คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนตรี ยอดปัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ในคดีบังคับคดี: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องเป็นผู้มีสิทธิร้องขอ
แม้ที่ดินพิพาทที่ถูกยึดไว้ในคดีนี้มีชื่อ ม. ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้องเป็นผู้ถือสิทธิครอบครอง และโจทก์ในคดีนี้ได้ยึดไว้ทั้งแปลงอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่ ม. ได้มาในระหว่างสมรส อันเป็นสินสมรสระหว่าง ม. กับลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ประเด็นเวลาการยื่นคำร้อง, การแจ้งวันนัด, และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม บัญญัติว่า "การยื่นคำร้องตามมาตรานี้อาจกระทำได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น..." และมาตรา 296 วรรคสี่ บัญญัติว่า "เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง เมื่อได้มีการดำเนินการดังต่อไปนี้...(2) ในกรณีที่คำบังคับหรือหมายบังคับคดีกำหนดให้ใช้เงินเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จ่ายเงินตามมาตรา 318 มาตรา 319 มาตรา 320 มาตรา 321 หรือมาตรา 322 แล้วแต่กรณี..." ตามบทบัญญัติมาตรา 296 วรรคสามและวรรคสี่ดังกล่าวบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีในการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โดยสามารถยื่นคำร้องได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีเสร็จลง ซึ่งสำหรับในกรณีการยึดทรัพย์เพื่อนำออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้นั้นการจะถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงก็ต่อเมื่อมีการจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
จำเลยที่ 1 อ้างว่าบ้านเลขที่ 58/2 เป็นบ้านร้าง แต่ตามข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งย้ายทางทะเบียนจากบ้ายเลขที่ 105 หมู่ 6 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นภูมิลำเนาในขณะที่ถูกโจทก์ยื่นฟ้องไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 58/2 เมื่อปี 2545 ภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ปรากฏว่าได้แจ้งให้โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแต่อย่างใด พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะปิดบังภูมิลำเนาที่แท้จริงของตนเองเพื่อให้เกิดความยุ่งยากในการบังคับคดี กรณีจึงต้องถือว่าบ้านเลขที่ 58/2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าพนักงานเดินหมายของกรมบังคับคดีนำประกาศขายทอดตลาดไปปิดไว้ที่บ้านเลขที่ 58/2 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบวันนัดขายทอดตลาดที่ระบุไว้ในประกาศขานทอดตลาดโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องฟ้องเคลือบคลุม/ผิดสัญญา & คำให้การขาดอายุความไม่ชัดเจน
จำเลยที่ 1 เพียงแต่อ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยมิได้ยกเหตุผลขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมและจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากโจทก์ไม่ฟ้องคดีภายใน 2 ปี และ 5 ปี นับแต่วันชำระเงินครบถ้วน โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าเพราะเหตุใดคดีโจทก์จึงขาดอายุความ จึงเป็นคำให้การที่ไม่แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15018/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณาในคดีมโนสาเร่: ศาลพิจารณาชี้ขาดได้โดยไม่ต้องมีคำขอ
ป.วิ.พ. 193 วรรคสี่ (เดิม) และมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง ได้กำหนดหลักเกณฑ์การขาดนัดยื่นคำให้การสำหรับคดีมโนสาเร่ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้น การที่จะถือว่าจำเลยในคดีมโนสาเร่ขาดนัดยื่นคำให้การก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จะนำหลักเกณฑ์การขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 และมาตรา 198 ที่ใช้สำหรับคดีแพ่งสามัญมาใช้บังคับแก่คดีมโนสาเร่ไม่ได้ เมื่อคดีนี้เป็นคดีมโนสาเร่และจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์จึงมิต้องยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง แต่อย่างใด
การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาจึงเป็นการขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาซึ่งบทบัญญัติในคดีมโนสาเร่ได้กำหนดเป็นการเฉพาะให้กรณีที่จำเลยขาดนัดพิจารณาให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้ และเมื่อศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานและพิพากษาคดีจนเสร็จสิ้น กรณีจึงไม่จำต้องให้โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14892/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเอกสารแทนพยานบุคคล และการยกอายุความต้องแสดงเหตุผลชัดเจนในคำให้การ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้กู้ยืมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณา การที่โจทก์แถลงขอส่งหนังสือรับรองและหนังสือมอบอำนาจแทนการสืบพยานและศาลอนุญาตถือได้ว่าเป็นการให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่จำต้องมีพยานบุคคลมาสืบประกอบ
จำเลยที่ 2 ปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 จำเลยที่ 2 ต้องแสดงโดยชัดแจ้งด้วยว่าอายุความ 1 ปี นับแต่วันใดและโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดอายุความนั้นแล้วอย่างไร การที่จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 เนื่องจากสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาค้ำประกันตกเป็นมรดกของ ศ. ตั้งแต่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2540 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องร้องตามสัญญาค้ำประกันภายใน 1 ปี นับถึงวันฟ้องสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความนั้น จำเลยที่ 2 มิได้ระบุวันที่โจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ศ. ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความว่าเป็นวันที่เท่าใด จึงไม่ชัดแจ้งว่าอายุความเริ่มนับเมื่อวันที่เท่าใดและโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความแล้วจริงหรือไม่ จำเลยที่ 2 จะอนุมานเอาจากข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าโจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของ ศ. ว่าเป็นวันใดก็ไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การ คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14778/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปรับดอกเบี้ยของสถาบันการเงินภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายเฉพาะ (ธนาคารอาคารสงเคราะห์) และแนวทางการพิจารณาของศาล
ประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงระเบียบบริหารงานของโจทก์ที่ประกาศให้ลูกค้าทราบเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและเป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อทำธุรกรรมกับธนาคารเท่านั้น จึงไม่มีผลบังคับเหมือนเช่นธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด โดยต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยทั่วไปและอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่เรียกจากลูกค้าและจะเรียกเกินกว่าประกาศนั้นไม่ได้ ทั้งจะนำประกาศของธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ไม่ได้เพราะโจทก์จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2496 และมีประกาศกระทรวงการคลังกำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งไม่มีข้อกำหนดให้โจทก์ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังเช่นธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด ประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการเรียกดอกเบี้ยตามคุณภาพลูกค้าแต่ละรายของโจทก์ โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับจำเลยรวม 14 ครั้ง แม้การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวในบางครั้งจะไม่ตรงตามประกาศของโจทก์ก็เป็นดุลพินิจในการพิจารณากับลูกค้าแต่ละรายโดยเฉพาะ โจทก์จึงมีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับจำเลยไม่เป็นไปตามประกาศของโจทก์ได้ แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10878/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้ถือหุ้นต่อกรรมการในคดีละเมิดจากการขายสินทรัพย์ต่ำกว่าราคาตลาด และขอบเขตการรับผิด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจผู้ถือหุ้นมีอำนาจฟ้องร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นกรรมการบริษัทที่ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทได้ การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท บ. สมคบกันในการประชุมกรรมการบริษัทและมีมติให้ขายที่ดินของบริษัทให้แก่จำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัทและบุคคลภายนอกในราคาต่ำกว่าราคาประเมินและราคาตามท้องตลาดทำให้บริษัทเสียหาย เป็นการกระทำโดยทุจริตสมคบกันเบียดบังเอาทรัพย์สินของบริษัทมาเป็นของตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท เมื่อบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท บ. ย่อมมีอำนาจฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการได้แต่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ซึ่งมิได้เป็นกรรมการบริษัท บ.
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทโอนที่ดินคืนให้แก่บริษัทหากโอนคืนไม่ได้ให้ใช้ค่าเสียหายเท่ากับราคาที่ดินนั้นเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง เพราะการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ก็จัดเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสอง ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10878/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้ถือหุ้นเรียกค่าเสียหายจากกรรมการบริษัทที่กระทำละเมิด และขอบเขตความรับผิดของกรรมการกับผู้รับโอน
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท บ. ได้สมคบกันในการประชุมกรรมการบริษัทและมีมติให้ขายที่ดินให้แก่จำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัทและบุคคลภายนอกในราคาต่ำกว่าราคาประเมินและราคาตามท้องตลาดทำให้บริษัทเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท อันมีลักษณะเป็นการกล่าวอ้างว่ากรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท เมื่อปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท บ. ย่อมมีอำนาจเอาคดีนี้ขึ้นว่ากล่าวฟ้องร้องแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง และโจทก์ย่อมมีอำนาจขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทโอนที่ดินทั้ง 25 แปลง คืนให้แก่บริษัท หรือหากไม่สามารถโอนคืนก็ให้ใช้ราคาที่ดินแทนได้ เพราะการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์นั้นก็จัดเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. 438 วรรคสอง แต่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ซึ่งมิใช่กรรมการบริษัทรับผิดโอนที่ดินร่วม 19 แปลง คืนให้แก่บริษัทหรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทได้ เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10738/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะนิติกรรมจำนองจากผู้จัดการมรดกปลอม และการเพิกถอนหมายบังคับคดี
ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ซึ่งเป็นมารดาของผู้ร้องและจำเลยเนื่องจากจำเลยอ้างว่า บ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้จำเลย แล้วจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและนำไปจำนองเป็นประกันหนี้ต่อโจทก์ต่อมาศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์และให้ยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดซึ่งโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีแล้ว แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ศาลไต่สวนและมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากพินัยกรรมที่จำเลยอ้างเป็นโมฆะ และตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแทน คดีถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงต้องถือว่าขณะจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัวทั้งที่ตนไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมที่อ้าง เป็นการทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ บ. อันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 นิติกรรมการโอนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โดยถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของกองมรดกของ บ. อยู่ตามเดิม สัญญาจำนองที่จำเลยในฐานะส่วนตัวทำกับโจทก์ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาท เพราะผู้จำนองไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 แม้โจทก์จะอ้างว่ารับจำนองโดยสุจริตก็ตาม
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีโดยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าว และขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี จึงเป็นคำร้องที่มีความหมายว่า โจทก์ขอหมายบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลยที่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับจำนองไว้โดยชอบ เพราะไม่ได้รับจำนองไว้จากผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่เป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 282 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าผู้ร้องกล่าวอ้างว่าหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ยื่นคำขอเจาะจงว่าให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาท และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ตามขอ ถือได้ว่าเป็นการออกหมายบังคับคดีโดยไม่ชอบตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชอบที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10694/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด: ประเด็นเหตุเพิกถอนตามมาตรา 296 วรรคสอง มิใช่ 309 ทวิ
คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 2 มีประเด็นวินิจฉัย 2 ประเด็น คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งประกาศการขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 2 โดยชอบหรือไม่ และเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดในราคาที่ต่ำเกินสมควรหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยทั้งสองประเด็นและมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งฉบับลงวันที่ 21 สิงหาคม 2549 เฉพาะประเด็นเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งประกาศการขายทอดตลาดโดยมิชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 มิใช่ประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แต่เป็นประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของ มาตรา 309 ทวิ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นตามมาตรา 296 วรรคสอง เป็นที่สุดการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ฉบับวันที่ 21 สิงหาคม 2549 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ
of 51