คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรวัตร อิศราภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วมในคดีกระทำชำเราเด็ก และการพิจารณาความผิดฐานพรากผู้เยาว์
ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนนั้น มีความผิดโดยไม่คำนึงถึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหญิงนั้นยินยอมก็มิได้หมายความว่า เด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย เมื่อเด็กหญิง ด. เด็กหญิง ส. และเด็กหญิง อ. ถูกกระทำชำเรา แม้เด็กหญิงทั้งสามจะยินยอมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดข้อหานี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิง ด. เด็กหญิง ส. และเด็กหญิง อ. ตามลำดับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2)
จำเลยโทรศัพท์นัดหมายให้ ย. พาเพื่อนไปขายบริการทางเพศแก่จำเลย ย. จึงชักชวนเด็กหญิง ด. เด็กหญิง อ. และเด็กหญิง ส. ไปกระทำการดังกล่าว แล้วจำเลยรับตัวเด็กหญิงทั้งสามไว้กระทำชำเราโดยเด็กหญิงทั้งสามยินยอมที่โรงแรม ผ. เป็นการล่วงอำนาจปกครองของโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 5 และที่ 3 ตามลำดับ โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิง ด. อายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิง ด. โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร กระทำชำเราเด็กหญิง อ. อายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิง อ. โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร และกระทำชำเราเด็กหญิง อ. โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร และกระทำชำเราเด็กหญิง ส. อายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิง ส. โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการรับไว้หรือล่อไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยทุจริตเพราะจำเลยหาได้รับเด็กหญิงทั้งสามไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ เนื่องจากจำเลยมีเจตนาประสงค์จะกระทำชำเราเด็กหญิงทั้งสามเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 312 ตรี วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และการพรากเด็กเพื่อการอนาจาร: การพิพากษาและการยกฟ้อง
ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนนั้น มีความผิดโดยไม่คำนึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหญิงนั้นยินยอม ก็มิได้หมายความว่าเด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย เมื่อเด็กหญิงทั้งสามถูกกระทำชำเรา แม้เด็กหญิงทั้งสามจะยินยอมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดข้อหานี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิงทั้งสามตามป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2)
แม้โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จะมิได้ระบุพยานอ้าง ส.เป็นพยานในคดีนี้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ในสำนวนคดีแรกได้ระบุพยานอ้าง ส. เป็นพยาน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกัน จึงรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานในสำนวนคดีนี้ได้
ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของเด็กหญิงทั้งสามจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกาหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการรับไว้หรือล่อไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยทุจริต เพราะจำเลยหาได้รับเด็กหญิงทั้งสามไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ เนื่องจากจำเลยมีเจตนาประสงค์จะกระทำชำเราเด็กหญิงทั้งสามเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 312 ตรี วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลก่อนล้มละลาย: เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ผู้อุทธรณ์นำมาวางต่อศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มิใช่เป็นการวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของผู้อุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนที่โจทก์จะยื่นคำแถลงขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้ กรณีจึงต้องถือว่าเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้เป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอรับไปจากศาลชั้นต้น คงมีสิทธิเพียงยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากความล่าช้าในการส่งสำเนาคำฟ้อง และการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2545 จำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ข้าพเจ้าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วันนับแต่วันนี้ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีทนายจำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อไว้ใต้ข้อความดังกล่าว ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ในวันที่ 17 ธันวาคม 2545 ซึ่งเป็นวันหลังจากที่จำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์แล้วก็ตาม แต่การที่ทนายความจำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการแสดงเจตนายอมรับว่าจะมาฟังคำสั่งภายในวันดังกล่าวถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 4 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว อย่างช้าวันที่ 20 ธันวาคม 2545 เมื่อจำเลยที่ 4 เพิกเฉยไม่จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 แต่อย่างไรก็ตามแม้จำเลยที่ 4 จะทิ้งฟ้องอุทธรณ์แล้ว ศาลก็ยังมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ สำหรับคดีนี้พฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้อุทธรณ์วางเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ล่าช้าจนล่วงเลยเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ต่อมาเจ้าหน้าที่ก็ได้ดำเนินการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ให้โจทก์จนกระทั่งโจทก์ได้รับสำเนาอุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว กรณียังไม่สมควรที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3914/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีซื้อขายสินค้ามีข้อตกลงชำระเป็นงวด แม้ฟ้องไม่ครบจำนวนก็ยังเป็นหนี้จำนวนแน่นอน ศาลรับฟังพยานเอกสารได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้า 971,497.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดคำนวณถึงวันฟ้องรวมเป็นเงิน 1,033,836.87 บาท เป็นคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) แม้การซื้อขายดังกล่าวจะมีข้อตกชำระค่าสินค้าเป็นงวดและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าไม่ครบจำนวนตามสัญญาเนื่องจากจำเลยชำระค่าสินค้าบางส่วนแก่โจทก์ก็ไม่เป็นเหตุให้คดีของโจทก์กลับกลายเป็นคดีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน การที่โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมโทษจากศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ในการลดโทษปรับ
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะข้อหาที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยโจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์ในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงต้องถือว่าโจทก์พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวแล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้โทษจำเลยในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นไม่รอการลงโทษและไม่ลงโทษปรับจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบเพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3791/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระ: ดอกเบี้ยคิดจากวันที่ผิดนัดหลังทวงถามแล้ว
คำขอกู้เงินบำรุงอ้อยระบุว่า ขอกู้เงินเพื่อซื้อพันธุ์อ้อยและบำรุงไร่อ้อย เมื่ออ้อยโตขึ้นผู้กู้ตกลงตัดขายแก่ผู้ให้กู้เพื่อนำเงินค่าอ้อยชำระหนี้ที่ได้กู้เงินมา มิได้ระบุว่าผู้กู้จะต้องปลูกอ้อยเพื่อตัดขายให้แก่ผู้ให้กู้เมื่อใด จึงเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้กันไว้ ส่วนวันถึงกำหนดชำระเงินตามเช็คที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยในการกู้เงินก็มิใช่กำหนดเวลาชำระหนี้เงินกู้ โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่พ้นกำหนดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สื่อวิพากษ์วิจารณ์นักการเมือง: การยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329(3) เมื่อเป็นการติชมโดยสุจริตและเป็นธรรม
ขณะเกิดเหตุโจทก์ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีพลตรี ส. ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ ทั้งพลตรี ส. และโจทก์เป็นผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นกระทรวงที่มีหน้าที่ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามพฤติกรรมและย่อมวิพากษ์วิจารณ์ได้ เหตุคดีนี้เกิดจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจพลตรี ส. โดยร้อยตำรวจเอก ฉ. เป็นผู้อภิปรายเสนอข้อมูลต่าง ๆ ว่ามีการวิ่งเต้นช่วยเหลือ อ. ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองในฐานะสื่อมวลชนมีหน้าที่เสนอข่าวสารที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองให้ประชาชนทราบโดยเสนอข้อมูลในการอภิปรายดังกล่าวและเสนอข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีนี้ เป็นการตั้งข้อสงสัยพฤติกรรมของโจทก์ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิ่งเต้นช่วยเหลือ อ. หรือไม่เท่านั้น กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองสร้างขึ้นมาเองไม่ แม้ข้อความบางส่วนเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น ติชมและวิพากษ์วิจารณ์มิได้เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าโจทก์รับสินบนแต่อย่างใด ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จำเลยทั้งสองจึงได้รับยกเว้นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 329 (3) นั้นชอบแล้ว
แม้ในคดีที่ ว. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดสงขลา ต่อมา ว. กับจำเลยตกลงกันได้และ ว. ขอถอนฟ้องแล้วก็ตามก็เป็นเรื่องระหว่าง ว. กับจำเลยในคดีอาญาอื่น หาได้มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ศาลที่พิจารณาคดีจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาอื่น แม้คดีทั้งสองนั้นจะมีมูลกรณีเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ดังนั้น คดีนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงในคดีที่ ว. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกในข้อหาความผิดฐานหมิ่นประมาทดังที่โจทก์เข้าใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ศาลอนุญาตได้หากเชื่อโดยสุจริตและมีเหตุผลอันสมควร
โจทก์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปเพียง 1 เดือน นับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งระยะเวลาที่ขอขยายดังกล่าวประกอบกับเป็นการขอขยายเป็นครั้งแรกย่อมอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะคาดหมายว่าศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้ตามขอ โจทก์จึงเชื่อโดยสุจริตว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามขอ แต่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาน้อยกว่าที่ขอ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าการที่โจทก์ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในครั้งที่ 2 ได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ขยายในครั้งแรกเป็นเหตุสุดวิสัย ที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาครั้งที่ 2 เพราะเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ให้ความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย และการขอพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ฯ หมวด 4 การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ส่วนที่ 1 ว่าด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติถึงวัตถุประสงค์ในการปรับโครงสร้างหนี้ไว้ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้ลูกหนี้ที่สุจริตอยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้ภายในเวลาที่กำหนดและสามารถดำเนินกิจการเดิมหรือกิจการใหม่ได้ต่อไป และคำว่า "สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ" ตามบทนิยามมาตรา 3 หมายถึง "สินทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ หรือเป็นสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้..."
การที่ลูกหนี้ทั้งสี่เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่ผู้ร้องซึ่งได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค้างชำระที่ลูกหนี้ทั้งสี่มีต่อเจ้าหนี้เดิม โดยมียอดหนี้ค้างชำระถึงวันยื่นคำร้องเป็นจำนวนมาก รวมเป็นเงินทั้งสิน 904,377,813.29 บาท สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ลูกหนี้ทั้งสี่ไม่สามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้แล้ว และลูกหนี้ทั้งสี่มีหน้าที่จะต้องให้ข้อมูลต่าง ๆ เช่น สถานะทางการเงินที่แท้จริง ความสามารถในการชำระหนี้ หรือแผนการปรับโครงสร้างหนี้ที่ชัดเจนโดยเร็วเพื่อให้ผู้ร้องนำมาประกอบการพิจารณาได้ว่าลูกหนี้ทั้งสี่สุจริต สามารถเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ได้เนื่องจากยังอยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้ภายในเวลาที่กำหนดและสามารถดำเนินกิจการเดิมหรือเริ่มกิจการใหม่ได้ต่อไป การที่ลูกหนี้ทั้งสี่มีพฤติการณ์เพิกเฉยมิได้ดำเนินการเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้พร้อมนำส่งเอกสารข้อมูลกิจการและทรัพย์สินส่วนบุคคลซึ่งอยู่ในความรับรู้และการครอบครองของตนภายในระยะเวลาตามที่ผู้ร้องกำหนดโดยไม่ปรากฏเหตุผลอันสมควร และทำให้การแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของลูกหนี้ทั้งสี่ล่าช้าไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ฯ กรณีถือได้ว่าลูกหนี้ทั้งสี่ไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ผู้ร้องสั่ง โดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ ผู้ร้องจึงดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสี่เด็ดขาดได้ตามมาตรา 58 วรรคสี่
of 48