พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากความผิดพลาดในการส่งหมายและการเพิกเฉยจำเลย
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่า รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์และผู้ซื้อทรัพย์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ และในอุทธรณ์ดังกล่าวมีข้อความประทับว่า "ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้น ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยทนายจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ใต้ข้อความดังกล่าวจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งแล้ว และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 1 จะเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้วก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลผู้ส่งหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารอจำเลยที่ 1 แถลง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่นำส่งเองแต่ให้เจ้าหน้าที่ศาลไปนำส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า รอจำเลยที่ 1 แถลง โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 แถลงและไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบอีก ก็ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 มิได้แถลงต่อศาลว่าจะดำเนินการอย่างไร รวมระยะเวลาเกือบ 2 เดือน จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ซื้อทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1)
ส่วนการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์นั้น เป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้เป็นผู้ส่ง เมื่อส่งไม่ได้และศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไปจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
ส่วนการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์นั้น เป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้เป็นผู้ส่ง เมื่อส่งไม่ได้และศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไปจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนโทรมหญิง, การเบิกความของโจทก์, การพิจารณาคดีเมื่อจำเลยหลบหนี, การสืบพยานใหม่
ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มาศาลตามกำหนดนัด และมีคำสั่งว่าให้ปรับนายประกันตามสัญญาประกัน ต่อมานายประกันนำตัวจำเลยที่ 2 ส่งศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าให้ยกคดีของจำเลยที่ 2 ขึ้นพิจารณาต่อไป จำเลยที่ 2 หลบหนีไป 1 ปีเศษ ศาลสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 2 แล้วสืบพยานในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จำนวน 5 ปาก เมื่อได้ตัวจำเลยที่ 2 มาแล้ว ต้องสืบพยานดังกล่าวใหม่ทั้งหมด คำสั่งศาลชั้นต้นชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายประนีประนอมยอมความ: ทนายมีอำนาจใช้ดุลยพินิจเต็มที่ ไม่ต้องแจ้งความประสงค์จำเลย คู่ความฝ่ายใดฉ้อฉลไม่ได้
จำเลยแต่งตั้งให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ทนายจำเลยย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเต็มที่ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าข้อความที่ตกลงกับโจทก์นั้นเหมาะสม ไม่ได้เสียเปรียบ ทนายจำเลยไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ดังนั้นแม้จำเลยไม่ต้องการตกลงกับโจทก์ ก็เป็นเรื่องทนายความของจำเลยกระทำการฝ่าฝืนความประสงค์ของจำเลย หากจำเลยเสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งมิใช่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวีธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าขึ้นศาลค้างจ่าย: ผู้รับสิทธิต้องเรียกรับเงินหรือนำเช็คไปขึ้นเงินภายใน 5 ปี มิฉะนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
ป.วิ.พ. มาตรา 323 บัญญัติว่า "บรรดาเงินต่างๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน" เมื่อพิจารณาคำว่า "เรียกเอา" ประกอบกับคำว่า "บรรดาเงินต่างๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาล" แล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้มีสิทธิรับเงินจะต้องเรียกเอาเงินหรือขอรับเงินที่ตนมีสิทธิจะได้รับจากศาลและต้องมารับเงินตามที่เรียกหรือขอด้วย หรือในกรณีที่ศาลออกเช็คแทนการจ่ายเป็นเงินสดผู้มีสิทธิรับเงินก็ต้องนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารหากผู้มีสิทธิรับเงินเพียงแต่แถลงขอรับเงินจากศาลแต่ไม่มารับเงินตามที่ขอ หรือมิได้นำเช็คที่ศาลออกให้ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร เงินที่ศาลจะต้องจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าวจะยังคงอยู่ที่ศาลและถือเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาลตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องพร้อมกับยื่นคำแถลงขอรับเงินค่าขึ้นศาลที่ศาลสั่งคืนเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2542 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในวันเดียวกันและสั่งคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ 57,100 บาท โดยศาลชั้นต้นได้คืนเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์เป็นเช็ค แต่โจทก์มิได้มารับเช็คภายใน 1 ปี ศาลชั้นต้นจึงยกเลิกเช็คดังกล่าว เงินค่าขึ้นศาลสั่งคืนจึงเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล การที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอรับเงินค่าขึ้นศาลสั่งคืนแต่มิได้มารับเช็คค่าขึ้นศาลที่ศาลออกให้ไปเรียกเก็บเงินจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกเอาเงินดังกล่าวแล้ว และการที่ศาลชั้นต้นออกเช็คค่าขึ้นศาลให้โจทก์ก็ไม่มีผลทำให้เงินค่าขึ้นศาลสิ้นสภาพจากการเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล
โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องพร้อมกับยื่นคำแถลงขอรับเงินค่าขึ้นศาลที่ศาลสั่งคืนเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2542 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในวันเดียวกันและสั่งคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ 57,100 บาท โดยศาลชั้นต้นได้คืนเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์เป็นเช็ค แต่โจทก์มิได้มารับเช็คภายใน 1 ปี ศาลชั้นต้นจึงยกเลิกเช็คดังกล่าว เงินค่าขึ้นศาลสั่งคืนจึงเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล การที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอรับเงินค่าขึ้นศาลสั่งคืนแต่มิได้มารับเช็คค่าขึ้นศาลที่ศาลออกให้ไปเรียกเก็บเงินจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกเอาเงินดังกล่าวแล้ว และการที่ศาลชั้นต้นออกเช็คค่าขึ้นศาลให้โจทก์ก็ไม่มีผลทำให้เงินค่าขึ้นศาลสิ้นสภาพจากการเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม ประกันภัยค้ำจุน จำเลยไม่ต้องรับผิดหากคำฟ้องไม่ชัดเจนถึงลักษณะประกันภัย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งจำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยไว้ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างหรือแสดงว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยจากจำเลยที่ 1 ในลักษณะประกันภัยค้ำจุน ซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า ว. ผู้ขับรถยนต์มีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบในผลแห่งละเมิดของ ว. ด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เท่ากับคำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด เป็นคำฟ้องที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 จะแก้ไขคำให้การว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่เกิดเหตุ ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ และศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2 โดยไม่อาศัยคำฟ้องไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องดำเนินคดีอนาถา: ศาลมีดุลพินิจไม่อนุญาตนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมหากไม่เปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัย
โจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ยังพอมีฐานะ มิได้ยากจนจริง ยกคำร้องโจทก์มิได้อุทธรณ์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจนโดยอ้างว่าโจทก์มีฐานะยากจนลงกว่าเดิมเนื่องจากไม่อาจขอความช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมศาลจากบุตรคนโตได้ และโจทก์มีภาระเพิ่มมากขึ้นจากการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งพยานหลักฐานที่จะนำมาแสดงเพิ่มเติมเป็นพยานหลักฐานใหม่ที่ยังไม่ได้นำมาสืบและข้อเท็จจริงบางส่วนเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะนำพยานหลักฐานมานำสืบหักล้างข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบไว้เดิม ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดและเป็นยุติแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ไม่ได้บังคับว่าเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตให้ผู้ร้องนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจนศาลจะต้องอนุญาตและทำการไต่สวน จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่ากรณีตามคำร้องของโจทก์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลได้ก็ชอบที่จะยกคำร้องของโจทก์เสียได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งรับคำร้องของโจทก์ไว้ดำเนินการไต่สวนก่อน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ไม่ได้บังคับว่าเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตให้ผู้ร้องนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจนศาลจะต้องอนุญาตและทำการไต่สวน จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่ากรณีตามคำร้องของโจทก์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลได้ก็ชอบที่จะยกคำร้องของโจทก์เสียได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งรับคำร้องของโจทก์ไว้ดำเนินการไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางโดยวิสาสะในชนบท ไม่ถือเป็นการปรปักษ์
การได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิดังกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลมกล่าวคือจะต้องเป็นกรณีที่เจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินภารยทรัพย์นั้นโดยความสงบและโดยเปิดเผยและด้วยเจตนาจะได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แต่การอยู่ร่วมกันของคนในชนบทตามปกติแล้วจะใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านได้โดยถือวิสาสะ อันเป็นการเอื้อเฟื้ออาทรต่อกันของคนในสังคม การใช้ทางพิพาทของโจทก์ก็เข้าอยู่ในลักษณะเช่นว่านี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยนานกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางเป็นวิสาสะในชนบท ไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์ ไม่เกิดภาระจำยอม
การอยู่ร่วมกันของคนในชนบทตามปกติจะใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านได้โดยถือวิสาสะ อันเป็นการเอื้อเฟื้ออาทรต่อกัน การใช้ทางพิพาทของโจทก์ในลักษณะเช่นว่านี้ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้จะใช้นานกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่โจทก์โดยอายุความตามมาตรา 1401
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับคำร้องเรียกบุคคลภายนอกเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีฟ้องแย้งและการต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่บังคับเอากับ ป. เนื่องจากเป็นฟ้องแย้งที่บังคับเอากับบุคคลภายนอกไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม กับมีคำสั่งยกคำร้องที่จำเลยที่ 1 ขอหมายเรียก ป. เข้าเป็นจำเลยฟ้องแย้งร่วมกับโจทก์ จำเลยที่ 1 คงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอหมายเรียก ป. โดยมิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องแย้งในส่วนที่บังคับเอากับ ป. แต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นฎีกาหาได้ไม่ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้เรียก ป. เข้าเป็นจำเลยร่วมกับโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งนั้นเป็นคำร้องที่ยื่นเพื่อขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี มิใช่เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความจึงไม่ใช่คำคู่ความ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความแต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) จำเลยที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้เรียก ป. เข้าเป็นจำเลยร่วมกับโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งนั้นเป็นคำร้องที่ยื่นเพื่อขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี มิใช่เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความจึงไม่ใช่คำคู่ความ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความแต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) จำเลยที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับคืนเงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คดีบางส่วน และค่าธรรมเนียมในชั้นต้นยังคงมีผล
เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ผู้อุทธรณ์นำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 นั้น เป็นเงินที่วางเพื่อเป็นประกันว่าหากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งหกผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ก่อนจากเงินที่จำเลยทั้งหกผู้อุทธรณ์วางไว้ได้ โดยผู้ชนะคดีไม่จำต้องดำเนินการบังคับคดี
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนสำหรับคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่อาจก้างล่วงไปเปลี่ยนแปลงคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมของศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่เห็นสมควรไม่แก้ไขคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่กล่าวว่า ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งหกให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมหมายความว่า ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งหกในชั้นอุทธรณ์เท่านั้นที่เป็นพับ คำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนที่สั่งให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์มิได้ถูกเพิกถอน เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้คดีในชั้นที่สุด และจำเลยทั้งหกยังมีความรับผิดที่จะต้องร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามที่ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยทั้งหกผู้อุทธรณ์วางไว้ต่อศาลเพื่อชำระค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้ให้แก่โจทก์ได้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนสำหรับคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่อาจก้างล่วงไปเปลี่ยนแปลงคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมของศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่เห็นสมควรไม่แก้ไขคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่กล่าวว่า ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งหกให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมหมายความว่า ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งหกในชั้นอุทธรณ์เท่านั้นที่เป็นพับ คำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนที่สั่งให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์มิได้ถูกเพิกถอน เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้คดีในชั้นที่สุด และจำเลยทั้งหกยังมีความรับผิดที่จะต้องร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามที่ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยทั้งหกผู้อุทธรณ์วางไว้ต่อศาลเพื่อชำระค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้ให้แก่โจทก์ได้