คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรวัตร อิศราภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2550 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการใช้ราคาแทนและการโอนสิทธิในทรัพย์สินหลังชำระหนี้เสร็จสิ้น
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีก่อนที่กำหนดให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำดับ กล่าวคือ โจทก์ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจำเลยก่อน หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่างอันโจทก์จะพึงเลือกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 198 แต่การที่โจทก์ชำระเงินตามจำนวนหนี้ที่โจทก์ต้องใช้ราคาแทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้ร่วมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่จำเลยจนครบถ้วน แล้วจำเลยรับไว้โดยไม่โต้แย้งคัดค้านแสดงว่าจำเลยได้สละสิทธิที่จะบังคับคดีในหนี้ลำดับแรกแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องไปดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิในรถยนต์ที่เช่าซื้อและส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่ไปดำเนินการดังกล่าวถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและการโอนสิทธิในรถยนต์ การสละสิทธิของจำเลยทำให้เกิดหน้าที่ในการโอนสิทธิ
แม้ตามคำพิพากษากำหนดให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำดับ กล่าวคือโจทก์ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจำเลยก่อน หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่างอันโจทก์จะพึงเลือกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 198 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ชำระเงินตามจำนวนหนี้ที่โจทก์ต้องใช้ราคาแทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้ รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่จำเลยจนครบถ้วน แล้วจำเลยรับไว้โดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน แสดงว่าจำเลยได้สละสิทธิที่จะบังคับคดีในหนี้ลำดับแรกแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องไปดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิในรถยนต์ที่เช่าซื้อและส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่ไปดำเนินการดังกล่าวถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและการสละสิทธิบังคับคดี: จำเลยต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้โจทก์
แม้ตามคำพิพากษาในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาเช่าซื้อจะกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำดับ ให้โจทก์ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจำเลยก่อน หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อการชำระหนี้นั้นมีหลายอย่างอันโจทก์จะพึงเลือกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 198 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ชำระเงินตามจำนวนหนี้ที่โจทก์ต้องใช้ราคาแทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่จำเลยจนครบถ้วน แล้วจำเลยรับไว้โดยไม่โต้แย้งคัดค้าน แสดงว่าจำเลยได้สละสิทธิที่จะบังคับคดีในหนี้ลำดับแรกแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิในรถยนต์ที่เช่าซื้อและส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่ไปดำเนินการดังกล่าวถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณทุนทรัพย์คดีซื้อขายที่ดิน: ใช้ราคาตกลง ไม่ใช่ราคาประเมิน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและจดทะเบียนโอนที่ดินคืนแก่โจทก์ จำเลยให้การว่านิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์
การคำนวณทุนทรัพย์ของคดีเพื่อเสียค่าขึ้นศาลนั้น จะต้องคำนวณตามราคาที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นราคาที่ตกลงจะขายให้แก่จำเลย หาใช่คำนวณจากราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินไม่ เพราะการประเมินราคาของเจ้าพนักงานที่ดินเป็นเพียงเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมิใช่ราคาที่ดินที่แท้จริง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากคำฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ตกลงขายที่ดินแก่จำเลย 10 ไร่ ไร่ละ 50,000 บาท ขอให้ศาลเพิกถอนและโอนที่ดินกลับเป็นของโจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันจึงมีจำนวน 500,000 บาท คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงนครราชสีมาที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันต้องบรรยายฟ้องตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย หากไม่ปฏิบัติตาม ฟ้องไม่ชอบ
ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยว่า หนี้ของจำเลยที่ 2 ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงยุติตามคำพิพากษาของศาลล้มละลายกลางแล้ว ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงอุทธรณ์ในปัญหาว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิใช่ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่ไม่บรรยายฟ้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) ด้วยมิได้ เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายในปัญหานี้ ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) บังคับว่า กรณีที่เจ้าหนี้มีประกันฟ้องคดีล้มละลายจะต้องกล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่ สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท คดีนี้ได้ความตามฟ้องว่าโจทก์มีทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นประกัน โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 6 ฉะนั้น การที่จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ล้มละลาย โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 10 (2) โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ล้มละลาย จะสละที่ดินหลักประกันของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาที่ดินดังกล่าวมาในฟ้องซึ่งหักกับจำนวนหนี้แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังคงเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อนำราคาประเมินของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมเข้าด้วยกันแล้วนำมาหักทอนกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสามยังค้างชำระหลังหักราคาหลักประกันออกแล้วเป็นหนี้ซึ่งสามารถกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา ที่ศาลล้มละลายกลางรับฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไว้พิจารณาและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เด็ดขาด เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: บุคคลภายนอกคดีพิสูจน์สิทธิได้ และการรับฟังพยานหลักฐานจากคดีอื่น
คำว่า บุคคลภายนอกที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) หมายถึงบุคคลทั่วไปนอกคดีที่จะยกขึ้นพิสูจน์ต่อสู้ได้ว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าผู้ครอบครอง ไม่ได้ความหมายเฉพาะเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมซึ่งมีชื่อในโฉนดเท่านั้นที่จะมีอำนาจพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าผู้ครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนคดีจากศาลแพ่งธนบุรีไปยังศาลแขวงธนบุรีเนื่องจากทุนทรัพย์ลดลงเข้าข่ายอำนาจศาลแขวง
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ แม้จะใช้ถ้อยคำว่าศาลจังหวัดก็ตาม แต่เจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติความในวรรคสี่ไว้เนื่องจากไม่ประสงค์ให้ศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงตั้งอยู่ในเขตศาลนั้นรับพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง เมื่อศาลแพ่งธนบุรีเป็นศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงธนบุรีและศาลแขวงตลิ่งชันตั้งอยู่ในเขตจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติดังกล่าวด้วย การที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งธนบุรีต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยลดจำนวนทุนทรัพย์ลงเป็นเหตุให้คดีของโจทก์เป็นคดีที่เกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงธนบุรีและอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวงธนบุรี ศาลแพ่งธนบุรีจึงต้องโอนคดีไปยังศาลแขวงธนบุรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องลดทุนทรัพย์ ทำให้คดีต้องโอนไปยังศาลแขวงตามอำนาจศาล
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องครั้งที่สองโดยรับข้อเท็จจริงบางส่วนตามคำให้การของจำเลยทั้งสี่ เป็นการขอลดทุนทรัพย์ฟ้องเดิมภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และคดีนี้ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สืบพยานโจทก์และพยานจำเลยจึงยังอยู่ภายในกำหนดเวลาที่จำเลยทั้งสี่จะแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยทั้งสี่เพื่อหักล้างข้ออ้างของโจทก์ได้ การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่เสียเปรียบและหลงข้อต่อสู้แต่ประการใด
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฯ มาตรา 16 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอำนาจ" นั้น แม้จะใช้ถ้อยคำว่าศาลจังหวัดก็ตาม แต่เจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติความในวรรคสี่ไว้เนื่องจากไม่ประสงค์ให้ศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงตั้งอยู่ในเขตศาลนั้นรับพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง เมื่อศาลแพ่งธนบุรีเป็นศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงธนบุรีและศาลแขวงตลิ่งชันตั้งอยู่ในเขตจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติดังกล่าวด้วย คดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยลดจำนวนทุนทรัพย์ลงเป็นเหตุให้คดีของโจทก์เป็นคดีที่เกิดในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวง ศาลแพ่งธนบุรีจึงต้องมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงธนบุรีซึ่งเป็นศาลแขวงที่มีเขตอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน การนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ความไม่สมบูรณ์ของหนี้
การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยกู้ยืมเงินและได้รับเงินไปจากโจทก์เพียง 60,000 บาท มิใช่ 290,000 บาท แต่ที่ปรากฏในสัญญากู้ยืมเงินนั้น เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ไม่ จำเลยจึงย่อมนำพยานบุคคลมาสืบในประเด็นดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์อย่างคนอนาถาที่มิได้ปฏิบัติตามกฎหมาย และผลของการไม่ทราบคำสั่งศาล
จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา โดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์มาด้วย เป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาศาลชั้นต้นสามารถสั่งยกคำร้องได้ทันทีโดยไม่ต้องไต่สวน และไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 4 นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพราะจำเลยที่ 4 มิได้ยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และมีคำสั่งต่อไปว่าหากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยังติดใจอุทธรณ์ให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ไปฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามนัด ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำสั่งให้ฝ่ายโจทก์ฟังฝ่ายเดียวและถือว่าได้อ่านคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฟังโดยชอบแล้ว ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ทราบคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในส่วนที่กำหนดให้นำค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระต่อศาลชั้นต้นด้วย เพราะเป็นคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระอีก
of 48