พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สิทธิครอบครองที่ดิน แม้สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์ สิทธิครอบครองเกิดขึ้นได้ด้วยการครอบครองตามกฎหมาย
การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ ม. มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ขณะที่ซื้อขายกันที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมือเปล่า ม. จึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น เมื่อ ม. ส่งมอบที่ดินพิพาทและโจทก์เข้าครอบครองแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามมาตรา 1377 และ 1378 อันเป็นการได้สิทธิครอบครองมาด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่เป็นการได้มาตามสัญญาซื้อขาย ม. ย่อมไม่มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้ดำเนินการเพิกถอนชื่อ ม. ออกจากโฉนดที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินลูกหนี้และดุลพินิจการเข้าว่าคดี
อำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ย่อมรวมทั้งอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินโดยการทวงหนี้ด้วย ทั้งการเข้าว่าคดีแพ่งที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลแทนจำเลยเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีแทนหรือไม่ เมื่อจำเลยมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์ยังมีหนี้ค้างชำระแก่จำเลยซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ได้ดำเนินการทวงหนี้ที่โจทก์ค้างชำระตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 แล้ว และหากการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟังได้ยุติว่าโจทก์ไม่มีหนี้ค้างชำระ หรือมีหนี้ค้างชำระแต่โจทก์ได้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้แก่โจทก์ได้ตามความประสงค์ อันจะทำให้ข้อพิพาททั้งปวงระหว่างโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นไปในคราวเดียว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะไม่เข้าว่าคดีแทนจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งการออกเสียงเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย และผลต่อการลงมติยอมรับประนอมหนี้
การออกเสียงลงมติของเจ้าหนี้มีผู้คัดค้านในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกว่าจะยอมรับคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 หรือไม่นั้น จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 35 วรรคสอง ซึ่งให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้พิจารณาและมีคำสั่งว่าจะให้เจ้าหนี้ดังกล่าวที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว แต่ศาลยังไม่ได้พิจารณามีคำสั่งขอรับชำระหนี้ให้มีสิทธิออกเสียงในจำนวนหนี้เท่าใดเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถสั่งในขณะนั้นได้ ในคดีนี้ได้ความว่ามีเจ้าหนี้คัดค้านการออกเสียงของผู้ร้อง และผู้คัดค้านได้สอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องเสร็จสิ้นจนมีความเห็นให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องแล้ว แสดงว่าผู้คัดค้านสามารถพิจารณาสั่งให้ผู้ร้องออกเสียงได้เท่าใดหรือไม่จากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนคำขอรับชำระหนี้แล้ว แม้ระหว่างระยะเวลาผู้คัดค้านแก้ฎีกาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วบางส่วน แต่ไม่ปรากฏว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด และไม่ว่าผู้ร้องจะมีสิทธิออกเสียงในการประชุมเต็มจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ หรือเป็นจำนวนตามที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาต เมื่อนำยอดหนี้ดังกล่าวไปรวมกับยอดหนี้ของเจ้าหนี้ที่ลงมติไม่ยอมรับคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายแล้ว มติของเจ้าหนี้ที่ออกเสียงยอมรับคำขอประนอมหนี้ก็ยังคงเป็นมติพิเศษของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากที่มีจำนวนหนี้มากกว่าสามในสี่แห่งจำนวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในมตินั้นตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ทั้งคำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่ให้ผู้ร้องออกเสียงลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกดังกล่าวหาได้มีผลไปถึงการประชุมเจ้าหนี้ในครั้งต่อไปหรือมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้แต่ประการใด คำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันผู้ต้องหาไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน จึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
ฎีกาของจำเลยที่ว่าหนังสือสัญญาค้ำประกันผู้ต้องหาเป็นสัญญาค้ำประกัน เมื่อไม่ได้ปิดอากรแสตมป์จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งฟ้องบังคับจำเลยไม่ได้ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
หนังสือสัญญาค้ำประกันผู้ต้องหาที่จำเลยสัญญาว่าหาก ส. หลบหนี และศาลสั่งปรับโจทก์เป็นเงินเท่าใด จำเลยขอรับผิดชอบชดใช้เงินค่าปรับนั้นแทนโจทก์ทั้งสิ้น เป็นกรณีที่จำเลยแสดงเจตนาผูกพันรับผิดต่อโจทก์โดยตรง ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยผูกพันต่อโจทก์ว่าจะชำระหนี้ในเมื่อ ส. ไม่ชำระหนี้ จึงไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 หากแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ใช้บังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น และไม่อยู่ในลักษณะแห่งตราสารที่จะต้องเสียอากรตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป.รัษฎากร
หนังสือสัญญาค้ำประกันผู้ต้องหาที่จำเลยสัญญาว่าหาก ส. หลบหนี และศาลสั่งปรับโจทก์เป็นเงินเท่าใด จำเลยขอรับผิดชอบชดใช้เงินค่าปรับนั้นแทนโจทก์ทั้งสิ้น เป็นกรณีที่จำเลยแสดงเจตนาผูกพันรับผิดต่อโจทก์โดยตรง ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยผูกพันต่อโจทก์ว่าจะชำระหนี้ในเมื่อ ส. ไม่ชำระหนี้ จึงไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 หากแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ใช้บังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น และไม่อยู่ในลักษณะแห่งตราสารที่จะต้องเสียอากรตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีที่ล่าช้าเกินกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้มีเหตุผลเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอ้างว่า จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าถูกฟ้องเนื่องจากไม่เคยได้รับหมายและไม่เคยแต่งทนายความให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ลายมือชื่อในใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 2 เป็นลายมือชื่อปลอมโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ปลอมลายมือชื่อจำเลยที่ 2 กระบวนพิจารณานับตั้งแต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 จนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวนั้นต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องล่วงเลยเวลา 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่าผิดระเบียบ จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่วางค่าขึ้นศาลทำให้คำร้องขอทำคดีอนาถาเป็นอันตก และอุทธรณ์ไม่อาจพิจารณาได้
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาล ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยไม่วางเงินภายในกำหนด หลังจากนั้นจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องพร้อมกับมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แต่มิได้ดำเนินการทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 234 เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยไม่อาจขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้แล้ว จำเลยก็ไม่อาจขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอพิจารณาคำขออุทธรณ์ใหม่ vs. การอุทธรณ์คำสั่งศาล - เลือกใช้สิทธิทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย หากจำเลยไม่พอใจย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หรือวรรคห้าโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน หรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ซึ่งแม้มีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่เมื่อจำเลยได้เลือกอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา 156 วรรคห้าแล้ว จำเลยจะกลับมาขอให้ศาลพิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง: การบอกกล่าวที่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิเรียกร้องเบี้ยประกันภัย
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติไว้เพียงว่า เมื่อจะบังคับจำนอง ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรเท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องระบุทรัพย์สินซึ่งจำนองไปในคำบอกกล่าวด้วย เมื่อจำเลยเป็นทั้งลูกหนี้และผู้จำนองย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าทรัพย์สินซึ่งจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ไว้แก่โจทก์คือ ห้องชุดเลขที่ 54/225 หาใช่ห้องชุดเลขที่ 0225 การที่หนังสือบอกกล่าวระบุทรัพย์สินซึ่งจำนองเป็นห้องชุดเลขที่ 0225 เห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องการพิมพ์ตัวเลขห้องชุดผิดพลาดอันเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทำการไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าผู้รับจำนองมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองข้อ 5. ระบุไว้ว่า ...ถ้าผู้จำนองไม่จัดการเอาประกันอัคคีภัยและผู้รับจำนองได้จัดการเอาประกันอัคคีภัยเอง ผู้จำนองยินยอมนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้รับจำนองได้จ่ายไปมาชำระจนครบถ้วนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้รับจำนองได้แจ้งให้ทราบ... ตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยได้ก็ต่อเมื่อได้ทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยไปก่อนแล้วเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองข้อ 5. ระบุไว้ว่า ...ถ้าผู้จำนองไม่จัดการเอาประกันอัคคีภัยและผู้รับจำนองได้จัดการเอาประกันอัคคีภัยเอง ผู้จำนองยินยอมนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้รับจำนองได้จ่ายไปมาชำระจนครบถ้วนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้รับจำนองได้แจ้งให้ทราบ... ตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยได้ก็ต่อเมื่อได้ทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยไปก่อนแล้วเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน: การผิดนัดชำระหนี้และการบังคับชำระตามสัญญาซื้อขาย
หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท ได้ระบุวันที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินสัญญาจะใช้เงินให้แก่โจทก์ไว้ จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน คือในวันที่กำหนดไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อถึงกำหนดเมื่อใด และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง แม้มาตรา 985 จะบัญญัติให้นำมาตรา 941 ในเรื่องตั๋วแลกเงินมาใช้บังคับในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินด้วยก็ตาม แต่ก็ต้องใช้เท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพแห่งตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งตามบทบัญญัติในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ หรือตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังที่ได้เห็นเท่านั้น ตามมาตรา 986 วรรคสอง เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วที่กำหนดวันใช้เงินชัดแจ้งแล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 986 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไปยื่นตามมาตรา 941 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องนำสืบหลักฐานเอง และหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังรู้ฐานะลูกหนี้ไม่อาจขอรับชำระได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเรื่องหนี้สินที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้นั้นว่าต้องกระทำเมื่อใด การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอต่อศาลล้มละลายกลางว่าเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เสียนั้นมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ การทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในส่วนนี้จึงชอบแล้ว
เจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะมีหนี้สินล้นพ้นตัวถูกฟ้องให้ล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการและศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แสดงให้เห็นว่ากิจการของลูกหนี้ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปย่อมไม่ใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้อาจนำไปขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (2) ตอนท้าย แต่เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (2) ตอนต้น
เจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะมีหนี้สินล้นพ้นตัวถูกฟ้องให้ล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการและศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แสดงให้เห็นว่ากิจการของลูกหนี้ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปย่อมไม่ใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้อาจนำไปขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (2) ตอนท้าย แต่เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (2) ตอนต้น