พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมียาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ครอบครองเพื่อขาย ศาลพิจารณาการกระทำเป็นกรรมเดียวหรือไม่
จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) จึงให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกมีอีเฟดรีนของกลางจำนวน 1,273 เม็ด อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขาย และเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ และเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีอัตราโทษเท่ากันกระทงหนึ่งแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกมีอีเฟดรีนผสมอยู่กับเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 727 เม็ด นั้น แม้ผลการตรวจพิสูจน์ของกลางจำนวนนี้จะสามารถคำนวณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของอีเฟดรีนและเมทแอมเฟตามีนแยกต่างหากออกจากกันได้ แต่การที่ของกลางแต่ละเม็ดเป็นเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เมทแอมเฟตามีนที่มีอีเฟดรีนผสมอยู่จึงเป็นวัตถุอันเดียว การร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและเพื่อจำหน่ายซึ่งของกลางจำนวน 727 เม็ด จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกมีอีเฟดรีนของกลางจำนวน 1,273 เม็ด อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขาย และเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ และเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีอัตราโทษเท่ากันกระทงหนึ่งแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกมีอีเฟดรีนผสมอยู่กับเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 727 เม็ด นั้น แม้ผลการตรวจพิสูจน์ของกลางจำนวนนี้จะสามารถคำนวณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของอีเฟดรีนและเมทแอมเฟตามีนแยกต่างหากออกจากกันได้ แต่การที่ของกลางแต่ละเม็ดเป็นเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เมทแอมเฟตามีนที่มีอีเฟดรีนผสมอยู่จึงเป็นวัตถุอันเดียว การร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและเพื่อจำหน่ายซึ่งของกลางจำนวน 727 เม็ด จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกความผิดฐานครอบครองอีเฟดรีนและเมทแอมเฟตามีนผสม: ศาลฎีกาชี้ขาดการลงโทษกรรมเดียว
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกมีอีเฟดรีนจำนวน 1,273 เม็ด อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขาย และเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ฯ และเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีอัตราโทษเท่ากัน ต้องรับโทษฐานร่วมกันมีอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย กระทงหนึ่งแล้ว ส่วนของกลางอีกจำนวน 727 เม็ด ซึ่งเป็นอีเฟดรีนผสมอยู่กับเมทแอมเฟตามีนนั้น แม้ผลการตรวจพิสูจน์จะสามารถคำนวณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของอีเฟดรีนและเมทแอมเฟตามีนแยกต่างหากออกจากกันได้ แต่การที่ของกลางแต่ละเม็ดเป็นเมทแอมเฟตามีนผสมด้วยอีเฟดรีนก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เมทแอมเฟตามีนที่มีอีเฟดรีนผสมอยู่จึงเป็นวัตถุอันเดียว การร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและเพื่อจำหน่ายซึ่งอีเฟดรีนผสมอยู่กับเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90
เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 15 วรรคสอง ตามกฎหมายเดิมเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 มากกว่ามาตรา 15 วรรคสาม (2) ของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ ที่แก้ไขใหม่ กรณีบทความผิดดังกล่าวจึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ ตาม ป.อ. มาตรา 3
เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 15 วรรคสอง ตามกฎหมายเดิมเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 มากกว่ามาตรา 15 วรรคสาม (2) ของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ ที่แก้ไขใหม่ กรณีบทความผิดดังกล่าวจึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ ตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: สภาพหนี้, การผิดนัด, และการคืนเงินมัดจำเมื่อผู้ขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
ป.พ.พ. มาตรา 369 บัญญัติว่า ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้...ฯลฯ... หมายความว่า การชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาจะต้องมีความพร้อมในการชำระหนี้ทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พร้อมที่จะชำระหนี้ตอบแทนอีกฝ่ายจะไม่ยอมชำระหนี้ก็ได้ ที่ดินพิพาทถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2541 และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 แจ้งให้โจทก์ไปรับโฉนดที่ดินพิพาทคืนเนื่องจากมีการถอนการยึด แสดงว่าในวันที่ 10 เมษายน 2541 ที่โจทก์จำเลยนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์นั้น ที่ดินพิพาทยังถูกยึดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะโอนให้โจทก์ เพราะการโอนทรัพย์ที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้วไม่อาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 305 (1) เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องทำให้ที่ดินพิพาทพ้นสภาพจากการถูกยึดก่อนนำมาโอนและรับชำระราคาจากโจทก์ หากที่ดินพิพาทยังไม่พ้นจากสภาพดังกล่าว จำเลยก็มิอาจเรียกร้องให้โจทก์ชำระราคาได้ เพราะจำเลยไม่อยู่ในสภาพจะชำระหนี้ตอบแทนได้ทันที จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทเพื่อนำเงินที่โจทก์ชำระไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และถอนการยึดที่ดินพิพาทแล้วนำมาโอนให้โจทก์ได้
จำเลยไม่พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทเพราะที่ดินถูกยึด โจทก์ย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระราคาดังกล่าว และถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะที่ดินพิพาทถูกยึดไม่พร้อมจะโอนให้โจทก์อันเป็นเหตุที่เกิดจากฝ่ายจำเลย จำลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้ และเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์
โจทก์จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันที่ 10 เมษายน 2541 เมื่อจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามกำหนด ถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2541 เป็นต้นไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2541 จึงยังไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
จำเลยไม่พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทเพราะที่ดินถูกยึด โจทก์ย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระราคาดังกล่าว และถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะที่ดินพิพาทถูกยึดไม่พร้อมจะโอนให้โจทก์อันเป็นเหตุที่เกิดจากฝ่ายจำเลย จำลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้ และเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์
โจทก์จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันที่ 10 เมษายน 2541 เมื่อจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามกำหนด ถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2541 เป็นต้นไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2541 จึงยังไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องค่าหุ้นค้างชำระจากผู้ถือหุ้นได้ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดสิทธิเรียกร้องได้ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ, 311 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
สิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระเป็นสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจำเลยมีต่อผู้ถือหุ้นเป็นสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ เมื่อบริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ ว. ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดค่าหุ้นที่ค้างชำระนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งอายัดให้ ว. ส่งเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 312 วรรคสอง ที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้นและดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1125 เป็นเรื่องวิธีการเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัทในกรณีปกติ แต่เมื่อกรรมการบริษัทจำเลยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องนี้ ก็ไม่ห้ามเจ้าหนี้ที่จะให้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 ทั้งไม่ห้ามเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขออายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ
สิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระเป็นสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจำเลยมีต่อผู้ถือหุ้นเป็นสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ เมื่อบริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ ว. ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดค่าหุ้นที่ค้างชำระนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งอายัดให้ ว. ส่งเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 312 วรรคสอง ที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้นและดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1125 เป็นเรื่องวิธีการเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัทในกรณีปกติ แต่เมื่อกรรมการบริษัทจำเลยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องนี้ ก็ไม่ห้ามเจ้าหนี้ที่จะให้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 ทั้งไม่ห้ามเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขออายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดสิทธิเรียกร้องค่าหุ้นค้างชำระ: เจ้าหนี้ใช้สิทธิบังคับคดีต่อบุคคลภายนอกได้
สิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระ เป็นสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ เมื่อบริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ ว. ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนผู้ตายหลังมีคำพิพากษา: สิทธิการรับมรดกและการบังคับคดี
คำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ น. เพื่อให้แบ่งทรัพย์มรดกและขอให้ถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. อันเป็นการพิพาทในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ซึ่งต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกของ น. ให้แก่โจทก์ หาได้พิพาทกันในฐานะส่วนตัวไม่ ดังนั้นการที่ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิของโจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องมารดาซึ่งเป็นบุพการีของตน กรณีจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
แม้ผู้ร้องจะไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้เพราะคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้นก่อนแล้วก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ก็เพื่อมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ น. และโจทก์มีสิทธิดังกล่าวก่อนที่จะถึงแก่กรรม เมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมจึงตกทอดแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นผู้รับมรดกของโจทก์และเป็นผู้รับพินัยกรรมย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จึงมีสิทธิที่จะเข้าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์และดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
แม้ผู้ร้องจะไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้เพราะคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้นก่อนแล้วก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ก็เพื่อมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ น. และโจทก์มีสิทธิดังกล่าวก่อนที่จะถึงแก่กรรม เมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมจึงตกทอดแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นผู้รับมรดกของโจทก์และเป็นผู้รับพินัยกรรมย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จึงมีสิทธิที่จะเข้าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์และดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับมรดกของทายาทโดยธรรม แม้ข้อตกลงแบ่งมรดกไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
แม้ข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของโจทก์ทั้งสองต้องห้ามฟ้องร้องบังคับคดีเนื่องจากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง แต่การที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องเรียกร้องทรัพย์มรดกในที่ดินทั้งสองแปลงจากจำเลยเป็นการใช้สิทธิที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ส. ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกจากจำเลยในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. โจทก์ทั้งสองจึงมีฐานะเป็นทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดกที่มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดกร่วมกับทายาทอื่นในที่ดินทั้งสองแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629, 1725 ประกอบมาตรา 1357
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบเมื่อไม่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีและให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบจำเลยจะอ้างว่าจำเลยชำระค่าธรรมเนียมตามที่เจ้าหน้าที่ศาลคิดคำนวณหาได้ไม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โดยไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้ชอบแล้ว ส่วนฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ จึงไม่มีเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจำเลยจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนฟ้องแย้งจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่มีข้อตกลงค่าปรับ หากไม่โอนกรรมสิทธิ์ ถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันมาก่อน โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนที่ดินกันไว้ ต่อมาเมื่อโจทก์ชำระราคาให้จำเลยครบถ้วนแล้วจึงได้ทำสัญญาอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งแม้จะระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขาย แต่ก็มีข้อตกลงกำหนดไว้ในสัญญาว่า หากถึงกำหนดจำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์ จำเลยยอมให้โจทก์ปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินที่ขาย แสดงว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินซื้อขายกันในภายหลังเช่นเดียวกับที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำต่อเนื่องกันมา แม้จำเลยจะส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายให้โจทก์แล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยมีเจตจนาที่จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินที่ซื้อขายกันให้เสร็จเด็ดขาดต่อไปสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย หาใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดซึ่งจะตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัท ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด หากไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งเป็นนิติบุคคล แต่ผู้ร้องและผู้ร้องร่วมเป็นเพียงผู้ถือหุ้นและกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ทั้งผู้ร้องและผู้ร่วมไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ ผู้ร้องและผู้ร้องร่วมมิใช่เป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด