ 17) อาหารที่มีไก่เป็นส่วนผสม จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 6 (1) หากยอมรับให้จดทะเบียนคำที่เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรงเช่นนี้ได้ย่อมจะทำให้โจทก์ผูกขาดการใช้คำสามัญที่แสดงลักษณะของการนำพืชหรือสัตว์มาทำการแปรรูปเป็นอาหาร อันเป็นการกีดกันสิทธิของบุคคลทั่วไปที่จะใช้คำเหล่านั้นโดยชอบเกี่ยวกับการค้าของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: คำว่า DERMACREAM เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะสินค้า จึงจดทะเบียนไม่ได้
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น ย่อมหมายถึงคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หากผู้ขอจดทะเบียนยังไม่เห็นด้วยกับเหตุผลในคำวินิจฉัยว่าลักษณะของเครื่องหมายการค้าของผู้ขอมีลักษณะไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนและคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรแล้ว ผู้ขอย่อมนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้ทบทวนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้านั้นว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMACREAM ของโจทก์ โดยตั้งข้อหาไว้ชัดเจนว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ระบุรายการสินค้าในแต่ละคำขอไว้หลายรายการนั้นเป็นลักษณะของการพิจารณาเป็นรายคำขอ มิใช่ต้องพิจารณาสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเมื่อนายทะเบียนพบลักษณะที่ต้องห้ามมิให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าชนิดใดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอนั้น หากโจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ต้องห้ามจดทะเบียนสำหรับสินค้าชนิดใดเพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง โจทก์ก็ชอบที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าชนิดนั้นโดยระบุเฉพาะสินค้าชนิดนั้นในคำขอจดทะเบียนได้
เมื่อพิจารณาจากรายการสินค้าในจำพวกที่ 3 ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMACREAM ซึ่งมีความหมายว่าครีมหรือของเหลวสำหรับผิวหนัง ล้วนเป็นสินค้าที่เป็นของเหลวหรือมีของเหลวอยู่ด้วยซึ่งใช้กับผิวหนังทั้งสิ้น โดยเฉพาะโลชั่นใช้กับเด็กอ่อนเห็นได้ชัดว่าเป็นของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง และสินค้าในจำพวกที่ 16 ก็เป็นสินค้าที่มีส่วนผสมของของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง คำว่า DERMACREAM จึงเป็นคำที่มีความหมายเล็งถึงลักษณะของสินค้าในจำพวกที่ 3 และที่ 16 ดังกล่าวโดยตรงอันไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 (1) และ มาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ระบุรายการสินค้าในแต่ละคำขอไว้หลายรายการนั้นเป็นลักษณะของการพิจารณาเป็นรายคำขอ มิใช่ต้องพิจารณาสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเมื่อนายทะเบียนพบลักษณะที่ต้องห้ามมิให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าชนิดใดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอนั้น หากโจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ต้องห้ามจดทะเบียนสำหรับสินค้าชนิดใดเพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง โจทก์ก็ชอบที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าชนิดนั้นโดยระบุเฉพาะสินค้าชนิดนั้นในคำขอจดทะเบียนได้
เมื่อพิจารณาจากรายการสินค้าในจำพวกที่ 3 ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMACREAM ซึ่งมีความหมายว่าครีมหรือของเหลวสำหรับผิวหนัง ล้วนเป็นสินค้าที่เป็นของเหลวหรือมีของเหลวอยู่ด้วยซึ่งใช้กับผิวหนังทั้งสิ้น โดยเฉพาะโลชั่นใช้กับเด็กอ่อนเห็นได้ชัดว่าเป็นของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง และสินค้าในจำพวกที่ 16 ก็เป็นสินค้าที่มีส่วนผสมของของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง คำว่า DERMACREAM จึงเป็นคำที่มีความหมายเล็งถึงลักษณะของสินค้าในจำพวกที่ 3 และที่ 16 ดังกล่าวโดยตรงอันไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 (1) และ มาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนและให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตามบทบัญญัติมาตรา 18 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ ตามคำฟ้องของโจทก์ได้โต้แย้งว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่นายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า สั่งและวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง คดีนี้ต่อศาลได้ คำว่า "CONCERT" ซึ่งมีความหมายว่าการแสดงดนตรีสากลโดยใช้เครื่องดนตรีวงใหญ่และอาจมีนักร้องประสานเสียงด้วยหรือมโหรีสังคีตและการประสานเสียงเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกวิทยุ ตู้ลำโพง โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอและเครื่องขยายเสียง คำว่า "CONCERT" หาใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรงไม่เพราะสินค้าวิทยุและตู้ลำโพงมิใช่สินค้าที่ใช้รับฟังได้เฉพาะเสียงการแสดงดนตรี มโหรีสังคีตหรือการประสานเสียงเท่านั้น หากแต่ใช้รับฟังเสียงอื่นได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงคนหรือสัตว์เดินหรือวิ่งเสียงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่นทะเล ฟ้าร้องเสียงการทำและปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม และเสียงอื่น ๆอีกมากมาย เสียงดนตรีจึงเป็นเพียงเสียงอย่างหนึ่งในบรรดาเสียงอื่นอีกมากมายที่รับฟังได้จากวิทยุและตู้ลำโพงส่วนโทรทัศน์และเครื่องเล่นวีดีโอก็ใช้ได้ทั้งชมภาพและฟังเสียงทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรี เครื่องขยายเสียงก็สามารถขยายเสียงได้ทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรีเช่นกันความหมายของคำว่า "CONCERT" เน้นไปที่การแสดงดนตรีวงใหญ่ที่ทำให้เกิดเสียงดนตรีขึ้นมา แต่เสียงอื่นที่มิได้เกิดจากการแสดงมีได้มากมายหลายกรณี คำว่า "CONCERT"จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าวิทยุตู้ลำโพง โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอ และเครื่องขยายเสียง โดยตรงย่อมมีลักษณะบ่งเฉพาะเมื่อนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติมาตรา 7 วรรคสอง(2)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534เครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์จึงมีลักษณะพึงรับการจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากรกระทรวงศึกษาธิการไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือของเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์พ.ศ. 2535 มาตรา 3 กำหนดให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น รวมทั้งดำเนินการด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น และมาตรา 5 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า กองทะเบียนและหนังสือสำคัญ กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการ เกี่ยวกับการประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา จัดเก็บเอกสารทางทะเบียนรวมทั้งออกหนังสือรับรองและต่ออายุ ทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไข เปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และกองบริการ และเผยแพร่มีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษา แนะนำ และบริการ เกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจัดทำสารบบ และกำกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นไปตามกฎหมาย จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเห็นได้ว่า การดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 ที่เป็นปัญหาข้อพิพาทกันในคดีนี้อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยเพื่อให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งหมดจำเลยจึงไม่อาจอ้างว่า ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวข้องการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและอธิบดีกรมจำเลยมีเพียงเสียงเดียวเท่านั้นในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้แม้โจทก์มิได้ฟ้องข้าราชการในกรมจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ผู้อื่นเป็นจำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยในคดีนี้ เพื่อให้รับผิดได้ เมื่อคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบที่ศาลจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าว และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์ต่อไปเท่านั้นศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทันทีได้ เพราะจำเลยต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนของโจทก์ตามขั้นตอนตามกฎหมายคือพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 อันได้แก่การที่นายทะเบียนต้องมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบและให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาต่อไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และการที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏ ในคำฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: คำว่า 'CONCERT' ไม่ขัดต่อกฎหมาย, อำนาจการวินิจฉัยของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตามบทบัญญัติมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้โต้แย้งว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่นายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าสั่งและวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้
คำว่า "CONCERT" ซึ่งมีความหมายว่าการแสดงดนตรีสากลโดยใช้เครื่องดนตรีวงใหญ่และอาจมีนักร้องประสานเสียงด้วย หรือมโหรี สังคีตและการประสานเสียงเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกวิทยุ ตู้ลำโพง โทรทัศน์เครื่องเล่นวิดีโอ และเครื่องขยายเสียง คำว่า "CONCERT" หาใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรงไม่ เพราะสินค้าวิทยุและตู้ลำโพงมิใช่สินค้าที่ใช้รับฟังได้เฉพาะเสียงการแสดงดนตรี มโหรี สังคีต หรือการประสานเสียงเท่านั้น หากแต่ใช้รับฟังเสียงอื่นได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงคนหรือสัตว์เดินหรือวิ่ง เสียงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่นทะเลฟ้าร้อง เสียงการทำและปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม และเสียงอื่น ๆ อีกมากมายเสียงดนตรีจึงเป็นเพียงเสียงอย่างหนึ่งในบรรดาเสียงอื่นอีกมากมายที่รับฟังได้จากวิทยุและตู้ลำโพง ส่วนโทรทัศน์และเครื่องเล่นวิดีโอก็ใช้ได้ทั้งชมภาพและฟังเสียงทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรี เครื่องขยายเสียงก็สามารถขยายเสียงได้ทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรีเช่นกัน ความหมายของคำว่า "CONCERT" เน้นไปที่การแสดงดนตรีวงใหญ่ที่ทำให้เกิดเสียงดนตรีขึ้นมา แต่เสียงอื่นที่มิได้เกิดจากการแสดงมีได้มากมายหลายกรณี คำว่า "CONCERT" จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าวิทยุ ตู้ลำโพง โทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีโอ และเครื่องขยายเสียงโดยตรงย่อมมีลักษณะบ่งเฉพาะเมื่อนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์จึงมีลักษณะพึงรับการจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
พ.ร.บ.โอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 มาตรา 3 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือของเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 มาตรา 3 กำหนดให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น รวมทั้งดำเนินการด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น และมาตรา 5 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2 กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า กองทะเบียนและหนังสือสำคัญ กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา จัดเก็บเอกสารทางทะเบียนรวมทั้งออกหนังสือรับรองและต่ออายุทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และกองบริการและเผยแพร่มีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษา แนะนำ และบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจัดทำสารบบและกำกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นไปตามกฎหมาย จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเห็นได้ว่าการดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ที่เป็นปัญหาข้อพิพาทกันในคดีนี้อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวทั้งหมดจำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวข้องการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและอธิบดีกรมจำเลยมีเพียงเสียงเดียวเท่านั้นในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ แม้โจทก์มิได้ฟ้องข้าราชการในกรมจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าผู้อื่นเป็นจำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยในคดีนี้เพื่อให้รับผิดได้ เมื่อศาลคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบที่ศาลจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์ต่อไปเท่านั้น ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทันทีได้ เพราะจำเลยต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนของโจทก์ตามขั้นตอนตามกฎหมายคือ พ.ร.บ.พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันได้แก่การที่นายทะเบียนต้องมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบและให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาต่อไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และการที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้โต้แย้งว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่นายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าสั่งและวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้
คำว่า "CONCERT" ซึ่งมีความหมายว่าการแสดงดนตรีสากลโดยใช้เครื่องดนตรีวงใหญ่และอาจมีนักร้องประสานเสียงด้วย หรือมโหรี สังคีตและการประสานเสียงเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกวิทยุ ตู้ลำโพง โทรทัศน์เครื่องเล่นวิดีโอ และเครื่องขยายเสียง คำว่า "CONCERT" หาใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรงไม่ เพราะสินค้าวิทยุและตู้ลำโพงมิใช่สินค้าที่ใช้รับฟังได้เฉพาะเสียงการแสดงดนตรี มโหรี สังคีต หรือการประสานเสียงเท่านั้น หากแต่ใช้รับฟังเสียงอื่นได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงคนหรือสัตว์เดินหรือวิ่ง เสียงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่นทะเลฟ้าร้อง เสียงการทำและปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม และเสียงอื่น ๆ อีกมากมายเสียงดนตรีจึงเป็นเพียงเสียงอย่างหนึ่งในบรรดาเสียงอื่นอีกมากมายที่รับฟังได้จากวิทยุและตู้ลำโพง ส่วนโทรทัศน์และเครื่องเล่นวิดีโอก็ใช้ได้ทั้งชมภาพและฟังเสียงทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรี เครื่องขยายเสียงก็สามารถขยายเสียงได้ทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรีเช่นกัน ความหมายของคำว่า "CONCERT" เน้นไปที่การแสดงดนตรีวงใหญ่ที่ทำให้เกิดเสียงดนตรีขึ้นมา แต่เสียงอื่นที่มิได้เกิดจากการแสดงมีได้มากมายหลายกรณี คำว่า "CONCERT" จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าวิทยุ ตู้ลำโพง โทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีโอ และเครื่องขยายเสียงโดยตรงย่อมมีลักษณะบ่งเฉพาะเมื่อนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์จึงมีลักษณะพึงรับการจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
พ.ร.บ.โอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 มาตรา 3 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือของเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 มาตรา 3 กำหนดให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น รวมทั้งดำเนินการด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น และมาตรา 5 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2 กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า กองทะเบียนและหนังสือสำคัญ กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา จัดเก็บเอกสารทางทะเบียนรวมทั้งออกหนังสือรับรองและต่ออายุทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และกองบริการและเผยแพร่มีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษา แนะนำ และบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจัดทำสารบบและกำกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นไปตามกฎหมาย จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเห็นได้ว่าการดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ที่เป็นปัญหาข้อพิพาทกันในคดีนี้อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวทั้งหมดจำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวข้องการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและอธิบดีกรมจำเลยมีเพียงเสียงเดียวเท่านั้นในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ แม้โจทก์มิได้ฟ้องข้าราชการในกรมจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าผู้อื่นเป็นจำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยในคดีนี้เพื่อให้รับผิดได้ เมื่อศาลคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบที่ศาลจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์ต่อไปเท่านั้น ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทันทีได้ เพราะจำเลยต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนของโจทก์ตามขั้นตอนตามกฎหมายคือ พ.ร.บ.พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันได้แก่การที่นายทะเบียนต้องมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบและให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาต่อไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และการที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์