พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า vs. สัญญากู้ยืม: หนี้ไม่มีมูลหากเป็นหนี้บริษัทต่อบริษัท
บริษัท ส. ที่โจทก์เป็นกรรมการได้มอบเงินให้บริษัท ซ. ที่จำเลยเป็นกรรมการเป็นค่าสินค้าที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า เงินจำนวนดังกล่าวไม่ใช่หนี้ตามข้อตกลงในฐานะส่วนตัวของโจทก์กับจำเลย แต่เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ส. กับจำเลยในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ซ. ต่อมาบริษัท ซ. จะต้องคืนเงินแก่บริษัท ส. แต่ได้ทำในรูปสัญญากู้ยืมที่จำเลยลงลายมือชื่อรับผิดต่อโจทก์ หนี้ที่จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์จึงเป็นหนี้ที่บริษัท ซ. มีต่อบริษัท ส. ไม่ใช่เป็นหนี้ของจำเลยในฐานะส่วนตัว สัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีมูลหนี้ต่อกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยไม่ได้นำสืบว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ ทั้งจำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์โดยไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญา จึงรับฟังไม่ได้ว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ตามที่โจทก์อ้าง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์จำต้องกล่าวในฟ้องถึงการแปลงหนี้ด้วยหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยไม่ได้นำสืบว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ ทั้งจำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์โดยไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญา จึงรับฟังไม่ได้ว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ตามที่โจทก์อ้าง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์จำต้องกล่าวในฟ้องถึงการแปลงหนี้ด้วยหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์จากผู้ปกครอง และความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา
ตาม ป.อ. มาตรา 318 คำว่า ผู้ปกครองหมายถึงผู้มีฐานะทางกฎหมายเกี่ยวพันกับผู้เยาว์ เช่น บิดามารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ส่วนผู้ดูแลหมายถึงผู้ควบคุม ระวังรักษาผู้เยาว์โดยข้อเท็จจริง เช่น ครูอาจารย์ นายจ้าง เป็นต้น เมื่อผู้เสียหายที่ 1 เป็นนายจ้างประกอบกับผู้เสียหายทั้งสองเบิกความได้ความว่า บิดามารดาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ มอบให้ผู้เสียหายที่ 1 ปกครองดูแลผู้เสียหายที่ 2 ด้วย โดยผู้เสียหายที่ 1 ให้ผู้เสียหายที่ 2 พักอยู่ที่ร้านอาหารดังกล่าว ดังนี้ผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้เสียหายที่ 2 ในฐานะนายจ้างโดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาผู้เสียหายที่ 2 ด้วย การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการรบกวนสิทธิหรือแยกสิทธิในการควบคุมดูแลผู้เสียหายที่ 2 โดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปจากความดูแลของผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม
ความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ส่วนความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำสำหรับความผิดฐานนี้ตามกฎหมายแล้ว แม้จำเลยกระทำความผิดในขณะที่มีอายุ 19 ปีเศษ แต่รู้ผิดชอบแล้วและลักษณะการกระทำความผิดไม่เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้ ตาม ป.อ. มาตรา 76
ความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ส่วนความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำสำหรับความผิดฐานนี้ตามกฎหมายแล้ว แม้จำเลยกระทำความผิดในขณะที่มีอายุ 19 ปีเศษ แต่รู้ผิดชอบแล้วและลักษณะการกระทำความผิดไม่เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้ ตาม ป.อ. มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5497/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเหตุบรรเทาโทษจากพฤติการณ์หลังเกิดเหตุ และการมอบตัวต่อเจ้าพนักงาน
การลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นเหตุบรรเทาโทษนั้น หมายถึงหลังเกิดเหตุจำเลยต้องเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจและรับสารภาพความผิด แต่ได้ความจากคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่า หลังเกิดเหตุจำเลยหลบหนีไป จึงไปขอออกหมายจับจำเลยต่อศาลชั้นต้น ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้ขณะจำเลยนั่งรถผ่านด่านตรวจของเจ้าพนักงานตำรวจ การที่จำเลยยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมโดยดีเป็นเพราะมีหมายจับมากกว่าจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นเหตุบรรเทาโทษที่จะพึงลดโทษให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินด้วยกันสาด ศาลตัดสินให้ใช้สิทธิภาระจำยอมและชำระค่าใช้ที่ดิน
กันสาดด้านหน้าและด้านหลังตึกแถวของจำเลยรุกล้ำที่ดินของโจทก์ โดยบริษัท ท. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมได้ก่อสร้างและแบ่งขายพร้อมที่ดิน จำเลยกับพวกซื้อตึกแถวที่มีกันสาดที่สร้างขึ้นพร้อมอาคารดังกล่าวอยู่แล้ว ต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินในสภาพที่มีกันสาดด้านหน้าและด้านหลังตึกแถวของจำเลยรุกล้ำที่ดินของโจทก์จากบริษัท ท. อีก เมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้สร้างตึกแถวพร้อมกันสาด หากแต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้บังคับโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา 1312 วรรคแรก จำเลยจึงมีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ที่อยู่ใต้แนวกันสาดที่รุดล้ำเข้าไปนั้นได้ โดยถือว่ากันสาดที่รุกล้ำนั้นเป็นมาโดยสุจริต แต่จำเลยต้องเสียค่าใช้ที่ดินนั้นแก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมให้จำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยรื้อกันสาดอันเป็นสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์จนกว่าจำเลยจะไม่ใช้ค่าใช้ที่ดินนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น คงฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายซึ่งไม่ใช่ค่าใช้ที่ดิน ศาลจึงบังคับให้ไม่ได้ และเมื่อฟังว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมย่อมตกไปด้วยเพราะฟ้องแย้งต้องมีฟ้องเดิมและตัวโจทก์เดิมเป็นจำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีพิพาทที่ดินที่เคยตัดสินแล้ว ห้ามฟ้องรื้อร้องประเด็นเดิม
ก่อนคดีนี้จำเลยทั้งสองเคยฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง โจทก์ให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้ขับไล่โจทก์กับบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมกับให้โจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยทั้งสอง คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกโฉนดที่ดินทับที่ดินโจทก์ ขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขเนื้อที่ในโฉนดของจำเลย เมื่อคดีนี้และคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เช่นเดียวกับประเด็นพิพาทในคดีก่อน หากข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงจะพิพากษาให้เพิกถอนและแก้ไขเนื้อที่ดินในโฉนดที่ดินตามฟ้องโจทก์ได้ ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การเลือกเส้นทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินน้อยที่สุด
ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติถึงการที่จะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่นั้นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า หากโจทก์ทั้งสามสามารถออกสู่ทางสาะรณประโยชน์ถนนสายสามค้อ-บางบ่อ ได้จะต้องผ่านที่ดินถึง 7 แปลง แต่ถ้าโจทก์ทั้งสามใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ถนนสายบางบ่อ-ทุ่งสะเดา จะผ่านที่ดินจำเลยเพียงแปลงเดียว ประกอบกับได้ความจากคำเบิกความของ ม. มารดาโจทก์ทั้งสามและจำเลยซึ่งเป็นพยานโจทก์ทั้งสามว่า ขณะที่ ง. และพยานเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 14487 และ 7795 มีทางเข้าออกด้านทิศตะวันออกผ่านที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวยาวตลอดแนวสู่ทางสาธารณะประโยชน์ถนนสายบางบ่อ-ทุ่งสะเดา ตามรูปแผนที่วิวาท แสดงว่า ง. และ ม.เคยใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวมาก่อนแล้ว ทั้งทางพิพาทยังเป็นทางเชื่อมต่อจากทางสาธารณะประโยชน์ที่อยู่ด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์ทั้งสาม ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่เปรียบเทียบกันแล้ว การที่โจทก์ทั้งสามจะผ่านทางพิพาทย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่แต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ตามบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เพราะทางพิพาทผ่านที่ดินจำเลยเพียงแปลงเดียวโจทก์ทั้งสามจึงชอบที่จะขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทในที่ดินจำเลยเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโจทก์ทั้งสามเพื่ออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ถนนสายบางบ่อ-ทุ่งสะเดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15144/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 กรณีศาลอุทธรณ์ตัดสินโทษจำคุกไม่เกินสองปี และประเด็นคดีไม่เลิกกันเนื่องจากหนี้ยังไม่ครบชำระ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าว คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 4 การที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ร่วม จึงเป็นการออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเพียงฉบับเดียว และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัย ทั้งที่โจทก์ร่วมไม่ได้อ้างพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานในชั้นสอบสวน จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยออกเช็คพิพาทแก่โจทก์ร่วมโดยไม่มีหลักฐานกู้ยืมเป็นหนังสือ จึงมิใช่เป็นการออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายและจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใด จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คดีนี้ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ชำระหนี้ให้ครบถ้วน จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดอันเป็นเหตุให้ถือว่าคดีเลิกกัน คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ มาตรา 7
คดีนี้ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ชำระหนี้ให้ครบถ้วน จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดอันเป็นเหตุให้ถือว่าคดีเลิกกัน คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7780/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีสัญญาซื้อขายแต่ไม่ดำเนินการแบ่งแยกโฉนด และที่ดินใช้เป็นสุสาน
แม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตอนท้ายระบุว่า ผู้จะขายจะไปยื่นคำขอแบ่งขายให้แก่ผู้จะซื้อที่สำนักงานที่ดินภายในกำหนดสองปีนับแต่วันทำหนังสือก็ตาม แต่โจทก์ที่ 2 และ บ. กับจำเลยทั้งห้าปล่อยเวลาล่วงเลยไปนานโดยมิได้ดำเนินการเพื่อแบ่งแยกโฉนด แสดงว่าคู่กรณีไม่ได้คำนึงถึงการที่จะทำการแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป ก่อนทำหนังสือสัญญาดังกล่าวจำเลยทั้งห้านำศพมารดาและบิดาไปฝังไว้ในบริเวณที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์ที่ 2 และ บ. นำศพญาติของโจทก์ทั้งสองจำนวน 15 ศพ ไปฝังไว้เป็นแนวเดียวกัน ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทข้อ 1 ระบุไว้ชัดว่าจำเลยทั้งห้าแบ่งขายที่ดินทางด้านทิศใต้ตามที่ทำฮวงซุ้ยไว้แล้วอยู่ตรงกลางใกล้กับทางด้านทิศตะวันตก (ไม่สุดแนวเขต) จำนวน 2 ไร่ถ้วน แสดงว่าก่อนหน้านี้จำเลยทั้งห้าใช้บริเวณที่ดินพิพาทเป็นสุสานฝังศพบิดามารดาจำเลยทั้งห้าอยู่แล้ว ทั้งตามลักษณะบริเวณที่ดินพิพาทซึ่งทำฮวงซุ้ยไว้แล้วนั้นเป็นที่ฝังศพเฉพาะคนตระกูลของโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งห้า โดยฝังศพไว้ในลักษณะถาวร บนหลุมฝังศพมีการก่อปูนซีเมนต์ไว้อย่างมั่นคงแข็งแรง เมื่อถึงวันเช็งเม้งอันเป็นวันเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ญาติผู้ตายคือฝ่ายโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งห้าต่างไปเคารพศพทุกปี อันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ชาวจีนทั่วไปต้องปฏิบัติตลอดไป โดยสภาพย่อมไม่มีการขุดศพออกจากที่ดินพิพาทแต่อย่างใด จึงไม่อาจให้ความยินยอมหรืออนุญาตกันได้ เพราะหากเจ้าของที่ดินไม่ยินยอมหรือไม่อนุญาตเมื่อใดก็จะต้องขุดศพออกจากที่ดินเมื่อนั้น ซึ่งจำเลยทั้งห้ารู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวอยู่แล้ว การที่จำเลยทั้งห้ารับเงินค่าซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 2 และ บ. ครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญา และยินยอมให้โจทก์ที่ 2 และ บ. นำศพญาติของโจทก์ที่ 2 และ บ. ฝังไว้ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2506 ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าสละการครอบครองที่ดินพิพาทแก่โจทก์ที่ 2 และ บ. โดยเด็ดขาด โจทก์ที่ 2 และ บ. ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อ บ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 ร่วมกับโจทก์ที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทโดยใช้เป็นสุสานฝังศพหรือฮวงซุ้ยติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อจำนำ และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้สลักหลัง
จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 ได้จำนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่บริษัทเงินทุนทรัพย์ ส. เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำ จึงมีฐานะเสมือนเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ผู้จำนำ ดังนั้น แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการสลักหลังเพื่อจำนำ การที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำสลักหลังโอนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจึงมีผลเท่ากับเป็นการสลักหลังของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคหนึ่ง ผู้รับสลักหลังมีสิทธิเท่ากับผู้รับจำนำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับสลักหลังมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 3 รับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงมีสิทธิเพียงไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินและการสลักหลังโดยตัวแทน สิทธิของผู้รับสลักหลังจำกัดเฉพาะไล่เบี้ยผู้ออก
จำเลยที่ 3 จำนำตั๋วสัญญาใช้เงินแก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงมีฐานะเสมือนเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ก็ต้องถือว่าเป็นการสลักหลังเพื่อจำนำ การที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำสลักหลังโอนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจึงมีผลเท่ากับเป็นการสลักหลังของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคหนึ่ง ผู้รับสลักหลังมีสิทธิเท่ากับผู้รับจำนำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับสลักหลังมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 3 รับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงมีสิทธิเพียงไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น