คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรวัตร อิศราภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด มิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะ
ที่ดินมีโฉนดซึ่ง ด. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ล. บิดาจำเลยทั้งสอง เมื่อที่ดินดังกล่าวมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดว่าส่วนของใครอยู่ตอนไหนและมีเนื้อที่เท่าใด ด. และ ล. ผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันจึงยังเป็นเจ้าของรวมอยู่ตามส่วนที่ตนถือกรรมสิทธิ์ การที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ ด. โดยระบุเนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายตัวทรัพย์ซึ่งมิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของ ด. จะกระทำได้ก็แต่ความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน การที่ ด. เอาตัวทรัพย์มาทำสัญญาจะขายแก่โจทก์ โดย ล. เจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วย จึงไม่มีผลผูกพัน ล. เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนมรดกจาก ล. จึงถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันทุกส่วนและมีส่วนในที่ดินพิพาททั้งแปลงเท่ากัน โจทก์จึงฟ้องขอให้แบ่งแยกที่ดินโดยให้โจทก์ได้ที่ดินทางด้านทิศเหนือและจำเลยทั้งสองได้ที่ดินด้านทิศใต้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์คดีแพ่ง: การคำนวณจากสิทธิครอบครองที่ดินแต่ละแปลง และข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาตามมูลค่า
แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 จะมีทั้งคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ มิใช่ที่ดินที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 มีสิทธิครอบครอง ประเด็นข้อพิพาทที่เป็นประเด็นหลักจึงมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ หากศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้อง ซึ่งถือว่าคำขอส่วนนี้เป็นคำขอหลักหรือคำขออันเป็นประธาน ส่วนคำขออื่นถือว่าเป็นคำขอต่อเนื่องหรือคำขอรอง เมื่อคำขอหลักหรือคำขออันเป็นประธานเป็นคำขอที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ย่อมถือได้ว่าคดีนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยคำนวณทุนทรัพย์จากราคาที่ดินพิพาทแต่ละแปลงที่โจทก์แต่ละคนครอบครองเพราะตามรูปคดีเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แยกต่างหากจากกันได้ มิใช่ถือตามราคาที่ดินพิพาททั้งหมดทุกแปลงที่ฟ้องรวมกันมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทเกินอำนาจศาลอุทธรณ์/ฎีกา, ข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในข้อเท็จจริง, การคำนวณทุนทรัพย์จากสิทธิเฉพาะตัว
โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกันนำชี้ที่ดินเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงโดยไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้มีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงทับที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง และจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 เข้าไปขุดดินในที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 6 ครอบครอง เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 6 ใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวไม่ได้และต้นไม้ที่ปลูกไว้เสียหาย ขอให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ห้ามจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 เกี่ยวข้อง ให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงฉบับดังกล่าวโดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 นำชี้แนวเขตให้ถูกต้อง และจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 6 พร้อมกับปรับสภาพที่ดินพิพาทให้ใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ หากศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งถือว่าคำขอส่วนนี้เป็นคำขอหลักหรือคำขออันเป็นประธาน ส่วนคำขออื่นถือว่าเป็นคำขอต่อเนื่องหรือคำขอรอง เมื่อคำขอหลักเป็นคำขอที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ย่อมถือได้ว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์โดยคำนวณทุนทรัพย์จากราคาที่ดินพิพาทแต่ละแปลงที่โจทก์แต่ละแปลงที่โจทก์แต่ละคนครอบครอง เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แยกต่างหากจากกันได้และเมื่อรวมกับค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกร้องมาอีกส่วนหนึ่งด้วยแล้วปรากฏว่าคดีในส่วนของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 คำนวณทุนทรัพย์ได้เป็นเงิน 25,000 บาท 32,500 บาท 45,000 บาท และ 150,000 บาท ตามลำดับ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับคดีในส่วนของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่เกิน 50,000 บาท โจทก์ที่ 3 และที่ 5 ย่อมไม่อาจอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับใช้ประกาศกฎหมาย: กำหนดวันเริ่มต้นหีบอ้อยและโทษปรับย้อนหลัง
ตาม พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 วรรคท้าย กำหนดว่า การกำหนดตาม (11), (13) คือ การกำหนดวันเริ่มต้นการหีบอ้อยและน้ำตาลทราย การกำหนดชนิด คุณภาพ และปริมาณน้ำตาลทรายที่ให้โรงงานผลิต ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งแสดงว่าประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับได้ต่อเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และวันที่มีผลบังคับใช้ก็คือวันที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา การที่จะออกประกาศให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังและเป็นโทษแก่ผู้ถูกบังคับนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อมีการลงประกาศดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 21 มกราคม 2537 ต้องถือว่าประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2537 เป็นต้นไป การที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับจากการที่โจทก์หีบอ้อยตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2536 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2536 อันเป็นการกระทำก่อนวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4649/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ต้องเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาล จึงจะรับคดีได้
จำเลยมิได้ยักยอกเงินของโจทก์ที่จังหวัดเชียงราย จำเลยรับเงินและเช็คจากลูกค้าของโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการแล้วไม่นำส่งให้โจทก์ที่จังหวัดเชียงราย แต่กลับนำเงินและเช็คเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ธนาคารซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แม้อาจจะเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แต่ความผิดดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงราย อันจะทำให้ศาลจังหวัดเชียงรายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ การที่จำเลยมีเจตนาทุจริต โดยมีการวางแผนยักยอกเงินของโจทก์ที่จังหวัดเชียงราย หลังจาก ส. ถึงแก่ความตายแล้ว ก็ยังถือไม่ได้ว่าความผิดได้เกิดขึ้นแล้วอันจะทำให้ศาลจังหวัดเชียงรายไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแล้ว กรณีจึงไม่อาจโอนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ไปชำระที่ศาลแขวงสมุทรปราการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4649/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ต้องพิจารณาที่สถานที่กระทำความผิด หากมิได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาล ศาลนั้นไม่มีอำนาจพิจารณา
ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของโจทก์มอบหมายให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ทำบัญชี เก็บเอกสาร การเงินและนำเงินรายได้จากขายห้องชุดที่จังหวัดสมุทรปราการนำเข้าบัญชีของโจทก์ที่จังหวัดเชียงราย การที่จำเลยทั้งสองรับเงินและเช็คจากลูกค้าของโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการแล้วไม่นำส่งให้โจทก์ที่จังหวัดเชียงราย แต่กลับนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยทั้งสองที่ธนาคารในกรุงเทพมหานคร แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองอาจเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แต่ความผิดดังกล่าวมิได้เกิดขึ้น อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงราย อันจะทำให้ศาลจังหวัดเชียงราย มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริต โดยมีการวางแผนยักยอกเงินของโจทก์ที่จังหวัดเชียงรายตั้งแต่เมื่อปลายเดือนเมษายน 2539 ข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าความผิดฐานยักยอกทรัพย์ได้เกิดขึ้นแล้ว อันจะทำให้ศาลจังหวัดเชียงรายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ เมื่อศาลจังหวัดเชียงรายไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแล้ว จึงไม่อาจโอนคดีไปชำระที่ศาลแขวงหรือศาลจังหวัดสมุทรปราการได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 23 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างรายเดือนสะดุดหยุดเมื่อลูกหนี้ยอมรับหนี้ แม้จะยังไม่ชำระ
จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์ทำงานที่รับจ้างแล้วเสร็จและส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2539 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเรียกเงินค่าจ้างเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 เกิน 2 ปี จึงขาดอายุความตามกฎหมาย เป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความไว้อย่างชัดเจนแล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างโดยแบ่งค่าจ้างเป็นรายงวดหรือรายเดือนและโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อใด คดีเริ่มนับอายุความและขาดอายุความในเวลาใดและมาจากสาเหตุใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์และจำเลยที่ 2 จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความไว้โดยชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 ต้องชำระค่าจ้างแก่โจทก์เป็นรายเดือน กล่าวคือ เมื่อโจทก์ทำงานให้จำเลยที่ 2 ครบเสร็จสิ้นในเดือนใด จำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทันทีในวันสิ้นงวดเดือนนั้น หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 และหากอายุความสะดุดหยุดลงสำหรับค่าจ้างในเดือนใดก็จะมีผลต่อค่าจ้างของเดือนนั้นเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างรับจ้างดูแลกิจการของจำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิเรียกเอาสินจ้างที่พึงได้รับได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นงวดเดือนเป็นต้นไปในแต่ละงวดเดือนที่จำเลยที่ 2 ผิดนัด ซึ่งมาตรา 193/34 (7) กำหนดอายุความเรียกร้องไว้ 2 ปี
จำเลยที่ 2 ค้างชำระค่าจ้างให้โจทก์ 2 งวดเดือนหลังสุดซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2539 และวันที่ 21 เมษายน 2539 ปรากฏว่า ส. กรรมการโครงการได้มีหนังสือแจ้งตอบการทวงถามให้ชำระหนี้ไปยังโจทก์โดย ส. ยอมรับว่าจำเลยที่ 2 ติดค้างค่าจ้างทำงานตามที่โจทก์ทวงถามมาจริงแต่ขอชำระให้บางส่วนซึ่งเป็นค่าจ้างสำหรับ 2 งวดเดือนแรก ส่วนที่เหลือสำหรับงวด 2 เดือนสุดท้ายนั้น จำเลยที่ 2 จะชำระให้ ต่อมาเมื่อได้มีการเริ่มกิจกรรมใหม่ของโครงการตามที่ได้มีการเจรจากันไว้แล้ว ดังนั้นหนังสือดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้รับหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไปตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลา 2 ปี ค่าจ้างที่ยังค้างชำระโจทก์อยู่ในแต่ละงวดเดือนของ 2 งวดเดือนหลังก็ยังขาดอายุความอยู่ดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องมีลักษณะเปิดเผย ถาวร และห้ามมิให้ถือวิสาสะจากเจ้าของเดิม
ที่ดินพิพาทได้แบ่งแยกมาจากที่ดินอีกแปลงหนึ่งซึ่งต้องมีการรังวัดโฉนดที่ดินพิพาทเพื่อแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินดังกล่าวและเจ้าของที่ดินข้างเคียงก็จะต้องรับรองแนวเขต หากจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จำเลยจะต้องรู้เห็นและโต้แย้งหรือคัดค้าน แม้จำเลยจะอ้างว่าทำรั้วล้อมที่ดินก็เป็นรั้วไม้รวกตีปักในแนวตั้ง มีประตูรั้วทำด้วยสังกะสีและเลี้ยงโคนมกับเลี้ยงไก่ ก็ล้วนมีลักษณะเป็นการครอบครองชั่วคราวเพราะไม่มีลักษณะแน่นหนาและถาวร การที่จำเลยเข้าไปครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นการถือวิสาสะจากเจ้าของที่ดินเดิมตลอดมา แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมาช้านานเพียงใด จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2775/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้รายงานการสืบเสาะและพินิจประกอบการพิจารณาโทษและการวินิจฉัยความผิดฐานใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการกระทำความผิด
การที่ศาลชั้นต้นรับฟังตามคำฟ้องของโจทก์ และคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 364, 335 ประกอบมาตรา 336 ทวิ และมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยนั้น ก็เพื่อต้องการทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบดุลพินิจว่าสมควรกำหนดโทษแก่จำเลยสถานใด เพียงใด และเพื่อกำหนดวิธีการหรือเงื่อนไขอันสมควร และเหมาะสมที่จะปฏิบัติต่อจำเลยต่อไปเท่านั้น มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น และแม้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาฯ มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมประพฤติตามมาตรา 11 โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบก็ตาม แต่ก็เป็นการรับฟังเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วย จึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาเป็นเหตุยกฟ้องของโจทก์แม้เพียงบางส่วนก็ไม่ได้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาวินิจฉัยว่าการกระทำผิดของจำเลยครั้งนี้ไม่ปรากฏเหตุอันจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ และยกฟ้องโจทก์บางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากกู้ยืมเป็นซื้อขาย และผลของการไม่ส่งมอบทรัพย์สินตามสัญญา
การที่ ณ. ทำสัญญาขายรถยนต์ให้แก่โจทก์แทนการชำระหนี้โดยแปลงหนี้เงินกู้เป็นการซื้อขายรถยนต์แทน ถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคแรก แต่อย่างไรก็ตาม หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวมีเงื่อนไขระบุไว้ว่าในระหว่างที่ผู้ขายยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อให้ถือว่ายังไม่มีการซื้อขาย ดังนั้น จึงถือว่าเป็นกรณีที่หนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นยังมิได้เกิดขึ้น หนี้เดิมคือหนี้เงินกู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 351 ยังไม่ระงับสิ้นไป ซึ่งในกรณีนี้ถือได้ว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมาแสดงแล้ว และไม่เป็นกรณีที่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป. รัษฎากรฯ
of 48