พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความหมายและการสื่อความหมายของคำที่เลียนเสียงจากภาษาต่างประเทศ
การที่จะพิจารณาว่าคำที่เลียนเสียงมาจากคำภาษาต่างประเทศเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงอันจะทำให้ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) นั้น นอกจากจะต้องพิจารณาว่าคำภาษาต่างประเทศดังกล่าวมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใช้ในประเทศไทยด้วยว่า ถูกนำมาใช้ในความหมายหรือในลักษณะใด และต้องพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงจนถึงขนาดทำให้เมื่อสาธารณชนเห็นเครื่องหมายการค้านี้แล้วสามารถทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นได้ในทันที หรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ แต่หากเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเพียงคำที่อาจสื่อให้สาธารณชนผู้ใช้สินค้าคิดหรือจินตนาการแล้วยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจว่าคำดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น อาจถือไม่ได้ว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำภาษาไทย ไม่มีความหมายตามพจนานุกรม คำดังกล่าวพ้องเสียงกับคำภาษาอังกฤษที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นคำว่า "INTOUCH" ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างคำว่า IN แปลว่า ใน ข้างใน และคำว่า TOUCH แปลว่า สัมผัส แตะต้อง ซึ่งสามารถแปลได้หลายความหมาย โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าเหตุใดนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงเลือกแปลความหมายของคำดังกล่าวเช่นนั้น ประกอบกับการให้ความหมายของคำว่า IN TOUCH ก็เป็นในลักษณะของการสื่อความหมาย ไม่ใช่ความหมายโดยตรง การนำคำว่า IN และคำว่า TOUCH มารวมกันจึงไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่ามีความหมายอย่างไร และแม้ตามพจนานุกรมดังกล่าวจะให้ความหมายของคำว่า Be in touch แปลว่า ติดต่อ แต่การติดต่อนั้นมีได้หลายรูปแบบ ทั้งการพบปะ พูดคุย หรือการติดต่อทางลายลักษณ์อักษร สาธารณชนในประเทศไทยเมื่อเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วย่อมไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็ไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด การใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมถือได้ว่าเป็นการใช้ในลักษณะที่ทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำภาษาไทย ไม่มีความหมายตามพจนานุกรม คำดังกล่าวพ้องเสียงกับคำภาษาอังกฤษที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นคำว่า "INTOUCH" ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างคำว่า IN แปลว่า ใน ข้างใน และคำว่า TOUCH แปลว่า สัมผัส แตะต้อง ซึ่งสามารถแปลได้หลายความหมาย โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าเหตุใดนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงเลือกแปลความหมายของคำดังกล่าวเช่นนั้น ประกอบกับการให้ความหมายของคำว่า IN TOUCH ก็เป็นในลักษณะของการสื่อความหมาย ไม่ใช่ความหมายโดยตรง การนำคำว่า IN และคำว่า TOUCH มารวมกันจึงไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่ามีความหมายอย่างไร และแม้ตามพจนานุกรมดังกล่าวจะให้ความหมายของคำว่า Be in touch แปลว่า ติดต่อ แต่การติดต่อนั้นมีได้หลายรูปแบบ ทั้งการพบปะ พูดคุย หรือการติดต่อทางลายลักษณ์อักษร สาธารณชนในประเทศไทยเมื่อเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วย่อมไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็ไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด การใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมถือได้ว่าเป็นการใช้ในลักษณะที่ทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 'CASINO MONTE-CARLO' ศาลอนุญาตจดทะเบียนได้ ยกเว้นบริการพนันโดยตรง
ในการพิจารณาว่าชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักแพร่หลายนั้นต้องพิจารณาจากประชาชนโดยทั่วไปทุกเพศ ทุกวัย และทุกกลุ่มในประเทศไทยว่าเคยได้ยินคำว่า "MONTE CARLO" และคุ้นหูว่า คำดังกล่าวเป็นสถานที่ทางภูมิศาสตร์ในโลกนี้หรือไม่ คือเมื่อเอ่ยถึงคำดังกล่าวประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และทุกกลุ่มในประเทศทราบได้ทันทีว่าเป็นชื่อเขตบริหารเขตหนึ่งในประเทศราชรัฐโมโนโก เมื่อพยานหลักฐานรับฟังได้เพียงว่า สาธารณชนในประเทศไทยเฉพาะกลุ่มคนที่เคยเห็นชื่อ "MONTE CARLO" และกลุ่มคนที่สนใจกีฬาแข่งขันรถสูตร 1 กรังด์ปรีซ์เท่านั้น ประชาชนทั่วไปในประเทศไทยจะไม่ทราบว่าชื่อดังกล่าวเป็นชื่อเขตหนึ่งในเขตบริหารของประเทศราชรัฐโมนาโก ซึ่งมีบ่อนการพนันและเป็นสถานที่ที่จัดการแข่งขันรถสูตร 1 กรังด์ปรีซ์ ชื่อ "MONTE CARLO" จึงไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทยอันจะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนด ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
คำว่า "CASINO DE MONTE - CARLO" ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการดังกล่าวมีความหมายว่า บ่อนการพนันแห่งเมืองมอนติคาร์โล เมื่อพิจารณากับรายการสินค้าและบริการส่วนใหญ่ตามคำขอจดทะเบียนทั้งสี่คำขอแรกของโจทก์ ซึ่งได้แก่รายการสินค้า เครื่องบันทึกส่งและทำเสียงซ้ำ สื่อบันทึกข้อมูล ระบบแม่เหล็ก แผ่นบันทึกเสียง เครื่องขายสินค้าอัตโนมัติ กลไกสำหรับเครื่องที่ทำงานด้วยการหยอดเหรียญเครื่องบันทึกเงินสด เครื่องคิดเลข อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล เครื่องมือที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องดับเพลิง วีดีโอเกมส์ที่ทำงานด้วยการหยอดเหรียญ รายการสินค้า กระดาษที่ใช้สำหรับพิมพ์ กระดาษชีตที่ใช้เป็นเครื่องเขียน กระดาษที่ใช้กับเครื่องบันทึก กระดาษแข็ง โบรชัวร์ แม็กกาซีน เอกสารแผ่นพับ ใบปลิว สมุด/หนังสือ เอกสารโฆษณา นิตยสารหรือวารสารที่ออกตามกำหนดเวลา วัสดุที่ใช้ในการเข้าเล่ม ภาพถ่าย กาวหรือสารยึดติดและสำหรับเครื่องเขียนหรือใช้ในครัวเรือน แปรงทาสีหรือพู่กัน เครื่องพิมพ์ดีด วัสดุที่ใช้ในการเรียนการสอน (ยกเว้นเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์) วัสดุพลาสติกที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อ ตัวพิมพ์ แม่พิมพ์ รายการสินค้า เกมอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมและชิ้นส่วนประกอบของเครื่องเล่นเกมที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องให้ความบันเทิงและชิ้นส่วนประกอบของเครื่องให้ความบันเทิงที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ อุปกรณ์สำหรับเล่นเกมที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ ไพ่ เกมกระดาน เกมที่ใช้การ์ดหรือไม่ ชุดบัตรแบบใช้แล้วทิ้งสำหรับเล่นเกมเสี่ยงโชค เครื่องเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์ และวีดีโอเกมแบบมือถือ เกมล็อตเตอรี่ โดมิโน อุปกรณ์เกมในร่ม เกมรูเล็ตต์ วิดีโอโป๊กเกอร์ เกมบลู รายการบริการ บริการถ่ายทอดข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร (การส่ง) ทางเครื่องปลายทางคอมพิวเตอร์ การส่งข้อมูลผ่านการใส่รหัสเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์ของคอมพิวเตอร์หรือเทเลมาติก การสื่อสาร (การส่ง) ข้อมูลโดยเครื่องปลายทางคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายการสื่อสารระดับประเทศ ระดับระหว่างประเทศ และทั่วโลกผ่านทางเคเบิล ดาวเทียม บริการสื่อสารทางโทรทัศน์ บริการสื่อสารทางเทเลมาติก บริการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การส่งข้อความและภาพโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ การส่งผ่านข้อมูลทางบริการเทเลมาติกโดยใช้รหัสผ่านบริการไปรษณีย์ออนไลน์ บริการโต้ตอบระดับประเทศและข้ามประเทศ (อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต) และรายการบริการ บริการศึกษา บริการด้านการฝึกอบรมกิจกรรมกีฬาและวัฒนธรรมดิสโกเธก บริการข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจบันเทิง บริการสโมสร (ธุรกิจบันเทิงหรือการศึกษา) การจัดการแสดง การจัดการและดำเนินการสัมมนา การประชุม การพบปะหารือ การประชุมทางวิชาการ การจัดงานแสดงนิทรรศการด้านวัฒนธรรมหรือการศึกษา การจัดการอีเวนต์ด้านการกีฬา การจัดการแข่งขัน (ด้านการศึกษาหรือด้านบันเทิง) การจัดการประกวดนางงาม การจัดการและดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดงานเต้นรำ วางแผนการต้อนรับแขก (ธุรกิจบันเทิง) ผลิตการแสดงไม่อาจให้เข้าใจไปได้ว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ใช้อยู่ภายในบ่อนการพนันแห่งเมืองมอนติคาร์โลหรือสินค้าและบริการดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับบ่อนการพนันแห่งเมืองมอนติคาร์โล จึงไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง ไม่ต้องห้ามรับจดทะเบียน คงมีรายการบริการจำนวน 9 รายการ ของรายการบริการตามคำขอที่ 5 ของโจทก์ ได้แก่ บริการการพนันเงิน (ที่ได้รับอนุญาต) บริการจัดการสลากกินแบ่ง (ที่ได้รับอนุญาต) บริการการพนันออนไลน์ (จากเครือข่ายประมวลผลข้อมูลที่ได้รับอนุญาต) บริการการพนันและสลากกินแบ่งออนไลน์ (จากเครือข่ายประมวลผลข้อมูลที่ได้รับอนุญาต) บริการห้องเล่นพนัน บริการคาสิโน (เกมที่ได้รับอนุญาต) บริการให้เช่าเครื่องเล่นพนันอัตโนมัติและเครื่องเล่นสำหรับสถานเล่นการพนัน บริการคาสิโนและการพนันการตลาด (ที่ได้รับอนุญาต) และการพนันและสลากกินแบ่งผ่านทางวิทยุโทรทัศน์ ดังนั้น คำว่า "CASINO" ในเครื่องหมายบริการคำว่า "CASINO DE MONTE - CARLO" เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะของบริการทั้งเก้ารายการดังกล่าวซึ่งเกี่ยวกับการพนันโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะสำหรับบริการทั้งเก้ารายการดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายบริการ "CASINO DE MONTE - CARLO" กับบริการทั้งเก้ารายการดังกล่าวโดยการให้บริการ เผยแพร่หรือโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควรจนทำให้สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนดังกล่าวแตกต่างไปจากบริการอื่นตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 คำว่า "CASINO DE MONTE - CARLO" จึงไม่อาจรับจดทะเบียนสำหรับบริการทั้งเก้ารายการได้
คำว่า "CASINO DE MONTE - CARLO" ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการดังกล่าวมีความหมายว่า บ่อนการพนันแห่งเมืองมอนติคาร์โล เมื่อพิจารณากับรายการสินค้าและบริการส่วนใหญ่ตามคำขอจดทะเบียนทั้งสี่คำขอแรกของโจทก์ ซึ่งได้แก่รายการสินค้า เครื่องบันทึกส่งและทำเสียงซ้ำ สื่อบันทึกข้อมูล ระบบแม่เหล็ก แผ่นบันทึกเสียง เครื่องขายสินค้าอัตโนมัติ กลไกสำหรับเครื่องที่ทำงานด้วยการหยอดเหรียญเครื่องบันทึกเงินสด เครื่องคิดเลข อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล เครื่องมือที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องดับเพลิง วีดีโอเกมส์ที่ทำงานด้วยการหยอดเหรียญ รายการสินค้า กระดาษที่ใช้สำหรับพิมพ์ กระดาษชีตที่ใช้เป็นเครื่องเขียน กระดาษที่ใช้กับเครื่องบันทึก กระดาษแข็ง โบรชัวร์ แม็กกาซีน เอกสารแผ่นพับ ใบปลิว สมุด/หนังสือ เอกสารโฆษณา นิตยสารหรือวารสารที่ออกตามกำหนดเวลา วัสดุที่ใช้ในการเข้าเล่ม ภาพถ่าย กาวหรือสารยึดติดและสำหรับเครื่องเขียนหรือใช้ในครัวเรือน แปรงทาสีหรือพู่กัน เครื่องพิมพ์ดีด วัสดุที่ใช้ในการเรียนการสอน (ยกเว้นเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์) วัสดุพลาสติกที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อ ตัวพิมพ์ แม่พิมพ์ รายการสินค้า เกมอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมและชิ้นส่วนประกอบของเครื่องเล่นเกมที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องให้ความบันเทิงและชิ้นส่วนประกอบของเครื่องให้ความบันเทิงที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ อุปกรณ์สำหรับเล่นเกมที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ ไพ่ เกมกระดาน เกมที่ใช้การ์ดหรือไม่ ชุดบัตรแบบใช้แล้วทิ้งสำหรับเล่นเกมเสี่ยงโชค เครื่องเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์ และวีดีโอเกมแบบมือถือ เกมล็อตเตอรี่ โดมิโน อุปกรณ์เกมในร่ม เกมรูเล็ตต์ วิดีโอโป๊กเกอร์ เกมบลู รายการบริการ บริการถ่ายทอดข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร (การส่ง) ทางเครื่องปลายทางคอมพิวเตอร์ การส่งข้อมูลผ่านการใส่รหัสเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์ของคอมพิวเตอร์หรือเทเลมาติก การสื่อสาร (การส่ง) ข้อมูลโดยเครื่องปลายทางคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายการสื่อสารระดับประเทศ ระดับระหว่างประเทศ และทั่วโลกผ่านทางเคเบิล ดาวเทียม บริการสื่อสารทางโทรทัศน์ บริการสื่อสารทางเทเลมาติก บริการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การส่งข้อความและภาพโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ การส่งผ่านข้อมูลทางบริการเทเลมาติกโดยใช้รหัสผ่านบริการไปรษณีย์ออนไลน์ บริการโต้ตอบระดับประเทศและข้ามประเทศ (อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต) และรายการบริการ บริการศึกษา บริการด้านการฝึกอบรมกิจกรรมกีฬาและวัฒนธรรมดิสโกเธก บริการข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจบันเทิง บริการสโมสร (ธุรกิจบันเทิงหรือการศึกษา) การจัดการแสดง การจัดการและดำเนินการสัมมนา การประชุม การพบปะหารือ การประชุมทางวิชาการ การจัดงานแสดงนิทรรศการด้านวัฒนธรรมหรือการศึกษา การจัดการอีเวนต์ด้านการกีฬา การจัดการแข่งขัน (ด้านการศึกษาหรือด้านบันเทิง) การจัดการประกวดนางงาม การจัดการและดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดงานเต้นรำ วางแผนการต้อนรับแขก (ธุรกิจบันเทิง) ผลิตการแสดงไม่อาจให้เข้าใจไปได้ว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ใช้อยู่ภายในบ่อนการพนันแห่งเมืองมอนติคาร์โลหรือสินค้าและบริการดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับบ่อนการพนันแห่งเมืองมอนติคาร์โล จึงไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง ไม่ต้องห้ามรับจดทะเบียน คงมีรายการบริการจำนวน 9 รายการ ของรายการบริการตามคำขอที่ 5 ของโจทก์ ได้แก่ บริการการพนันเงิน (ที่ได้รับอนุญาต) บริการจัดการสลากกินแบ่ง (ที่ได้รับอนุญาต) บริการการพนันออนไลน์ (จากเครือข่ายประมวลผลข้อมูลที่ได้รับอนุญาต) บริการการพนันและสลากกินแบ่งออนไลน์ (จากเครือข่ายประมวลผลข้อมูลที่ได้รับอนุญาต) บริการห้องเล่นพนัน บริการคาสิโน (เกมที่ได้รับอนุญาต) บริการให้เช่าเครื่องเล่นพนันอัตโนมัติและเครื่องเล่นสำหรับสถานเล่นการพนัน บริการคาสิโนและการพนันการตลาด (ที่ได้รับอนุญาต) และการพนันและสลากกินแบ่งผ่านทางวิทยุโทรทัศน์ ดังนั้น คำว่า "CASINO" ในเครื่องหมายบริการคำว่า "CASINO DE MONTE - CARLO" เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะของบริการทั้งเก้ารายการดังกล่าวซึ่งเกี่ยวกับการพนันโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะสำหรับบริการทั้งเก้ารายการดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายบริการ "CASINO DE MONTE - CARLO" กับบริการทั้งเก้ารายการดังกล่าวโดยการให้บริการ เผยแพร่หรือโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควรจนทำให้สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนดังกล่าวแตกต่างไปจากบริการอื่นตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 คำว่า "CASINO DE MONTE - CARLO" จึงไม่อาจรับจดทะเบียนสำหรับบริการทั้งเก้ารายการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หลักเกณฑ์ลักษณะบ่งเฉพาะและความหมายของคำตามพจนานุกรม
ในการพิจารณาเปรียบเทียบว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น ไม่ใช่พิจารณาเปรียบเทียบเฉพาะรูปหรือคำหรือข้อความที่ปรากฏให้เห็นด้วยสายตาเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาองค์ประกอบรวมทุกส่วนของเครื่องหมายการค้าทั้งสองนั้น ทั้งสำเนียง เสียงเรียกขาน รายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับเครื่องหมายการค้าทั้งสองว่าเป็นสินค้าจำพวกเดียวกัน หรือเป็นสินค้าต่างจำพวกกันแต่มีลักษณะอย่างเดียวกัน รวมทั้งพิจารณาว่าสาธารณชนกลุ่มผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองว่าเป็นกลุ่มเดียวกันและมีความรู้เพียงพอที่จะแยกแยะความแตกต่างของสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองได้ดีหรือไม่เพียงใด สำหรับเครื่องหมายการค้า ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าคำว่า "DETECH" ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมัน 4 ตัว คือ "D" "T" "E" และ "C" อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นทึบมุมมน โดยอักษรโรมัน "D" มีลักษณะเป็นอักษรประดิษฐ์ต่างจากอักษรโรมันตัวอื่นซึ่งเป็นอักษรโรมันธรรมดาเพื่อให้เป็นลักษณะเด่นและง่ายต่อการจดจำ ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วประกอบด้วยอักษรโรมันธรรมดา 6 ตัว คือ "D" "E" "T" "E" "C" และ "H" และไม่มีกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นทึบมุมมน ล้อมตัวอักษรดังกล่าว จึงมีความแตกต่างกันในส่วนของรูปลักษณ์ แม้เครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจะมีเสียงเรียกขาน 2 พยางค์เหมือนกันว่า ดีเทค แต่เมื่อพิจารณาจากรายการสินค้าตามคำขอของโจทก์และรายการสินค้าของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ได้ความว่าตามคำขอของโจทก์เป็นการขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 12 รายการสินค้า เครื่องระบบเบรกสำหรับยานพาหนะที่ไม่ใช้กับรถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนเบรกสำหรับยานพาหนะที่ไม่ใช้กับรถจักรยานยนต์ ผ้าเบรกสำหรับยานพาหนะที่ไม่ใช้กับรถจักรยานยนต์ ส่วนสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "DETECH" ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว แม้จะเป็นสินค้าจำพวก 12 เช่นเดียวกัน แต่รายการสินค้าแตกต่างกัน โดยเป็นสินค้ารถจักรยานยนต์ โครงเครื่องยนต์ และอานที่ใช้กับรถจักรยานยนต์ รายการสินค้าตามคำขอของโจทก์เป็นสินค้าที่ไม่เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ แต่รายการสินค้าตามเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์โดยเฉพาะ สาธารณชนผู้ซื้อสินค้าจึงเป็นคนละกลุ่มกัน ผู้ซื้อสินค้าของโจทก์ส่วนใหญ่จะเป็นช่างซ่อมยานพาหนะที่ไม่ใช่รถจักรยานยนต์ ซึ่งย่อมต้องมีความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์พอสมควรและย่อมคุ้นเคยกับเครื่องหมายการค้าที่ตนจะซื้อดีพอที่จะแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า ของโจทก์กับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "DETECH" ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ว่าไม่ใช่สินค้าที่มีเจ้าของหรือมีแหล่งกำเนิดของสินค้าเดียวกัน จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเครื่องหมายการค้า ตามคำขอของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "DETECH" ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6 (3) ประกอบมาตรา 13
ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาว่าคำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้นสามารถทำให้สาธารณชนทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นมีลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างไรและเพียงใด หากสาธารณชนสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีว่าเป็นสินค้านั้น หรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใดเพราะคำดังกล่าวเป็นคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง แต่หากสาธารณชนยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงประเภทหรือชนิดของสินค้านั้น เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำของสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ เมื่อเครื่องหมายการค้า ที่โจทก์ขอจดทะเบียนไม่มีความหมายหรือคำแปลในพจนานุกรมว่ามีความหมายเช่นไร คงมีคำแปลแต่เพียงคำว่า "TEC" ซึ่งโจทก์นำสืบว่าหมายถึง ส่วนจำเลยนำสืบเพียงคำว่า "TEC" เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากคำว่า "TECH" ซึ่งเป็นคำย่อมาจากคำว่า "TECHNOLOGY" ตามพจนานุกรมเท่านั้น ซึ่งตามพจนานุกรมดังกล่าวก็ยังปรากฏด้วยว่าคำว่า tec เป็นคำย่อมาจากคำว่า "detective" หมายถึงนักสืบ และคำว่า "TEC" เป็นคำย่อมาจาก "total blood eosinophil count" หมายถึงการนับจำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอสิโนฟีลด้วย คำว่า "DTEC"จึงไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนโดยตรง จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ
ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาว่าคำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้นสามารถทำให้สาธารณชนทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นมีลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างไรและเพียงใด หากสาธารณชนสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีว่าเป็นสินค้านั้น หรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใดเพราะคำดังกล่าวเป็นคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง แต่หากสาธารณชนยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงประเภทหรือชนิดของสินค้านั้น เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำของสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ เมื่อเครื่องหมายการค้า ที่โจทก์ขอจดทะเบียนไม่มีความหมายหรือคำแปลในพจนานุกรมว่ามีความหมายเช่นไร คงมีคำแปลแต่เพียงคำว่า "TEC" ซึ่งโจทก์นำสืบว่าหมายถึง ส่วนจำเลยนำสืบเพียงคำว่า "TEC" เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากคำว่า "TECH" ซึ่งเป็นคำย่อมาจากคำว่า "TECHNOLOGY" ตามพจนานุกรมเท่านั้น ซึ่งตามพจนานุกรมดังกล่าวก็ยังปรากฏด้วยว่าคำว่า tec เป็นคำย่อมาจากคำว่า "detective" หมายถึงนักสืบ และคำว่า "TEC" เป็นคำย่อมาจาก "total blood eosinophil count" หมายถึงการนับจำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอสิโนฟีลด้วย คำว่า "DTEC"จึงไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนโดยตรง จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15017/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายบริการ 'Dream, Believe, Achieve' มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้เป็นคำทั่วไป แต่มีองค์ประกอบพิเศษและไม่ได้สื่อถึงลักษณะบริการโดยตรง
เครื่องหมายบริการที่จะเป็นเครื่องหมายบริการประเภทคำหรือข้อความที่ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะได้ จะต้องเป็นเครื่องหมายบริการที่มีคำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการนั้นโดยตรง เครื่องหมายบริการตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์คำว่า Dream , Believe and Achieve ... นั้นประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน เครื่องหมายจุลภาค และจุดไข่ปลา ประกอบกัน เขียนด้วยลายมือของโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการดังกล่าวเพื่อใช้กับบริการจำพวกที่ 35 รายการบริการ จัดการธุรกิจในห้างสรรพสินค้า แม้ถ้อยคำแต่ละคำเป็นคำที่มีความหมายอยู่แล้ว ไม่ใช่คำที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ โดยความหมายของคำดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการแปลเป็นภาษาไทยตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าแปลความหมายของคำดังกล่าวไว้ว่า ฝัน เชื่อ และ สำเร็จ หรือความหมายว่า จงมีความฝัน จงมีความเชื่อและจะประสบความสำเร็จ ตามคำแปลของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า แต่เมื่อถ้อยคำดังกล่าวนั้นโจทก์เป็นผู้ริเริ่มนำมารวมกันเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายบริการสำหรับรายการบริการจัดการธุรกิจในห้างสรรพสินค้าของโจทก์ ทั้งยังมีลักษณะพิเศษคือตัวอักษรโรมันและเครื่องหมายที่ใช้ประกอบกันเป็นคำนั้นเป็นตัวอักษรโรมันที่เขียนด้วยลายมือของโจทก์ซึ่งไม่เหมือนกับผู้ใด การวางตำแหน่งตัวอักษรก็จัดวางเป็นสองแถวซ้อนกัน ดังนั้นประชาชนหรือผู้ใช้บริการย่อมสามารถทราบและเข้าใจได้ว่าการบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์นั้นแตกต่างไปจากการบริการอื่น ประกอบกับคำว่า Dream , Believe and Achieve ... ที่โจทก์ขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับบริการจำพวกที่ 35 รายการบริการ จัดการธุรกิจในห้างสรรพสินค้า เมื่อพิจารณาแล้วไม่ปรากฏว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับลักษณะของการบริการจัดการธุรกิจในห้างสรรพสินค้าอันเป็นรายการบริการที่โจทก์มุ่งใช้กับเครื่องหมายบริการดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้นคำว่า Dream , Believe and Achieve ... จึงเป็นคำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของรายการบริการของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนโดยตรง และถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายบริการที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบและเข้าใจได้ว่าบริการของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างไปจากบริการที่ใช้เครื่องหมายอื่น จึงเป็นเครื่องหมายบริการที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15015/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความแตกต่างขององค์ประกอบรวมและประเภทสินค้า
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ไม่ใช่พิจารณาเปรียบเทียบเฉพาะรูปหรือคำหรือข้อความที่ปรากฏหรือเสียงเรียกขานอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ของเครื่องหมายการค้าที่ประกอบกันขึ้นเป็นองค์ประกอบรวมของเครื่องหมายการค้านั้นทั้งหมด รวมทั้งสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นด้วยว่าเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือเป็นสินค้าต่างจำพวกกันแต่มีลักษณะอย่างเดียวกัน และสาธารณชนผู้ใช้หรือบริโภคสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นกลุ่มเดียวกันหรือไม่ ทั้งยังต้องคำนึงถึงความสุจริตในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยสาระสำคัญอยู่ที่ว่าความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้านั้นถึงขนาดที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่
เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเฉพาะภาคส่วนที่เป็นอักษรโรมัน "HOLLISTER" แล้วเห็นได้ว่าคำดังกล่าวตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมันที่เหมือนกันกับของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เพียงแต่คำดังกล่าวตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์นั้นเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ส่วนของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีเพียงอักษรโรมัน H ซึ่งเป็นอักษรโรมันตัวแรกเท่านั้นที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเสียงเรียกขานทั้งเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีเสียงเรียกขานคล้ายกันว่า "โฮลลิสเตอร์" แต่เมื่อพิจารณาในส่วนองค์ประกอบรวมของเครื่องหมายการค้า และ ตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์แล้วเห็นว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของโจทก์ยังมีภาคส่วนอื่นประกอบอยู่ด้วย โดยเครื่องหมายการค้า มีรูปนกประดิษฐ์อยู่ตรงกลางของเครื่องหมาย มีคำว่า "HOLLISTER" อยู่ด้านบน และมีคำว่า "CALIFORNIA" อยู่ด้านล่างของเครื่องหมาย ส่วนเครื่องหมายการค้า มีรูปนกประดิษฐ์อยู่ด้านบน มีคำว่า "HOLLISTER" อยู่ตรงกลาง และมีคำว่า "CALIFORNIA" อยู่ด้านล่างของเครื่องหมาย แม้คำว่า "CALIFORNIA" จะเป็นชื่อมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาอันเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และในระหว่างพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโจทก์ได้แถลงขอสละประเด็นตามคำฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนคำดังกล่าวด้วยหรือไม่ โดยโจทก์แถลงว่าโจทก์ยินยอมที่จะแสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า "CALIFORNIA" แต่คำดังกล่าวก็ถือเป็นภาคส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์ที่ทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว นอกจากนี้ เครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์ยังมีรูปนกประดิษฐ์เป็นภาคส่วนที่สำคัญซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเช่นกัน โดยเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีแต่เพียงรูปประดิษฐ์ซึ่งเป็นอักษรโรมัน H จำนวน 4 ตัว ประกอบกันเป็นรูปคล้ายอักษรโรมัน X หรือรูปกากบาท วางอยู่ด้านหน้าคำว่า "Hollister" เท่านั้น เมื่อพิจารณาองค์ประกอบรวมทุกภาคส่วนของเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์เปรียบเทียบกับรายการสินค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เห็นได้ว่าสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอนั้นเป็นสินค้าจำพวกที่ 3 รายการสินค้า ลิปบาล์ม ลิปกลอส สเปรย์ฉีดตัวสำหรับใช้เป็นเครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวและให้กลิ่นหอม เครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวใช้กับร่างกาย เครื่องสำอางระงับกลิ่นตัว ยาดับกลิ่นตัว เครื่องสำอางระงับกลิ่นเหงื่อ ครีมเสริมสวย ครีมเสริมสวยสำหรับทาตัว โลชั่นเสริมสวย เครื่องสำอางใช้กับร่างกาย เครื่องสำอางใช้เสริมสวย โลชั่นทาตัว โลชั่นทามือ เครื่องสำอางใช้ทำความสะอาดร่างกาย โคโลญ สารให้กลิ่นหอมสำหรับใช้กับร่างกาย น้ำหอม ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องสำอางและเครื่องประทินผิว ซึ่งมักวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป และผู้ใช้สินค้าดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป แต่สินค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นสินค้าจำพวกที่ 5 รายการสินค้า วัสดุตกแต่งบาดแผล น้ำยาทำความสะอาดผิว ครีมปรับสภาพผิว ขี้ผึ้งกันความชื้น กาวใช้ในทางการแพทย์ สารลอกกาวใช้ในทางการแพทย์ แผ่นปิดผิวหนัง ครีมและแป้งใช้รักษาบาดแผลและแผลเปิดของลำไส้บริเวณหน้าท้อง สารหล่อลื่นรูเปิดผนังหน้าท้อง เจลทาผิวใช้ในทางการแพทย์ ยาดับกลิ่นที่ไม่ได้ใช้กับร่างกาย ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ในทางการแพทย์ ดังนั้น ผู้ใช้สินค้าดังกล่าวจึงเป็นแพทย์ พยาบาล หรือผู้ป่วยที่แพทย์แนะนำให้ใช้สินค้าดังกล่าวเท่านั้น และสถานที่จำหน่ายก็มีเพียงเฉพาะในโรงพยาบาลหรือร้านขายยาซึ่งมีเภสัชกรคอยแนะนำซึ่งบุคคลดังกล่าวย่อมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นอย่างดี ดังนั้น ทั้งรายการสินค้า กลุ่มผู้ใช้สินค้า และสถานที่จำหน่ายสินค้าของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงแตกต่างกัน ยังไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าสาธารณชนผู้ใช้สินค้าของโจทก์และผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจะสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองคำขอคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเฉพาะภาคส่วนที่เป็นอักษรโรมัน "HOLLISTER" แล้วเห็นได้ว่าคำดังกล่าวตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมันที่เหมือนกันกับของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เพียงแต่คำดังกล่าวตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์นั้นเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ส่วนของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีเพียงอักษรโรมัน H ซึ่งเป็นอักษรโรมันตัวแรกเท่านั้นที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเสียงเรียกขานทั้งเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีเสียงเรียกขานคล้ายกันว่า "โฮลลิสเตอร์" แต่เมื่อพิจารณาในส่วนองค์ประกอบรวมของเครื่องหมายการค้า และ ตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์แล้วเห็นว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของโจทก์ยังมีภาคส่วนอื่นประกอบอยู่ด้วย โดยเครื่องหมายการค้า มีรูปนกประดิษฐ์อยู่ตรงกลางของเครื่องหมาย มีคำว่า "HOLLISTER" อยู่ด้านบน และมีคำว่า "CALIFORNIA" อยู่ด้านล่างของเครื่องหมาย ส่วนเครื่องหมายการค้า มีรูปนกประดิษฐ์อยู่ด้านบน มีคำว่า "HOLLISTER" อยู่ตรงกลาง และมีคำว่า "CALIFORNIA" อยู่ด้านล่างของเครื่องหมาย แม้คำว่า "CALIFORNIA" จะเป็นชื่อมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาอันเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และในระหว่างพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโจทก์ได้แถลงขอสละประเด็นตามคำฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนคำดังกล่าวด้วยหรือไม่ โดยโจทก์แถลงว่าโจทก์ยินยอมที่จะแสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า "CALIFORNIA" แต่คำดังกล่าวก็ถือเป็นภาคส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์ที่ทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว นอกจากนี้ เครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์ยังมีรูปนกประดิษฐ์เป็นภาคส่วนที่สำคัญซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเช่นกัน โดยเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีแต่เพียงรูปประดิษฐ์ซึ่งเป็นอักษรโรมัน H จำนวน 4 ตัว ประกอบกันเป็นรูปคล้ายอักษรโรมัน X หรือรูปกากบาท วางอยู่ด้านหน้าคำว่า "Hollister" เท่านั้น เมื่อพิจารณาองค์ประกอบรวมทุกภาคส่วนของเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์เปรียบเทียบกับรายการสินค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เห็นได้ว่าสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอนั้นเป็นสินค้าจำพวกที่ 3 รายการสินค้า ลิปบาล์ม ลิปกลอส สเปรย์ฉีดตัวสำหรับใช้เป็นเครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวและให้กลิ่นหอม เครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวใช้กับร่างกาย เครื่องสำอางระงับกลิ่นตัว ยาดับกลิ่นตัว เครื่องสำอางระงับกลิ่นเหงื่อ ครีมเสริมสวย ครีมเสริมสวยสำหรับทาตัว โลชั่นเสริมสวย เครื่องสำอางใช้กับร่างกาย เครื่องสำอางใช้เสริมสวย โลชั่นทาตัว โลชั่นทามือ เครื่องสำอางใช้ทำความสะอาดร่างกาย โคโลญ สารให้กลิ่นหอมสำหรับใช้กับร่างกาย น้ำหอม ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องสำอางและเครื่องประทินผิว ซึ่งมักวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป และผู้ใช้สินค้าดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป แต่สินค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นสินค้าจำพวกที่ 5 รายการสินค้า วัสดุตกแต่งบาดแผล น้ำยาทำความสะอาดผิว ครีมปรับสภาพผิว ขี้ผึ้งกันความชื้น กาวใช้ในทางการแพทย์ สารลอกกาวใช้ในทางการแพทย์ แผ่นปิดผิวหนัง ครีมและแป้งใช้รักษาบาดแผลและแผลเปิดของลำไส้บริเวณหน้าท้อง สารหล่อลื่นรูเปิดผนังหน้าท้อง เจลทาผิวใช้ในทางการแพทย์ ยาดับกลิ่นที่ไม่ได้ใช้กับร่างกาย ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ในทางการแพทย์ ดังนั้น ผู้ใช้สินค้าดังกล่าวจึงเป็นแพทย์ พยาบาล หรือผู้ป่วยที่แพทย์แนะนำให้ใช้สินค้าดังกล่าวเท่านั้น และสถานที่จำหน่ายก็มีเพียงเฉพาะในโรงพยาบาลหรือร้านขายยาซึ่งมีเภสัชกรคอยแนะนำซึ่งบุคคลดังกล่าวย่อมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นอย่างดี ดังนั้น ทั้งรายการสินค้า กลุ่มผู้ใช้สินค้า และสถานที่จำหน่ายสินค้าของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงแตกต่างกัน ยังไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าสาธารณชนผู้ใช้สินค้าของโจทก์และผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจะสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองคำขอคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8823/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า 'Caramelts' เป็นคำประดิษฐ์ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ สามารถจดทะเบียนได้ แม้มีคำว่า 'Caramel' รวมอยู่ด้วย
คำว่า "Caramelts" เป็นคำที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรม เป็นคำที่ไม่มีความหมาย ไม่มีคำแปล ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์ขึ้น แม้คำว่า "Caramelts" จะมีอักษรโรมัน คำว่า "Caramel" รวมอยู่ด้วย แต่ก็มิได้ทำให้เข้าใจไปได้ว่าหมายถึง คาราเมลที่มีสีน้ำตาลอมเหลือง น้ำตาลไหม้ ขนมหวาน คำว่า "Caramelts" จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง ย่อมนำมาใช้กับสินค้าขนมหวานช็อกโกแลต เครื่องดื่มช็อกโกแลต อาหารที่มีชื่อช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมหลักได้ คำว่า "Caramelts" จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรง และมีลักษณะเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า 'VFLEX' เป็นคำประดิษฐ์ มีลักษณะบ่งเฉพาะ จึงรับจดทะเบียนได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "VFLEX" เป็นคำที่ไม่มีคำแปลหรือปรากฏในพจนานุกรม จึงเป็นคำที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้น แม้โจทก์ไม่ได้ทำให้อักษร V มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากอักษรโรมัน V ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ คำดังกล่าวโดยรวมทั้งคำก็ยังเป็นคำประดิษฐ์อยู่ อย่างไรก็ดีแม้จะพิจารณาโดยการแยกคำ ความหมายก็หาได้ยุติดังที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยไม่ กล่าวคือ อักษร V ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าอ้างถึงพจนานุกรมอักษรย่ออังกฤษ - ไทย โดยสุนทร ประสารพจน์ ว่า อักษรโรมัน V เป็นคำย่อของคำว่า Very แปลว่า มาก มากๆ อย่างยิ่ง แท้จริง นั้น ตามสำเนาพจนานุกรมดังกล่าว อักษร V มิได้เป็นคำย่อของ Very ซึ่งแปลว่า มาก มากๆ อย่างยิ่ง แท้จริง เท่านั้น แต่เป็นคำย่อของหลายสิ่ง เมื่อพิจารณาพจนานุกรมเล่มอื่นก็เช่นกัน ดังนั้นอักษร V จึงมีความหมายหลากหลายจนไม่อาจยืนยันได้อย่างแน่ชัดว่าหมายถึงสิ่งใด สำหรับคำว่า FLEX ตามสำเนาพจนานุกรม Oxford River Books English- Thai Dictionary หากเป็นคำนาม หมายถึงสายไฟ หากเป็นคำกริยาแปลว่า งอ คำว่า FLEX จึงไม่ได้แปลว่า โค้งงอ เพียงอย่างเดียว การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาหาความหมายของคำว่า "VFLEX" โดยแยกคำเป็นภาคส่วน แล้วนำความหมายแต่ละภาคส่วนตามที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาเลือกมารวมกัน เพื่อให้ความหมายของคำดังกล่าวว่าโค้งงอได้อย่างมาก โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าเหตุใดคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงหยิบยกความหมายนั้น ๆ มาใช้ จึงไม่ถูกต้อง เพราะอักษร V และคำว่า FLEX ต่างมีความหมายหลายอย่าง เมื่อนำมารวมกันแล้วจะมีความหมายอย่างใดขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้ความหมายใดของอักษร V กับความหมายใดของคำว่า FLEX นอกจากนี้การพิจารณาเครื่องหมายการค้าที่อาจรับจดทะเบียนได้หรือไม่นั้นต้องมองภาพโดยรวมของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเองด้วย ทั้งการไม่สามารถหาความหมายของคำว่า "VFLEX" ที่ชัดเจนได้เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนว่าคำดังกล่าวเป็นคำที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้น จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ และเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ต้องดูความหมายและการใช้จริง ไม่ใช่แค่พจนานุกรม
การที่จะพิจารณาว่าคำในภาษาต่างประเทศเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอันจะทำให้ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) นอกจากจะพิจารณาว่าคำดังกล่าวมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใช้คำดังกล่าวในประเทศที่เป็นเจ้าของภาษานั้น ๆ และในประเทศไทยด้วยว่า คำดังกล่าวถูกนำมาใช้ในความหมายหรือในลักษณะใดด้วย หาใช่พิจารณาเฉพาะคำแปลที่ปรากฏในพจนานุกรมที่แปลเป็นภาษาไทยแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงถึงขนาดทำให้เมื่อสาธารณชนเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วก็จะทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นได้ในทันที หรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ไม่ยาก จำเลยทั้งสองนำสืบว่าคำว่า SCOTCH เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยอ้างสำเนาพจนานุกรมของ ดร. ว. เพียงฉบับเดียวว่า คำดังกล่าวมีคำแปลว่า ตัด เฉือน กรีด โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมานำสืบสนับสนุนให้เห็นได้ว่า คำดังกล่าวมีความหมายเป็นที่เข้าใจกันในหมู่สาธารณชนทั่วไปว่าหมายถึง ตัด เฉือน กรีดจริง ฟังไม่ได้ว่าคำดังกล่าวเป็นคำที่แปลหรือมีความหมายว่าการตัด การเฉือน การกรีด โดยใช้กรรไกรเท่านั้น จึงไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้ากรรไกรโดยตรงและเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14583/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า 'COKE ZERO' มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้คำว่า 'ZERO' ไม่ได้ระบุคุณสมบัติสินค้าโดยตรง ศาลฎีกาพิพากษากลับให้รับจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้า ที่โจทก์ขอจดทะเบียนนั้นเป็นคำที่ใช้ประกอบกัน โดยในส่วนคำว่า COKE และ โค้ก มีลักษณะบ่งเฉพาะที่โจทก์ใช้มานานจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายอยู่แล้ว ส่วนคำว่า ZERO แม้จะมีความหมายว่า ศูนย์ หรือไม่มีค่า และคำว่า ซีโร่ เป็นคำที่เลียนมาจากคำว่า ZERO ดังกล่าวทำให้มีความหมายเช่นเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อนำคำว่า ZERO และ ซีโร่ มาใช้ประกอบคำว่า COKE และ โค้ก ลักษณะการใช้และความหมายคำดังกล่าวยังไม่ถึงกับทำให้มีความหมายโดยตรงว่าเป็นเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาล ส่วนการที่โจทก์อาจโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์ที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้านี้ไม่มีส่วนผสมน้ำตาล ก็เป็นเพียงการโฆษณาสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบถึงลักษณะของสินค้าเครื่องดื่มของโจทก์ต่างหากจากความหมายของคำดังกล่าว คำว่า ZERO และ ซีโร่ เป็นเพียงคำหรือถ้อยคำที่อาจเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าก็ด้วยการเทียบเคียงและโฆษณาประกอบ ไม่ถึงขนาดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวก 32 ที่โจทก์ขอจดทะเบียนไว้โดยตรง จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) และไม่จำต้องให้โจทก์แสดงการปฏิเสธไม่ขอถือคำว่า ZERO และ ซีโร่ เป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวหรือปฏิเสธอย่างอื่นตามมาตรา 17 (1) และ (2) เพราะนอกจากเครื่องหมายของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะทุกส่วนแล้ว คำว่า ZERO และ ซีโร่ ดังกล่าวนี้ บุคคลอื่นก็อาจนำไปใช้หรือประกอบคำอื่นในเครื่องหมายการค้าของตนเพื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ตราบเท่าที่ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือเป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่พึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 ประการอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: คำว่า 'Von Dutch' ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการพิพากษาเกินคำฟ้อง
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2543) เรื่อง เครื่องหมายที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2543 ข้อ 2 (2) กำหนดว่า เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเป็นเครื่องหมายหรือคำบรรยายอันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดเกี่ยวกับชนิดของสินค้า แหล่งกำเนิดของสินค้า หรือความเป็นเจ้าของสินค้า เป็นเครื่องหมายที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน ซึ่งประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (13) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันเป็นบทบัญญัติที่ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่บัญญัติไว้ ดังนั้น การตีความบทบัญญัติมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และประกาศกระทรวงพาณิชย์ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวจึงต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าเครื่องหมายหรือคำบรรยายอันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดเกี่ยวกับ "แหล่งกำเนิดของสินค้า" นั้น หมายถึง เครื่องหมายหรือคำบรรยายที่สื่อความหมายถึงหรือทำให้เข้าใจว่าเป็นประเทศ เมือง หรือสถานที่อันเป็นแหล่งกำเนิดหรือที่มาของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยตรงเท่านั้น ไม่อาจตีความโดยขยายความให้หมายความรวมถึงเครื่องหมายหรือคำบรรยายที่สื่อความหมายถึงหรือทำให้เข้าใจว่าเป็นคนสัญชาติของประเทศหรือบุคคลซึ่งอาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ๆ ด้วยได้ เพราะหากตีความโดยขยายความเช่นนั้นจะมีผลเท่ากับเป็นการไม่ให้นำคำที่สื่อความหมายถึงคนสัญชาติของประเทศหรือบุคคลซึ่งอาศัยอยู่ในสถานที่นั้นมาขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า ทั้ง ๆ ที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามไว้โดยชัดแจ้ง สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยคำว่า "Von" เป็นคำในภาษาเยอรมันที่แปลว่า "จาก ของ มาจาก" ส่วนคำว่า "Dutch" เป็นคำในภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า "ชาวเนเธอร์แลนด์" เมื่อนำคำทั้งสองคำมารวมเข้าด้วยกันเป็น "Von Dutch" ย่อมแปลความหมายได้ว่า "มาจากชาวเนเธอร์แลนด์" มีความหมายที่สื่อถึงคนชาติเนเธอร์แลนด์โดยตรง หาได้สื่อความหมายถึงประเทศเนเธอร์แลนด์ อันเป็นชื่อเรียกสถานที่ซึ่งอยู่ในความหมายของ "แหล่งกำเนิดของสินค้า" ตามข้อ 2 (2) ของประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าวไม่ เครื่องหมายการค้า คำว่า "Von Dutch" ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ จึงไม่มีลักษณะเป็นเครื่องหมายหรือคำบรรยายอันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของสินค้า ทั้งยังถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนเพราะอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าด้วย และเมื่อนำไปใช้กับสินค้าที่ขอจดทะเบียนสามารถสื่อความหมายได้เพียงว่า สินค้าดังกล่าวมาจากหรือเป็นของคนชาติของประเทศเนเธอร์แลนด์โดยรวมเท่านั้น ไม่อาจทำให้เข้าใจไปได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านี้เป็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง อันจะทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้านั้นได้
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 กระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวมีคำวินิจฉัยโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวและพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 นั้น ในปัญหานี้ปรากฏตามคำฟ้องว่า โจทก์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าโดยฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ในฐานะประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในการออกคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 96 (1) มิได้ตั้งข้อหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ว่ากระทำการโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อในการออกคำวินิจฉัยดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการส่วนตัว จึงไม่ชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2534 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 กระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวมีคำวินิจฉัยโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวและพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 นั้น ในปัญหานี้ปรากฏตามคำฟ้องว่า โจทก์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าโดยฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ในฐานะประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในการออกคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 96 (1) มิได้ตั้งข้อหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ว่ากระทำการโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อในการออกคำวินิจฉัยดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการส่วนตัว จึงไม่ชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2534 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง