พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลยกคำคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลถือเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ได้
คำร้องของผู้ร้องเป็นคำร้องคัดค้านว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลเขาทรายเป็นไปโดยมิชอบอันเป็นการยื่นคำร้องคัดค้านตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 มาตรา 57 ซึ่งมาตรา 58 บัญญัติว่า เมื่อศาลได้รับคำร้องคัดค้าน ให้ดำเนินการพิจารณาตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเร็ว โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งหรือผู้ได้รับเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้น เมื่อศาลสั่งอย่างใดให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด และผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อไป ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ที่กำหนดในเรื่องการอุทธรณ์ไว้ว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีเงินได้จากการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อในการขอคืนเงินที่ชำระซ้ำ
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 40 (8) และผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่จดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระเงินตามสัญญาขายทอดตลาดไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเงินจำนวนดังกล่าวได้รวมภาษีเงินได้ที่ผู้ซื้อจะต้องหักและนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ด้วย และต่อมาปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์ได้จ่ายภาษีเงินได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไปอีก ทั้งที่ตนมิได้มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษี แต่มีหน้าที่เพียงหักเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) เท่านั้น ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิที่จะขอเงินดังกล่าวคืน ดังนั้นที่เจ้าพนักงานบังคับคดีหักเงินได้จากการขายทอดตลาดคืนให้ผู้ซื้อทรัพย์ตามจำนวนภาษีที่ผู้ซื้อได้ทดรองจ่ายไปจึงเป็นการกระทำที่ชอบแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ยกเลิกการจ่ายเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อและอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระเงินตามสัญญาขายทอดตลาดไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยเงินจำนวนดังกล่าวได้รวมภาษีเงินได้ที่ผู้ซื้อจะต้องหักและนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ด้วยและต่อมาปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์ได้จ่ายภาษีเงินได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไปอีกทั้งที่ตนมิได้มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษี แต่มีหน้าที่เพียงหักภาษีเงินได้ ตามมาตรา (50) (5) (ข) เท่านั้น ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิที่จะขอเงินดังกล่าวคืน ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีหักเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้ผู้ซื้อทรัพย์ตามจำนวนภาษีที่ผู้ซื้อได้ทดรองจ่ายไปจึงเป็นการกระทำที่ชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ยกเลิกการหักเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ครบองค์ ไม่ระงับหนี้เดิม ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
แม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ตกลงกับโจทก์จะระบุว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าได้เรียกเก็บเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไว้แล้วมิได้นำส่งให้โจทก์เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 446,855.47 บาท ขอยอมรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนโจทก์ และขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์โดยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้รวม 6 งวด งวดแรกชำระในวันรุ่งขึ้น ส่วนที่เหลือชำระในเดือนต่อ ๆ ไป โดยไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่จะตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้ตามสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ตามสัญญาตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ระงับข้อพิพาทเดิม ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
แม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ตกลงกับโจทก์จะระบุว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับว่า ได้เรียกเก็บเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไว้แล้วมิได้นำส่งให้โจทก์เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 446,855.47 บาท ขอยอมรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนโจทก์ และขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์โดยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้รวม 6 งวด งวดแรกชำระในวันรุ่งขึ้น ส่วนที่เหลือชำระในเดือนต่อ ๆ ไป โดยไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่จะตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้ตามสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ตามสัญญาตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาคดีทรัพย์สินที่ได้มาร่วมกันระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา
คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งขอให้แบ่งเงินจำนวน 4,000,000 บาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา จึงถือว่าเงินจำนวน 4,000,000 บาท ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่พิพาทตามฟ้องแย้งของจำเลยที่จำเลยจะมีสิทธิร้องขอให้คุ้มครองประโยชน์ของตนในระหว่างพิจารณาได้ และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงินจำนวน 4,000,000 บาท ที่พิพาทกันมีการนำไปฝากที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ครั้งสุดท้ายนำไปฝากที่บริษัทเงินทุน ส. บริษัทเงินทุนดังกล่าวได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ในนามของจำเลย ต่อมาเมื่อปี 2546 ได้มีการเปลี่ยนชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นชื่อของโจทก์ และหลังจากนั้นโจทก์ได้เบิกถอนเงินจำนวน 4,000,000 บาท ดังกล่าว จากบริษัทเงินทุน ส. จากข้อเท็จจริงดังกล่าว หากในที่สุดแล้วศาลพิพากษาให้แบ่งเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยกึ่งหนึ่ง จำเลยก็จะได้ประโยชน์จากการที่ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ตามคำร้องของจำเลย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาคดีทรัพย์สินร่วมกันของสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฟ้องแย้งขอให้แบ่งเงิน 4,000,000 บาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ จึงถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่พิพาทตามฟ้องแย้ง เมื่อโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีการนำเงิน 4,000,000 บาท ไปฝากที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ครั้งสุดท้ายนำไปฝากที่บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ในนามของจำเลย ต่อมาเมื่อปี 2546 ได้มีการเปลี่ยนชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นชื่อของโจทก์ และโจทก์ได้เบิกถอนเงิน 4,000,000 บาท จากบริษัทเงินทุน หากในที่สุดแล้วศาลพิพากษาให้แบ่งเงินแก่จำเลยกึ่งหนึ่ง จำเลยก็จะได้ประโยชน์จากการที่ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ตามคำร้องของจำเลย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาโดยให้โจทก์นำเงินจำนวน 2,000,000 บาท มาวางต่อศาลชั้นต้นชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5842/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลายและการบังคับคดีตามกำหนดเวลา แม้ซื้อสิทธิ แต่ต้องอยู่ในกรอบเวลาเดิม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์ต้องดำเนินการบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา แม้ผู้ร้องจะได้รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยการประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องรายนี้มาจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องก็ได้สิทธิมาเท่าที่โจทก์มีอยู่ ผู้ร้องจึงตกอยู่ในบังคับที่จะต้องบังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม
การอนุญาตให้บุคคลใดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาตามความจำเป็นและความสะดวกในการพิจารณาคดี เมื่อผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสองเพราะเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์
การอนุญาตให้บุคคลใดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาตามความจำเป็นและความสะดวกในการพิจารณาคดี เมื่อผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสองเพราะเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5793/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม โดยอ้างอิงราคาซื้อขายจริงและประโยชน์ที่ได้รับจากที่ดินที่เหลือ
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 22 บัญญัติว่าในกรณีที่เจ้าของได้ที่ดินใดมาโดยมิได้ใช้อยู่อาศัยหรือใช้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพหรือทำประโยชน์ในที่ดินอย่างแท้จริงถ้าหากมีการเวนคืนที่ดินนั้นภายในห้าปีนับแต่วันที่เจ้าของได้ที่ดินนั้นมาจะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ดินในขณะที่เจ้าของได้ที่ดินนั้นมา มาตรา 22 นี้ มีความหมายว่า หากเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะกำหนดให้ตามมาตรา 21 เป็นจำนวนสูงกว่าราคาที่ดินที่ผู้ถูกเวนคืนซื้อมาภายในห้าปีก่อนการเวนคืนที่ดินนั้น จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ดินที่ผู้ถูกเวนคืนซื้อมา หากราคาที่ดินที่ผู้ถูกเวนคืนซื้อมาสูงกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดตามมาตรา 21 แล้วก็ต้องกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ตามมาตรา 21 จะกำหนดให้เท่ากับราคาที่ดินที่ถูกผู้เวนคืนซื้อมาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5772/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืนโทรมหญิงและการใช้ดุลยพินิจลงโทษผู้ร่วมกระทำความผิด
จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 4 คน ร่วมกันบังคับขู่เข็ญนำตัวผู้เสียหายกับเพื่อนจากห้องพักที่อยู่อาศัยไปยังสถานที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสถานที่เปลี่ยวลับตาคนแล้วผลัดเปลี่ยนกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอย่างต่อเนื่องกันถึง 3 คน ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยจนอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีบาดแผลตามรายงานผลการชันสูตรบาดแผลของแพทย์ ถือได้ว่าเป็นการเจตนาร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง
ในคดีที่ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันถูกฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานเดียวกัน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดบังคับให้ศาลต้องใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษผู้ร่วมกระทำความผิดแต่ละคนให้เท่ากัน ศาลอาจใช้ดุลยพินิจในการลงโทษจำเลยแต่ละคนแตกต่างกันไปได้ ขึ้นอยู่กันพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องๆ ไป เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ร้ายแรงกว่าจำเลยที่ 2 และผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่น ทั้งจำเลยที่ 1 มีอายุถึง 27 ปี มากกว่าจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเพียงพอแล้ว ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกสำหรับจำเลยที่ 1 มาโดยลดโทษให้หนึ่งในสี่เพราะเห็นว่าเหตุบรรเทาโทษนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
ในคดีที่ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันถูกฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานเดียวกัน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดบังคับให้ศาลต้องใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษผู้ร่วมกระทำความผิดแต่ละคนให้เท่ากัน ศาลอาจใช้ดุลยพินิจในการลงโทษจำเลยแต่ละคนแตกต่างกันไปได้ ขึ้นอยู่กันพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องๆ ไป เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ร้ายแรงกว่าจำเลยที่ 2 และผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่น ทั้งจำเลยที่ 1 มีอายุถึง 27 ปี มากกว่าจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเพียงพอแล้ว ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกสำหรับจำเลยที่ 1 มาโดยลดโทษให้หนึ่งในสี่เพราะเห็นว่าเหตุบรรเทาโทษนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว