คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เรวัตร อิศราภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: การประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่มีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ ศ. ได้รับอันตรายแก่กาย ถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทน ศ. ผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ในฐานะเป็นผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ศ. ด้วย เมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ในคดีอาญานำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติให้ศาลในคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลฎีกาจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำการแทนจำเลยที่ 2 มิได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยไม่เป็นธรรม ทายาทมีสิทธิเพิกถอนการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
โจทก์ จำเลยที่ 1 และทายาทอื่นครอบครองที่ดินทรัพย์มรดกร่วมกันมา การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยไม่มีค่าตอบแทน โจทก์ย่อมฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนของโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกโดยไม่เป็นธรรมแก่ผู้ไม่เป็นทายาท และสิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดกของทายาท
โจทก์ จำเลยที่ 1 และทายาทอื่นครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันมา จำเลยที่ 1 โอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยไม่มีค่าตอบแทน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น และสิทธิในการขอเพิกถอนการโอนที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทน
โจทก์ จำเลยที่ 1 และทายาทอื่นครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันมา จำเลยที่ 1 โอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยไม่มีค่าตอบแทน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองมีผลเหนือกว่าเนื้อที่ระบุในสัญญา หากผู้รับโอนครอบครองพื้นที่เกินกว่าที่ระบุ
ตามคำฟ้องของโจทก์ คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งห้า กับคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์เป็นการโต้แย้งกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายโจทก์หรือจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งห้ายอมรับข้อเท็จจริงว่ามูลเหตุคดีนี้สืบเนื่องมาจากโจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ย่อมต้องวินิจฉัยปัญหาในข้อเท็จจริงว่าโจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 เพียงใด เพื่อไปสู่ปัญหาในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายโจทก์หรือจำเลยทั้งห้า เพราะหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทก็เป็นของโจทก์ ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจึงถูกต้องแล้ว
แม้ตามหนังสือแบ่งให้ที่ดินและ น.ส.3 จะระบุชัดว่าโจทก์และ ป. ให้ที่ดินตาม น.ส. 3 ดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 มีเนื้อที่ 3 งาน 60 ตารางวา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและที่ได้รับการให้ตลอดมาโดยโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน ทั้งตอนที่จำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดเพื่อออกโฉนด โจทก์ก็ไประวังและรับรองแนวเขตในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงให้แม้ขณะนั้นโจทก์จะยังไม่ทราบว่าที่ดินที่จำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดมีเนื้อที่เท่าใดก็ตาม แต่บันทึกถ้อยคำระบุไว้ชัดว่าในการรังวัดออกโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 โจทก์เห็นว่าถูกต้องแล้ว ไม่มีการรุกล้ำแนวเขตกันแต่อย่างใด เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ได้รับการให้ และรังวัดออกโฉนดในส่วนที่ครอบครองทำประโยชน์ จึงเป็นการให้ที่ดินด้วยการส่งมอบการครอบครองที่ดินแก่จำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาให้ตามส่วนที่ได้รับมอบการครอบครองยิ่งกว่าที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาแบ่งให้ที่ดินและ น.ส. 3 ดังนั้นเมื่อมีรังวัดออกโฉนดที่ดินได้เนื้อที่ 1 ไร่ 99 ตารางวา กรณีต้องถือว่าโจทก์และ ป. ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 มีเนื้อที่ดังกล่าว หาใช้เนื้อที่ 3 งาน 60 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาแบ่งให้ที่ดินและ น.ส. 3 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความบกพร่องทนายจำวันนัดผิดพลาด ไม่ถือเป็นเหตุสมควรให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานนัดต่อมาเพราะสำคัญผิดเนื่องจากจำวันนัดผิด เป็นเรื่องความบกพร่องหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นความผิดพลาดของทนายโจทก์เองที่จำวันนัดคลาดเคลื่อน ถือไม่ได้ว่ามีเหตุผลสมควรเพียงพอที่จะอนุญาตให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารปลอม สัญญาที่กรอกข้อความภายหลังเกินจริง ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ 20,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยแก่โจกท์ประมาณ 50,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 1 หยุดชำระดอกเบี้ยดังกล่าว โจทก์จึงนำสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 พิมพ์ลายนิ้วมือไว้มากรอกข้อความในภายหลังเกินกว่าความเป็นจริง โดยจำเลยทั้งสองมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อผู้บังคับบัญชา มิใช่เจ้าพนักงานสอบสวน ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172
แม้พลตำรวจโท ป. และพลตำรวจโท ว. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 17 แต่ตามหนังสือที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพลตำรวจโท ป. และพลตำรวจโท ว. ซึ่งบุคคลทั้งสองต่างเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ ทั้งนี้เพื่อประสงค์ให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ และย้ายโจทก์ออกจากพื้นที่รับผิดชอบทางราชการ จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงพลตำรวจโท ป. และพลตำรวจโท ว. ขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับความประพฤติโจทก์ต่อบุคคลทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาโจทก์ มิใช่ในฐานะที่เป็นพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาแต่อย่างใด และพลตำรวจโท ป. มิได้มีคำสั่งให้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนความผิดในทางอาญาแก่โจทก์ คงมีคำสั่งให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพรตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาให้ความคุ้มครองจำเลยที่ 1 แล้วรายงานให้พลตำรวจโท ป. ทราบด้วยเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12414/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากคดีอาญาเดิมที่ไม่เคยฟ้องมาก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 173 บัญญัติว่า เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว? (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น? ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า ฟ้องโจทก์จะเป็นฟ้องซ้อนได้นั้นในเบื้องต้นโจทก์ในคดีแรกและโจทก์ในคดีหลังต้องเป็นโจทก์คนเดียวกัน รวมถึงบุคคลที่ไม่เคยยื่นฟ้องแต่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับโจทก์ เช่นเจ้าของรวมฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์รวม และคำว่าโจทก์รวมถึงคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาขอให้จำเลยใช้หรือคืนราคาทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เป็นต้น หลักเกณฑ์อีกประการหนึ่งคือ เรื่องที่นำมาฟ้องในคดีหลังยังต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีแรกด้วย
พนักงานอัยการเคยฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกค่าเสียหายในส่วนต้นเงินแทนผู้เสียหายคืนให้โจทก์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ไปแล้ว แต่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วย เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่า ในคดีแรกยังไม่มีการฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวนี้มาก่อน และไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกได้แล้วไม่เรียก การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกเงินต้นและดอกเบี้ยในระหว่างการพิจารณาของศาลอาญากรุงเทพใต้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้แต่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่เป็นฟ้องซ้อนด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12414/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องแทนผู้เสียหาย
คำฟ้องของโจทก์จะเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ได้นั้น ในเบื้องต้นโจทก์ในคดีแรกและโจทก์ในคดีหลังต้องเป็นโจทก์คนเดียวกัน ซึ่งคำว่าโจทก์นี้ร่วมถึงบุคคลที่ไม่เคยยื่นฟ้องแต่อยู่ในฐานะเดียวกับโจทก์ เช่น เจ้าของรวมฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์รวม และคำว่าโจทก์รวมถึงคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ขอให้จำเลยใช้หรือคืนราคาทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องที่นำมาฟ้องในคดีหลังต้องเป็นเรื่องเดียวกับคดีแรกด้วยกล่าวคือ มูลเหตุที่มาแห่งคดีต้องอาศัยหลักแหล่งแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน ในกรณีเรียกค่าเสียหายในเรื่องเดียวกัน โจทก์จะต้องฟ้องมาในคราวเดียวกันจะมาฟ้องเพิ่มในภายหลังเป็นอีกคดีหนึ่งไม่ได้แม้โจทก์จะสงวนสิทธิไว้ก็ตาม สำหรับคดีนี้แม้พนักงานอัยการจะฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนต้นเงินแทนผู้เสียหายคืนให้โจทก์ในคดีอาญาไปแล้วก็ตาม แต่การที่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วยนั้นก็เนื่องมาจาก ป.วิ.อ. มาตรา 43 ให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องเรียกได้เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ยคดีแรกจึงยังไม่มีการฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยมาก่อน และไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้แล้วแต่ไม่เรียก หากแปลความว่าฟ้องของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีหลังซึ่งเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นฟ้องซ้อนทั้งหมด ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ผลจะกลายเป็นว่าคดีใดพนักงานอัยการฟ้องคดีส่วนแพ่งแทนผู้เสียหายไปแล้วจำเลยคนนั้นกลับไม่ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยและก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็นระหว่างจำเลยด้วยกันรับผิดไม่เท่ากัน โดยผู้เสียหายมิได้กระทำผิดขั้นตอนกระบวนพิจารณาแต่ประการใด และซ้ำเติมผู้เสียหายซึ่งเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทั้งในทางอาญาและทางแพ่ง กฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เช่นนั้น ดังนั้น ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาคดีก่อนเฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่เป็นฟ้องซ้อนด้วย
of 48