คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนตรี ยอดปัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุม: เหตุผลต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 เท่านั้น
คำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาตามบันทึกข้อตกลงการให้สินเชื่อและการชำระหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียพิเศษ มิได้เข้าร่วมประชุมและมิได้เสนอบุคคลเข้าเป็นกรรมการเกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลง นั้น มิใช่เหตุตามป.พ.พ. มาตรา 1195 อันก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการประชุมตลอดทั้งมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าว แต่เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงที่มีต่อกันซึ่งหากโจทก์ได้รับความเสียหายประการใดในฐานะที่โจทก์ร่วมเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากฝ่ายที่โจทก์เห็นว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น: เหตุฟ้องต้องอ้างอิงบทบัญญัติกฎหมายหรือข้อบังคับบริษัท ไม่ใช่ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 22 หมวด 4 ส่วนที่ 3 วิธีการจัดการบริษัทจำกัด มาตรา 1195 ให้สิทธิแก่กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ซึ่งได้นัดเรียกหรือประชุมกันหรือลงมติฝ่าฝืนบทบัญญัติในลักษณะนี้หรือฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัทได้ ปรากฏว่าข้ออ้างที่โจทก์ยกขึ้นเป็นเหตุฟ้องคดีนี้คือ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาตามบันทึกข้อตกลงการให้สินเชื่อและการชำระหนี้ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2532 ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียพิเศษ มิได้เข้าร่วมประชุมและมิได้เสนอบุคคลเข้าเป็นกรรมการเกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงข้อ 5.3 นั้น หาใช่เหตุตามบทบัญญัติมาตรา 1195 อันก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเพิกถอนการประชุมตลอดทั้งมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวไม่ แต่เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงที่มีต่อกัน ซึ่งหากโจทก์ได้รับความเสียหายประการใดในฐานะที่โจทก์ร่วมเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ก็ชอบที่โจทก์จะต้องพิจารณาว่าโจทก์จะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากฝ่ายที่โจทก์เห็นว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนได้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: การร้องทุกข์ด้วยวาจาโดยกรรมการบริษัท ถือเป็นการร้องทุกข์โดยชอบ
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนังสือมอบอำนาจมิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ร่วมตามข้อบังคับซึ่งมีผลให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายก็ตาม แต่ก็ได้ความว่าในวันที่ ก. ผู้รับมอบอำนาจเข้าให้การต่อพนักงานสอบสวนนั้น ก. มิได้นำหนังสือร้องทุกข์ไปมอบให้แก่พนักงานสอบสวน เป็นการร้องทุกข์ด้วยวาจา และในวันเดียวกันนั้นเอง ด. และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมก็ได้ไปพบพนักงานสอบสวนพร้อมกับ ก. และให้การต่อพนักงานสอบสวนไว้ด้วยตามบันทึกคำให้การของผู้ร้องทุกข์ ผู้กล่าวโทษหรือพยาน ซึ่ง ธ. พนักงานสอบสวนพยานโจทก์เบิกความว่า ในวันที่พยานรับคำร้องทุกข์ ด. และ ว. ให้การต่อพยานว่าจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้และสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวและ ด. กับ ว. ยืนยันให้ดำเนินคดีแก่จำเลย จึงฟังได้ว่าบริษัทโจทก์ร่วมโดย ด. และ ว. ได้ร้องทุกข์ด้วยวาจาหรือด้วยปากต่อพนักงานสอบสวนโดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 123 วรรคสามแล้ว ส่วนการที่พนักงานสอบสวนได้จัดให้มีการลงบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี หรือบันทึกคำให้การของ ด. และ ว. มีรายละเอียดอย่างใดก็เป็นการดำเนินการเพื่อให้มีการบันทึกไว้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดรังวัดที่ดินเกินแนวเขต, ค่าเสียหาย, การชำระหนี้, ศาลแก้คำพิพากษา
ปัญหาเรื่องโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยทั้งห้าชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่ตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ต่อโจทก์ทั้งสองเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรง แต่จะฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5
สำนวนแรกโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เรื่องละเมิดที่จำเลยที่ 5 ชี้และปักหลักหมุดกำหนดแนวเขตทางรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกให้การว่าการชี้แนวเขตทางของจำเลยไม่เป็นละเมิดขอให้ยกฟ้อง คดีจึงมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองหรือไม่ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแล้วพิพากษาว่าที่ดินยังเป็นของโจทก์ทั้งสอง มิได้ถูกเวนคืน แต่หากฝ่ายจำเลยก่อสร้างถนนบนที่ดินพิพาทแล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ทั้งสองที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2 ก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินบนที่ดินพิพาทเสร็จแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นการยื่นคำฟ้องต่อเนื่องกันกับสำนวนแรก เพื่อเรียกร้องเอาค่าเสียหายที่ศาลฎีกามิได้พิพากษาให้ การฟ้องสำนวนหลังจึงมิได้อาศัยมูลละเมิดอันเกิดจากการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาทมาเป็นข้ออ้างเพื่อเป็นหลักแห่งข้อหา ฉะนั้นปัญหาตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ในสำนวนหลังจึงเป็นประเด็นแห่งคดีเหมือนกันกับสำนวนแรกจึงต้องห้ามมิให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาในปัญหาดังกล่าวซ้ำอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกเรื่องมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองขึ้นต่อสู้อีกไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาโดยปริยาย และสิทธิในการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาและนำออกประมูลขายทอดตลาด เมื่อนำมาหักกับราคาเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วยังขาดอยู่อีก โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคาและค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัด ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา 160,000 บาท ส่วนค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยนั้นถือเป็นการคิดค่าเสียหายส่วนหนึ่ง เมื่อได้กำหนดค่าเสียหายให้เป็นจำนวนพอสมควรแล้วจึงไม่กำหนดให้อีก พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ 160,000 บาท คำขออื่นให้ยก ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแสดงว่า โจทก์มีสิทธิได้รับทั้งค่าขาดราคาและค่าขาดประโยชน์ แต่เมื่อศาลกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคาให้โจทก์มากพอสมควรแล้ว จึงไม่กำหนดค่าขาดประโยชน์ให้อีก ดังนั้น ในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา แต่โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ได้ (แม้โจทก์แก้อุทธรณ์โดยไม่ได้ขอค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์) เพราะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้อง และศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับอยู่แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายค่าขาดประโยชน์ได้ แม้ศาลชั้นต้นกำหนดค่าขาดราคาแล้ว หากการบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาและนำออกประมูลขายทอดตลาดได้เงิน 70,000 บาท เมื่อนำมาหักกับราคาเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วยังขาดอยู่อีก 179,173.72 บาท โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา 179,173.72 บาท และค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน เป็นเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัด ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา 160,000 บาท ส่วนค่าขาดประโยชน์และดอกเบี้ยนั้นถือเป็นการคิดค่าเสียหายส่วนหนึ่ง เมื่อได้กำหนดค่าเสียหายให้เป็นจำนวนพอสมควรแล้วจึงไม่กำหนดให้อีก ดังนั้น ในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้อง และศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม และดอกเบี้ยกรณีศาลเพิ่มค่าทดแทน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น" บทกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสี่จะมิได้ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสี่ก็ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวสำหรับจำนวนเงินค่าทดแทนที่ศาลพิพากษาให้ชำระเพิ่มขึ้นนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของอู่ซ่อมรถต่อการสูญหายของรถยนต์ที่อยู่ในความครอบครอง และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
รถยนต์กระบะคันพิพาทเข้าซ่อมที่อู่ของจำเลยที่ 2 และในระหว่างที่ทำการซ่อมรถยนต์ได้ถูกคนร้ายลักไป ถือได้ว่ารถยนต์กระบะพิพาทอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะต้องเก็บรักษารถยนต์กระบะคันพิพาทไว้ในที่ปลอดภัยในระหว่างการซ่อม ทั้งต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อมิให้รถยนต์กระบะคันพิพาทต้องสูญหายหรือเสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยที่ 2 นำรถยนต์กระบะคันพิพาทไปจอดไว้บริเวณที่ว่างหน้าอู่โดยไม่มีรั้วรอบขอบชิดอันเป็นเครื่องป้องกันการเคลื่อนย้ายรถยนต์และไม่ได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษารถยนต์แต่อย่างใด ทั้งเมื่อรถยนต์คันพิพาทหายไปจำเลยที่ 2 ก็ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ช. เจ้าของรถยนต์กระบะคันพิพาทเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดในเหตุที่รถยนต์กระบะคันพิพาทหายไปในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของตน ตามพฤติการณ์ดังกล่าวนับได้ว่า เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ที่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์กระบะคันพิพาทต้องสูญหาย การปฏิบัติต่อลูกค้าของจำเลยที่ 2 ในการนำรถยนต์ที่นำมาซ่อมแล้วไม่เสร็จจอดไว้บริเวณหน้าอู่ มิได้เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์สูญหายแต่อย่างใดและการที่ไม่เคยมีรถยนต์สูญหายหรือได้รับความเสียหายมิได้เป็นหลักประกันว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9626/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก แม้จะมีข้อพิพาทเรื่องความสมบูรณ์ของนิติกรรมก่อนหน้า
จำเลยให้การว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก จ. โดยไม่สุจริต เพราะโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ฟ้อง จ. ให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทในข้อหานิติกรรมอำพรางใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากระหว่างจำเลยกับ จ. เป็นนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย แต่ข้ออ้างของจำเลยในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ จ. และจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยอ้างว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก จ. ภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาไถ่ที่จำเลยผู้ขายฝากจะมีสิทธิไถ่คืนจาก จ. ผู้ซื้อฝากแล้ว เมื่อ จ. มิได้อยู่ในฐานะคู่ความในคดีนี้ ข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องดำเนินคดีแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวให้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของจำเลย แม้จำเลยจะได้ฟ้อง จ. ต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาท แต่ปรากฏว่าจำเลยได้ถอนฟ้องคดีดังกล่าวและศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความแล้ว ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินจึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9494/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้, การบังคับจำนอง, และดอกเบี้ย: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จ. กับจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินโจทก์ ตกลงผ่อนชำระเงินกู้และดอกเบี้ยคืนเป็นรายงวดหากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทุกงวด โจทก์ได้รับชำระหนี้ครั้งสุดท้ายวันที่ 18 มกราคม 2539 จึงต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระงวดที่เหลือทั้งหมด สิทธิเรียกร้องในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่นั้น อายุความฟ้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีกำหนดอายุความห้าปีและเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2539 แต่โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 เกินห้าปีแล้ว ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความและศาลฎีกาเห็นควรให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับ จ. ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247 และแม้หนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) ถึง (6) เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินห้าปีตามมาตรา 745 ได้และเมื่อโจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้ว จึงเป็นไปตามข้อตกลงไปในสัญญาจำนองอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่ใช่เบี้ยปรับที่ศาลจะปรับลดให้แก่ลูกหนี้
of 51