พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีร่วมกันของลูกหนี้หลายคน การคำนวณทุนทรัพย์ และข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
โจทก์ทั้งสิบสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่างวดและดอกแชร์ที่จำเลยได้เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้ว แต่ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,157.50 บาท แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะร่วมเล่นแชร์ในวงแชร์ที่มีจำเลยเป็นนายวง แต่โจทก์แต่ละคนก็ไม่มีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกัน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์จึงต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เมื่อโจทก์แต่ละคนไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ตนเรียกร้องก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเงินเท่าๆ กัน ซึ่งคือคนละ 20,179.75 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7917/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ทรงเช็คในการฟ้องบังคับหนี้จากผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง แม้มีการฟ้องหนี้กู้ยืมเงินไปแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 สลักหลังเป็นอาวัลเช็คที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 แล้วส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินบางส่วน ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจึงหาได้ระงับไปไม่โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้ยืมเงินย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์และโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในเช็คในฐานะเป็นผู้สลักหลังและให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายด้วยการที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงินแก่โจทก์ หาได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากมูลหนี้ตามเช็คไปด้วยไม่ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์
คำฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทจำเลยที่ 1 เป็นผู้สลักหลัง ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งสองย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความที่ปรากฏในเช็คพร้อมดอกเบี้ย โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเฉพาะมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 นำเช็คดังกล่าวไปชำระหนี้แก่โจทก์หาได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากการที่จักต้องรับผิดชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คไปด้วยไม่ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยจึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทจำเลยที่ 1 เป็นผู้สลักหลัง ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งสองย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความที่ปรากฏในเช็คพร้อมดอกเบี้ย โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเฉพาะมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 นำเช็คดังกล่าวไปชำระหนี้แก่โจทก์หาได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากการที่จักต้องรับผิดชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คไปด้วยไม่ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยจึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7779/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษทางอาญาตามกฎหมายใหม่ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณา
คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแต่จำเลยที่ 1 กำลังรับโทษตามคำพิพากษาดังกล่าวอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอ้างว่า มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษเสียใหม่ให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว จึงไม่อาจแก้ไขโทษตามคำพิพากษาได้นั้นเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ในกรณีเช่นนี้เป็นอำนาจของศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งสำนวนดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาตามลำดับชั้นศาล แต่ศาลชั้นต้นกลับส่งสำนวนมายังศาลฎีกาอันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 198 ทวิ แต่เมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งยกคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งสำนวนดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาตามลำดับชั้นศาล แต่ศาลชั้นต้นกลับส่งสำนวนมายังศาลฎีกาอันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 198 ทวิ แต่เมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งยกคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7779/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษทางอาญาหลังมีกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลย แม้คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลมีอำนาจแก้ไขโทษได้ตาม ป.อ. มาตรา 3
แม้คดีนี้จะถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วก็ตาม แต่จำเลยกำลังรับโทษตามคำพิพากษาดังกล่าวอยู่ หากปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยแล้วก็ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้กำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังได้ ตามคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ภายหลังกระทำความผิดได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ ออกใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 8 มาตรา 19 และมาตรา 26 ของพ.ร.บ.ดังกล่าวให้ยกเลิกความในมาตรา 15 มาตรา 66 และมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ความใหม่แทนอันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย ดังนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษเสียใหม่ให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7700/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทผู้ถือหุ้นฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมบริษัทหลังผู้ฟ้องมรณะ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 และในฐานะโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 อีกด้วย เมื่อโจทก์มรณะ ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นของโจทก์ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมของบริษัทในกรณีเช่นนี้ได้ กรณีจึงไม่ใช่โจทก์ฟ้องอันมีลักษณะเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของโจทก์ ผู้ร้องจึงมีสิทธิเข้ามาเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่มรณะได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7606/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม จึงจะรวมพิจารณาได้ หากเป็นสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก ศาลจะไม่รับฟ้องแย้ง
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ฟ้องเดิมของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัท ว. มาตามสัญญาขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินซึ่งรวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่บริษัทดังกล่าวมีต่อจำเลยทั้งสามตามมูลหนี้กู้ยืมเงิน ค้ำประกันและจำนอง แล้วโจทก์ใช้สิทธิของบริษัท ว. ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสามชำระหนี้ที่ค้างชำระ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 อ้างว่าบริษัท ว. ได้ตกลงร่วมลงทุนให้การสนับสนุนโครงการของจำเลยที่ 1 โดยปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 275,000,000 บาท ตกลงให้จำเลยที่ 1 รับเงินสินเชื่อเป็นคราว ๆ แล้วบริษัท ว. ผิดข้อตกลงมิได้จ่ายสินเชื่อเงินลงทุน 30,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามารถก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จและส่งมอบบ้านพร้อมที่ดินให้ลูกค้าได้ ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย จึงฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์และบริษัท ว. ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 กรณีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องนิติสัมพันธ์และข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัท ว. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์โดยตรง เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องไปว่ากล่าวแก่บริษัท ว. ต่างหาก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7583/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุจำเป็นในการเลื่อนคดี: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลของทนายโจทก์และมิอาจถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะสืบพยานได้
ทนายโจทก์ให้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์นำคำร้องของทนายโจทก์มายื่นต่อศาลเพื่อขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุว่ามีความจำเป็นต้องไปติดต่องานด่วนที่ศาลอื่น ไม่สามารถมาศาลได้ทันตามกำหนดนัด ซึ่งทนายจำเลยได้รับสำเนาแล้วแถลงไม่คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นผู้กำหนดวันนัดเองแต่กลับไม่สนใจวันนัดจึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะสืบพยานและให้งดสืบพยานโจทก์ โดยมิได้สั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรที่จะให้เลื่อนคดีหรือไม่ หาเป็นการชอบไม่ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7550/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ อย่างเคร่งครัด
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ผู้อุทธรณ์จะต้องทำเป็นคำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่และให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด คดีนี้ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "เมื่อจำเลยทั้งสี่แก้อุทธรณ์หรือไม่แก้ภายในกำหนดแล้ว ให้ส่งศาลฎีกาโดยเร็ว" ซึ่งมีความหมายว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตคำร้องของโจทก์ไปทันทีโดยที่ยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่อาจมีผลทำให้อุทธรณ์ของโจทก์ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวโดยชอบได้ คดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ และการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7422-7426/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: สัญญาจะซื้อจะขาย, การครอบครองแทน, และเจตนาเป็นเจ้าของ
น. ได้แบ่งขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าเป็นบางส่วนที่ผู้ร้องแต่ละคนครอบครองอยู่พร้อมทั้งส่งมอบการครอบครองที่ดินให้ผู้ร้องแต่ละคนเข้าทำประโยชน์ในที่ดินได้ โดย น. สัญญาว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ร้องแต่ละคนในภายหลังตามเนื้อที่ที่ผู้ร้องแต่ละคนซื้อ แต่ น. ถึงแก่ความตายเสียก่อน โดยยังไม่ได้ดำเนินการแบ่งแยกและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนให้แก่ผู้ร้องแต่ละคน แสดงว่า น. ผู้ขายที่ดินพิพาท และผู้ร้องทั้งห้า ผู้ซื้อที่ดินดังกล่าว ต่างมีเจตนาจะไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง เมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินที่ซื้อขายกันเฉพาะส่วนได้กระทำสำเร็จแล้ว การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับผู้ร้องทั้งห้า จึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด การที่ผู้ร้องทั้งห้าเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่แต่ละคนครอบครองอยู่ จึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ น. ตามสัญญาจะซื้อจะขาย อันเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทน น. มิใช่การยึดถือในฐานะเจ้าของ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้เปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยัง น. ว่าไม่เจตนายึดถือที่ดินพิพาทแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ผู้ร้องที่ 4 ที่ 5 ได้ต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นว่าซื้อที่ดินจาก น. แต่ไม่ได้มีการทำสัญญาซื้อขายกัน และ น. มิได้ออกใบเสร็จรับเงินค่าขายที่ดินให้ไว้ แต่มีเจตนาจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนกันในภายหลังเมื่อแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้ว ถือได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยว่าเป็นเพียงการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท มิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และการเข้าครอบครองที่พิพาทดังกล่าวเป็นการครอบครองแทน น. มิใช่การครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ผู้ร้องที่ 4 ที่ 5 ได้ต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นว่าซื้อที่ดินจาก น. แต่ไม่ได้มีการทำสัญญาซื้อขายกัน และ น. มิได้ออกใบเสร็จรับเงินค่าขายที่ดินให้ไว้ แต่มีเจตนาจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนกันในภายหลังเมื่อแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้ว ถือได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยว่าเป็นเพียงการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท มิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และการเข้าครอบครองที่พิพาทดังกล่าวเป็นการครอบครองแทน น. มิใช่การครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากยาเสพติดและอาวุธปืน, การปรับบทกฎหมายยาเสพติด, และอำนาจศาลแก้ไขโทษจำเลยร่วม
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากบ้านของจำเลยที่ 1 เป็นคนละจำนวนกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายให้แก่สายลับและสามารถแยกเจตนาออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน ส่วนความผิดฐานสนับสนุนให้ผู้อื่นร่วมกันเสพกัญชา ฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 22 และมาตรา 27 ยกเลิกความในมาตรา 76 และมาตรา 92 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ และมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ มานั้นยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากบทความผิดและบทกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่กับกฎหมายเดิมไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยที่ 1 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดที่จำเลยที่ 1 สนับสนุน เหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 22 และมาตรา 27 ยกเลิกความในมาตรา 76 และมาตรา 92 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ และมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ มานั้นยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากบทความผิดและบทกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่กับกฎหมายเดิมไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยที่ 1 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดที่จำเลยที่ 1 สนับสนุน เหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225