พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, การรวมโทษ, และอำนาจศาลในการแก้ไขโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพาอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ปรับ 1,000 บาท เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วคงให้ประหารชีวิตสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วย และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนในส่วนนี้มานั้น ยังไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เพราะคดีอาญาที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อลงโทษประหารชีวิตกระทงหนึ่งแล้ว ย่อมลงโทษปรับในความผิดกระทงอื่นอีกได้เนื่องจากเป็นโทษคนละสถานกัน และแยกบังคับโทษได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาในข้อนี้ศาลฎีกาก็ไม่อาจรวมโทษจำเลยใหม่ให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพ้นกำหนดและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จึงไม่รับคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์พ้นกำหนด 15 วัน ทั้งมิได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามมาตรา 234 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง จึงมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์พ้นกำหนด 15 วัน ทั้งมิได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามมาตรา 234 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง จึงมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลชั้นต้นเมื่อได้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอุทธรณ์
เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่ชอบ แต่อย่างใดก็ตามเมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 15 วัน ทั้งมิได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้องจึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความผิดฐานแจ้งความเท็จและการเบิกความอันเป็นเท็จ ศาลพิจารณาพฤติการณ์และเจตนาของผู้เบิกความ
แม้ในคดีก่อนจำเลยเบิกความโดยเชื่อและสงสัยว่าโจทก์เป็นผู้ลักเอาทรัพย์ไป เนื่องจากขณะเกิดเหตุมีโจทก์และจำเลยอยู่ในบ้านพักจำเลยเพียง 2 คน แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยหลงลืมสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองที่อ้างว่าได้หายไปไว้ที่บ้าน ร. โดยในวันรุ่งขึ้นจำเลยทราบทางโทรศัพท์จาก บ. และจำเลยไปรับทรัพย์ของจำเลยที่อ้างว่าได้หายไปคืนจาก บ. จากนั้นจำเลยก็ไปแจ้งให้พนักงานสอบสวนบันทึกเรื่องการได้รับทรัพย์คืนไว้เป็นหลักฐานในวันเดียวกัน ทั้งจำเลยยังไปขอโทษโจทก์และเป็นผู้ประกันตัวโจทก์ในระหว่างสอบสวน ต่อมาจำเลยก็พยายามบรรเทาผลร้ายดังกล่าวด้วยการเสนอชดใช้ค่าทำขวัญเป็นเงิน 30,000 บาท ให้แก่โจทก์ แต่โจทก์เรียกร้องเป็นเงินถึง 600,000 บาท จึงตกลงกันไม่ได้ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยเท่ากับเป็นการยอมรับว่าจำเลยเข้าใจโจทก์คลาดเคลื่อนไปจากความจริง จึงมิใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นคนร้ายลักทรัพย์ของจำเลยไป แม้หลังจากจำเลยรู้ความจริงแล้ว จำเลยมิได้ถอนคำร้องทุกข์ดังที่โจทก์ฎีกา ก็น่าจะเป็นเพราะจำเลยรู้ว่าคดีนั้นเป็นความผิดต่อแผ่นดินไม่อาจถอนคำร้องทุกข์ได้จึงไม่เป็นข้อพิรุธ ทั้งในคดีก่อนศาลชั้นต้นก็มิได้วินิจฉัยว่าจำเลยปั้นแต่งเรื่องขึ้นเพื่อกลั่นแกล้งปรักปรำกล่าวหาโจทก์และคำเบิกความของจำเลยไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนเป็นข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินและการบังคับใช้ พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
เมื่อธนาคาร น. ในฐานะผู้รับอาวัลได้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่สำนักงานพระคลังข้างที่แล้ว ธนาคาร น. ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบด้วย มาตรา 985 และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวมาจากธนาคาร น. เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวภายในอายุความข้างต้นเช่นกัน เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ
พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 5 บัญญัติไว้มีใจความว่า นับแต่วันที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้ก่อขึ้น มิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้ โดยกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 ซึ่งลูกหนี้เป็นบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา 5 ดังกล่าว แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแก่บรรดาเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ เท่านั้น ส่วนเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการดังกล่าว ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 5 ข้างต้นจึงไม่มีผลบังคับแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 5 บัญญัติไว้มีใจความว่า นับแต่วันที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้ก่อขึ้น มิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้ โดยกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 ซึ่งลูกหนี้เป็นบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา 5 ดังกล่าว แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแก่บรรดาเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ เท่านั้น ส่วนเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการดังกล่าว ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 5 ข้างต้นจึงไม่มีผลบังคับแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินและการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน
ธนาคาร น. ในฐานะผู้รับอาวัลได้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่สำนักงานพระคลังข้างที่แล้ว ธนาคาร น. ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ตามป.พ.พ. มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบด้วย มาตรา 985 และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวมาจากธนาคาร น. เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวภายในอายุความข้างต้นเช่นกัน
ธนาคาร น. ผู้รับอาวัลใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแทนลูกหนี้ไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2540 อันเป็นวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ
พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 มาตรา 5 ใช้บังคับแก่บรรดาเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 เท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการดังกล่าว บทบัญญัติมาตรา 5 ข้างต้นจึงไม่มีผลบังคับแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ธนาคาร น. ผู้รับอาวัลใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแทนลูกหนี้ไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2540 อันเป็นวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ
พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 มาตรา 5 ใช้บังคับแก่บรรดาเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 เท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการดังกล่าว บทบัญญัติมาตรา 5 ข้างต้นจึงไม่มีผลบังคับแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการวางเงินค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่กระทบคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ซึ่งบัญญัติบังคับให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่นๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบสลากออมสินพิเศษและจดทะเบียนแก้ชื่อผู้มีสิทธิและ/หรือผู้เป็นเจ้าของให้มีชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิและได้รับสิทธิประโยชน์ในสลากออมสินพิเศษเพียงผู้เดียวแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งหากศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดีเท่านั้น การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยในชั้นนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 229 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีอุทธรณ์คำสั่งศาลที่มิได้กระทบคำพิพากษา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น ตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่นๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดีแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา และมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้นัดไต่สวนคำร้องและรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป ซึ่งหากศาลอุทธรณ์ ภาค 1 เห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลย ก็ชอบที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดีเท่านั้น ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ก็ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดีแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา และมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้นัดไต่สวนคำร้องและรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป ซึ่งหากศาลอุทธรณ์ ภาค 1 เห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลย ก็ชอบที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดีเท่านั้น ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ก็ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การปฏิเสธอายุความต้องระบุเหตุแห่งการขาดอายุความ มิฉะนั้นถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนั้น นอกจากจำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยต้องให้การโดยแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏด้วย กล่าวคือ ต้องบรรยายว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีขาดอายุความไปแล้ว การที่จำเลยให้การเพียงว่ามูลหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้อง โดยมิได้กล่าวถึงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏ จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การของจำเลย ก็มิใช่เหตุที่ทำให้เกิดประเด็นข้อพิพาทตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์ สิทธิเกิดจากการครอบครองตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนชื่อ
แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ ม. จะไม่ชอบเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่ขณะที่ซื้อขายกันที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมือเปล่า ม. จึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น เมื่อ ม.ส่งมอบที่ดินพิพาทและโจทก์เข้าครอบครองแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และ 1378 อันเป็นการได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่เป็นการได้มาตามสัญญาซื้อขาย ม. ย่อมไม่มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้ดำเนินการเพิกถอนชื่อ ม. ออกจากโฉนดที่ดินพิพาทปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247