คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรวัตร อิศราภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5297/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัดชำระหนี้ ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้ทันที
โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า จำเลยทั้งสองยอมชำระเงิน 500,000 บาท แก่โจทก์ ตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือนโดยนำเงินมาวางศาลเดือนละไม่น้อยกว่า 4,000 บาท ทกุเดือนติดต่อกัน เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545 งวดต่อไปชำระทุกวันที่ 22 ของเดือน โดยจะชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 8 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากผิดนัด 2 งวดโดยไม่จำต้องติดต่อกันให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวได้กำหนดวันและจำนวนหนี้ที่ต้องชำระไว้แน่นอน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำเงินมาวางศาลภายในกำหนดถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำพิพากษา แม้ว่าโจทก์จะมาขอรับเงินที่จำเลยที่ 2 นำมาวางศาลภายหลังที่ผิดนัดแล้วก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ได้ทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรสจากการขายฝากที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรส ศาลไม่อนุญาตให้ร้องสอดเป็นคู่ความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายฝากที่ดินพิพาทไว้แก่โจทก์แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องสอดเป็นสามีของจำเลย จำเลยขายฝากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอด ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก ดังนี้ แม้ศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารก็ไม่กระทบสิทธิของผู้ร้องสอดในฐานะคู่สมรสที่ยังคงมีอยู่ในกรณีการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยตามที่ผู้ร้องสอดอ้าง สิทธิของผู้ร้องสอดมีอยู่เพียงใดก็คงมีอยู่เพียงนั้น คำร้องของผู้ร้องสอดไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากต้นไม้ล้มทับ - กรมทางหลวงต้องรับผิดชอบหากละเลยไม่บำรุงรักษาต้นไม้ที่อยู่ในความดูแลจนเกิดอันตราย
วันเกิดเหตุฝนตกไม่มากและลมพัดไม่แรง การที่ต้นจามจุรีริมทางหลวงล้มทับผู้ตายขณะขับรถจักรยานยนต์ไปตามทางหลวงจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความบกพร่องของกรมทางหลวงจำเลยที่ไม่โค่นเหรือปล่อยปละละเลยไม่สั่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยไปโค่นต้นจามจุรีที่มีสภาพผุกลวงเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น อันเป็นการกระทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากกองทุนฯ ไม่รวมในคำพิพากษาเดิม โจทก์บังคับคดีส่วนต่างได้
แม้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน 15,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. ตามที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 25 วรรคสอง ก็ตาม แต่ในการทำคำพิพากษา ศาลชั้นต้นกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดโดยมิได้วินิจฉัยถึงเงินค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้รับจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้กำหนดค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาโดยรวมถึงเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน 15,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเข้าไว้ด้วย ดังนั้น เงินจำนวน 55,000 บาท ที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาจึงไม่รวมถึงเงินจำนวน 15,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เมื่อจำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาเพียง 49,338.50 บาท โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองสำหรับทั้งสองสำหรับจำนวนเงินที่ขาดอยู่ต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้ยืมเงินต้องปิดอากรแสตมป์ก่อนใช้เป็นหลักฐานในคดี หากไม่ปฏิบัติตาม สัญญาเป็นโมฆะ
หนังสือสัญญากู้เงินที่เป็นการรวมหนี้ที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์หลายครั้งโดยผู้กู้และผู้ให้กู้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสัญญากู้ยืมเงิน เข้าลักษณะแห่งตราสารซึ่งต้องปิดอากรแสตป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร
การขออนุญาตนำตราสารไปปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 117 จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำตราสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นจะชี้ขาดตัดสินคดี การที่โจทก์ขออนุญาตปิดอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้เงินในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ ศาลฎีกาไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์ในคดีครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกายืนคำสั่งยกคำร้องคุ้มครองประโยชน์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ร้อง แม้ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้รับคำร้องขอ คดีก็ต้องกลับไปสู่ศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำขอท้ายคำร้องขอของผู้ร้องได้ ทั้งการสั่งห้ามจำหน่าย จ่าย โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำร้องขออาจกระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดี กรณีจึงยังไม่มีเหตุจะสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องในระหว่างอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4870/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินโดยตัวแทนที่ไม่เปิดเผยชื่อ และสิทธิของบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบความสัมพันธ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องโดยได้รับการยกให้จากมารดาของผู้ร้อง แต่เนื่องจากสามีของผู้ร้องเป็นคนต่างด้าวจึงใส่ชื่อจำเลยในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทแทนผู้ร้อง ผู้ร้องไม่ทราบเรื่องที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่สามีของโจทก์กรณีตามคำร้องขอของผู้ร้องดังกล่าวถึงหากจะเป็นความจริงก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยนำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่สามีของโจทก์และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าสามีของโจทก์ได้ทราบเรื่องระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว ผู้ร้องจึงหาอาจทำให้เสื่อมเสียแก่สิทธิของสามีของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อจำเลยผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องได้ไม่ ตามป.พ.พ. มาตรา 806 โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของสามีย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองที่ดินพิพาทได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
ปัญหาว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4868/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ต้องห้ามตามกฎหมาย: บริวารในคดีขับไล่และอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่พร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาท พร้อมกับเรียกค่าเสียหายเนื่องจากขาดประโยชน์จากการนำที่ดินพิพาทออกให้เช่า แม้จำเลยทั้งสี่จะให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ แต่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 และพิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสี่พร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาทพร้อมกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 300 บาท จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลฎีกายกอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยทั้งสี่ตามลำดับ เนื่องจากเป็นอุทธรณ์และฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คู่ความในคดีดังกล่าวจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับแก่บริวารของจำเลยทั้งสี่ผู้ถูกฟ้องขับไล่และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่ผู้ร้องในฐานะบริวารของจำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม ผู้ร้องฎีกาว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องมิใช่บริวารของจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับเมื่อส่งมอบงานตามสัญญา ไม่ใช่เมื่อคดีถึงที่สุด
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (16) โจทก์กับจำเลยไม่ได้ตกลงกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ ต้องถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความถึงกำหนดเมื่อจำเลยได้รับมอบการงานที่ทำแล้วตามป.พ.พ.มาตรา 602 วรรคหนึ่ง จำเลยประสงค์ให้โจทก์ดำเนินคดีเฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น เมื่อโจทก์ดำเนินคดีให้แก่จำเลยและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาอันถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบและจำเลยได้รับมอบการงานที่ทำตามสัญญาจ้างว่าความแล้ว สิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาค่าจ้างย่อมเกิดขึ้นทันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับเมื่อส่งมอบงาน ไม่ใช่เมื่อคดีถึงที่สุด
สัญญาที่โจทก์รับจ้างจำเลยทั้งสามว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างทำของนั้นมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (16) ส่วนการเริ่มนับอายุความในการเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ค่าว่าความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/12 บัญญัติไว้ว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..." และมาตรา 602 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "อันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสามได้ตกลงกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ ก็ต้องถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความไว้ ก็ต้องถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความถึงกำหนดเมื่อจำเลยทั้งสามได้รับมอบการงานที่ทำแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคหนึ่ง ซึ่งการส่งมอบและรับมอบการงานการที่ทำนั้นปรากฏข้อเท็จจริงว่าหลังจากที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำพิพากษาแล้วจำเลยทั้งสามพอใจและไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามประสงค์ที่จะให้โจทก์ดำเนินคดีเฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นทนายความดำเนินคดีให้แก่จำเลยทั้งสามในศาลชั้นต้นซึ่งคือศาลจังหวัดเชียงใหม่จนศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2545 ต้องถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบและจำเลยทั้งสามได้รับมอบการงานที่ทำตามสัญญาจ้างว่าความแล้ว สิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาสินจ้างย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำพิพากษา หาใช่เมื่อคดีถึงที่สุดดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ ส่วนการที่โจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์นั้นก็น่าเชื่อว่าโจทก์ทำไปโดยพลการ โจทก์จึงหาอาจยกข้อดังกล่าวขึ้นอ้างได้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 อันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
of 48