พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม-สินสมรส: เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเฉพาะส่วนเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่มาในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
การพิสูจน์สิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม จำต้องพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานต่างๆ ที่คู่ความนำสืบต่อศาล เพื่อแสดงถึงสิทธิและการได้มาของโจทก์ว่ามีลำดับความเป็นมาอย่างไร ลำพังบันทึกการแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งระบุว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 ร่วมกันซื้อมาเพียงฉบับเดียวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงเพื่อที่จะยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น และมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมานำสืบพิสูจน์ได้ว่าที่ดินพิพาทโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอย่างไร ทั้งโจทก์ก็มิได้ตั้งรูปคดีอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยที่ 2 โดยอาศัยข้อความจากบันทึกดังกล่าวแต่ประการใด
จำเลยที่ 2 ตั้งบริษัท ล. และจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ในบริเวณที่ตั้งของบริษัทดังกล่าวมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทจนมีบุตรด้วยกันถึงเก้าคนและโจทก์ได้ร่วมช่วยเหลือกิจการของบริษัท ล. แม้โจทก์เป็นภริยานอกสมรสก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่เพียงผู้เดียวก็เป็นการกระทำแทนโจทก์เท่านั้น ดังนี้ โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลง
เมื่อที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงที่จำเลยที่ 2 ได้มาเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 และเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์อีกคนหนึ่งมิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้
การพิสูจน์สิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม จำต้องพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานต่างๆ ที่คู่ความนำสืบต่อศาล เพื่อแสดงถึงสิทธิและการได้มาของโจทก์ว่ามีลำดับความเป็นมาอย่างไร ลำพังบันทึกการแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งระบุว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 ร่วมกันซื้อมาเพียงฉบับเดียวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงเพื่อที่จะยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น และมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมานำสืบพิสูจน์ได้ว่าที่ดินพิพาทโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอย่างไร ทั้งโจทก์ก็มิได้ตั้งรูปคดีอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยที่ 2 โดยอาศัยข้อความจากบันทึกดังกล่าวแต่ประการใด
จำเลยที่ 2 ตั้งบริษัท ล. และจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ในบริเวณที่ตั้งของบริษัทดังกล่าวมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทจนมีบุตรด้วยกันถึงเก้าคนและโจทก์ได้ร่วมช่วยเหลือกิจการของบริษัท ล. แม้โจทก์เป็นภริยานอกสมรสก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่เพียงผู้เดียวก็เป็นการกระทำแทนโจทก์เท่านั้น ดังนี้ โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลง
เมื่อที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงที่จำเลยที่ 2 ได้มาเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 และเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์อีกคนหนึ่งมิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินร่วมจากการแต่งงานและการแบ่งทรัพย์สินหลังการหย่า: การพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สิน
ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงที่จำเลยที่ 2 ได้มาเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 และเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์อีกคนหนึ่งมิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้
จำเลยทั้งสองเพิ่งอ้างหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทมาท้ายฎีกา เป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 จึงรับฟังไม่ได้
จำเลยทั้งสองเพิ่งอ้างหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทมาท้ายฎีกา เป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 จึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีสิทธิปรับค่าเช่ารายวันได้ โจทก์ไม่รื้อถอนโครงสร้างตามสัญญา จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินประกันคืน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าคืนเงินประกันค่าเสียหายจากการใช้สถานที่เช่าเนื่องจากภายหลังครบกำหนดเวลาสัญญาเช่า โจทก์ผู้เช่าได้รื้อถอนแผ่นป้ายโฆษณาและโครงเหล็กสำหรับติดตั้งป้ายโฆษณาออกจากที่เช่าเรียบร้อยแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การว่าเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าโจทก์มิได้รื้อถอนแผ่นป้ายโฆษณาและโครงเหล็กออกจากที่เช่า แต่กลับขอต่อสัญญาเช่าออกไปอีก 3 เดือน โดยให้จำเลยที่ 1 หักเงินประกันดังกล่าวเป็นค่าเช่า ซึ่งเป็นคำให้การที่ปฏิเสธข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์โดยชัดแจ้งว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าไม่รื้อถอนแผ่นป้ายโฆษณาและโครงเหล็ก คดีจึงมีประเด็นพิพาทที่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าไม่รื้อถอนแผ่นป้ายโฆษณาและโครงสร้างเหล็กหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่มีผลทำให้เกิดข้อแพ้ชนะในคดี และจะต้องวินิจฉัยก่อนประเด็นข้ออื่น ส่วนคำให้การที่ว่าโจทก์ขอต่อสัญญาเช่าออกไปอีก 3 เดือน เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้างนอกเหนือไปจากข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ เพราะหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่าแล้ว คดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยข้ออ้างดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ต่อไป เนื่องจากเป็นข้ออ้างที่เกินเลยไปจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในประเด็นว่าโจทก์ได้ต่อระยะเวลาการเช่าออกไปอีก 3 เดือน โดยไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาเมื่อจำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปโดยไม่ย้อนสำนวน ส่วนที่จำเลยที่ 1 ให้การว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิหักเงินประกันเป็นค่าปรับรายวันนั้น จำเลยที่ 1 ได้แสดงมาโดยชัดแจ้งในคำให้การเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัย หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่รื้อถอนแผ่นป้ายโฆษณาและโครงเหล็กแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เพิกถอนการขายทอดตลาด - ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ป.วิ.พ.
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินจำนองของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินสมควร โดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ซึ่งบทบัญญัติในวรรคสี่ของมาตรา 309 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นอุทธรณ์ บัญญัติว่า คำสั่งของศาลตามวรรคสองให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด คำว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง" ของบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงหากมีกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แล้ว คำสั่งใดๆ ของศาลที่เกี่ยวข้องกับคำร้องดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง" ในบทบัญญัติวรรคสี่นี้ทั้งสิ้น การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเช่นนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ย่อมเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว ฎีกาของจำเลยทุกข้อไม่ว่าจะอ้างเหตุใดๆ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนลูกหนี้เดิม ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมยังไม่ระงับ ลูกหนี้เดิมยังคงต้องรับผิด
การแปลงหนี้ใหม่เป็นสัญญาระหว่างคู่กรณีเพื่อระงับหนี้เดิมแล้วก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นผูกพันกันแทน หนี้เดิมเป็นอันระงับไป แม้โจทก์จะยอมรับเช็คของจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งจ่ายโดยจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 2 เป็นการชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ตามเช็ค ก็หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ไม่ เพราะไม่มีการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้กันใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ของโจทก์จากจำเลยที่ 1 ไปเป็นจำเลยที่ 2 แต่เป็นเพียงจำเลยที่ 2 เข้าไปเป็นผู้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้เดิมเท่านั้น หนี้เดิมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับ เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม การขยายเวลา และเหตุสุดวิสัยจากการขัดขวางการบังคับคดี
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินจำนองที่พิพาทของจำเลยเพื่อบังคับคดี ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องและให้จำเลยมีชื่อในทะเบียนที่ดินแทน และผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินคืนผู้ร้อง ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนการพิจารณาคดีร้องขัดทรัพย์เพื่อรอฟังผลคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลย ซึ่งคู่ความไม่ได้โต้แย้งคำสั่ง คำสั่งของศาลย่อมเป็นที่สุด ต่อมาโจทก์ยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติม เจ้าพนักงานบังคับคดียกคำขออ้างว่าโจทก์ขอยึดพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่อาจบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีและให้โจทก์บังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยต่อไป ศาลชั้นต้นยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์เพียงว่าโจทก์มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมได้หรือไม่ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้อง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาทต่อไปเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ ทั้งเป็นการผิดขั้นตอนของการวินิจฉัยที่ต้องเป็นไปตามลำดับชั้นศาล เนื่องจากคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องยังมิได้ผ่านการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีจากศาลชั้นต้นแต่อย่างใด
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยตกลงชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาด หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นบังคับชำระหนี้ คำพิพากษากำหนดขั้นตอนการบังคับคดีโดยมีลำดับก่อนหลังไว้ชัดแจ้งโดยต้องบังคับจำนองก่อน เมื่อได้เงินไม่พอชำระหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยต่อไป ตราบใดที่ยังไม่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนอง โจทก์ก็ย่อมไม่อาจขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมได้ เพราะเป็นการบังคับคดีเกินกว่าข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม
การร้องขอให้บังคับคดีต้องกระทำภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาได้โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
เมื่อการบังคับทรัพย์จำนองไม่อาจกระทำได้เนื่องจากผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์จนศาลมีคำสั่งให้รอการพิจารณาคดีร้องขัดทรัพย์ไว้ก่อน ทำให้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยภายในกำหนดของจำเลยภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 กรณีย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ดังนั้น หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองภายหลังการยึดทรัพย์จำนองเกิน 10 ปี แล้วขายได้เงินไม่พอชำระหนี้ และโจทก์ขอบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมตามเงื่อนไขที่กำหนดในคำพิพากษาตามยอม ศาลย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลาการบังคับคดีให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะยื่นคำขอหรือไม่ก็ได้
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยตกลงชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาด หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นบังคับชำระหนี้ คำพิพากษากำหนดขั้นตอนการบังคับคดีโดยมีลำดับก่อนหลังไว้ชัดแจ้งโดยต้องบังคับจำนองก่อน เมื่อได้เงินไม่พอชำระหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยต่อไป ตราบใดที่ยังไม่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนอง โจทก์ก็ย่อมไม่อาจขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมได้ เพราะเป็นการบังคับคดีเกินกว่าข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม
การร้องขอให้บังคับคดีต้องกระทำภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาได้โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
เมื่อการบังคับทรัพย์จำนองไม่อาจกระทำได้เนื่องจากผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์จนศาลมีคำสั่งให้รอการพิจารณาคดีร้องขัดทรัพย์ไว้ก่อน ทำให้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยภายในกำหนดของจำเลยภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 กรณีย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ดังนั้น หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองภายหลังการยึดทรัพย์จำนองเกิน 10 ปี แล้วขายได้เงินไม่พอชำระหนี้ และโจทก์ขอบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมตามเงื่อนไขที่กำหนดในคำพิพากษาตามยอม ศาลย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลาการบังคับคดีให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะยื่นคำขอหรือไม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเช่าซื้อรถยนต์สูญหาย โจทก์ฟ้องซ้ำในประเด็นเดิมหลังคดีถึงที่สุดแล้ว
มูลเหตุแห่งการฟ้องจำเลยทั้งสองของโจทก์ ทั้งในคดีเดิมและคดีนี้มาจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ทำไว้กับโจทก์ฉบับเดียวกัน แม้ในคดีเดิมโจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนด ขอให้ส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาและค่าใช้ทรัพย์ ส่วนในคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าระหว่างการครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญารถยนต์สูญหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยขอให้ชำระค่ารถยนต์ในส่วนที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายระหว่างเช่าซื้อนั้นได้ปรากฏขึ้นก่อนที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีเดิมซึ่งโจทก์ทราบดี แต่โจทก์ไม่ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายตามข้อตกลงในสัญญา การที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ราคารถยนต์ที่สูญหายในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับเดียวกันอีก ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องได้อยู่แล้วในคดีก่อน เมื่อคดีก่อนถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการหักชำระหนี้จากเงินค่าหุ้นที่จำนำไว้ ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิหักเงินปันผลชำระหนี้
ตามหนังสือสัญญากู้เงินพิเศษ ข้อ 10 และหนังสือสัญญากู้เงินสามัญ ข้อ 7 ดังกล่าว มีข้อความทำนองเดียวกันว่า "ข้าพเจ้ายินยอมให้นำเงินค่าหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูศรีสะเกษ จำกัด ทั้งหมดในขณะนี้และเงินค่าหุ้นที่จะมีเพิ่มขึ้นอีกต่อไปในภายหน้ามาจำนำกับสหกรณ์ออมทรัพย์ศรีสะเกษ จำกัด เพื่อเป็นการค้ำประกันเงินกู้ตามหนังสือนี้ และในกรณีที่หนี้ถึงกำหนดชำระตามที่กล่าวในข้อ 5 หรือหากมีการบังคับคดีใดๆ ก็ตาม ข้าพเจ้ายินยอมให้สหกรณ์โอนเงินค่าหุ้นของข้าพเจ้าที่จำนำไว้เป็นประกันนี้ชำระหนี้เงินกู้ของข้าพเจ้าที่มีอยู่ต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ศรีสะเกษ จำกัด ได้ทันที โดยไม่ต้องนำเงินค่าหุ้นที่จำนำนี้ออกขายทอดตลาดแต่อย่างใดและให้ถือว่าในข้อนี้เป็นการจดแจ้งการจำนำหุ้นตลอดทั้งให้หนังสือกู้ฉบับนี้เป็นสมุดทะเบียนการจำนำหุ้นด้วย" ข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายชัดเจนในเรื่องเกี่ยวกับเงินค่าหุ้น โดยจำเลยยอมให้เงินค่าหุ้นของจำเลยที่มีอยู่แล้วและที่เพิ่มขึ้นในภายหน้าเป็นจำนำแก่ผู้คัดค้านเพื่อเป็นการค้ำประกันเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้เงินพิเศษและหนังสือสัญญากู้เงินสามัญ รวมทั้งให้สิทธิแก่ผู้คัดค้านโอนเงินค่าหุ้นของจำเลยที่จำนำไว้ดังกล่าวชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่มีต่อผู้คัดค้านได้ มิใช่เป็นข้อตกลงในเรื่องเกี่ยวกับเงินปันผลอันเป็นส่วนหนึ่งของกำไรที่ผู้คัดค้านจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้คัดค้านจึงไม่อาจนำเงินปันผลที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้คัดค้านไปหักชำระหนี้เงินกู้ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้คัดค้านโดยอาศัยข้อตกลงดังกล่าว เมื่อผู้คัดค้านได้รับคำสั่งอายัดเงินปันผลดังกล่าวจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธินำเงินปันผลที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดหลังการขายทอดตลาด ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระ
ในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 29 บัญญัติว่า ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องนำหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมกับนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 มาแสดงด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการทั่วไปโดยไม่มีข้อยกเว้น จึงย่อมนำมาใช้บังคับแก่กรณีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดอันเนื่องมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลด้วย สำหรับหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ดังกล่าว แม้เจ้าของร่วมคือผู้เป็นเจ้าของห้องชุดในอาคารชุดมีหน้าที่ต้องร่วมกันชำระดังที่มาตรา 18 บัญญัติไว้ก็ตาม แต่บทบัญญัติของกฎหมายด้งกล่าวหรือกฎหมายอื่นก็มิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุดแต่อย่างใด ดังนั้น ข้อกำหนดเงื่อนไขของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยที่ให้ผู้ซื้อต้องรับภาระหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางต่อนิติบุคคลอาคารชุด จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยลูกหนี้เพื่อให้การขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีไม่มีข้อขัดข้อง เมื่อผู้ร้องได้เข้าร่วมประมูลซื้อห้องชุดรายนี้ก็เท่ากับเป็นการตกลงยอมรับข้อกำหนดเงื่อนไขในประกาศดังกล่าว นอกจากนี้ข้อกำหนดเงื่อนไขในประกาศดังกล่าวยังมีผลเป็นการกำหนดหน้าที่ของผู้ร้องอยู่ในตัวด้วยว่า ผู้ร้องต้องนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดด้วย เพราะเมื่อผู้ร้องต้องรับผิดชอบชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้แล้ว ก็ย่อมมีสิทธิขอให้นิติบุคคลอาคารชุดผู้เป็นเจ้าหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้หรือหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวซึ่งแสดงถึงการปลอดหนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางค้างชำระอยู่ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อห้องชุดรายหนี้ได้จึงต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวตลอดจนมีหน้าที่ขอให้นิติบุคคลอาคารชุดออกหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวเพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด จะอ้างว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยเจ้าของห้องชุดที่จะต้องชำระหนี้ดังกล่าวหรือเป็นหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้หรือไปฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจากการขายทอดตลาด ผู้ซื้อมีหน้าที่ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระ
ในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 บัญญัติว่า ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องนำหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมกับนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 มาแสดงด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการทั่วไปโดยไม่มีข้อยกเว้น จึงย่อมนำมาใช้บังคับแก่กรณีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดอันเนื่องมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลด้วย มิใช่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่เจ้าของห้องชุดเป็นผู้ขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด
หนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายแม้เจ้าของร่วมผู้เป็นเจ้าของห้องชุดในอาคารชุดมีหน้าที่ต้องร่วมกันชำระตามที่มาตรา 18 แต่บทบัญญัติดังกล่าวหรือกฎหมายอื่นมิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุด ดังนั้น ข้อกำหนดเงื่อนไขของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยที่ให้ผู้ซื้อต้องรับภาระหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางต่อนิติบุคคลอาคารชุด จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เจ้าพนักงานบังคับคดีในฐานะผู้แทนเจ้าหนี้ในอันที่จะรับชำระหนี้ ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ขายทอดตลาด จ่ายเงินตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษาตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียมให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยเพื่อให้การขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดสำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อผู้ร้องเข้าร่วมประมูลซื้อห้องชุดก็เท่ากับเป็นการตกลงยอมรับข้อกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวกับเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า หากผู้ร้องประมูลซื้อห้องชุดได้และมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางที่จำเลยค้างชำระอยู่ ผู้ร้องยินยอมรับผิดชำระหนี้ที่ค้าง รวมทั้งนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดด้วย เพราะเมื่อผู้ร้องต้องชำระหนี้ดังกล่าวแทนจำเลยก็ย่อมมีสิทธิขอให้นิติบุคคลอาคารชุดผู้เป็นเจ้าหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้ หรือหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวซึ่งแสดงถึงการปลอดหนี้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางค้างชำระ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อห้องชุดได้จึงต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวตลอดจนมีหน้าที่ขอให้นิติบุคคลอาคารชุดออกหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด จะอ้างว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยเจ้าของห้องชุดที่จะต้องชำระหรือเป็นหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ หรือไปฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่
หนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายแม้เจ้าของร่วมผู้เป็นเจ้าของห้องชุดในอาคารชุดมีหน้าที่ต้องร่วมกันชำระตามที่มาตรา 18 แต่บทบัญญัติดังกล่าวหรือกฎหมายอื่นมิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุด ดังนั้น ข้อกำหนดเงื่อนไขของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยที่ให้ผู้ซื้อต้องรับภาระหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางต่อนิติบุคคลอาคารชุด จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เจ้าพนักงานบังคับคดีในฐานะผู้แทนเจ้าหนี้ในอันที่จะรับชำระหนี้ ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ขายทอดตลาด จ่ายเงินตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษาตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียมให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยเพื่อให้การขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดสำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อผู้ร้องเข้าร่วมประมูลซื้อห้องชุดก็เท่ากับเป็นการตกลงยอมรับข้อกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวกับเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า หากผู้ร้องประมูลซื้อห้องชุดได้และมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางที่จำเลยค้างชำระอยู่ ผู้ร้องยินยอมรับผิดชำระหนี้ที่ค้าง รวมทั้งนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดด้วย เพราะเมื่อผู้ร้องต้องชำระหนี้ดังกล่าวแทนจำเลยก็ย่อมมีสิทธิขอให้นิติบุคคลอาคารชุดผู้เป็นเจ้าหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้ หรือหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวซึ่งแสดงถึงการปลอดหนี้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางค้างชำระ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อห้องชุดได้จึงต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวตลอดจนมีหน้าที่ขอให้นิติบุคคลอาคารชุดออกหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด จะอ้างว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยเจ้าของห้องชุดที่จะต้องชำระหรือเป็นหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ หรือไปฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่