พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินค้าหลังซื้อจากตัวแทนจำหน่าย ไม่ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า หากผู้ผลิตได้ประโยชน์จากการขายแล้ว
เมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยน ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ มาจำหน่ายในประเทศไทยได้
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทย โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทย โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6895-6896/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทต้องรับผิดร่วมกับบริษัท หากมิได้พิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า
เจ้าพนักงานยึดสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าปลอมได้จากบริษัทจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบหรือฎีกาว่ามิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6895-6896/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทร่วมรับผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า แม้มิได้พิสูจน์ความรู้เห็นโดยตรง
เจ้าพนักงานยึดสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าปลอมได้จากบริษัทจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบหรือฎีกาว่ามิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเครื่องหมายการค้าและน้ำมันเชื้อเพลิง: ศาลแก้ไขคำพิพากษาข้อหาปลอมเครื่องหมายการค้าเนื่องจากคำฟ้องไม่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา108และศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนแต่ปรากฎตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา108ดังกล่าวคงบรรยายฟ้องว่าจำเลยมีน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา108ไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา110ซึ่งมีระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา108เท่านั้นกรณีจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา108แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534ได้ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าต้องระบุการกระทำต่อเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนแต่ปรากฎตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา108 ดังกล่าว คงบรรยายฟ้องว่า จำเลยมีน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา 108 ไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา 110 ซึ่งมีระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108 เท่านั้น กรณีจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5905/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเครื่องหมายการค้าต่างชนิดและต่างเจ้าของถือเป็นหลายกรรมต่างเจตนา ต้องลงโทษทุกกรรม
จำเลยที่ 1 ปลอมเครื่องหมายการค้า ROLEX ของผู้เสียหายที่ 1เครื่องหมายการค้า mustdeCartier ของผู้เสียหายที่ 2เครื่องหมายการค้า CUCCI ของผู้เสียหายที่ 3 เครื่องหมายการค้าLONGINES ของผู้เสียหายที่ 4 และเครื่องหมายการค้า dunhillของผู้เสียหายที่ 5 ซึ่งเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าต่างชนิดและของผู้เสียหายต่างเจ้าของกัน ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างเจตนากัน ต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป หาใช่ความผิดกรรมเดียวกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5905/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเครื่องหมายการค้าต่างชนิดและของผู้เสียหายต่างเจ้าของ ถือเป็นความผิดหลายกระทง
จำเลยที่ 1 ปลอมเครื่องหมายการค้า ROLEX ของผู้เสียหายที่ 1เครื่องหมายการค้า must de Cartier ของผู้เสียหายที่ 2 เครื่องหมายการค้าCUCCI ของผู้เสียหายที่ 3 เครื่องหมายการค้า LONGINES ของผู้เสียหายที่ 4และเครื่องหมายการค้า dunhill ของผู้เสียหายที่ 5 ซึ่งเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าต่างชนิดและของผู้เสียหายต่างเจ้าของกัน ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างเจตนากัน ต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติ-เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป หาใช่ความผิดกรรมเดียวกันไม่